ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กายทิพย์ คือ อะไร ต่างกับ มโนมยิทธิ อย่างไร คะ และ..  (อ่าน 4680 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1

กายทิพย์ คือ อะไร ต่างกับ มโนมยิทธิ อย่างไร คะ และ บุคคลประเภทไหน ถึงจะมีกายทิพย์ได้ คะ

 thk56 thk56 thk56
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

KIDSADA

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 439
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
กายทิพย์ คือ จิตสะอาด

   ใช่ หรือ ไม่ ไม่ทราบเหมือนกัน แต่เชื่อว่า ทุกคน มีกายทิพย์

 :91: :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า
เราชอบ ป่วนแก็งค์ อ๊บ อ๊บ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28565
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
ราชสูตรที่ ๑


   [๔๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในดิถีที่ ๘ ของปักษ์ เทวดาผู้เป็นบริวารของท้าวจาตุมหา ราชย่อมเที่ยวตรวจดูโลกนี้ว่า ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลแก่มารดา เกื้อกูลแก่บิดา เกื้อกูล แก่สมณะ เกื้อกูลแก่พราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้หลักผู้ใหญ่ในสกุล อธิษฐานอุโบสถ ปฏิบัติ ทำบุญ มีอยู่มากแลหรือ
   .....ฯลฯ........

   ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ย่อมพากัน เสียใจว่า
   ดูกรผู้เจริญทั้งหลาย กายทิพย์จักเสื่อมหาย อสุรกายจักเต็มบริบูรณ์ ดังนี้

   ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลแก่มารดา ... ปฏิบัติ ทำบุญ มีอยู่มาก ท้าวจาตุ มหาราชย่อมบอกถึงเหตุที่กล่าวมานั้น แก่พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ซึ่งมาประชุมกัน ณ สุธรรมาสภาว่า
    ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลแก่มารดา เกื้อกูลแก่บิดา เกื้อกูลแก่ สมณะ เกื้อกูลแก่พราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้หลักผู้ใหญ่ในสกุล อธิษฐานอุโบสถ ปฏิบัติ ทำบุญ มีอยู่มากแล เพราะเหตุนั้น พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ย่อมพากันดีใจว่า
    ดูกรผู้เจริญทั้งหลาย กายทิพย์จักเต็มบริบูรณ์ อสุรกายจักเสื่อมสูญ ฯ


ที่มา etipitaka.com/compare?utf8=✓&lang1=thai&volume=20&p1=135&lang2=pali&commit=►#





พระไตรปิฎก ภาษาบาลี (ฉบับสยามรัฐ) เล่มที่ ๒๐
สุตฺตนฺตปิฏเก เล่มที่ ๑๒ องฺคุตฺตรนิกายสฺส เอก-ทุก-ติกนิปาตา


    [๔๗๖] อฏฺฐมิยํ ภิกฺขเว ปกฺขสฺส จตุนฺนํ มหาราชานํ อมจฺจา ปาริสชฺชา อิมํ โลกํ อนุวิจรนฺติ กจฺจิ พหู มนุสฺสา มนุสฺเสสุ เมตฺเตยฺยา เปตฺเตยฺยา สามญฺญา พฺรหฺมญฺญา กุเลเชฏฺฐาปจายิโน อุโปสถํ อุปวสนฺติ ปฏิชาคโรนฺติ ปุญฺญานิ กโรนฺตีติ ฯ

    .....ฯลฯ........

    เตน ภิกฺขเว เทวา ตาวตึสา อนตฺตมนา โหนฺติ ทิพฺพา วต โภ กายา ปริหายิสฺสนฺติ ปริปูเรสฺสนฺติ อสุรกายาติ ฯ

    สเจ ปน ภิกฺขเว พหู โหนฺติ มนุสฺสา มนุสฺเสสุ เมตฺเตยฺยา เปตฺเตยฺยา สามญฺญา พฺรหฺมญฺญา กุเลเชฏฺฐาปจายิโน อุโปสถํ อุปวสนฺติ ปฏิชาคโรนฺติ ปุญฺญานิ กโรนฺตีติ ฯ
    ตเมนํ ภิกฺขเว จตฺตาโร มหาราชาโน เทวานํ ตาวตึสานํ สุธมฺมายํ สภายํ สนฺนิสินฺนานํ สนฺนิปติตานํ อาโรเจนฺติ พหู โข มาริสา มนุสฺสา มนุสฺเสสุ เมตฺเตยฺยา เปตฺเตยฺยา สามญฺญา พฺรหฺมญฺญา กุเลเชฏฺฐาปจายิโน อุโปสถํ อุปวสนฺติ ปฏิชาคโรนฺติ ปุญฺญานิ กโรนฺตีติ ฯ
    เตน ภิกฺขเว เทวา ตาวตึสา อตฺตมนา โหนฺติ ทิพฺพา วต โภ กายาปริปูเรสฺสนฺติ  ปริหายิสฺสนฺติ อสุรกายาติ ฯ


ที่มา etipitaka.com/compare?utf8=✓&lang1=thai&volume=20&p1=135&lang2=pali&commit=►#





อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ เทวทูตวรรคที่ ๔
๗. ราชสูตรที่ ๑


   เทวดาชั้นดาวดึงส์              
   บทว่า เทวานํ ตาวตึสานํ ความว่า เทวดาทั้งหลายได้นามอย่างนี้ว่า (ดาวดึงส์) เพราะอาศัยเทพบุตร ๓๓ องค์ผู้เกิดครั้งแรก. ส่วนกถาว่าด้วยการอุบัติของเทวดาเหล่านั้น ได้อธิบายไว้แล้วอย่างพิสดารในอรรถกถาสักกปัญหสูตรในทีฆนิกาย.
   บทว่า เตน คือ เพราะการบอกนั้น หรือเพราะมนุษย์ผู้ทำบุญมีน้อยนั้น.

   บทว่า ทิพฺพา วต โภ กายา ปริหายิสฺสนฺติ ความว่า เพราะเทพบุตรใหม่ๆ ไม่ปรากฏ หมู่เทวดาก็จักเสื่อมสิ้นไป เทวนครกว้างยาวประมาณหนึ่งหมื่นโยชน์ อันน่ารื่นรมย์ ก็จักว่างเปล่า.

   บทว่า ปริปูริสฺสนฺติ อสุรกายา ความว่า อบาย ๔ จักเต็มแน่น.
   ด้วยเหตุนี้ เทวดาชั้นดาวดึงส์จึงเสียใจว่า พวกเราจักไม่ได้เล่นนักษัตร ท่ามกลางหมู่เทวดาในเทวนครที่เคยเต็มแน่น.
   แม้ในสุกปักษ์ก็พึงทราบความหมายโดยอุบายนี้แล.

   พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภูตปุพฺพํ ภิกฺขเว สกฺโก เทวานมินฺโท ดังนี้ ทรงหมายถึงที่พระองค์เป็นท้าวสักกเทวราช. อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงอัธยาศัยของท้าวสักกะพระองค์หนึ่ง.
   บทว่า อนุนยมาโน แปลว่า เตือนให้รู้สึก.
   บทว่า ตายํ เวลายํ คือ ในกาลนั้น.


ที่มา www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=476
ขอบคุณภาพจาก http://www.rueanthewalai.com/ , http://www.bloggang.com/ ,
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 09, 2014, 11:17:40 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28565
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

วิชชา 8 (ความรู้แจ้ง, ความรู้วิเศษ)
       1. วิปัสสนาญาณ (ญาณในวิปัสสนา, ญาณที่เป็นวิปัสสนา คือปัญญาที่พิจารณาเห็นสังขารคือนามรูปโดยไตรลักษณ์ มีต่างกันออกไปเป็นชั้นๆ ต่อเนื่องกัน)
       2. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ, ฤทธิ์ทางใจ คือ นิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้ ดุจชักไส้จากหญ้าปล้อง ชักดาบจากฝัก หรือชักงูออกจากคราบ)
       3. อิทธิวิธา หรือ อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้)
       4. ทิพพโสต (หูทิพย์)
       5. เจโตปริยญาณ (ความรู้ที่กำหนดใจผู้อื่นได้)
       6. ปุพเพนิวาสานุสสติ (ระลึกชาติได้)
       7. ทิพพจักษุ (ตาทิพย์)
       8. อาสวักขยญาณ (ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ)


       ข้อที่ 2 โดยมากจัดเข้าในข้อที่ 3 ด้วย ข้อที่ 3 ถึง 8 (6 ข้อท้าย) ตรงกับอภิญญา 6.


อ้างอิง ที.สี. 9/131-138/101-112.
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)





พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑
ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
มโนมยิทธิญาณ


    [๑๓๒] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิต รูปอันเกิดแต่ใจ คือ นิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง

    ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่านี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องอย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง
    อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝักดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง ก็แต่ดาบชักออกจากฝักนั่นเอง
    อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักงูออกจากคราบ เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ งูอย่างหนึ่ง คราบอย่างหนึ่งก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเอง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล

    เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้วไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ เธอย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือ นิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
    ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.


ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/read/?9/131-138/101-112





อรรถกถา ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
สามัญญผลสูตร


    มโนมยิทฺธิญาณกถา               
     บทว่า มโนมยํ แปลว่า บังเกิดด้วยใจ.
     บทว่า สพฺพงฺคปจฺจงฺคํ แปลว่า ประกอบด้วยอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วน.
     บทว่า อหีนินฺทฺริยํ ได้แก่ มีอินทรีย์ไม่บกพร่องโดยทรวดทรง.
     จริงอยู่ รูปที่ผู้มีฤทธิ์นิรมิต ถ้าผู้มีฤทธิ์ขาว แม้รูปที่นิรมิตนั้นก็ขาว ถ้าผู้มีฤทธิ์ไม่ได้เจาะหู แม้รูปที่นิรมิตนั้นก็มิได้เจาะหู รูปนิรมิตย่อมเป็นเหมือนผู้นิรมิตนั้นทุกประการทีเดียวอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

     จริงอยู่ แม้อุปมา ๓ อย่าง มีชักไส้ออกจากหญ้าปล้องเป็นต้น ท่านกล่าวเพื่อแสดงความเหมือนกันนั่นเอง. ก็ไส้ภายในหญ้าปล้องนั้นก็เท่ากับหญ้าปล้องนั่นเอง ดาบก็เท่ากับฝักนั่นเอง. ที่ฝักเป็นเกลียว ดาบก็เป็นเกลียวด้วย คนจึงใส่เข้าไปได้ ที่ฝักแบน ดาบก็แบน.


       :96: :96: :96:

      คำว่า กรณฺฑา แม้นี้ เป็นชื่อของคราบงู ไม่ใช่เป็นชื่อของขวดที่เป็นเกลียว.
      จริงอยู่ คราบงูย่อมเท่ากับตัวงูนั่นเอง.
      ในอุปมานั้น ท่านแสดงว่าเหมือนชักงูจากคราบด้วยมือ บุรุษพึงชักงูออกจากคราบ ดังนี้ ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็พึงทราบว่า ชักรูปนิรมิตนั้นออกด้วยจิตนั่นเอง.

      ก็ชื่อว่างูนี้ดำรงอยู่ในชาติของตน อาศัยระหว่างไม้หรือระหว่างต้นไม้ ลอกคราบเก่าซึ่งเหมือนรัดลำตัวอยู่ ด้วยเรี่ยวแรงกล่าวคือพยายาม ดึงลำตัวออกจากคราบ งูย่อมลอกคราบได้เองด้วยเหตุ ๔ ประการเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้ ไม่อาจลอกคราบได้ด้วยเหตุอื่นจาก ๔ อย่างนั้น เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า คำนี้ท่านกล่าวหมายเอาการลอกด้วยจิต.
      ด้วยประการฉะนี้ สรีระของภิกษุนี้ก็เช่นเดียวกับหญ้าปล้องเป็นต้น รูปนิรมิตก็เช่นเดียวกับไส้หญ้าปล้องเป็นต้น นี้เป็นการเทียบเคียงด้วยอุปมาในข้อนี้ ด้วยประการฉะนี้.

      :29: :29: :29:

     ก็วิธีนิรมิตในเรื่องนี้และกถาว่าด้วยอภิญญา ๕ มีอิทธิวิธีเป็นต้น แต่ที่อื่นกล่าวไว้พิสดารในวิสุทธิมรรคโดยอาการทั้งปวง ฉะนั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในที่นั้นเถิด. ด้วยว่า เพียงอุปมาเท่านั้นก็เกินไปในที่นี้.

     ในพระบาลีนั้น ภิกษุผู้ได้อิทธิวิธญาณ พึงเห็นเหมือนช่างหม้อผู้ฉลาดเป็นต้น.
     อิทธิวิธญาณ พึงเห็นเหมือนดินเหนียวที่นวดไว้อย่างดี.
     การแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ ของภิกษุนั้น พึงเห็นเหมือนการทำภาชนะชนิดต่างๆ ที่ปรารถนาแล้วๆ.


ที่มา www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=91&p=6#มโนมยิทฺธิญาณกถา
ขอบคุณภาพจาก http://www.clipmass.com/ , http://livingyadid.files.wordpress.com/ , http://nmww2w.bay.livefilestore.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 10, 2014, 10:33:56 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28565
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ask1

กายทิพย์ คือ อะไร ต่างกับ มโนมยิทธิ อย่างไร คะ และ บุคคลประเภทไหน ถึงจะมีกายทิพย์ได้ คะ

 thk56 thk56 thk56


   ans1 ans1 ans1

   ในบาลี กายทิพย์ หมายถึง เทวดา
   ส่วนคำว่า มโนมยิทธิ หมายถึง ฤทธิ์ทางใจ คือ นิรมิต(สร้างหรือแปลง)กายอื่นออกจากกายนี้
   หากถามว่าต่างกันอย่างไร ตอบแบบกำปั้นทุบดิน ก็คือ กายทิพย์เป็นกายของเทวดาเท่านั้น
   ส่วนกายที่เกิดจากมโนมยิทธิ คือ กายที่ถูกนิรมิตขึ้นด้วยฤทธิ์ของมนุษย์ มนุษย์ที่สามารถมีกายแบบนี้ได้ ต้องได้ฌาน ๔ ฝึกจนได้อภิญญา ๖ หรือ วิชชา ๘
   ผมคงตอบได้เพียงเท่านี้

    :49:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st11 st12
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

บุญเอก

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 516
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 :49: thk56
บันทึกการเข้า
ทำงานอาสา หวังช่วยคนตกยาก แม้จะลำบาก แต่ก็จะทำโดยความไม่หนักใจ
อาสากตัญญู พัทยา ยินดีรับใช้