การรวมศูนย์จิต ทำอย่างไร มีวิธีการอย่างไร ควรทำตอนไหน ? คำถามจาก
sompong, painting, นักเดินทาง, nonestop, nirvanar55, komol, บุญเอก, pussadee, chatchay, meditation, samathi, udom, somchit, prayong, RATCHANEE, paisalee, ratree, , pimpa, pongsatorn, samapol

1. การรวมศูนย์จิต คือ อะไร ?
มีอยู่ 3 คำ ในประโยค นี้ คือ
1. การรวม หมายถึง วิธีการ การทำให้เข้ากัน การทำให้เป็นอันเดียวกัน นั่นหมายถึง คำว่า เอกัคคตา แปลว่า เป็นหนึ่งเดียวกัน คือไม่มีสองชิ้น ไม่มีแยก เปรียบอาหาร ที่มีเครื่องปรุงหลายอย่าง แต่ถูกนำใส่ในภาชนะเดียวกัน ในคือความหมายของคำว่า รวม
ประโยชน์ ของการรวม ก็คือ การจัดการ ง่าย สะดวก นั่นเอง ดังนั้นในความหมายนี้ จึงหมายถึง วิธีการรวมให้เป็นหนึ่งเดียวกัน
2. ศูนย์ หมายถึงที่ตั้ง บัญชาการ ศูนย์ไม่ใช่ ฐานธรรมดา แต่หมายถึง ฐานปฏิบัติการที่ยกระดับควบคุม ฐาน ๆ อื่นด้วย ในที่นี้กล่าวถึง วิชาพุทธานุสสติกรรมฐาน คำว่า ศูนย์ มีเพียงฐานเดียวที่เดียวเท่านั้น นั้นก็คือ ที่สะดือ หรือ ที่เรียกว่า ศูนย์นาภี
่ทำไมจึงเรียก นาภี ว่า ศูนย์ ?
คำว่า ศูนย์ ในกรรมฐาน มี สองความหมาย คือ
2.1 ศูนย์ ที่เป็นตั้งรวมควบหรือ สั่งการ บัญชาการ ฐานอื่น ๆ หรือเป็นที่กระจาย และเกื้อหนุน ฐาน อื่น ๆ สะดือ นับว่าเป็น ศูนย์ ทุกอย่าง การจะเเกิดมาเป็นคนได้นั้น สิ่งสำคัญก็คือ สะดือเพราะสะดือ เป็นที่รับลมหายใจ และ อาหาร ตั้งแต่เริ่มเกิด อยู่ใรครรภ์มารดา ไม่ว่า หญิง หรือ ชาย ที่เป็น มนุษย์ เกิดในครรภ์ ล้วนแล้ว ก็รับ ธาตุคือ สู่ รูปร่างทางสายรก สายสะดือ นั่นเอง แม้ เมื่อออกจากครรภ์ มารดาแล้ว ก็ยังเป็นที่รวม กระจายธาตุ เพื่อการมีชีวิต เป็นที่กระจายธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เมื่อทานอาหารบริโภค ธาตุทั้งหลาย ก็มาชุมนุม กันที่นี่ และกระจายธาตุ เพื่อหล่อเลี้ยง กายขันธ์ ให้ดำรงอยู่ต่อไป ได้ นั่นเอง นี่คือคำว่า ว่า ศูนย์ ของ กาย บางคน กล่าวว่า อยู่กลางกาย นั่นเป็นการกล่าวที่ผิด เพราะศูนย์กลางของขีวิต และ กายอยู่ที่ สะดือ
กรรมฐาน มัชฌฺมา แบบลำดับ ใช้ำคำเรียกตรงนี้ที่เดียวว่า ศูนย์นาภี ( สะดือเป็นศูนย์ )
2.2 ศูนย์ ในความหมายแนวปฏิบัติ ก็คือ เลขศูนย์ ( หรือ สูญ ) มีความหมายว่า ตรง ๆ ก็คือ ความไม่มี หรือ ในความหมายทางวิปัสสนา ก็คือ ความเสื่อมไป ความทนอยู่ไม่ได้ ความหาสาระแก่นสารไม่ได้ เมื่อ จิตของผู้ภาวนาเข้าถึง ญาณทัศนะก็จะเห็นแจ้งตามความเป็นจริง ว่า เสื่อมไป
ดังนั้นตรงศูนย์ นี้ จึงมีสอง สถานะ คือ เกิดขึ้น รวมธาตุ และ เสื่อมไป สูญธาตุ นั่นเอง
3. คำว่า จิต ในที่นี้แทนคำว่า รู้สึก นึกคิด จำได้ หมายรู้
แต่สภาวะกรรมฐาน ไม่ได้หมายถึง คำว่า รู้สึก นึกคิด จำได้ หมายรู้ แต่หมายถึง การรู้ในธาตุ เรียกว่า มนธาตุ มนายาตนะธาตุ คือ เมื่อใด ความรู้สึก นึกคิด จำได้ หมายรู้ ลงไปใน ธาตุ เมื่อนั้นเรียกสภาวะ ขณะนั้น ว่า มนธาตุ คือ ธาตุแห่งใจ เมื่อ มนธาตุ กระทบกับธาตุ อย่างถี่ขึ้นด้วยความเป็นธาตุ คือ ปีติ ยุคล สุข สามประการนี้เรียกว่า สภาวะแห่ง มนายตนะธาตุ เมื่อจิต กระทบตามไปเรื่อย จนเห็นความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไป ตรงนั้นเรียกว่า ภูตญาณทัศนะธาตุ เมื่อภูตญาณทัศนะธาตุ จำแนกได้ว่า อะไร รูปขันธ์ กายชันธ์ วิญญาณขันธ์ ครบ ขณะนั้นก็จะเกิดสภาวะ ญาณทัศนะวิสุทธิ์ เป็น สภาวะเช่นนี้เรียกว่า จิตเข้าถึงสภาวะแห่ง อุปาทยรูป
จริงอยู่ เป้าหมายของภารดำเนินจิต ต้องการให้จิตเป็นสมาธิ แต่เพราะอำนาจพระพุทธคุณ นั้น ดำเนินอยู่ ญาณ คือ มรรค ผล นิพพาน จึงอยู่ด้วยกัน ตั้งแต่ หยาบ กลาง และ ละเอียด
ในจิตที่รู้ รวมลงเป็นสมาธิ จึงมุ่งหวังให้ศิษย์ เข้าใจ สอง อย่าง คือ ลักณณะ และ รัศมี เมื่อจิตเข้าใจเห็น ลักษณะ รัศมี ด้วยอำนาจพระพุทธคุณ เห็นความเกิดขึ้น และ ความเสื่อมไป สองประการนี้ จึงเรียก ลักษณะ และ รัศมี ว่า องค์พระ
ดังนั้น เมื่อจิตปรากฏ ตื่น รู้ เบิกบาน ในธรรมอันปราณิต มี ปีติ ก็เรียกว่า พระธรรมปีติ มีการถึงความระงับจากทุกข์ ก็เรียกว่า พระยุคลธรรม มีการเข้าถึงสภาวะแห่งสุขสมาธิ ก็เรียกว่า พระสุขนิโรธธรรม ทั้งสามพระ มีสิ่งที่เนื่องกันไปตามลำดับ เริ่มตั้งแต่ พระลักษณะ พระรัศมี พระธาตุแห่งปีติ พระลักษณะ พระรัศมี พระธาตุยุคลธรรม พระรัศมี พระอุตคหนิมิตร พระสุขนิโรธธรรม
( หากบรรยาย ก็จะบรรยายไปได้ เรื่อย ๆ ความละเอียดพิศดาร ตามจิต ที่เห็นแจ้ง ซึ่ง ศิษย์ควรจะต้องเห็นเอง )
