ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: 'การเข้าถึงธรรมะ' กับ 'การที่เข้าใจธรรมะ'  (อ่าน 3145 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29347
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
 

'การเข้าถึงธรรมะ' กับ 'การที่เข้าใจธรรมะ'

    การอบรมจิตทั้งนี้ต้องเป็นไปตามความเข้าใจที่ถูกต้อง ครูบาอาจารย์บางท่านพูดในเรื่องที่ง่ายให้เป็นเรื่องยาก หลายคนเอาธรรมะมาพูดให้สวยหรู ใช้ภาษาสวย แต่ในความที่เอามาพูดให้สวยหรูนั้นถ้าไม่ใช่ของแท้จะเห็นได้ว่าบิดเบี้ยวหมด แม้ว่าข้างนอกจะพูดให้กลมอย่างไร แต่พิจารณาไปเรื่อยๆ จนเห็นแกนในก็จะเห็นว่าเบี้ยว

    เวลาเราเห็นอะไรที่มันกลมๆ แต่พอมาดูใกล้ๆ จริงๆ ถ้าไม่ใช่ของแท้ พอพิจารณาดูใกล้ๆ จะเห็นว่ามันไม่กลมจริง เพราะธรรมมะนั้นไม่ได้เกิดจากเขาจริง เขาจำมาแล้วใช้ภาษาให้สวย ซึ่งธรรมะที่แท้จริงนั้นไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาที่สวย ฟังเข้าใจยาก ธรรมะจะเป็นสิ่งที่แท้จริง สิ่งที่แท้จริงไม่จำเป็นต้องสวย

    เช่นถ้าคำนั้นที่เขาบรรยาย ธรรมะนั้นออกจากปากผู้ที่มีธรรมะจริง เข้าถึงธรรมะจริง รู้ซึ้งซึ่งความจริง ต่อให้ไกลแค่ไหนหรือใกล้แค่ไหนก็ยังกลม ไม่มีทางบิดเบี้ยวไปได้ ถ้าเป็นธรรมะของแท้จะหาข้อตำหนิไม่ได้เลย แต่ถ้าธรรมะนั้นไม่ได้เกิดกับเขาเอง เขาเพียงแค่อ่านแค่ฟังแล้วนำมาบอกกล่าวผ่านจินตนาการผ่านความคิด ธรรมะนั้นจะบิดเบี้ยวไป ไม่กลมเหมือนที่เขาพูด


     :welcome: :welcome: :welcome:

    ถ้าธรรมะนั้นเกิดขึ้นในใจ มีความเข้าใจ ถ่ายทอดออกมายังไง มันก็จะมีสัญญาณให้ผู้ฟังผู้อ่านรู้ได้ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง อย่างถ้าถามธรรมะไป 2 คำ แล้วผู้ตอบตอบยาวเป็นชุดนานเป็นชั่วโมง แต่สิ่งที่เขาพูดเราเคยฟังมาหมดแล้ว เพราะอ่านจากหนังสือเล่มเดียวกัน ฟังคำบรรยายแผ่นเดียวกัน ก็แสดงภูมิออกมาจากที่ได้รับรู้รับฟังในแหล่งเดียวกัน ถ้าธรรมะที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ เกิดขึ้นกับตัวเองจะไร้รูปแบบ

    ธรรมะนั้นเป็นธรรมะจริง แต่ไม่ใช่ธรรมะที่เกิดขึ้นจริง เป็นธรรมะที่เกิดจากการจำมาพูด พอจำธรรมะนั้นมาพูด ถามว่ามันดีมั้ย มันก็ไม่ผิดอะไร แต่ว่าอย่าไปหลงคิดว่าตัวเองได้ธรรมมะ ถ้าหลงคิดว่าตนเองได้ธรรมะ ธรรมะนั้นจะพาหลงทิศหลงทางไป

    ภาวะนั้นเปรียบเสมือนการเดินทางไปเชียงใหม่
    คนที่นำธรรมะนั้นมาสาธยายไม่เคยไปถึงเมืองเชียงใหม่เลย
    แต่อ่านและฟังเรื่องราวของเมืองเชียงใหม่ได้อย่างทะลุปรุโปร่ง เหมือนตนเองได้ไปถึงเชียงใหม่มาแล้ว
    แต่จริงๆ แล้วไม่เคยเห็นเมืองเชียงใหม่เลยด้วยซ้ำ





    การเข้าถึงธรรมะกับการที่เข้าใจธรรมะนั้นอาจจะดูเหมือนกัน แต่จริงๆ แล้วแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง คนที่เข้าใจธรรมะอธิบายธรรมะนั้นเป็นคุ้งเป็นแควแต่ถึงที่สุดแล้ว เขาไม่สามารถแสดงได้ถึงธรรมะที่แท้จริงเมื่อถูกซักถามข้อธรรมแล้ว ถึงจุดหนึ่งเขาจะจนต่อธรรมะ ไม่สามารถอธิบายถึงธรรมะที่แท้จริงได้  และจะพาผู้ฟังวนเวียนไปตามความเข้าใจของเขา ต่อให้เจนจบพระไตรปิฎกทั้งเล่ม แต่ถ้าไม่ได้เข้าถึงธรรมมะ สิ่งที่เขาแสดงออกมานั้นก็เป็นแค่ธรรมะในระดับความเข้าใจไม่ใช่เข้าถึงธรรมะ

    เพราะการเข้าถึงธรรมะเป็นภาวะที่ใจเข้าไปสัมผัสกับข้อธรรมที่เป็นสัจจะธรรม เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ไม่มีวันเสื่อมสลาย และเป็นอกาลิโกอยู่เหนือกาลเวลา เป็นสิ่งที่ถึงที่สุดแล้วไม่มีสิ่งใดมาโต้แย้งได้


     :sign0144: :sign0144: :sign0144:

    อย่างมีการบัญญัติว่า ธรรมะที่แท้จริงนั้นจะต้องเป็นธรรมะที่พระพุทธเจ้าแสดงเท่านั้น แต่แท้ที่จริงแล้วธรรมะนั้นมีมากมายมหาศาล พระพุทธเจ้าเพียงหยิบยกมาบางส่วนเพื่อสั่งสอนมนุษย์ ธรรมะที่มีอยู่นั้นมากมายเหมือนใบไม้ที่มีอยู่ทั้งป่า พระพุทธเจ้าเพียงหยิบยกธรรมะมาสั่งสอนเพียงแค่ใบไม้ในกำมือ แต่ไม่ได้หมายความว่าใบไม้ที่ไม่ได้อยู่ในกำมือ หรือใบไม้ทั้งป่าไม่ได้เป็นธรรมะ

    ธรรมะเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วเพราะสรรพสิ่งที่เป็นธรรมะนั้นเป็นสิ่งที่เป็นธรรมชาติ พระพุทธเจ้าเป็นคนที่มาค้นพบธรรมะที่มีอยู่ในธรรมชาติ ธรรมะไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง อาจจะพูดได้ว่า ธรรมะไม่ใช่ของพระพุทธเจ้า

    พระพุทธเจ้าประสูติมาธรรมะนั้นมีอยู่ก่อนแล้ว พระพุทธเจ้ามาค้นพบธรรมะแล้วประกาศสั่งสอน และไม่ใช่ว่ามีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ค้นพบธรรมะ ยังมีพระปัจเจกพุทธเจ้ามากมายที่ค้นพบธรรมะ ถ้าเราจำกัดวงเฉพาะธรรมะที่พระพุทธเจ้านำมาแสดงหรือเผยแพร่ มันจะทำให้เราไม่สามารถเข้าใจธรรมะที่แท้จริงอันกว้างขวางพิสดารได้.



ที่มา http://www.thaipost.net/tabloid/250813/78305
ขอบคุณภาพจาก https://www.facebook.com/photo.php?fbid=613226608717774&set=a.613222185384883.1073741831.100000913211652&type=1&theater
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: 'การเข้าถึงธรรมะ' กับ 'การที่เข้าใจธรรมะ'
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2013, 10:54:10 am »
0
การบัญญัติว่า ธรรมะที่แท้จริงนั้นจะต้องเป็นธรรมะที่พระพุทธเจ้าแสดงเท่านั้น แต่ธรรมะที่มีอยู่เพียงหยิบแค่ใบไม้ในกำมือ แต่ใบไม้ทั้งป่าไม่ได้เป็นธรรมะไม่ใช่ของพระพุทธเจ้า มันทำให้เราไม่สามารถเข้าใจธรรมะที่แท้จริงอันกว้างขวางพิสดารได้.

ผมตัดทอนประโยชน์ประโยคของคำไว้ เพื่อแสดงถึงทัศนะความคิดที่ถูกตีกรอบให้ต้องพูดสอนเพียงที่มีอ้างอิงตามตัวบทประโยคคำเท่านั้น แบบแบบว่า ใครอ้างอรหันต์ สวรรค์ นิพพาน เป็นคนบ้าไปเสียหมด เพราะเราเรียนเรารู้เพียงเป็นอาภรณ์กันเป็นส่วนใหญ่ ธาตุกายขันธ์ ๕ เรารับรู้เพียงขันธ์เดียวคือ รูป อื่นจากนั้นไร้สาระไม่กล่าวไม่ใส่ใจ นี่เป็นวิทยาศาสตร์ที่ประศาสน์กันอยู่ทุกวันนี้ การภาวนาจึงถูกมองข้ามความสำคัญหรือแผลงไปเป็นวิถีจิตบำบัดอย่างต่ำค่าราคาจ่ายกันเห็นเห็น ดังนั้นค่าของคนจึงอยู่ที่ใครมี ดีเป็นเรื่องรอง สุขเสพแลกเลือกไม่พันธ์ผูกหญิงชายอยู่หย่าเป็นปกติที่ผิดปรกติ พระสงฆ์ไม่ต่างอะไรกับครูอาจารย์สอนหนังสือ หรืออยู่อาวาสสถานสงเคราะห์ ผมว่าแท้แล้วโลกวุ่นวายจะมีผู้คนไม่มากที่เจาะกรอบแสวงหาคำตอบและชอบที่จะเร้น งานนี้ผู้ดีเดินตรอก ขี้ครอกเดินถนน ผมเห็นจัด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 27, 2013, 10:56:06 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา