ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "พระป่า" ค้านไม่เปลี่ยนสีจีวรลั่นยึดตามหลักโบราณ  (อ่าน 2809 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


"พระป่า" ค้านไม่เปลี่ยนสีจีวรลั่นยึดตามหลักโบราณ

"พระป่า"ค้านไม่เปลี่ยนสีจีวร ลั่นยึดตามหลักปฏิบัติครูบาอาจารย์แต่โบราณ ขณะที่นักวิชาการชี้ธรรมยุตยึดสีจีวรพระราชนิยม เป็นเกมการเมืองศาสนาเชิงสัญลักษณ์ ส่วนคณะสงฆ์หนเหนือ ชิงประกาศให้พระสงฆ์ในสังกัดใส่จีวรสีเดียวกันก่อนหน้า

จากการที่สมเด็จพระวันรัต รักษาการเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) ในฐานะรักษาการเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุตได้ลงนามในคำสั่งประกาศคณะธรรมยุตเรื่องการครองผ้าไตรจีวรสีพระราชนิยมสนองพระราชศรัทธาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยจะเริ่มใช้ในวันวิสาขบูชา 13 พ.ค.นี้ ตามที่นำเสนอไปแล้วนั้น

ความคืบหน้าเมื่อวันที่ 16 ก.พ. พระธรรมฐิติญาณ (ศรีจันทร์) วัดบึงพลาญชัย จ.ร้อยเอ็ด ในฐานะเจ้าคณะภาค 10 ธรรมยุต กล่าวว่า ได้รับทราบประกาศของคณะธรรมยุตแล้ว แต่พระสายวิปัสสนากรรมฐาน หรือสายพระป่า ยังคงยึดธรรมเนียมปฏิบัติครูบาอาจารย์ที่มีมาแต่โบราณ คงไม่เปลี่ยนสีครองจีวร และในส่วนของวัดก็ต้องดูกาลเทศะ โดยจะครองจีวรตามคำสั่งต่อเมื่อมีพระราชพิธีหรือความเหมาะสม




อย่างไรก็ตามพระสายวิปัสสนากรรมฐานจะยึดพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะใครบวชก่อนหลังจะเคารพกันที่พรรษาถึงแม้จะมีสมณศักดิ์สูงก็ต้องไหว้พระที่พรรษามากกว่าถึง แม้จะไม่มีสมณศักดิ์ก็ตาม ขณะที่การครองจีวรก็เช่นกันจะยึดธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดมาจากรุ่นครูบาอาจารย์ ซึ่งเรื่องนี้เคยหารือกับสมเด็จพระวันรัต ก่อนที่จะมีประกาศแล้วถึงข้อปฏิบัติดังกล่าวซึ่งทางท่านก็ว่าไม่ได้แจ้งว่าเป็นการบังคับแต่อย่างใด

ด้าน ดร.สวัสดิ์ อโณทัย คณบดีคณะปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น กล่าวว่า ในพระวินัยปิฎกระบุไว้ชัดเจนถึงสีจีวรว่าใช้จากสีน้ำฝาดไม้แก่นขนุนย้อม แต่ในปัจจุบันจีวรทำในเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะทำให้สีไม่ตรงกับสีที่บัญญัติไว้ในพระวินัยแท้จริง แต่ถ้าแบ่งพระสงฆ์จะมี 2 ลักษณะ คือ อรัญวาสี กับคามวาสี ในส่วนคามวาสี จะอยู่ในชุมชนอยู่กับชาวบ้านนุ่งห่มจะสะอาด จะนุ่งห่มจีวรสีเหลืองหรือสีทอง




ส่วนอรัญวาสี จะใช้สีกรัก เพราะต้องนั่งใต้ต้นไม้ และเข้ากับธรรมชาติ รวมทั้งเป็นการป้องกันอันตรายจากสัตว์ร้ายได้ด้วย เวลาไปนั่งวิปัสสนากรรมฐาน สำหรับการที่คณะสงฆ์ธรรมยุตเปลี่ยนสีจีวรเป็นสีพระราชนิยมนั้นทำได้และก็เคยมีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นมาช่วงหนึ่งสมัยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช แห่งวัดบวรนิเวศวิหาร

คณบดีคณะปรัชญาฯ กล่าวต่อว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์อยากให้คณะสงฆ์ที่จะเข้าพระราชพิธี ครองจีวรสีเดียวกัน เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จึงได้มีมติมหาเถรสมาคมออกมาว่าเวลาพระสงฆ์ทั้ง 2 นิกายเข้าวังจะต้องครองจีวรสีพระราชนิยม เพื่อเป็นการสร้างความประนีประนอมระหว่างธรรมยุตและมหานิกาย




ดังนั้นการที่ธรรมยุตประกาศใช้จีวรสีพระราชนิยมเป็นสีประจำคณะธรรมยุต เป็นการแสดงชิงไหวชิงพริบทางการเมืองศาสนา หากพระธรรมยุตยึดสีพระราชนิยมเป็นของตนเองแล้วต่อไปเข้าพิธีมหานิกายต้องอนุวัตตามที่ธรรมยุตปฏิบัติ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงประนีประนอมความต่างของสีจีวรแต่ละนิกายด้วยการสร้างความกลมกลืนในเวลาเข้าพระราชพิธีด้วยการครองจีวรสีเดียวกันโดยพระองค์ไม่ได้มีการบังคับให้เปลี่ยน

