ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วิชาอ่านใจของพระพุทธเจ้า  (อ่าน 6330 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28596
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
วิชาอ่านใจของพระพุทธเจ้า
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2011, 11:41:41 am »
0
วิชาอ่านใจของพระพุทธเจ้า

เรื่องแปลกแต่จริง คนเรามักอยากรู้ว่าคนอื่นคิดอะไร ทั้งที่ความคิดหรือกระทั่งความรู้สึกของตนเองยังอ่านไม่ออก หรือบางทีอ่านออกบอกถูกแต่ก็ไม่ยอมรับ คิดอย่างนี้โกหกว่าคิดอย่างนั้น รู้สึกอย่างนั้นแต่หลอกว่ารู้สึกอย่างโน้น ตัวเองยังไม่รู้จัก แล้วจะไปรู้ใจใครอื่นได้? แต่นั่นแหละที่คนกว่าครึ่งโลกอยากทำได้ และมักออกแนวชอบเดาใจมากกว่ารู้ใจใครจริง

พุทธศาสนามีชื่อเสียงว่าเป็นยอดแห่งศาสตร์ทางจิต จึงมักถามกันทั่วไปว่าพระพุทธเจ้าเคยสอนวิธีอ่านใจคนไว้ไหม?

อันนี้ต้องตอบตามจริงว่าสอน และสอนไว้ในหลักปฏิบัติอย่างใหญ่ชื่อ ‘มหาสติปัฏฐานสูตร’
 ใจความสรุปโดยย่นย่อที่สุดคือ ‘ถ้าอ่านใจตัวเองออก ก็บอกได้ว่าใจคนอื่นเป็นอย่างไร’


เหตุผล คือ ใจเป็นธรรมชาติชนิดเดียวกัน ไม่ว่าจะภายในตนหรือภายนอกตน
เมื่อรู้ข้างในนี้ได้ ก็ย่อมรู้ข้างนอกโน้นได้เช่นกัน ธรรมชาติของใจนี้เป็นอย่างไร?
ใจนี้มี ‘ความรู้สึก’ อย่างใดอย่างหนึ่งประกอบอยู่ด้วยตลอดเวลา ไม่สุขก็ทุกข์

 

‘ความรู้สึก’ เป็นเพียงคำกลางๆ แต่ ‘สุข’ กับ ‘ทุกข์’ นั้นเป็นแยกซ้ายแยกขวาของความรู้สึก กระแสสุขจะฉายสว่าง ส่วนกระแสทุกข์จะหดมืด ทุกคนสัมผัสได้ว่ายามสุขคล้ายตัวเองและใครๆเรืองแสงออกมา จะจัดจ้าหรือนวลอ่อนก็ขึ้นอยู่กับระดับความสุข แต่ยามทุกข์จะคล้ายตัวเองและใครๆกระจายรังสีมืดดำออกมา จะเข้มหนักหรือเบาบางก็ขึ้นอยู่กับระดับความทุกข์

สังเกตให้ดี จะเห็นความสุขมาพร้อมกับกายที่ผ่อนคลาย ความรู้สึกในอกจะเปิดเผยกว้างขวาง ส่วนความทุกข์มาพร้อมกับกายที่เครียดเกร็ง ความรู้สึกในอกจะกดแน่นคับแคบ หากคุณจับได้ว่าความรู้สึกในอกตอนเปิดเผยเป็นอย่างไร ตอนปิดแคบต่างไปแค่ไหน คุณมองใครๆบนถนนก็จะเริ่มสัมผัสได้ ว่าความรู้สึกที่กลางอกของแต่ละคนต่างกันไป บางคนเปิดกว้างสบาย บางคนปิดแคบอึดอัด

