ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์มันตระ “โอม มณี ปัทเม หูม” : พระพุทธศาสนาหรือไสยศาสตร์  (อ่าน 3164 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.



วิเคราะห์มันตระ “โอม มณี ปัทเม หูม” : พระพุทธศาสนาหรือไสยศาสตร์
พระเทพวัชรบัณฑิต, ศ.ดร. อธิการบดี มจร



 :25: :25: :25:

กำเนิดและลักษณะเชิงจักรวาลแหงพยางค์ศักดิ์สิทธิ์ “โอม” : มรรคาแห่งสากลภาวะ (The Path of Universality)

มันตระของตันตระได้รับอิทธิพลโดยตรงจากพราหมณ์ยุคอุปนิษัท คำว่า “โอม”(OM, หรือ AUM) ประกอบด้วยอักษร ๓ ตัว คือ “อ-A, อุ-U, ม-M”
    “อ-A” คือ พระพรหมผู้สร้าง
    “อุ-U” คือ พระวิษณุผู้รักษา
    “ม-M” คือ พระศิวะผู้ทำลาย

พราหมณ์ทุกคนตื่นขึ้นมาตอนเช้าต้องกล่าวคำว่า “โอม” เพื่อจุดประสงค์ ๒ อย่าง คือ นอบน้อมตรีมูรติ ซึ่งเป็นธรรมชาติสูงสุด และสร้างความสมบูรณ์สูงสุดให้เกิดมีขึ้นในตัวเอง

ความสำคัญของพยางค์ “โอม” เห็นได้จากข้อความต่อไปนี้

แก่นของสรรพสิ่งคือ ดิน
แก่นของดินคือ น้ำ                                            โอม
แก่นของน้ำคือ พืช                                           สามเวท
แก่นของพืชคือ มนุษย์                                       ฤคเวท
แก่นของมนุษย์คือ คำพูด                                    วจนะ
แก่นของคำพูดคือ ฤคเวท                                    มนุษย์
แก่นของฤคเวทคือ สามเวท                                  พืช
แก่นของสามเวทคือ อุทคีตะ(ซึ่งก็คือ โอม)                น้ำ
อุทคีตะคือ สุดยอดของแก่นทั้งมวล นับเป็นแก่นสูงสุด   ดิน
สมควรได้รับฐานะสูงสุด คือ ฐานะที่ ๘ สรรพสิ่ง           สรรพสิ่ง





ดินและน้ำรวมเป็นหนึ่งถ่ายพลังไปสู่พืช จากพืชไปสู่มนุษย์ พลังมนุษย์ถูกรวมไปอยู่ที่จิตและถ่ายทอดออกมาในรูปของคำพูด ซึ่งทำให้มนุษย์แตกต่างจากสรรพสัตว์ “โอม”คือ พีชะ-มันตระของจักรวาล เป็นพลังจักรวาลแห่งจิตที่ครอบคลุมทุกสิ่ง เป็นเครื่องมือก้าวไปสู่ความหลุดพ้น เหมือนแมลงมุมขยุ้มไต่ไปตามข่ายใยของตน เพื่อไปสู่ความเป็นอิสระ

มันตระ “โอม มณี ปัทเม หูม” ๖ พยางค์นี้ ชื่อว่า “มหามันตระ” เพราะมีภาวะครอบคลุมทุกมิติแห่งจักรวาล และเป็นมันตระประจำพระอวโลกิเตศวร ผู้ประสงค์จะเรียนสาระจากพระอวโลกิเตศวรโดยตรง ต้องได้รับอภิเษก(บรรพชา)เข้าไปอยู่ในมณฑล

ความศักดิ์สิทธิ์ของมันตระนี้ ประกอบอยู่ในแต่ละพยางค์ กล่าวคือ

“โอม” แสดงถึงพระอมิตาภะในรูปของธรรมกาย
“มณี” แสดงพระพระมิตาภะในรูปของพระอมิตายุส
“ปัทมะ” แสดงถึงพระอมิตาภะในรูปของสัมโภคกาย
“หูม” แสดงถึงพระอวโลกิเตศวรเองได้วัชรกาย ซึ่งเป็นองค์รวมแห่งภาวะทั้งในเชิงรูปธรรมและนามธรรม

@@@@@@@

จักรวาลวิถีกับการสร้างคุณค่าใหม่แก่พยางค์ศักดิ์สิทธิ์ “โอม”

จักรวาลวิถีแยกไม่ออกจากปัจเจกวิถี มนุษย์จะมีเจตนาเชื่อมโยงตนกับจักรวาลหรือไม่ก็ตาม สายสัมพันธ์ก็ยังเชื่อมโยงอยู่อย่างนั้น ความรุ่งเรืองของปัจเจกชนย่อมขึ้นอยู่กับเจตนาเชื่อมโยงตนกับจักรวาล

