ในวิชาชีพ ที่ต้องสงเคราะห์ดูแลผู้ป่วยมาหลายเป็นสิบปี ก็ได้ทำสถิติการรักษากับพระสงฆ์มาทุกปี
จนสรุปได้ว่า โรคที่พระสงฆ์ เป็นกันส่วนใหญ่ สำหรับพระที่มีพรรษามากกว่า 3 พรรษาขึ้นไป
มีโรคดังนี้ อันดับ 1.โรคกระเพาะ
อันดับ 2. โีรคทางเดินหายใจ
อันดับ 3. โรคความดันสูง และต่ำ มีไมเกรน ด้วย
อันดับ 4 โรคไส้เลื่อน
อัีนดับ 5 โรคเบาหวาน
อันดับ 6 โรคไขข้อเสื่อม เป็นกับพระที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไปเป็นส่วนใหญ่
เมื่อพิจารณา อันดับแล้ว จะเห็นว่าโรคกระเพาะ จะเป็นกันเยอะมาก
ซึ่งมีสาเหตุหลัก ก็คือการขาดสารอาหารในมื้อที่เหมาะสม
และ ความเครียด วิตก กังวล อีกส่วนหนึ่ง
เมื่อวิเคราะห์ แล้ว จะเห็นว่า พระสงฆ์ควรทานอาหาร สัก 2 มื้อแต่ควรจะเป็นเวลา 7 โมงเช้า และ บ่าย 2
ซึ่งการฉันสองมื้ออย่างนี้น่าจะทำให้พระสงฆ์ไม่เป็นโรคกระเพาะได้
แต่วิจัยกันตามความเป็นจริง จากที่เคยเข้าไปเก็บข้อมูลในวัด ในวันพระ วันธรรมสวนะ ที่วัดใกล้ รพ.
พระสงฆ์จะฉันเช้าที่ 8.50 - 9.30 น.หลังจากทำพิธีเสร็จ ซึ่งพระสงฆ์จะต้องฉันมื้อต่อไป ที่ 11.00 - 11.45 น. ซึ่งระยะห่างไม่เหมาะสม เพราะอาหารชุดแรก ยังไม่ทันย่อยก็ต้องฉันอีก นี่เป็นสาเหตุที่พระสงฆ์
เป็นโรคกระเพาะ เพราะมีจำนวนหนึ่ง ยุติการฉันมื้อที่สอง กับ อีกกลุ่มฉันแต่น้อย
ข้อบัญญัติ ดูเหมือนเป็นการทรมานตน แทนที่จะเป็นการบำเพ็ญ และ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการละเมิดศีล
ของพระสงฆ์เอง เป็นต้นเหตุของความเครียด มีลูกคนข้างบ้าน พ่อ แม่ บอกให้บวช แต่สิ่งเขาเป็นห่วงมาก
ก็คือการฉัน เพราะบวช 1 พรรษา เขาไม่มีความั่นใจในการอดมือ้ค่ำได้
เพื่อน ๆ สมาชิกมีความคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้ คะ
ลองมามองตามมุม กันบ้างดีไหมคะ มาร่วมกันวิเคราะห์ความน่าจะเป็นกันดีหรือไม่คะ
เนื่องด้วยตอนที่ดิฉัน ทำการส่งข้อมูลประกวดวัดสุขภาพ พระไม่ฉันหวาน เพราะต้านเบาหวาน แต่ความเป็น
จริงก็ทำได้ยาก เพราะญาติโยมก็ชอบถวายหวาน จนเกิดประเพณี ฉันคาว ฉันหวาน มาตลอด ซึ่งแตกต่าง
จากฆราวาส การทานคาว ก็ไม่จำเป็นต้องทานหวาน ดังนั้นจะเห็นพระสงฆ์ในยุคปัจจุบันจะออกอ้วน ๆกัน
ในเมืองเมื่อมีอายุสัก 38 ปีขึ้นไปก็จะลงพุงกันหลายรูป พระพวกนี้ไม่เป็นโรคกระเพาะแต่มาเป็นเบาหวาน
แทน
