
เชื่อไหมว่ายังมีพื้นที่ตกสำรวจซ่อนอยู่ที่ไหนสักแห่ง เป็นที่น่ายินดีสำหรับพวกเราชาวพุทธที่มีการค้นพบรอยพระพุทธบาทแห่งใหม่ของสยามประเทศนอกเหนือจากการบันทึกโบราณรอยที่ถูกปกปิดไว้กลางป่าชายแดนไทยและเขมรทางกรมศิลป์พร้อมเปิดให้เขาไปเที่ยวชมกันอย่างเป็นทางการหลังปรับพื้นที่
มีค้นพบพุทธบาทโบราณแห่งใหม่ที่วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร ตำบลจรัส อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ ตัวพุทธบาทสลักบนหินทรายธรรมชาติ กลางป่าบนเขาศาลา เขาหินทรายที่เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาพนมดงเร็ก ชายแดนไทย - กัมพูชา
แต่ก่อน ชั่วเวลาแค่เพียงไม่ถึงสองทศวรรษที่ผ่านมา บริเวณเขาศาลานับเป็นพื้นที่อันตรายระดับ "สีแดง" แห่งหนึ่งในเขตอีสานใต้ มันเต็มไปด้วยกับระเบิดที่กองกำลังฝ่ายต่างๆ ฝังไว้ดักทำลายทั้งบุคคลและยานพาหนะ เส้นทางที่จะเข้าถึงได้จากภายนอกก็ยังทุรกันดารมาก อาจจะเป็นเพราะสาเหตุนี้เอง ที่พุทธบาทองค์นี้เพิ่งปรากฏเป็นที่รับรู้กัน

ขนาดขององค์พุทธบาทคือยาว ๓๒๐ เซนติเมตร ส้นพระบาทกว้าง ๗๐ เซนติเมตร ปลายพระบาทกว้าง ๑๕๐ เซนติเมตร และลึก ๒๐ เซนติเมตรโดยประมาณ สลักเป็นพระบาทข้างขวา แต่นิ้วพระบาทมีขนาดแทบจะเท่ากันทั้งห้านิ้ว มีลายวงก้นหอยประดับทั้งส่วนปลายนิ้วและข้อนิ้ว ลักษณะโดยทั่วไปนับว่าสมบูรณ์ ไม่มีร่องรอยชำรุดแตกหักใดๆ
องค์พุทธบาทวางตำแหน่งตามแนวทิศตะวันออก - ตะวันตก นิ้วพระบาทหันไปทางทิศตะวันออก ลายบนฝ่าพระบาททั้งหมดอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมเส้นนูนขนาดกว้างยาวช่องละ ๘ เซนติเมตรโดยประมาณ ล้วนเป็นรูปสัตว์และพันธุ์พฤกษา โดยมีการสลักลวดลายดอกบัวขนาดใหญ่ไว้ที่ฝ่าพระบาทและส้นพระบาทด้วย เส้นขอบรอบพระบาทนั้นล้อมด้วยลายเม็ดประคำและลายกลีบบัวแบบเขมร
ลวดลายกลีบบัวที่เส้นขอบรอบ และที่วงนอกสุดของลายดอกบัวในพุทธบาทนั้นดูเป็นแบบเขมรที่ค่อนข้างเก่า แต่ขนบการสลักลวดลายเฉพาะแต่รูปสัตว์นานาชนิด เช่น แมงมุม ตั๊กแตน ผีเสื้อ นกเงือก นกยูง ปู ปลาดุก งู ฯลฯ และรูปพันธุ์พฤกษาคือไม้ใหญ่และกอบัว โดยไม่ปรากฏลายมงคลใดๆ เลยนั้น ไม่เคยปรากฏพบในศิลปะเขมร ทวารวดี หรือลพบุรีมาก่อน ทำให้ยังไม่อาจกำหนดอายุได้แน่ชัดนัก อาจเป็นพุทธบาทแบบพื้นเมืองที่สร้างขึ้นตามคติความเชื่อที่สูญหายไปแล้วในปัจจุบัน(สวยมากๆยืนยัน)


ข้อมูลจาก เฟสบุ๊ค อ้น กรมศิล