“โอม” ไม่ใช่สิ่งสูงสุดในพระพุทธศาสนา แต่เป็นพื้นฐาน อยู่ในฐานะเป็นจุดเริ่มต้นในโพธิสัตตวมรรคา กล่าวคือ อยู่ในจุดเริ่มต้นของเกือบจะทุกมันตระ ทุกรูปแบบของการบูชากรรมฐานทุกประเภท พุทธวิถีเริ่มต้นที่ “โอม” แต่ไม่ได้สิ้นสุดที่นี่ “โอม”เป็นจุดที่อุปนิษัทสิ้นสุด

การเจริญวิปัสสนากรรมฐานในพระพุทธศาสนาเถรวาท คือ การเพ่งพิจารณากระบวนการทำงานของรูปนาม เป็นเรื่องภายในตัวตน เพ่งเข้าด้านใน “โอม” มีสายสัมพันธ์โดยตรงกับร่างกายของมนุษย์
   “อ(A)” คือ ส่วนหัวทั้งหมดมาถึงลำคอ
   “อุ(U)” คือ ส่วนลำตัวทั้งหมดถึงบริเวณสะดือ
   “ม(M)” คือ ส่วนตั้งแต่ใต้สะดือลงไป

ถามว่า “วัตถุประสงค์ของการเปล่งพยางค์ โอม คืออะไร.?”
         “อะไร คือ ผลที่เกิดจากการเปล่งพยางค์ โอม.?”

วัตถุประสงค์ของการเจริญวิปัสสนาที่นำเอาสติปัฏฐาน ๔ มาเป็นกรอบ ก็เพื่อให้เกิดความเข้าใจในกระบวนการทำงานของรูปนาม ผลที่เกิดขึ้นคือ การรู้เท่าทันผลอันเกิดจากกระบวนการทำงานของรูปนาม แต่วัตถุประสงค์ของการเปล่งพยางค์ “โอม” มี ๒ ส่วน

   ๑. กระตุ้นประสาทแต่ละส่วนในร่างกายให้ทำงานประสานกัน เพื่อผลในขั้นต่อไปคือ เอกภาพ ความแน่วแน่รวมเป็นหนึ่งของประสาทแต่ละส่วน สามารถนำไปเชื่อมโยงกับพลังสูงสุด (นั่นคือ ตรีมูรติในทรรศนะของพราหมณ์)
   ๒. กระตุ้นประสาทแต่ละส่วนให้ทำงานอยู่เสมอ เพื่อให้ปรากฏภาพชัดเจน ทำให้โยคีกำหนดพิจารณากระบวนการทำงานของประสาทได้ง่าย

ผลที่เกิดขึ้นจากการเปล่งพยางค์ โอม คือ ความประสานกลมกลืนของประสาทแต่ละส่วน และโยคีจะรู้สึกได้เกี่ยวกับกระบวนการทำงานของประสาทตลอดเวลา การสร้างคุณค่าใหม่แก่พยางค์ “โอม” คือ การเปิดมิติแห่งปัจเจกชน รับมิติแห่งจักรวาล คุณค่าใหม่อยู่ที่การเชื่อมติดกันระหว่างมิติแห่งปัจเจกชนกับมิติแห่งจักรวาล


@@@@@@@

ความหมายและความสำคัญของพยางค์ศักดิ์สิทธิ์ “มณี” : มรรคาแห่งสหภาวะและอัชฌัตติกสมบัติ

“มณี” คือ แก้วมณี, มุ่งถึงเพชร ซึ่งหมายถึง ภาวะแห่งปัญญาที่กล้าแกร่ง อันเกิดจากพลังจิต หรือเป็นสัญลักษณ์แห่งพลังจิตสูงส่ง พระพุทธศาสนามหายานในอินเดียใช้คำนี้ แทนพระสูตรมหายานกลุ่มปรัชญาปารมิตา “ความรู้กล้าแกร่งดังเพชร ตัดทำลายกิเลสให้สูญสิ้น”

“มณี” หรือวัชระ ในที่นี้ มุ่งถึงวิญญาณขันธ์ ในส่วนที่เป็นมนัส(หรือกลิษฏมโนวิชญาณ หรือกิลิฏฐมโนวิญญาณ) การเปล่งพยางค์ “มณี” คือ การกระตุ้นกระบวนการทำงานของมนัสระหว่างโลกแห่งปรากฏการณ์กับโลกแห่งจิต แสดงภาพออกมาเป็น “คทาเพชร” ๓ ส่วน ซึ่งหมายถึง
    (๑) โลกแห่งปรากฏการณ์
    (๒) โลกของมนัสเอง
    (๓) โลกแห่งจิต(อาลยวิชญาณ)

ส่วนที่ ๓ อยู่ตรงกลาง หมายถึง “พีชะ” หรือเชื้อแห่งจักรวาล เป็นรูปจุดหรือหยดเล็กมีภาพขดก้นหอย แสดงถึงพลังที่ออกมาจากอายตนะซึ่งอยู่ตรงกลางนี้ จากส่วนที่ ๓ นี้ทำให้เกิดส่วนที่ ๑ และ ๒ อยู่ในขั้วทั้ง ๒ เป็นรูปดอกบัวบาน หมายถึง ขั้วของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด จากจุดนี้ อวกาศถือกำเนิดขึ้น กล่าวคือ โลกทั้ง ๓ ทิศ ทั้ง ๔ มีขุนเขาสุเมรุ(สิเนรุ)เป็นแกนกลาง

การแผ่ขยายพื้นที่ออกไปนี้ แสดงถึงขันธ์ ๕ ที่เป็นองค์ประกอบของชีวิต แต่ละขันธ์มีส่วนในการตรัสรู้เหมือนกันทั้งหมด เพราะแต่ละขันธ์มีพระธยานีพุทธะ(ฌานีพุทธะ)ประจำอยู่ในพระธยานีพุทธะแต่ละองค์ โพธิจิตย่อมแตกต่างกัน เหมือนกับรังษีที่แผ่ออกจากวัตถุรูปทรง ๕ เหลี่ยม





ความหมายและความสำคัญของพยางค์ศักดิ์สิทธิ์ “ปัทมะ”

“ปัทมะ” แปลว่า ดอกบัว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความเบ่งบานแห่งจิต และความบริสุทธิ์ที่คงทนอยู่ในท่ามกลางความไม่บริสุทธิ์ เจ้าชายสิทธัตถะเมื่อแรกประสูติ เสด็จดำเนิน ๗ ก้าว มีดอกบัว ๗ ดอกผุดขึ้นรองรับพระบาท แสดงถึงความบริสุทธิ์ภายในองค์ของเจ้าชายเองและความบริสุทธิ์ของโลกที่อยู่รวมกันกับสิ่งที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งหลาย

พระธยานีพุทธะ(ฌานีพุทธะ) นั่งเข้าฌานบนดอกบัวที่เบ่งบานเต็มที่ แสดงถึงการเปิดจิต (จิตตสส วินีวรณ) รับโลกภายนอก หันหน้าเข้าสู้สถานการณ์ของโลก นัยดั้งเดิมของสัญลักษณ์ดอกบัว คือ ดอกบัวเกิดจากโคลนตมผุดขึ้นสู่พื้นผิวน้ำ แย้มบานเมื่อขึ้นอยู่เหนือผิวน้ำแล้ว และเมื่อแย้มบานแล้ว ก็ยังคงไม่แปดเปื้อนด้วยดินและน้ำ

จิตก็เหมือนกัน เกิดในร่างกายมนุษย์ แสดงคุณสมบัติแท้จริงของจิตออกมา เมื่ออยู่เหนือกิเลสและอวิชชาแล้ว และเปลี่ยนพลังฝ่ายมืดให้เข้าไปสู่ส่วนลึกของพลังบริสุทธิ์แห่งโพธิจิต กล่าวคือ แก้วมณีที่ประมาณมิได้ ปรากฏอยู่ในดอกบัว พระอริยะแม้จะอยู่เหนือโลกและก้าวพ้นไปจากโลก แต่รากฐานของท่านยังคงประดิษฐานในพื้นโลก

เชื้อแห่งโพธิญาณปรากฏอยู่ในโลกนี้ตลอดเวลา พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในอดีตฉันใด ในปัจจุบันก็จะเสด็จอุบัติฉันนั้น แม้ในอนาคตก็จะเสด็จอุบัติอย่างนั้น พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ในประวัติศาสตร์แห่งมนุษยชาติ ต่างมีสายสัมพันธ์กันอย่างไม่มีจุดจบ

“ยันตระ” ในวัฒนธรรมทิเบต หมายถึง มณฑล นั่นคือ การจัดระบบสัญลักษณ์ ซึ่งเป็นฐานแห่งความเห็นแจ้ง มณฑลนี้แสดงออกมาเป็นรูปดอกบัว ๔ กลีบ ๘ กลีบ หรือ ๑๖ กลีบ ซึ่งทำให้เกิดจุดเริ่มต้นแห่งการบำเพ็ญฌาน


@@@@@@@

ความหมายและความสาคัญของพยางศักดิ์สิทธิ์ “หูม”

“หูม” เป็นพีชะ-พยางค์(Seed-Syllables) ประกอบด้วย ห (H), อู (U) และหุง (M) เป็นเสียงแห่งลมปราณ เป็นแก่นแท้ของชีวิต เป็นพลังชีวิตอันละเอียดที่ไหลเข้าและออก ครอบคลุมสรรพสิ่ง แท้ที่จริงแล้ว “หูม” ก็คืออาตมันที่อยู่ในภาวะดั้งเดิม หูม แสดงถึงจิตใจที่ปลอดจากธรรมารมณ์หรือสิ่งที่รับเข้ามาในจิตใจ

ประเด็นที่น่าสนใจคือ การเปล่งเสียง “หูม” พร้อมกับมีลมพ่นออกทางจมูกและปาก ลมปราณนี่แหละหมายถึงทุกอย่างของชีวิต ธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ถือว่าเป็นการปรับเปลี่ยนสภาพของลมปราณ ลมคือพลังเคลื่อนไหว(Motion) ซึ่งนัยที่แท้จริงก็คือ “วิญญาณ” คุณสมบัติเชิงพลวัตทั้งหมด สรรพสิ่งที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนรูปร่างย่อมเปิดเผยให้เห็นสภาพของลมปราณ กระบวนการทั้งหมดทั้งทางกายและจิต พลังทั้งหมดทั้งทางกายและจิต

เริ่มจากการทำหน้าที่ของลมปราณ การทำหน้าที่ของระบบหมุนเวียนของโลหิตและระบบประสาท จนถึงการทำหน้าที่ของวิญญาณ การทำหน้าที่ทางจิต และการทำหน้าที่ทางจิตชั้นสูง ล้วนเป็นการปรับเปลี่ยนสภาพของลมปราณ และลมปราณเกิดจากการเปล่งเสียงว่า “หูม”

ประเด็นที่น่าสังเกต คือ ความสัมพันธ์ระหว่างพยางค์ “โอม” กับพยางค์ “หูม” คำว่า“โอม” คือสภาพที่มุ่งขึ้นไปสู่สากลภาวะ คำว่า “หูม” คือสภาพแห่งสากลภาวะที่ดิ่งลงไปในส่วนลึกแห่งจิตใจมนุษย์

“โอม” เปรียบเหมือนดวงอาทิตย์ “หูม” เปรียบเหมือนพื้นดิน(หรือฟ้ากับดิน) แสงอาทิตย์ต้องส่องลงมายังพื้นดินโดยไม่ต้องสงสัย “โอม” เป็นสภาพอนันต์ “หูม” เป็นสภาพอนันต์ที่อยู่ในสภาพอนันต์ การที่จะก้าวถึงและเข้าใจ “หูม” จะต้องผ่านประสบการณ์เกี่ยวกับ “โอม” ก่อน

“โอม” คือ จุดเริ่มต้น ในขณะที่ “หูม” คือ จุดสุดท้ายของ “หูม”
 ใน“โอม” เราสละตัวเองออกมา ใน“หูม” เราให้ตัวเราเอง
“โอม” คือ ประตูแห่งความรู้ “หูม” คือ ประตูแห่งการตรัสรู้โพธิญาณ

@@@@@@@

พยางค์ศักดิ์สิทธิ์ “หูม” กับปัญญา ๕ ประเภท

ประเด็นที่น่าสังเกตต่อมาก็คือ ความสอดคล้องต้องกันระหว่างส่วนประกอบของ “หูม” กับโพธิญาณของพระธยานีพุทธะ

(๑) สระ “อู” ซึ่งเป็นส่วนประกอบด้านล่าง สอดคล้องกับสรรพสิทธิญาณของพระอโมฆสิทธิ หมายถึงว่าโพธิญาณที่ทำให้งานทุกอย่างสำเร็จลุล่วงไป

(๒) พยัญชนะ “ห” แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ
      ๒.๑ ร่างของ “ห” สอดคล้องกับปริจเฉทญาณของพระอมิตาภะ
      ๒.๒ หัวของ “ห” สอดคล้องกับสมตาญาณของพระรัตนสัมภวะ

(๓) ส่วนที่เป็นรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว(เมื่อเขียนคำว่า ‘หูม’ ด้วยสัญลักษณ์แบบทิเบต จะมีส่วนหนึ่งเหมือนรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว เป็นฐานะของหยดนิคคหิต) สอดคล้องกับอาทาสญาณของพระอักโษภยะ

(๔) เสียงนาสิก “ง(หรือ ม)” สอดคล้องกับธรรมธาตุญาณของพระไวโรจนะ

นอกจากนี้ “หูม” ยังมีความเกี่ยวเนื่องกับสีต่าง ๆ กล่าวคือ “หูม” เปล่งรัศมีสีน้ำเงิน เขียว แดง และเหลือง ซึ่งรัศมีเหล่านี้ถูกเปล่งออกมาจากหน้า ๔ ด้านของศูนยเทพ ผู้เป็นร่างทรงของมหาสุขะ(Supreme Bliss) และในร่างนี้เองเป็นจุดหลอมละลายพยางค์ “หูม”

ผู้ปฏิบัติโยคะต้องผสานสัญลักษณ์แห่งมันตระเข้ากับกายและจิตของตน ขั้นตอนสำคัญที่สุด คือ การย้อนกระบวนการแห่งโยคะ พร้อมกับ...
   ละลายสัญลักษณ์สระ “อู” โดยให้จมลงไปในร่างของ “ห”
   ให้ร่างของ “ห” จมลงไปในหัวของ “ห”
   และให้หัวของ “ห” จมลงไปในสัญลักษณ์รูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว
   ให้สัญลักษณ์รูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวจมลงไปในสัญลักษณ์ “นิคคหิต”
   และในที่สุดให้สัญลักษณ์ “นิคคหิต” ละลายหายเข้าไปในศูนยากาศ จนกระทั่งปรากฏอยู่ในความเงียบ





พยางค์ศักดิ์สิทธิ์ทั้ง ๖ กับภูมิ ๖

ภูมิ ๖ คือ เทวภูมิ อสูรภูมิ มนุสสภูมิ ดิรัจฉานภูมิ เปตภูมิ และนรกภูมิ
   - ขณะที่เปล่งคำว่า “โอม” เราเพ่งจิตไปที่เทวภูมิ (โลกของเทวดา) เปิดประตูแห่งความหลุดพ้น ปิดประตูแห่งการเกิดใหม่
   - ขณะที่เปล่งคำว่า “มะ” เราเพ่งจิตไปที่อสูรภูมิ (โลกของอสูร)
   - ขณะที่เปล่งคำว่า “ณี” เราเพ่งจิตไปที่โลกมนุษย์ผู้มืดบอดเพราะอัตตานุทิฏฐิ
   - ขณะที่เปล่งคำว่า “ปะ” เราเพ่งจิตไปที่ดิรัจฉานภูมิ (Animals)
   - ขณะที่เปล่งคำว่า “ทเม” เราเพ่งจิตไปที่เปตภูมิ (โลกของเปรต)
   - ขณะที่เปล่งคำว่า “หูม” เราส่งจิตอันประกอบด้วยเมตตาไปยังนรกภูมิ

ดังนั้น พยางค์ศักดิ์สิทธิ์ทั้ง ๖ จึงเป็นที่รวมแห่งข่าวสารเกี่ยวกับความหลุดพ้น ความรักที่มีต่อสรรพสัตว์ มรรคาที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้นขั้นสุดท้าย ซึ่งเป็นที่น่ารื่นรมย์ เมื่อเปล่งพยางค์เหล่านี้ ด้วยความเคารพและเข้าใจความหมายอย่างลึกซึ้ง มหากรุณาอันเจิดจรัสย่อมเกิดขึ้นในจิตของ สาธกะ(ผู้ปฏิบัติ) ทำให้เปลี่ยนจากร่างของมนุษย์ธรรมดาเป็นนิรมาณกายของพระอวโลกิเตศวร ผู้มีใจประกอบด้วยรัศมีอันหาประมาณมิได้

ถามว่า “อะไร คือ นัยสำคัญเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างพยางค์ศักดิ์สิทธิ์กับภูมิทั้ง ๖.?”

มันตระศักดิ์สิทธิ์นี้ ในระดับปัจเจกะ แต่ละพยางค์มุ่งถึงภูมิ(หรือธาตุ)แต่ละอย่างที่อยู่ในตัวมนุษย์แต่ละคน ซึ่งอยู่ในระดับโลกิยภูมิ ในขณะที่ภูมิที่เหลืออีก ๔ คือ สาวกภูมิ ปัจเจกภูมิ โพธิสัตตวภูมิ และพุทธภูมิ จัดอยู่ในฟากฝั่งโลกุตตระ มนุษย์ทุกคน หรือแม้กระทั่งสรรพสัตว์ย่อมมีภูมิทั้ง ๑๐ อยู่ในตัว พร้อมที่จะแสดงตัวออกมาเมื่อกาละและเทศะเหมาะสม

ในระดับสากล มุ่งถึงโลกิยภูมิทั้ง ๖ ดังกล่าว สรุปได้ว่า มันตระศักดิ์สิทธิ์นี้เป็นอุปกรณ์เชื่อมโยงระหว่างโลกิยภูมิกับโลกุตตรภูมิ ทั้งที่อยู่ในตัวและอยู่นอกตัว พยางค์ คือ คำพูด มีความสำคัญซึ่งสร้างความแตกต่างระหว่างมนุษย์กับสัตว์อื่น ๆ คำพูดโดยทั่วไป คือ แก่นของความเป็นมนุษย์ คำพูดที่เป็นมันตระศักดิ์สิทธิ์ย่อมมีนัยแสดงถึงแก่นแท้ของความเป็นมนุษย์ คำพูดเป็นเครื่องหมายของจิตใจ

ธรรมชาติที่แท้จริงของคำพูดไม่ได้จบลงเพียงความหมายที่ปรากฏ และไม่ได้มีความสำคัญจำกัดอยู่เฉพาะเป็นเครื่องมือถ่ายทอดความคิดและความรู้ที่ทรงคุณค่าเท่านั้น แต่คำพูดย่อมถ่ายทอดคุณสมบัติที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นแนวคิดได้ ความสำเร็จของนักพูดผู้ยิ่งใหญ่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เขาพูดเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับวิธีที่เขาถ่ายทอดด้วย

@@@@@@@

ในประเพณีไทยโบราณ นิยมย่อบทมันตระสำคัญ หรือแม้แต่หลักธรรมสำคัญ เพื่อเป็นบทสวดสาธยายให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ เช่น หัวใจอิติปิโส ว่า “อิ, สวา, สุ”
   “อิ” เป็นคำย่อพุทธคุณ มาจากคำว่า “อิติปิโส ภควา ฯลฯ”
   “สวา” เป็นคำย่อธรรมคุณ มาจากคำว่า “สวากขาโต ภควตา ธมโม ฯลฯ”
   “สุ” เป็นคำย่อสังฆคุณ มาจากคำว่า “สุปฏิปนโน ภควโต ฯลฯ”

มันตระหัวใจอิติปิโส เมื่อประสงค์จะให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ ให้ภาวนาเป็นคาบสลับกัน ดังนี้
   คาบที่ ๑ อิ, สวา, สุ
   คาบที่ ๒ สวา, สุ, อิ
   คาบที่ ๓ สุ, อิ, สวา