“พอมีประกาศดังกล่าวมีคำถามพระมหานิกายจะปฏิบัติเช่นไร โดยมติ มส.ให้มหานิกายต้องครองจีวรสีพระราชนิยมเวลาเข้าวัง ทางคณะสงฆ์มหานิกายก็ต้องปฏิบัติตามนั้น พอปฏิบัติตามก็กลายเป็นเครื่องมือ หรือเรียกว่า "เบ้" ซึ่งมหานิกายมีพระมากกว่า 2 แสนรูป แต่ธรรมยุตมีเพียงประมาณ 30,000 รูป ทำให้คนส่วนน้อยต้องมาอนุวัตตามคนส่วนใหญ่ นี่คือวิธีการเดินเกมการเมืองสัญลักษณ์ทางศาสนา” ดร.สวัสดิ์ กล่าว


ขอบคุณภาพข่าวจาก
www.dailynews.co.th/Content/education/216530/_พระป่า_ค้านไม่เปลี่ยนสีจีวรลั่นยึดตามหลักโบราณ
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

บุญเอก

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 516
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: "พระป่า" ค้านไม่เปลี่ยนสีจีวรลั่นยึดตามหลักโบราณ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2014, 01:46:28 am »
0
เห็นด้วย ว่า ธรรมยุติ กำลัง ต้องการจัดการ มหานิกาย ซึ่งเป็นจีิวร สีเหลือง

โดยเฉพาะ สังฆราชใหม่ ใช้จีวร สีทอง ก็ต้องเปลี่ยน นะ ถ้า ธรรมยุติ ทำตามกันหมดทั้งประเทศ ผลดีก็มีอยู่ แต่ความเป็นจริงแล้ว น่าจะจัดการไม่ได้ เดี๋ยวนี้เวลา ที่ผมเห็นพระเดินทางมาให้เห็นนะครับ ก็มี สี ขี้ม้า น้ำตาล สีแสด สีกรัก ส่วนสีทอง ไม่เคยเห็นเดินธุดงค์ นอกเสียจากพวกธรรมกาย ที่ถ่ายรูปให้ดู

 :49:
บันทึกการเข้า
ทำงานอาสา หวังช่วยคนตกยาก แม้จะลำบาก แต่ก็จะทำโดยความไม่หนักใจ
อาสากตัญญู พัทยา ยินดีรับใช้

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: "พระป่า" ค้านไม่เปลี่ยนสีจีวรลั่นยึดตามหลักโบราณ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2014, 06:14:37 am »
0
เรื่องของสีจีวรนี้ ในสมัยเมื่อผมบวชนั้นยังไม่เคร่งครัดนักแม้บวชในสำนักเดียวกันก็ใช้ต่างคละกันไปจึงมีการแบ่งแยกกันเองว่าพวกใช้สีกรักคือพวกบัณฑิตมีเกรดอภิสิทธิ์นิดๆ ธรรมดาก็สีเหลืองกันไป หรือจะสีกรักแก่เข้มหม่นๆก็สำหรับหลวงตาอาวุโสพรรษามากว่ากันไป แต่มีเพื้ยนใช้ในหมู่สามเณรประเภทสบงสีหนึ่งอังสะสีหนึ่งจีวรสีหนึ่งผ้ารัดอกอีกสีหนึ่งจนดูเป็นยี่เกก็มีใช่ว่าสามเเณรท่านวัยรุ่นนะนั่นก็ส่วนหนึ่ง แต่เป็นเพราะเณรท่านขาดผ้าไม่มีใช้มากกว่าอะไรอะไรหาได้มีใช้ก็ใช้ไปนั่นเอง ปัจจุบันมีหลายสำนักในจังหวัดสระบุรีมีบัญญัติให้ใช้สีราชนิยมหมดไม่เว้น ซึ่งผมก็ว่าดี แต่กรณีพระป่าอรัญวาสีผมเห็นว่าท่านครองสีเป็นเอกลักษณ์ประเพณียากที่จะเปลี่ยนหากเปลี่ยนแล้วคงเสียความรู้สึกในความขลังของสีของกลุ่มพวกไป ผมไม่สนับสนุนให้พระป่่าท่านเปลี่ยนสีจีวรครับ เพราะผมปรารถนาที่จะไปครองสีนั้นอยู่เหมือนกัน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 18, 2014, 12:05:05 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: "พระป่า" ค้านไม่เปลี่ยนสีจีวรลั่นยึดตามหลักโบราณ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2014, 02:56:06 am »
0
เห็นด้วย ไม่เห็นเกี่ยวกันเลย ว่าจะต้องให้พระสงฆ์ห่มผ้าสีเดียวกันทั้งหมด ทั่วประเทศ ให้ตามอัธยาศัย ตรงตามวินัยก็น่าจะดี พอเหมาะ พอสม อยู่แล้ว

  ไม่มีเรื่องจะคิด ที่จะทำแล้วหรือ

  :91: :91: :91:
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา