ทำไม มีน้อยลง ก็เพราะว่า การสอบบาลีนั้น เป็นการสอบความจำ ถ้าพระ เณร จำได้มาก ก็สอบได้ ถ้าจำไม่ได้ ก็สอบไม่ได้ ดังนั้น สนามสอบนี้ไม่ได้ต้องการ พระเณรที่มีไหวพริบ แต่ต้องการ พระเณรที่มีความจำดี จำได้แม่น ซึ่งต่างจาก วิชาทางโลก ที่มีการใช้ไหวพริบ และ ข้ออนุโลม การตรวจข้อสอบ
แต่การตรวจข้อสอบของ พระเณร ระเบียบรัดกุม เข้มเกินไป หากแปลผิด 2 ป. ก็ตกแล้ว ทั้งที่การแปลผิดรูปประโยค ไม่ได้ทำให้ข้อความวิบัติ คือศัพท์ถูก แต่ สัมพันธ์ อาจจะผิด รูปแบบไปบ้าง แค่นี้ ก็สอบตกแล้ว มาสอบ 2 - 3 วัน ผิดแค่ 2 ป. ก็ตกแล้ว หรือ เจอ 4 ศ. ก็ตกอีก แปลผิด ศัพท์ ก็ตก
จะเห็นได้ว่า แนวการตรวจข้อสอบบาลี นั้นให้ข้อผิดพลาด เพียง 2 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ดังนั้น พระเณร จึงต้องมีความทรงจำ ที่แม่นยำ และ ดี
การสอบบาลี นอกจากพระเณร ที่จะต้องจำ แล้ว ที่สำคัญ การเรียนแบบท่องจำนั้น มีความเครียดมากกว่า ดังนั้นอยากให้พระสงฆ์ ไปดูวิธีการสอนภาษาอังกฤษ และ แนวการใช้ภาษาอังกฤษ กันบ้างนะครับ ว่าทำไมคนเก่งภาษาอังกฤษ มีจำนวนมาก
ที่นี้กับไปดูต้นแบบ ของเจ้าของภาษา คือ ชาวฮินดู อินเดีย มคธ เอง มาสอบแบบของไทย ทั้ง ๆ ที่เขาใช้ภาษานี้กันในชีิวิตประจำวัน ผมมีพระคุณเจ้า ที่เป็นธรรมฑูต ได้นำให้มีการสอบแบบ สนามหลวงไทย ที่นั่นไม่มีใครสอบผ่านเลย ส่วนใหญ่ โดน 2 ป. กันทั้งหมด
ดังนั้น ถ้าจะพัฒนาการสอบ การสนับสนุน บาลี แล้ว พระสงฆ์ที่ดูแล อาจจะต้องปฏิวัต การสอบแบบเดิม ให้เป็นเช่นการสอบภาษาอังฤษ ซึ่งถ้าทำแบบนี้ผมเชื่อว่า พระเณรจะมีคุณภาพในการเรียน และ แปล มากขึ้น

แสดงความเห็นได้ดี คะ แต่ไม่ทราบว่า ข้อความนี้จะถึง หู ตา พระมหาเถระ และ พระเถระ ที่ดูแลกันอยู่บ้างหรือไม่ หรือ พระท่านไม่ได้ทำวิจัยเรื่องเล่านี้จริง ๆ เพราะยังผูก หรือ ยึดหลัก ปฏิบัติเดิม ๆ ว่าด้วยเรื่องการศึกษา
แต่จากประวัติการสอบ บาลี นี้ก็มีการปฏิรูป มาครั้งหนึ่งแล้ว จากการสอบปากเปล่า มาเป็น กระดาษ โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า มาครั้งหนึ่งแล้ว
และปฏิรูป ให้มีการสอบซ่อม อีกครั้งหนึ่ง ก็คิดว่า พระสงฆ์ ก็คงจะอนุโลม มากขึ้นกว่าก่อน เหตุเพราะว่าผู้ที่สอบในสมัยก่อนนั้น ก็ยังคิดอยู่ว่า เรากว่าจะสอบได้ก็ยากเย็น แค่นี้ถือว่า อนุโลมมากแล้ว ด้วยเหตุนี้แหละคะที่ไม่เกิดการพัฒนา เพราะผู้ที่กำหนด นโยบาย คือ คนเก่า ที่ยังคง อนุรักษ์ของเก่า ดังนั้นการ ปฏิรูป การเรียนบาลี การสอบบาลี ไม่เกิดการพัฒนา พระเ้ณรจึงไม่อยากเรียน
ที่สำคัญ สอบได้ยาก แต่สอบได้แล้ว ไม่มีประโยชน์ในทางโลก ถึงแม้จะเทียบ ป. ตรี ที่ ปธ.9 แต่เวลาไปสมัครงาน เชื่อว่า คงจะยาก อีกอย่าง ปธ.9 ที่เทียบ ป.ตรี นี้ มันน่าจะเป็น ป.เอก นะ เพราะ ปธ.9 นั้นเป็นที่สุด จะเรียกว่า มหาบัณฑิต เลย ดังนั้นการเทียบวุฒิ ดิฉัน ยังมีการเทียบผิดคะ
ถ้าจะเทียบน่าจอย่างนี้ คือ
ปธ 1 - 2 เทียบเท่า ม.6 หรือ ปวข ปัจจุบันไม่มีการเทียบ เพราะ นธ.เอก เทียบเท่า ป.6
ปธ 3 - 4 เทียบเท่า อนุปริญญา ปกศ. ปวส. ปัจจุบันเทียบเท่า ม.3
ปธ 5 - 6 เทียบเท่า ป.ตรี ปัจจุบันเทียบเท่า ม.4
ปธ 7 - 8 เทียบเท่า ป.โท ปัจจุบันเทียบเท่า ม.6
ปธ 9 เทียบเท่า ป.เอก ปัจจุบันเทียบเท่า ป.ตรี
ที่จริงน่าจะเทียบแบบนี้ นะคะ ส่วนตัวคิดว่า น่าจะอย่างนี้แต่ปัจจุบัน เทียบให้น้อยไป จึงไม่เกิดแรงจูงใจให้ พระเณร อยากเรียน สู้เรียน ป.ตรี โท เอก โดยตรง ยังมีหวังได้จบเร็วกว่า สอบ เปรียญบาลี ใช่หรือไม่ คะ