หัวใจอริยสัจ ๔ ว่า “ทุ, ส, นิ, ม”
   “ทุ” มาจากคำว่า “ทุกข์”
   “ส” มาจากคำว่า “สมุทัย”
  “นิ” มาจากคำว่า “นิโรธ”
  “ม” มาจากคำว่า “มรรค”

เมื่อประสงค์จะให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ ให้ภาวนาเป็นคาบสลับกันดังนี้
   คาบที่ ๑ ทุ, ส, นิ, ม
   คาบที่ ๒ ส, นิ, ม, ทุ
   คาบที่ ๓ นิ, ม, ทุ, ส
   คาบที่ ๔ ม, ทุ, ส, นิ

มันตระในประเพณีไทยผูกไว้เพื่อสวดสาธยาย เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางจิต แล้วน้อมจิตอธิษฐาน เพื่อให้สำเร็จสิ่งที่ปรารถนา ส่วนมันตระในประเพณีทิเบตผูกไว้เพื่อสวดสาธยาย สร้างกระแสจิตมั่นคง มุ่งสู่ภูมิในตัวเองและภูมินอกตัว หรือเพื่อเชื่อมโยงปัจเจกภาวะกับสากลภาวะ โลกทั้งหมดเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียว

@@@@@@@

“มันตระ” มาจากรากศัพท์ว่า “มัน(บาลี: มน)” แปลว่า คิด เชื่อมกับธาตุ คือ “ตระ” หมายถึง อุปกรณ์
รวมทั้ง ๒ คำเข้าด้วยกัน แปลว่า “อุปกรณ์แห่งการคิด”

เสียงของมันตระ ไม่ใช่วจีกรรม แต่เป็นมโนกรรม ไม่ใช่สิ่งที่จะได้ยินด้วยหู แต่ได้ยินด้วยใจ ไม่ใช่สิ่งที่จะพูดออกมาด้วยปาก แต่พูดออกมาด้วยใจ มีพลังและความหมายเฉพาะ สำหรับคนที่ได้รับการอภิเษก(Initiated) กล่าวคือ คนที่ผ่านประสบการณ์พิเศษเกี่ยวกับมันตระเท่านั้น

มันตระ “โอม มณี ปัทเม หูม” นี้ เมื่อพิจารณาดูหลักการและเหตุผลแล้ว ไม่ได้เป็นไสยศาสตร์ แต่เป็นหลักการทางพระพุทธศาสนาที่ผสมผสานกับหลักจักรวาลวิทยาสากล พระพุทธศาสนาแบบทิเบตไม่ใช่ศรัทธามืดบอด แต่มีนัยลึกลับยากที่จะบรรยาย ในบางเรื่องบางครั้งเรียกว่า “คุยหยลัทธิ หรือรหัสยลัทธิ(Esotericism)” เรื่องเครือข่ายเชื่อมโยงกันทั่วจักรวาลระหว่างสัตว์โลก

มนุษย์ถือเป็นสัตว์พิเศษกว่าสัตว์โลกชนิดอื่น เพราะเป็นศูนย์รวมพลังจักรวาลทั้งหลาย พลังจากหมู่ดาวทั้งหมด เมื่อวิวัฒนาการไปครบวงจรแล้ว จะถ่ายโอนลงมาสู่ตัวมนุษย์ เพียงแต่ว่ามนุษย์ต้องปรับอินทรีย์ของตัวเองให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ และสร้างคุณธรรมไว้ในจิตใจตลอดเวลา เพื่อทำให้ตัวเองมีพลังบวก พลังที่จะดึงดูดพลังจากดาวดวงอื่น ๆ มารวมไว้ที่ตัวมนุษย์เอง

                                                (-จบ-)
   

ดาวน์โหลด pdf file. วิเคราะห์มันตระ “โอม มณี ปัทเม หูม” : พระพุทธศาสนาหรือไสยศาสตร์ ได้ที่นี่
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 25, 2025, 08:03:45 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
 st11 st11

หนังสือประกอบการเรียบเรียง
สารนิพนธ์ เรื่อง วิเคราะห์มันตระ “โอม มณี ปัทเม หูม” : พระพุทธศาสนาหรือไสยศาสตร์
โดย พระเทพวัชรบัณฑิต, ศ.ดร. อธิการบดี มจร


1. ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์. วิถีแห่งมหายาน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, ๒๕๓๑.
2. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,มหาวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
3. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,มหาวิทยาลัย. พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐.
4. ระวี ภาวิไล. อภิธรรมสำหรับคนรุ่นใหม่. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, ๒๕๓๖.
5. ระวี ภาวิไล. พัฒนาการแห่งพุทธจริยศาสตร์. เอกสารถ่ายสำเนาเข้าเล่ม, ๒๕๓๗.

6. สมภาร พรมทา. พุทธศาสนามหายาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ-ราชวิทยาลัย, ๒๕๓๔.
7. สมัคร บุราวาศ. พุทธปรัชญา: มองจากทรรศนะทางวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศยาม, ๒๕๓๗.
8. เสฐียร พันธรังษี. พุทธศาสนามหายาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ-ราชวิทยาลัย, ๒๕๑๒.
9. เสถียร โพธินันทะ. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บรรณาคาร, ๒๕๒๒.
10. เสถียร โพธินันทะ. (ผู้แปล). ชุมนุมพระสูตรมหายาน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บรรณาคาร, ๒๕๑๖.

11. เสถียร โพธินันทะ. ปรัชญามหายาน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บรรณาคาร, ๒๕๑๖.
12. โสภณคณาภรณ์(ระแบบ ฐิตญาโณ), พระ. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๐.
13. สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ, พระมหา(ผู้แปล). พุทธตันตระเบื้องต้น. พาราณสี : เอกสารถ่ายสำเนาเข้าเล่ม, ๒๕๓๖.
14. สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ, พระมหา. พัฒนาการแห่งพุทธจริยศาสตร์. เอกสารถ่ายสำเนาเข้าเล่ม, ๒๕๓๗.
15. อดิศักดิ์ ทองบุญ. ปรัชญาอินเดีย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ จากัด, ๒๕๓๑.

16. อภิชัย โพธิ์ประสิทธิ์ศาสตร์. พระพุทธศาสนมหายาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๒๐.
17. พระเมธีธรรมาภรณ์(ประยูร ธมฺมจิตฺโต), พระ. ปรัชญากรีกโบราณ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง กรุ๊พ จากัด, ๒๕๓๒.
18. พระราชวรมุนี(ป.อ.ปยุตฺโต, พระ. พุทธธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๒๙.
19. พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), พระ. ปรัชญากรีก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศยาม, ๒๕๓๗.
20. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจากัด อรุณการพิมพ์, ๒๕๔๐.

21. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
22. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
23. พระราชวรมุนี(ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๒๘.
24. พระมหาสมจินต์ วันจันทร์, (ผู้แปล). พระพุทธศาสนามหายาน. เอกสารถ่ายสำเนาเย็บเล่มประกอบการเรียนการสอน, ๒๕๓๖.
25. ระวี ภาวิไล. อภิธรรมสำหรับคนรุ่นใหม่. กรุงเทพฯ : ส านักพิมพ์ดอกหญ้า, ๒๕๓๖.

26. ราชบัญฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย(ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : หจก.อรุณการพิมพ์, ๒๕๔๐.
27. สุนทร ณ รังษี. ปรัชญาอินเดีย : ประวัติและลัทธิ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๗.
28. อดิศักดิ์ ทองบุญ. ปรัชญาอินเดีย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ จากัด, ๒๕๓๒.
29. กฤษณรักษ์ (ผู้แปล). คัมภีร์มรณะของธิเบต. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ปัญญาสยาม, ๒๕๓๗.
30. โซเกียล รินโปเช (ผู้เขียน), พระไพศาล วิสาโล(ผู้แปล). ประตูสู่สภาวะใหม่. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, ๒๕๔๑.

31. ฉัตรสุมาล กบิลสิงห์ ษัฏเสน(ผู้เรียบเรียง). พระพุทธศาสนาแบบทิเบต. กรุงเทพฯ : บริษัท ส่องศยาม จากัด, ๒๕๓๘.
32. บรรยง บุญฤทธิ์. โลกลึกลับของทิเบต, พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : บริษัทสร้าง สรรค์บุ๊คส์ จากัด, ๒๕๔๑.
33. ส. ศิวรักษ์. ความเข้าใจในมหายาน. กรุงเทพฯ : บริษัท ส่องศยาม จากัด, ๒๕๔๒.
34. ส. ศิวรักษ์. ของดีจากธิเบต. กรุงเทพฯ : บริษัท ส่องศยาม จากัด, ๒๕๔๔.
35. ส. ศิวรักษ์. พุทธตันตระหรือวัชรยาน. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์, ๒๕๔๒.

 st11 st11

36. Encyclopaedia Britanica : the Works of Aristotle Vol. II. Chicago : William Benton Publisher, 1952.
37. Irrwin, Terrence(Translator). Aristotle : Nicomachean Ethics. Indiana : Hackett Publishing Company, 1985.
38. Brandon, S.G.F. (Editor). a dictionary of Comparative Religion. New York : Charles Scribner’s Sons, 1970.
39. Chattopadhyaya, Suddhakar. Reflections on the TANTRAS. Delhi : Motilal Banarsidass, 1990.
40. Charles A. Moore (Editor). the Japanese Mind : Essentials of Japanese Philosophy and Culture. Tokyo : Charles E. Tuttle Company, Ghose, Ramendra Nath. THE DIALECTICS OF NAGARJUNA. Allahabad : Vohra Publications & Distributors, 1987.

41. Inazo Nitobe. Bushido : The Soul of Japan. Tokyo : Charles E. Tuttle Company, 1973.
42. Kalupahana, David J.. A History of Buddhist Philosophy : Continuity and
Discontinuities. Delhi : Motilal Banarsidass, 1994.
43. Kalupahana, David J. . Mulamadhyamakakarika of Nagarjuna : The Philosophy of the Middle Way. Delhi : Motilal Banarsidass, 1978.
44. Kewl Krishan Mittal. Vijnanavada(Yogacara) and Its Tradition. Delhi : University of Delhi, 1993.
45. Ramanan, K. Venkata. NAGARJUNA’S PHILOSOPHY. Delhi : Motilal Banarsidass, 1978.