และหากสังเกตให้ละเอียดขึ้น คุณจะพบว่าความรู้สึกทางกายกับทางใจอาจคล้อยตามหรือขัดแย้งกัน เช่นบางคนนอนอยู่บนเตียงนุ่มในห้องแอร์ เหมือนกายพักสนิทแสนสบาย แต่ใจกลับวิ่งเต้นวุ่นวายหาความสงบเย็นมิได้ บางคนเสียอีก ที่เดินเท้าเปล่ากลางแดดเปรี้ยง เหงื่อกาฬไหลโทรม แต่ใจกลับเงียบเชียบเรียบเย็นเป็นสุขไป

เมื่อแยกถูกว่ากายกำลังเป็นสุขหรือเป็นทุกข์อย่างไร และใจกำลังเป็นสุขหรือเป็นทุกข์สอดคล้องหรือแตกต่างจากกาย คุณจะเห็นถนัดและแยกแยะถูก ว่ากายกำลังเชื่อมโยงกับสิ่งใด แล้วใจกำลังผูกพันกับเรื่องดีร้ายประมาณไหน อย่างเช่นกายวางนิ่งอยู่บนฟูกนุ่ม ก็เกิดกระแสสบายทางกายในแบบผ่อนคลาย แต่ถ้าขณะนั้นใจกลับทะยานไปผูกโยงอยู่กับศัตรูคู่แค้น ก็เกิดกระแสความเร่าร้อนในแบบอาฆาตพยาบาท

หากเป็นตัวคุณเองคุณย่อมรู้ว่ากำลังหมกมุ่นครุ่นคิดแค้นเคืองใคร แต่หากเป็นคนอื่น คุณอาจสัมผัสรู้เพียงไฟโทสะ ทว่าจะรู้หรือไม่รู้ว่าใครกำลังปรากฏในห้วงมโนทวารของเขา ก็ขึ้นอยู่กับว่ามีสัมผัสละเอียดอ่อนเพียงใด ยิ่งใจคุณเย็นเป็นเมตตาประณีต ห่างไกลจากโทสะในตนเองเพียงใด ก็จะยิ่งสามารถเห็นรายละเอียดของโทสะในคนอื่นชัดเจนขึ้นเพียงนั้น

คุณจะพบว่าความรู้สึกสุขทุกข์เป็นสิ่งที่รู้ได้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยฌานญาณลึกซึ้งอันใด และความรู้สึกสุขทุกข์ก็เป็นสิ่งที่บังเกิดกับกายใจอยู่ตลอดเวลา อย่างเช่นในบัดนี้ เมื่อถามว่าตัวเองกำลังเป็นทุกข์หรือเป็นสุข คุณอาจถามแยกได้สองทาง

ทางที่หนึ่ง ถามว่าความรู้สึกทางกายเป็นอย่างไร ทางเดียวที่จะทราบความรู้สึกทางกาย คือคุณต้องรู้เสียก่อนว่ากำลังอยู่ในอิริยาบถแบบไหน นั่งตรงหรือนั่งบิด ส่วนใดส่วนหนึ่งกำเกร็งหรือผ่อนคลายตลอดตัว เมื่อทราบอาการทางกาย คุณย่อมทราบความรู้สึกที่เกิดขึ้นรวมๆ ว่าสบายหรืออึดอัด แม้อากาศร้อนจนเหนียวตัวก็พลอยรู้ หรือแม้อากาศเย็นสบายผิวก็พลอยเห็น

ทางที่สอง ถามว่าความรู้สึกทางใจเป็นอย่างไร ทางเดียวที่จะทราบความรู้สึกทางใจ คือคุณต้องรู้เสียก่อนว่าใจกำลังผูกอยู่กับสิ่งใด เช่นในที่นี้ใจคุณต้องผูกอยู่กับตัวหนังสือในแต่ละบรรทัด บรรทัดไหนอ่านแล้วเข้าใจ อ่านแล้วรับได้ ก็สบายใจ บรรทัดไหนอ่านแล้วสงสัย อ่านแล้วต่อต้าน ก็ไม่สบายใจ

หากไม่แน่ใจว่ากำลังเผชิญกับความรู้สึกทางใจแบบไหนแน่ ก็ให้มองว่ากลางอกแน่นทึบหรือโปร่งเบา ตอนอกทึบแน่น ให้บอกตัวเองเลยว่ากำลังเป็นทุกข์ คิดอะไรไม่ค่อยออก มองอะไรไม่ค่อยเห็น แต่หากหัวอกปลอดโปร่ง ให้บอกตัวเองว่ากำลังเป็นสุข หูตาจะกว้างขวาง จะคิดอ่านอะไรก็ง่ายดายเป็นระเบียบ จะเกิดอะไรขึ้นหากคุณหมั่นสังเกตเข้ามาที่ความสุขความทุกข์ของตนเอง?

คุณจะพบว่าความคิดฟุ้งซ่านลดระดับลง ความทะยานอยากออกไปนอกตัวจะอ่อนกำลังลง และที่สำคัญที่สุดคือคุณจะเห็นความจริง ว่าสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี ล้วนแล้วแต่ตั้งอยู่ให้ดูแค่ครู่หนึ่ง เมื่อหมดเครื่องหล่อเลี้ยงแล้ว สุขและทุกข์นั้นๆก็จางตัวหายไปเป็นธรรมดา

สิ่งที่อาจทำให้คุณประหลาดใจคือเมื่อรู้จักหน้าตาของสุขทุกข์ชัดๆ กับทั้งเห็นว่าสุขทุกข์ไม่เที่ยง ใจคุณจะไม่ยึดติดสุข กับทั้งไม่อยากอมทุกข์เอาไว้ คล้ายกับใจแยกออกไปเป็นผู้ดู ไม่ใช่ผู้ยินดียินร้ายกับสุขทุกข์อีกต่อไป
และสิ่งที่คุณอาจคาดไม่ถึง คือเมื่อใจเท่าทันและไม่ผูกยึดกับสุขทุกข์ทั้งปวงแล้ว มีความวางใจเป็นกลางได้แล้ว

ต่อไปเมื่อชำเลืองแลคนอื่น จะได้ด้วยสายตาตรง หรือด้วยหางตาก็ตาม คุณจะสามารถสัมผัสสำเหนียกถึงกระแสสุขทุกข์ทางกายทางใจของพวกเขาได้ กับทั้งเห็นว่าธรรมชาติสุขทุกข์ของผู้อื่นก็เหมือนสุขทุกข์ของคุณเอง นั่นคือต้องมีเหตุปัจจัยอะไรสักอย่างบันดาลให้เกิด แต่แล้วก็ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ต้องเสื่อมสลายหายไปพร้อมกับตัวต้นเหตุนั่นเอง ต่อให้คุณพบกับคนที่ดูเหมือนเปี่ยมสุขอย่างเหลือล้น สัมผัสที่ไวของคุณก็จะทราบว่าเขาไม่ได้สุขคงเส้นคงวาตลอดเวลา เพียงแค่คิดหรือตั้งใจเพ่งเล็งบางสิ่ง ความสุขทางใจก็ถูกบีบให้แคบลงได้มากแล้ว

และเมื่ออ่านความรู้สึกของตนเองและผู้อื่นออก คุณจะเห็นรายละเอียดมากขึ้นทุกที และพบว่าอะไรๆในชีวิตมนุษย์รวมอยู่ที่นั่นทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นวิธีคิด วิธีพูด หรือวิธีลงมือกระทำการใดๆ หากใจเล็งในทางดีก็สบาย หากใจเล็งในทางร้ายก็อึดอัด ง่ายๆแค่นี้เอง คุณจะถือสาหาความใครต่อใครน้อยลงเรื่อยๆ แล้วหันมาโทษต้นเหตุคือวิธีคิด วิธีพูด และวิธีทำของตนเอง ที่ก่อให้เกิดทุกข์ขึ้นอย่างสูญเปล่าโดยแท้

ตามดูตามรู้สุขทุกข์อยู่
ในที่สุดจะเห็นความไม่เที่ยง
ตามดูตามรู้ความไม่เที่ยงอยู่
ในที่สุดจะเห็นความไม่น่ายึดมั่น
ตามดูตามรู้ความไม่น่ายึดมั่นอยู่
ในที่สุดจะเห็นนิพพาน!


อ้างอิง หนังสือ คิดจากความว่าง ๔ โดย ดังตฤณ
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

prachabeodee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 135
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: วิชาอ่านใจของพระพุทธเจ้า
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 08, 2011, 12:23:12 am »
0
ลักษณะการรู้ในความคิดของบุคคลอื่นที่คุณ นภัสสร พูดมาก็เป็นวิธีหนึ่งที่รู้ถึงรากฐานของควาสุขทุกข์ของคนรอบข้างได้.....
แต่ที่ป้ารู้กับเป็นอีกลักษณะหนึ่ง..ที่ไม่เหมือนที่ท่านกล่าวมานั้น....
...........................................
มันเป็นการทำใจเราให้เป็นกลางๆผ่อนคลายที่สุด.....เมื่อเป็นกลางดีแล้วก็กำหนดรู้ไปที่บุคคลนั้นเบาๆ...
ซักพัก เราก็จะมีความรู้ผุดออกมา(เปรียบเสมือนน้ำพุ้ร้อนที่ผุดขึ้นมาจากพื้นดิน-ใครเคยไปเที่ยวโป่งเดือดก็จะเคยเห็น)...คือรู้เจตนาของคนผู้นั้น ...แต่ไม่รู้เป็นคำพูดน๊ะ...แต่รู้ความต้องการหรือจุดประสงค์ของเขาผู้นั้น........(บางครั้งรู้แม้กระทั่งว่าเขาโกหกหรือหน้ากากของผู้นั้น)...บางครั้งการรุ้แบบนี้เรากับเป็นผู้พูดความในใจของเขาออกมาเอง(เจ้าตัวเขาตกใจมาก-จนมาหลังๆนี้เขาไม่กล้าพูดโกหกต่อหน้าป้าอีกเลย)......
...............................................................................................
ป้าจึงอยากถามว่า การรู้อย่างป้านี้เป็นอุปทานหรือเปล่า....เพราะการรู้ของป้านี้เป็นการบังเอิญไปเข้าใจในลักษณะที่เกิดขึ้นกับเรามาก่อนเพราะป้าจะปฎิบัติในแนวหลวงพ่อเทียนและแนวดูจิต....พอดูมากๆเข้าบ่อยๆเข้าสติดีขึ้นจนจับได้ถึงความเปลี่ยนแปลของใจแม้เพียงเริ่มต้นแค่เริ่มคิดสติก็จับได้แล้วเห็นแล้ว(ก่อนที่จะปรุงไปเป็นตัวเป็นตน)....พอจับได้บ่อยๆๆเข้า ก็จะเข้าใจลักษณะ(สายหลวงพ่อเทียนเรียก "สูตรสำเร็จ")....ทีนี้พอเราตั้งจุดสนใจไปที่คนอื่น....เราจะเข้าใจในทันทีว่าลักษณะนี้เป็นตัวกำเนิดของเศร้าใจ,ดีใจ,มีกำลังใจ,ห่อเหียวใจ,ทุกข์ใจ,ใจมีความสงสัย,หรือไม่แน่ใจฯลฯ
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28596
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: วิชาอ่านใจของพระพุทธเจ้า
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 11, 2011, 11:14:57 am »
0
ผมตอบคุณป้าไม่ไ้ด้ครับ น่าจะเป็นปัจจัตตัง

บอกได้เพียงว่า วิธีอ่านใจที่นำเสนอมา ไม่ใช่เจโตปริยญาณ

แต่น่าจะเป็น สติปัฏฐาน มากกว่า

การดูความรู้สึก กริยาท่าทาง สีหน้า สิ่งแวดล้อม ของคนอื่น

ด้วยสมาธิระดับหนึ่ง และด้วยใจที่เป็นกลาง

แล้วใช้โยนิโสมนสิการ ก็น่าจะอ่านใจอ่านเจตนาคนอื่นได้ระดับหนึ่ง

 :49: :s_good: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

YUi

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 8
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: วิชาอ่านใจของพระพุทธเจ้า
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มีนาคม 11, 2011, 11:22:08 am »
0
เริ่มต้นต้องฝึกจิตใจให้สงบแบบไหนคะ  กำจัดความวุ่นวายในใจแบบไหน จิตใจจึงสงบ

รบกวนช่วยแนะนำด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
ทุกสิ่งเกิดจากความว่างเปล่า  และจบลงที่ความว่างเปล่า

ขอพระพุทธองค์ทรงเป็นที่พึ่งจวบจนวาระสุดท้ายแห่งชาติภพด้วยเถิด

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7254
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: วิชาอ่านใจของพระพุทธเจ้า
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มีนาคม 11, 2011, 12:09:42 pm »
0
เริ่มต้นต้องฝึกจิตใจให้สงบแบบไหนคะ  กำจัดความวุ่นวายในใจแบบไหน จิตใจจึงสงบ

รบกวนช่วยแนะนำด้วยค่ะ
ก่อนกำหนดจิต ดำเนินจิต ให้ทำดังนี้

  1. กล่าวคำขอขมา ต่อพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

    นึกเอาเองเลยก็ได้

    เช่น

    โทษอันใดที่ข้าพเจ้า ล่วงเกินแล้ว ต่อ พระพุทธเจ้า ต่อพระธรรม ต่อพระสงฆ์

    ทั้งที่เจตนา ทั้งที่มิได้เจตนา ขอพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆเจ้า จงโปรดงด

    ซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น


 2.จากนั้น ก็นั่ง ในท่่าที่สบาย ๆ กำหนดจิตไปที่ สะดือ ( นาภี ) สวดบทพระพุทธคุณไปเรื่อย ๆ

  เดี๋ยวใจก็สงบ ในเบื้องต้น กะเวลาตามความสบายใจของเรา

 3.จากนั้น ก็แผ่เมตตาให้ตัวเรามีความสุข


 เท่านี้ก็สำหรับเบื้องต้นนะ ทำบ่อย ๆ เดี๋ยวจิต ก็จะก้าวหน้าในธรรมเพิ่มขึ้นไปเอง

เจริญธรรม

 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: วิชาอ่านใจของพระพุทธเจ้า
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มีนาคม 11, 2011, 01:52:09 pm »
0
                   


          การไปรู้ใจคนอื่นนั้น  “อย่าเลย! ขอบอก” การไปดักคอทายใจคนอื่นก็เป็นเพียงต้องการเหนือคนอื่น

เอาชนะคนอื่น ก็เท่ากับสนองประโยชน์ตัวตนของตน เป็นกิเลสตัวฉกาจเพราะคนชื่อว่าคนไม่พ้นความเห็นแก่ตัว

เอาแต่ได้ฝ่ายเดียว อย่างนี้ผิด ให้หันกลับมาพิจารณาตัวตนของตนรู้ไหมว่าเราท่านโกหกตัวเองปั้นแสร้งเอา

ประโยชน์กับใครอื่นกี่มากน้อย ชื่อว่าเราท่านนั้นหลง ดังนั้นกลับมาคิด ดัก รู้ ดู จริต ไม่ให้ใจล่วงไกลเกินไปปรุง

แต่งแสร้งสร้างหาความวุ่นวายก่อเวรภัยทับถมบ่มสันดานพาลเสพเมากับตัณหาความอยากไม่จบไม่สิ้น เท่านี้เพียง

นี้เราสงบได้ สังคมสงบดี เป็นบุญกุศลใหญ่ไม่น้อย.....ครับ



          เราจะกำจัดความวุ่นวายแบบไหนใจจึงสงบ หากใจเราวุ่นวายไปตามกระแสภายนอกให้จิตคิดฟุ้งปรุงสุข

ทุกข์ไปเรื่อยๆมันก็เรื่อยๆจนกว่าจะเมื่อยหน่ายล้าเป็นทุกข์ปล่อยแต่ไม่วาง วิธีที่ว่าเหมาะควรกล่าวคือ ภาวนา นั้น

อย่างเดียวเท่านั้น เลี่ยงหลีกอย่าซ่านไปกับสังขารขันธ์ จงมาเพียรเพ่งบริกรรมให้จิตทำงานหน่วงระลึกถึงพระ

พุทธองค์ อย่าให้จิตลอยเคว้งนำจิตหยั่งฐานสะดือไว้ ปัคคหะลำดับฐาน 1 2 3 4  และ 5 เป็นอนุโลม ปฏิโลม

เรียนรู้ฝึกฝนไว้ไม่หนักหนา ดีกว่าหยั่งสันดานซ่านไปให้ฟุ้ง ขุ่น เศร้า เหงา บ้าบอ ตามแต่จิตมันวิปลาส ผู้ภาวนา

เป็นผู้เจริญ, เป็นบัณฑิต, มีคติอันเป็นสุข ได้อย่างนี้เป็นมงคลชีวิตครับ (ขอน้องยุ้ย.....ตามศึกษาเรียนภาวนา

จากเว็บไซต์นี้ปฏิบัติภาวนาให้เป็นนิสัย เวรภัยในชะตานั้นมีมาก อย่าประมาทเด็ดขาด)


ฝากให้น้อง (ยุ้ย)

     สันดานกรรมนำมา        ผิดหยาบช้าพาลให้หลง
ภาวนารู้ปลดปลง              อย่าซ่านเศร้าเขลาไม่ดี
     รู้อยู่รู้ที่ใจ                  จิตเป็นไฉนรู้เลี่ยงหนี
สติตั้งหยั่งนาภี               “พุท-โธ” ไว้ใจสุขเอย.


                                                              ธรรมธวัช.!

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 11, 2011, 05:26:54 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

prachabeodee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 135
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: วิชาอ่านใจของพระพุทธเจ้า
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มีนาคม 14, 2011, 11:00:06 pm »
0
"การดูความรู้สึก กริยาท่าทาง สีหน้า สิ่งแวดล้อม ของคนอื่น

ด้วยสมาธิระดับหนึ่ง และด้วยใจที่เป็นกลาง

แล้วใช้โยนิโสมนสิการ ก็น่าจะอ่านใจอ่านเจตนาคนอื่นได้ระดับหนึ่ง"


"  การไปรู้ใจคนอื่นนั้น  “อย่าเลย! ขอบอก” การไปดักคอทายใจคนอื่นก็เป็นเพียงต้องการเหนือคนอื่น

เอาชนะคนอื่น ก็เท่ากับสนองประโยชน์ตัวตนของตน เป็นกิเลสตัวฉกาจเพราะคนชื่อว่าคนไม่พ้นความเห็นแก่ตัว

เอาแต่ได้ฝ่ายเดียว อย่างนี้ผิด ให้หันกลับมาพิจารณาตัวตนของตนรู้ไหมว่าเราท่านโกหกตัวเองปั้นแสร้งเอา

ประโยชน์กับใครอื่นกี่มากน้อย ชื่อว่าเราท่านนั้นหลง ดังนั้นกลับมาคิด ดัก รู้ ดู จริต ไม่ให้ใจล่วงไกลเกินไปปรุง

แต่งแสร้งสร้างหาความวุ่นวายก่อเวรภัยทับถมบ่มสันดานพาลเสพเมากับตัณหาความอยากไม่จบไม่สิ้น เท่านี้เพียง

นี้เราสงบได้ สังคมสงบดี เป็นบุญกุศลใหญ่ไม่น้อย.....ครับ"
...
ป้าสาธุด้วยกับสองความเห็นนี้......เพราะเป็นการตอบที่ไม่นำไปสู่การปรุงแต่งหรือยึดติดเพื่มขึ้นไปอีก....สาธุจ้า

   
บันทึกการเข้า