'พระธาตุ' มีลักษณะอย่างไร ปรากฏในพระไตรปิฎกหรือไม่.?
ถามว่า ลักษณะของพระธาตุเป็นอย่างไร ในพระไตรปิฎกบอกไว้หรือไม่.?
ตอบว่า พระไตรปิฎกภาษาไทย(ฉบับหลวง) ไม่ปรากฏ แต่ได้อธิบายไว้ในชั้นอรรถกถาของมหาปรินิพพานสูตร มีข้อความดังนี้
บทว่า สรีราเนว อวสิสฺสึสุ ความว่า เมื่อก่อนได้ชื่อว่าสรีระ ก็เพราะตั้งอยู่ด้วยโครงร่างอันเดียวกัน บัดนี้ ท่านกล่าวว่าสรีระทั้งหมดกระจัดกระจายไปแล้ว.
อธิบายว่า พระธาตุทั้งหลายก็เสมือนดอกมะลิตูม เสมือนแก้วมุกดาที่เจียรนัยแล้ว และเสมือนจุณทองคำยังเหลืออยู่.
จริงอยู่ สรีระของพระพุทธเจ้าผู้มีพระชนมายุยืนทั้งหลาย ย่อมติดกันเป็นพืดเช่นกับแท่งทองคำ.
ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิษฐานพระธาตุให้กระจายว่า เราอยู่ได้ไม่นานก็จะปรินิพพาน ศาสนาของเรายังไม่แพร่หลายไปในที่ทั้งปวงก่อน เพราะฉะนั้น เมื่อเราแม้ปรินิพพานแล้ว มหาชนถือเอาพระธาตุแม้ขนาดเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดทำเจดีย์ในที่อยู่ของตนๆ ปรนนิบัติ จงมีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
ถามว่า พระธาตุอย่างไหนของพระองค์กระจัดกระจาย อย่างไหนไม่กระจัดกระจาย.
ตอบว่า พระธาตุ ๗ เหล่านี้ คือ
- พระเขี้ยวแก้ว ๔
- พระรากขวัญ ๒
- พระอุณหิส ๑
ไม่กระจัดกระจาย นอกนั้นกระจัดกระจาย.
บรรดาพระธาตุเหล่านั้น พระธาตุเล็กๆ ทั้งหมดได้มีขนาดเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด.
พระธาตุใหญ่ขนาดเท่าเมล็ดข้าวสารหักกลาง
พระธาตุขนาดใหญ่ยิ่งมีขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียวหักกลาง.__________________________________________________
ที่มา มหากสฺสปตฺเถรวตฺถุวณฺณนา อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=67&p=5
ในอรรถกถาพักกุลสูตรได้กล่าวถึง"พระธาตุของพระพักกุลเถระ ที่มีลักษณะดังดอกมะลิตูม" ดังนี้
"พระเถระดำริว่า แม้เรามีชีวิตอยู่อย่าได้เป็นภาระแก่ภิกษุเหล่าอื่น
สรีระของเราแม้ปรินิพพานแล้ว อย่าให้ภิกษุสงฆ์ต้องเป็นกังวลเลย
จึงเข้าเตโชธาตุ ปรินิพพานแล้วเปลวไฟลุกขึ้นท่วมสรีระ
ผิวหนัง เนื้อและโลหิตถูกเผาไหม้สิ้นไป เหมือนเนยใส.
ยังคงเหลืออยู่แต่ธาตุ ที่มีลักษณะดังดอกมะลิตูม" ________________________________________________
อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สุญญตวรรค พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=380
แต่ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า) ได้ระบุไว้ใน"ธาตุภาชนียกถา" ว่าด้วยการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ เป็นพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ สุตตันตปิฎกที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ พุทธวงศ์ จริยาปิฎก ขอยกมาแสดงดังนี้
[๖] พระบรมสารีริกธาตุ ๗ อย่าง คือ พระอุณหิส ๑ พระทาฐธาตุทั้ง ๔ และพระรากขวัญ ๒ ข้าง ไม่แตก
พระบรมสารีริกธาตุที่เหลือแตกออกจากกัน
[๗] พระบรมสารีริกธาตุขนาดใหญ่เท่ากับเมล็ดถั่วเขียว ขนาดกลางเท่าเมล็ดข้าวสารหัก ขนาดเล็กเท่ากับเมล็ดพันธุ์ผักกาด มีสีต่าง ๆ กัน
[๘] พระบรมสารีริกธาตุขนาดใหญ่มีสีเหมือนทองคำ ขนาดกลางมีสีเหมือนแก้วมุกดา และขนาดเล็กมีสีเหมือนดอกมะลิ รวมทั้งหมดมีประมาณ ๑๖ ทะนาน
[๙] พระบรมสารีริกธาตุเหล่านั้นทุกขนาด คือ ขนาดใหญ่มี ๕ ทะนาน ขนาดกลางมี ๕ ทะนาน ขนาดเล็กมี ๖ ทะนานเท่านั้น
[๑๐] พระบรมสารีริกธาตุเหล่านี้แม้ทั้งหมด ประดิษฐานอยู่ในที่ต่าง ๆ กัน คือ พระอุณหิสอยู่ที่เกาะสีหล
พระรากขวัญเบื้องซ้ายอยู่ที่พรหมโลก และพระรากขวัญเบื้องขวาอยู่ที่เกาะสีหล________________________________________________
ที่มา
http://www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd33.htm
ถามว่า แล้วจะเชื่อพระไตรปิฎกเล่มไหนดี.?
ตอบว่า เรื่องนี้จนด้วยเกล้าครับ ปัญญาไปไม่ถึง แต่ขอยกเอาบาลีใน "พระไตรปิฎก ภาษาบาลี (ฉบับสยามรัฐ) เล่มที่ ๓๓ สุตฺตนฺตปิฏเก เล่มที่ ๒๕ ขุทฺทกนิกายสฺส อปทานํ ภาค ๒ พุทฺธวํโส จรยาปิฏกํ" ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่เก่าแก่และได้รับการยอมรับมากที่สุด มาแสดงดังนี้
ธาตุภาชนียกถา
[๒๘] มหาโคตโม ชินวโร กุสินารมฺหิ นิพฺพุโต
ธาตุวิตฺถาริกํ อาสิ เตสุ เตสุ ปเทสโต ฯ
เอโก อชาตสตฺตุสฺส เอโก เวสาลิยา ปุเร
เอโก กปิลวตฺถุสฺมึ เอโก จ อลฺลกปฺปเก ฯ
เอโก จ รามคามมฺหิ เอโก จ เวฏฺฐทีปเก
เอโก ปาเวยฺยเก มลฺเล เอโก จ โกสินารเก ฯ
ตุมฺพสฺส (๑) ถูปํ กาเรสิ พฺราหฺมโณ โทณสวฺหโย
องฺคารถูปํ กาเรสุํ โมริยา ตุฏฺฐมานสา ฯ
อฏฺฐ สารีริกา ถูปา นวโม ตุมฺพเจติโย (๒)
องฺคารถูโป ทสโม ตทาเยว ปติฏฺฐิโต ฯ (๓)
เอกา ทาฐา ติทสปุเร เอกา นาคปุเร อหุ
เอกา คนฺธารวิสเย เอกา กาลิงฺคราชิโน ฯ
จตฺตาฬีสสมา ทนฺตา เกสา โลมา จ สพฺพโส
เทวา หรึสุ เอเกกํ จกฺกวาฬปรมฺปรา ฯ
วชิรายํ ภควโต ปตฺโต ทณฺโฑ จ จีวรํ
นิวาสนํ กุลฆเร (๑) ปจฺจตฺถรณํ สิลวฺหเย (๒) ฯ
ปาฏลีปุตฺตนคเร กรกํ กายพนฺธนํ
จมฺปายํ อุทกสาฏกา(๓) อุณฺณโลมญฺจ โกสเล ฯ
กาสาวกํ (๔) พฺรหฺมโลเก เวฐนํ ติทเส ปุเร
[ปาสาณเก (๕) ปทํ เสฏฺฐํ ยถาปิ กจฺฉตํ ปุรํ]
นิสีทนํ อวนฺตีสุ (๖) เทวรฏฺเฐ (๗) อตฺถรณํ ตทา ฯ
อรณิ จ มิถิลายํ วิเทเห (๘) ปริสาวนํ
วาสี สูจิฆรญฺจาปิ อินฺทปตฺถปุเร (๙) ตทา ฯ
ปริกฺขารา (๑๐) อวเสสา ชนปทนฺตเก (๑๑) ตทา
ปริภุตฺตานิ มุนินา มเหสฺสนฺติ มนุชา ตทา ฯ
ธาตุวิตฺถาริกํ อาสิ โคตมสฺส มเหสิโน
ปาณีนํ อนุกมฺปาย อหุ โปราณิกํ ตทาติ ฯ
ธาตุภาชนียกถา นิฏฺฐิตา ฯ
พุทฺธวํโส นิฏฺฐิโต ฯ #๑ ม. ยุ. กุมฺภสฺส ฯ #๒ ม. ยุ. กุมฺภเจติโย ฯ #๓ ม. อุณฺหีสํ จตสฺโส ทาฐา ฯเปฯ สพฺพาเปตา ปติฏฺฐิตา ฯ
#๔ ยุ. กุสฆเร ฯ #๕ ม. ยุ. กปิลฺหเย ฯ #๖ ม. จมฺปายุทกสาฏิยํ ฯ ยุ. จมฺปายํ #อุทกสาฏิกา ฯ
#๗ ม. ยุ. กาสาวญฺจ พฺรหฺมโลเก ฯ #๘ ยุ. ปาสาณเก ปทํ เสฏฺฐํ #ยญฺจาปิ อจฺจุติ ปทํ ฯ #๙ ยุ. อวนฺติปุเร ฯ
๑๐ ม. ยุ. รฏฺเฐ ... ฯ #๑๑ ยุ. เวเทหิ ... ฯ ๑๒ ย. อินฺทรฏฺเฐ ฯ
๑๓ ยุ. ปริกฺขารํ อวเสสํ ฯ #๑๔ ม. ยุ. ชนปเท อปรนฺตเก ฯ
___________________________________________________________
ที่มา
http://etipitaka.com/compare?utf8=%E2%9C%93&lang1=thai&volume=33&p1=368&lang2=pali&commit=%E2%96%BA#