ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ชายสามโบสถ์  (อ่าน 25097 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ชายสามโบสถ์
« เมื่อ: ธันวาคม 29, 2010, 07:25:43 pm »
0
ชายสามโบสถ์


ความหมาย ตามพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒

ชายสามโบสถ์ (สํา) น. ผู้ที่บวชแล้วสึกถึง ๓ หน, ใช้พูดเป็นเชิงตําหนิว่า เป็นคนที่ไม่น่าคบ.

ในพระนิพนธ์ของหม่อมเจ้าอิศรญาณ ความว่า

สัตว์ผอมฤษีพีนี้สองสิ่ง      สามผู้หญิงรูปดีไม่มีถัน
กับคนจนแต่งอินทรีย์นี้อีกอัน       สี่ด้วยกันดูเป็นเห็นไม่งาม
บรรพชาสามปางนางสามผัว       ข้าเก่าชั่วเมียชังเขายังห้าม
มักเกิดเงี่ยงเกี่ยงแง่แส่หาความ    กาลีลามหยาบช้าอุลามก


ตรงนี้ความหมายจะหมายถึง   ชายที่บวชพระแล้วสึก3ครั้ง


และ มีข้อความกล่าวถึงสมเด็จพระสังฆราชได้ทรงตรัสถึงชายสามโบสถ์ว่า คำว่าชาย 3 โบสถ์ นั่นคือ
บวชทางพุทธ แล้วอยากมีเมียก็บวชทางคริสต์ อยากมีเมีย 4 คนก็ไปนับถืออิสลาม
คนแบบนี้ต่างหากจึงจะเรียกว่าชาย 3 โบสถ์


ตรงนี้ความหมายจะหมายถึงคนที่เปลี่ยนศาสนาถึง3 ครั้ง*


จึงคิดว่าชายสามโบสถ์ มีความหมายทั้งสองอย่าง
มีข้อสังเกตุนิดนึง คนที่เปลี่ยนศาสนามีทั้งหญิงและชาย แต่ทำไมถึงใช้คำว่าชายสามโบสถ์ ไม่มีหญิงสามโบสถ์
ความคิดของผู้ตอบจึงให้น้ำหนักไปที่ ชายที่บวช3ครั้งมากกว่า..."

ที่มา  http://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20091015002834AAGVsNm

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 29, 2010, 07:27:14 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ชายสามโบสถ์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 29, 2010, 07:33:16 pm »
0

เพลงชายสามโบสถ์


เพลง ชายสามโบสถ์ 
นักร้อง คำรณ สัมบุญณานนท์
คำร้อง/ทำนอง ไพบูลย์ บุตรขัน


คำคนประณาม ชายสามโบสถ์ทราม ชั่วช้าสามานย์
ประนามหญิงสามผัวผ่าน เป็นคนจันฑาลไม่ขอคบพา

โธ่ เอ๋ย อนิจจาโกนหัวฝากตัวในศาสนา
แต่คำเขาว่าปวดใจให้คิดทุกที


มีมารผจญสุดแสนจะทน บวชแล้วจำลา
จากเรือนเหมือนเสือหนีป่า มารเสาะตามมาจองล้างราวี

บวชแล้วสึกทุกทีเป็นเสียอย่างนี้ แหละพี่น้องเอ๋ย
ดังคำเขาเอ่ยบวชเสียผ้าเหลือง

ข้าบวชมาแล้วโบสถ์หนึ่ง ซาบซึ้งได้แทนคุณแม่
ค่าน้ำนมแก แทนทดหมดเปลือง
มารตามทวงหนี้ มีเรื่องต้องแหกผ้าเหลืองสึกมา
มันฟ้องอุปัชฌาย์แค้นข้ากลัดหนอง


คนมองข้าทรามเหยียดหยามหมดดี ต้องหนีหน้าไป
เกือบเป็นเสือสางเสียใหญ่
ข้าต้องกลับใจไหว้พระคุ้มครอง

บวชซ้ำใหม่ใคร่ปอง ใจหวังสร้างบุญในโบสถ์ที่สอง
พึ่งธรรมะส่องที่สร้างบาปมา

ข้าเป็นชายสองโบสถ์ หากโบสถ์สามนี้ยังไม่แน่
โลกหมุนปรวนแปรสุดแท้จะพา


กลายเป็นชายชั่วดังว่า หวังศาสนากลับใจ
แต่แล้วเหตุไฉนเขาไม่อุดหนุน

จึงวอนไหว้วิง ชายหญิงที่ฟังด้วยน้ำตาคลอ
โปรดจงสงสารขานต่อ แต่พอข้ามีบาปเคราะห์ก็บุญ

ข้าหวังพึ่งพุทธคุณ เซแล้วอย่าซ้ำย่ำเหยียบจนซุน
ร่มโพธิ์พระอุ่น ข้าขอบวชนานจนตาย..
.

ที่มา http://music.forthai.com/music/lyric/?sid=311

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ชายสามโบสถ์
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ธันวาคม 29, 2010, 07:41:19 pm »
0
ความหมายของชายสามโบสถ์


จริงๆแล้ว มีหลายความหมายนะคะ เท่าที่เห็นมา เช่น

ชายสามโบสถ์ หมายถึงผู้ที่ นับถือศาสนาหนึ่งอยู่แล้ว ไม่ชอบ บอกว่าศาสนานี้ไม่ดี แล้วเปลี่ยนศาสนาใหม่แล้วก็ว่า ศาสนานี้ก็ไม่ดีอีก ก็เปลี่ยนอีก แล้วก็ว่าไม่ดีอีก เหยียบย่ำศาสนาทุกศาสนา ที่เปลี่ยนไปว่าไม่ดี อย่างนี้แหละเรียกว่าชายสามโบสถ์

ชายสามโบสถ์= ผู้ที่บวชแล้วสึกถึง 3 หน (ตำหนิว่าไม่น่าคบ) ...ลางตำราท่านหมายถึงคนที่เปลี่ยนศาสนาถึง ๓ ครั้ง ๓ คราก็มี หมายถึงเป็นไม้หลักปักเลน ไม่ซื่อตรงต่อความเชื่อ

 

วรรณกรรมท้องถิ่น ภาคใต้เรื่องสุทธิกรรมชาดกคำกาพย์เป็นวรรณกรรมที่สันนิษฐานกันว่า ผู้แต่งคือพระอุดมปิฎก เปรียญ 9 ประโยค สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อดีตเจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนาราม กรุงเทพมหานคร เรื่องนี้แต่งในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้กาพย์ 3 ชนิด ในการแต่ง คือ กาพย์สุรางคนางค์ 28 กาพย์ยานี 11 และกาพย์ฉบัง 16

เนื้อเรื่องเกี่ยวกับภูมิปัญญา 3 ประการ คือ การคบมิตร การเลือกคู่ครอง และการเลือกประเทศที่อยู่ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญยิ่งในการดำรงชีวิตของมนุษย์

มิตรที่ไม่ควรคบคือ ชายสามโบสถ์ และศิษย์ร่ายครู
คู่ครองที่ไม่ควรเลือกคือ หญิงหม้ายสามผัวหย่า สาวแสร้ และหญิงแหม่ (หญิงมักมากในกาม)
ประเทศที่อยู่ที่ไม่ควรเลือกคือ ประเทศหรือที่อยู่ที่พระราชาไม่มีความยุติธรรม หรือไร้การวิจารณ์


การคบมิตรดี การได้คู่ครองดี และการอยู่ในประเทศที่มีผู้นำดีจะทำให้มีความสุขและเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

วรรณกรรมเรื่องสุทธิกรรมชาดกคำกาพย์ เนื้อเรื่องสอดคล้องกับภูริปัญหาชาดก นิบาตชาดก เรื่องที่ 452
และมิตตามิตตชาดก นิบาตชาดก เรื่องที่ 473 ว่าด้วยเรื่องอาการ 16 ของผู้เป็นมิตรและไม่เป็นมิตร ในพระสุตตันตปิฎก และมีเนื้อเรื่องสอดคล้องกับทุกัมมานิกชาดก ชาดกเรื่องที่ 13 ในปัญญาสชาดกด้วย
 