ดังนั้น การรวมศูนย์จิต นั่นก็คือ การทำจิตให้เป็นหนึ่งเดียวที่ฐานใหญ่แห่งขันธ์เพื่อเข้าถึง รูปขันธ์ กายขันธ์ และวิญญาณขันธ์
ทำอย่างไร ในการรวมศูนย์ จิต
วิธีการรวมศูนย์ จิต มีความสำคัญ มาก ในวิชากรรมฐาน การรวมศูนย์จิต นั้น อาศัยสิ่งเหล่านี้ คือ
1. ความตั้งใจ ศรัทธาในพระกรรมฐาน
2. การอธิษฐาน พระกรรมฐาน
2.1 การปฏิบัติบูชา พระพุทธเจ้า
2.2 การปฏฺบัติ ตามลำดับ พระกรรมฐาน
3. การหยั่งลง ศูนย์จิต ด้วย พระพุทธคุณ
การใช้ พระพุทธานุสสติกรรมฐาน
4. การรวม นิมิตร ทั้ง สาม คือ ปัคคาหะนิมิตร บริกรรมนิมิตร และ อเบกขานิมิตร
5. ความเพียร ไม่ทอดวางธุระ ในการรวมนิมิตร
6. การทรง นิมิตร ที่รวมแล้ว
7. การโคจร ในนิมิตร ที่รวมเป็น มีสภาวะ แห่งพระลักษณะ และ พระรัศมี
7.1 มีการตั้งฐานตรี โท เอก
7.2 มีการเข้า อนุโลม
7.3 มีการเข้า ปฏิโลม
7.4 มีการเข้า อนุโลม และ ปฏิโลม เป็นการเข้าวัด ออกวัด
( คำว่า วัด หมายถึง มาตรากำหนด ระยะเวลาของ สมาธิ )
7.5 มีการเข้า คืบ คือ สลับ ฐาน เป็นช่วง
7.6 มีการเข้า สับ คือ สลับ ฐาน เพื่อให้เกิดความคล่องแคล่ว
7.7 หากจิตไม่ตั้งมั่น ในการเข้าวัด ออกวัด ให้ดำนเนินการเข้าสะกดพระกรรมฐาน แต่ถ้าจิตประณึตเป็น อุปจาระสมาธิขั้นละเอียดไปแล้ว ให้สอบเข้าสะกด 1 รอบ หรือ ไม่ต้องเข้าสะกด ตามวินิจฉัยของครูผู้บอกพระกรรมฐาน
7.8 การเข้าสับ องค์แห่ง อุปจาระฌาน คือ การสับ สลับเปลี่ยนองค์ แห่ง อุปจาระฌาน ถอยเข้า ถอยออก คือ เข้าพระธรรมปีติ พระยุตลธรรม พระสุขนิโรธธรรม ไปตามลำดับ และ ถอยออกตามลำดับ ( ทรงผล เหมือน เดินจิต ในปฐมฌาน )
7.9 การเข้าสะกดพระสุขนิโรธธรรม ( ตรงนี้ครูท่านบอกว่า สำเร็จ สัมมาสมาธิ เบื้องต้น จิตพร้อมควรแก่การงาน ในการทำวิปัสสนา ดังนั้นผู้ปรารถนา ในแนวทางปัญญาวิมุตติ จึงสามารถเจริญ พระวิปัสสนาได้ แต่ครูผู้บอกกรรมฐาน จะวินิจฉัย ศิษย์ ว่าเหมาะหรือไม่ ? ถ้าเหมาะ ก็สอน 18 กาย เรียกว่า กายคตาสติ โดยตรง ถ้าไม่เหมาะ ก็จะให้ขึ้น พระอานาปานุสสติ แทน )
8. การตั้งมั่นแห่ง อุปจาระสมาธิ ตั้งแต่หยาบ กลาง ละเอียด
9. การออกจาก อุปจาระสมาธิ หยาบ กลาง ละเอียด
ลำบากการพิมพ์ อธิบายไว้เพียงเท่านี้ ก่อนนะ
เจริญธรรม / เจริญพร