ชายสามโบสถ์ หญิงสามผัว : สำนวนนี้ ประโยคแรกหมายถึง ผู้ชายที่บวชเป็นพระ ๓ ครั้งคือบวชแล้วสึก สึกแล้วบวชอีกถึง ๓ หนด้วยกัน ส่วน "หญิงสามผัว" นั้นคือหญิงที่แต่งงานแล้วมีสามีมาแล้ว ๓ ครั้งหรือ ๓ คน โดยมีสามีคนแรกแล้วเลิกร้างกันไป มามีคนที่สองเลิกล้างกันไปอีกจนถึงคนที่สามก็ต้องเลิกล้างกันไปอีก

สำนวนนี้หมายความว่าผู้ชายที่บวชมาแล้ว ๓ ครั้ง กับผู้หญิงที่ผ่านการมีสามีมาแล้ว ๓ คน โบราณมีข้อห้ามมิให้เพศตรงข้ามไปมีสัมพันธ์ทางรักใคร่หรือชู้สาวด้วย คือผู้หญิงก็ไม่ควรไปมีสามีชนิดนี้ หรือผู้ชายก็ไม่ควรไปมีภรรยาชนิดนี้เข้า ซึ่งตามความเข้าใจว่าบุคคลชนิดนี้ใจคอไม่มั่นคงหรือรวนเรได้ โดยสังเกตเอา อาการกระทำเป็นเครื่องวัด แต่ตกมาถึงสมัยนี้ เข้าใจว่า คงจะไม่มีใครค่อยเชื่อว่าถือกันเท่าไรนัก.


รวมๆ แล้วน่าจะเป็นคำที่ใช้เปรียบกับคนที่ โลเล ไม่แน่นอนนะคะ

หรือ อาจจะเป็นสำนวนที่เขียนขึ้นเพื่อให้คล้องจองกันก็ได้ค่ะ "ชายสามโบสถ์ หญิงสามผัว" เพื่อให้เห็นว่า เป็นคนไม่หนักแน่น เปลี่ยนใจง่ายค่ะ


ที่มา  http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=7166
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 29, 2010, 08:04:40 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ชายสามโบสถ์
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ธันวาคม 29, 2010, 07:58:15 pm »
0
นิทานเรื่อง  บัณฑิตจอบเหี้ยน บวช ๗ ครั้งบรรลุอรหันต์
โดย  พระมหามนตรี  ขนฺติสาโร    ป.ธ. ๙ ; พ.ม. ; พธ.บ. (ครุศาสตร์); M.A. (English)
               

                 เล่ากันมาว่า  กุลบุตรชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่ง  โคของเขาหายไปตัวหนึ่ง  จึงไปเที่ยวหา  พบโคตอนเที่ยงวันแล้วปล่อยให้เข้าไปในฝูง  คิดว่า “จักได้อาหารรับประทานที่วัดนี้”  ด้วยความหิว จึงเข้าไปหาพระไหว้แล้วได้ยืนอยู่ในวัดนั้น 

                เวลานั้น  เมื่อพระภิกษุทั้งหลายกระทำภัตกิจแล้ว  ยังมีอาหารเหลืออยู่อีกมากมาย  พระภิกษุทั้งหลายจึงเรียกให้เขาเข้าไปรับอาหารเอาไปรับประทาน  เขาเห็นอาหารเหลืออยู่มากมาย  จึงถามว่า  “วันนี้พระภิกษุทั้งหลายไปงานนิมนต์ของชาวบ้านมาหรือจึงมีอาหารมากมายอย่างนี้”  ได้รับคำตอบว่า “ในวัดนี้มีอาหารเหลืออยู่มากมายอย่างนี้เป็นปกติ  โยม”
 
                เขาคิดว่า  “เราทำงานตัวเป็นเกลียว  ตั้งแต่เช้าจนค่ำ  ยังได้อาหารพอเพียงแต่ยังท้องให้อิ่มได้เท่านั้น  แต่พระภิกษุทั้งหลายอยู่กันอย่างสุขสบาย  มีอาหารฉันเหลือเฟือ  เออ  ถ้าเป็นเช่นนี้  เราน่าจะเข้ามาบวชเป็นพระบ้าง  คงจะดีละ”   รับประทานอารหารอิ่มแล้ว  จึงเข้าไปหาพระสังฆเถระ  แล้วกราบเรียนว่า  “กระผมจะขออนุญาตบวชเป็นพระได้ไหม”  ได้รับคำตอบว่า  “ถ้าคุณโยมมีศรัทธาปสาทะใคร่จะบวช  ก็บวชได้นี่นา”    เขาจึงได้บวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา
 
                หลายวันต่อมา  เขามีร่างอ้วนพีขึ้นจากอาหารบิณฑบาตที่ชาวบ้านถวายมา  เริ่มจะเบื่อหน่ายในสมณเพศ  จึงขอลาสิกขาเป็นคฤหัสถ์ต่อไป

                หลายวันต่อมา  เขาเบื่อหน่ายชีวิตของคฤหัสถ์  จึงเข้าไปขอบวชอีก   ไม่นานก็ลาสิกขา  วนไปเวียนมาอยู่อย่างนี้ถึง  ๖  ครั้ง  เพราะฉะนั้น  เขาจึงได้รับนามขนานว่า  “จิตตหัตถะเถระ  (พระเถระผู้มีจิตอยู่ในมือ)”   เมื่อลาสิกขาออกมาเป็นครั้งที่  ๖  แล้ว  ภรรยาก็ตั้งครรภ์    วันหนึ่งหลังจากเขาไปทำนากลับมาบ้านเวลาหลังเที่ยงวัน  วางสิ่งของลงแล้ว  ก็เข้าไปสู่ห้อง  ด้วยคิดว่า  “เราจักไปนำเอาผ้ากาสาวะของตนมา” 
               

ขณะนั้น  ภรรยาผู้มีครรภ์อยู่กำลังนอนหลับอยู่ภายในห้อง  ผ้าผ่อนหลุดลุ่ย  น้ำลายไหลออกจากปาก  หายใจเข้าออกจมูกดังครืดคราด ๆ  นอนอ้าปาก  กัดฟันกรอด ๆ  เวลานั้นนางปรากฏดังซากศพขึ้นอืด

                เขาถือเอาผ้ากาสาวะเดินไปวัด  พิจารณาอยู่ว่า  “ร่างกายของภรรยานี้ไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  เราบวชอยู่ตลอดกาลเท่านี้  อาศัยร่างกายของภรรยานี้  จึงไม่สามารถจะดำรงความเป็นพระภิกษุอยู่ได้”  เอาผ้ากาสาวะพันท้องเดินออกจากเรือนไป

                เวลานั้นแม่ยายของเขาแลเห็นบุตรเขยถือเอาผ้ากาสาวะเดินออกจากเรือนไป  จึงเข้าไปในห้องของลูกสาว  แลเห็นลูกสาวนอนเปลือยกาย  จึงใช้มือตบลูกสาวเบา  ๆ  แล้วกล่าวว่า  “อีนางกาฬกัณณี  เพราะเห็นแกนอนเปลือยกายอยู่อย่างนี้  รู้ไหม  ผัวของแกฉวยเอาผ้ากาสาวะหนีจากแกไปบวชเสียแล้ว”
 

                ลูกสาวจึงบอกแม่ว่า  “แม่จ๋า  ผัวของดิฉันจะไปบวชได้สักกี่วัน  ประเดี๋ยวก็ต้องกลับมาหาลูกอีก  เชื่อเถอะ  แม่จ๋า  เขามีสันดานอย่างนี้มานานแล้ว  ลูกรู้ทันเขาละ”

                เขาเดินพิจารณาไปว่า  “อนิจจัง  ไม่เที่ยง  ทุกขัง  เป็นทุกข์  อนัตตา  ไม่เป็นตัวของตัวเอง”    จิตดิ่งเป็นเอกัคคตา ได้บรรลุโสดาปัตติผล  แล้วเข้าไปหาพระสังฆเถระ  ขออนุญาตบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา
 

                พระสังฆเถระบอกว่า  “เธอบวชอยู่ไม่นานแล้วก็ลาสิกขา  จากนั้นก็มาบวชอีก  บวช ๆ สึก ๆ อยู่อย่างนี้  ไม่เอาแล้ว  รำคาญจริง ๆ”

                เขาวอนขอแล้ว ๆ เล่า ๆ  ด้วยความที่เขาเป็นผู้มีอุปการคุณต่อพระภิกษุทั้งหลายภายในวัด  จึงได้รับอนุญาตให้บวชอีก  บวชแล้วเพียรพยายามเจริญสมาธิภาวนาก็ได้บรรลุพระอรหัตผล  เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา

 

                พระภิกษุทั้งหลายเห็นพฤติกรรมของเธอมาตั้งแต่ต้น  ใคร่จะทราบความเป็นมาในอดีตชาติของเธอ  จึงกราบทูลวิงวอนขอทราบเรื่องนี้จากพระศาสดา  พระพุทธองค์จึงทรงนำเรื่องราวในอดีตมาตรัสเล่าว่า

                ในอดีตกาล  บัณฑิตคนหนึ่งบวชเป็นฤษีอยู่ที่หิมพานต์นาน  ๘  เดือน  พอถึงหน้าฝน  พื้นดินชุ่มชื่น  จึงคิดว่า  “ในเรือนของเรา  มีข้าวฟ่างและลูกเดือยประมาณ  ๘  ทะนาน  มีจอบเหี้ยนอยู่  เราละเพศฤษีไปเป็นคฤหัสถ์จะดีกว่า”   จากนั้นเขาไถนา  หว่านข้าวฟ่างและลูกเดือย  พอออกผล  ก็เก็บเกี่ยวเอาไว้ในยุ้งฉาง  ขายส่วนที่เหลือไป 

      จากนั้นคิดว่า  “ยามนี้ว่าง  เราไปบวชเป็นฤษีดีกว่า”  จึงไปบวชเป็นฤษีนาน  ๘  เดือน  แล้วก็ละเพศฤษีไปเป็นคฤหัสถ์อีก  บวช ๆ สึก ๆ อยู่อย่างนี้ถึง  ๖  ครั้ง  เขาบวชเป็นฤษีในครั้งที่  ๗  แล้วคิดว่า  “เราอาศัยข้าวฟ่างและลูกเดือย  และจอมเหี้ยน  จึงละเพศฤษี  แล้วก็บวชเป็นฤษีอีก  เอาละ  ต่อจากนี้ไป  เราจะไม่เห็นของพวกนี้อีก”   

      จึงเอาผ้าห่อข้าวฟ่างและลูกเดือย  ผูกติดกับปลายจอบเหี้ยน  เดินมุ่งหน้าไปที่ฝั่งคงคา  หลับตา  ชูสิ่งของขึ้นเหนือศีรษะ  หมุนตัว  ๓  รอบ  แล้วขว้างสิ่งของทิ้งลงไปในน้ำ  ตะโกนลั่น  ๓  ครั้งว่า  “ชิตํ  เม  (เราชนะแล้ว)  ชิตํ  เม  (เราชนะแล้ว)  ชิตํ  เม  (เราชนะแล้ว)”

 
                ขณะนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล  หลังจากยกทัพไปปราบข้าศึกศัตรูแล้ว  ยกทัพกลับมาตั้งค่าย ณ บริเวณใกล้กับสถานที่มีการแสดงพระธรรมเทศนาอยู่นั่นแล  ได้สดับเสียงของพราหมณ์นั้นว่า  เราชนะแล้ว ๆ ๆ   ก็ทรงสงสัยอยู่ว่า  เราปราบข้าศึกศัตรูจนราบคาบแล้ว  กลับมา   แต่ไฉนเจ้าคนนี้จึงตะโกนว่า เราชนะแล้ว ๆ ๆ ด้วยความสงสัยจึงใช้ให้คนไปเรียกพราหมณ์นั้นมา สอบถามได้ความว่า  ที่เขาร้องว่า  เราชนะแล้ว ๆ ๆ    เพราะเขาสามารถเอาชนะโจรภายในคือกิเลสได้ 

เรื่องนี้มาธรรมบท  อรรถกถา  (ธ.อ. ๒/๑๓๓-๑๔๐).
ที่มา http://www.watpaknam.org/knowledge/view.php?id=7

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