46. Sangharakshita. A Survey of Buddhism : Its Doctrines and Methods through the Ages. London : Tharpa Publications, 1987.
47. Stefan Anacker. Seven Works of Vasubandhu. Delhi : Motilal Banarsidass, 1986.
48. Christmas Humphreys. A Popular Dictionary of Buddhism. London : Curzon Press, 1976.
49. David Kalupahana. Mulamadhyamikakarika of Nagarjuna : The Philosophy of the Middle Way. Delhi : Motilal Banarsidass, 1991.
50. David Kalupahana. . A History of Buddhist Philosophy : Continuities and Discontinuities. Delhi : Motilal Banarsidass, 1991.

51. Jaidev Sigh. An Introduction to Madhyamaka Philosophy. Delhi : Motilal Banarsidass, 1978.
52. Kewal Krishan Mittal, Editor. Sunyavada : The Madhyamika Thought. Delhi : Graphic Arts Centre, University of Delhi, 1993.
53. Ramendra Nath Ghose. The Dialectics of Nagarjuna. Allahabad : Vohra Publishers & Distributors, 1987.
54. Satish Chandra Vidyabhusana. A History of Indian Logic. Delhi : Motilal Banarsidass, 1988.
55. S.G.F. Brandon, Editor. a dictionary of Comparative Religion. New York : Charles Scribner’s Sons, 1970.

56. S. Radhakrishnan, Editor. The Principal Upanisฺ ads. Delhi : Oxford University Press, 1991.
57. Vicente Fatone. The Philosophy of Nagarjuna. Delhi : Motilal Banarsidass, 1978.
Dargyay, Eva M.. The Rise of Esoteric Buddhism in Tibet. Delhi : Motilal Banarsidass, 1979.
58. Bagchi, P.C.. “Evolution of the Tantras” in the book entitled “The Cultural Heritage of India”. Calcutta : The Ramashna Mission Institute of Culture, 1983.
59. Bhattacharyya, Benoytosh. “Tantrika Culture among the Buddhists” in the book entitled : The “The Cultural Heritage of India”. Calcutta : The Ramashna Mission Institute of Culture, 1983.
60. Ekvall, Robert B.. Religious Observances in Tibet. Chicago : The University of Chicago Press, 1964.

61. Getty, Alice. The Gods of Northern Buddhism. Tokyo : Charles E. Tuttle Company, 1962.
62. Govinda, Lama Anagarika. Foundations of Tibetan Mysticism. London : A Rider Book, 1987.
63. Hazra, Kanai Lal. The Adi-Buddha. Delhi : B.R. Publishing Corporation, 1986.
64. Malalasekera, G.P.. Encycpopaedia of Buddhism, Volume II. Ceylon : The Government Press, 1967.
65. Paul, Debjani. The Art of Nalanda : Development of Buddhist Sculture AD. 600-1200. Delhi : Munshiram Manoharlal, 1995.

66. Rinpoche, Tulku Thondup. Buddhist Civilization in Tibet. New York : Routledge & Kegan, 1987.
67. Sangharakshita. A Survey of Buddhism : Its Doctrines and Methods through the Ages. London : Tharpa Publications, 1987.
68. Thondup, Tulku Rinpoche. Buddhist Civilization in Tibet. London : Routledge & Kegan Paul, 1987.
69. Waddedd, L.A.. The Buddhism of Tibet or Lamaism. London : Routledge & Kegan Paul, 1895
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 25, 2025, 08:00:43 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.



ที่มาและความหมาย "โอม มณี ปัท เม หุม" : พระคาถาอันศักดิ์สิทธิ์ หัวใจแห่งพุทธวัชรญาณ

คำว่า  ‘โอม มณี ปัท เม หุม เป็นมหามนต์ 5 คำที่ศักดิ์สิทธิ์ สามารถชำระล้างกาย วาจา ใจของผู้ที่สวดมนต์ ท่องบ่นภาวนา และปฏิบัติสมาธิด้วยเสียงมหามนต์ 5 คำนี้ ทั้งกาย ใจ จิตวิญญาณ ที่มีความเป็นสัตว์นรก เปรต เดรัจฉาน อสูร หรือแม้กระทั่งความเป็นเทพในตัวเรา ให้หมดสิ้น ให้เป็นกาย วาจา ใจ ที่ใสสะอาดบริสุทธิ์ ประดุจหนึ่งเดียวกับองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์

มณี - คือ เสียงอันศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถขจัดความเป็นอสูร คือ ความอิจฉาริษยา อาฆาต ปองร้าย พยาบาท และ ความเป็นสัตว์โลก รัก โกรธ เกลียด ให้หมดสิ้นไปจากใจของเราได้

ปัท - คือ เสียงอันศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถขจัดความเป็นเดรัจฉาน สภาพที่เป็นสัตว์ให้หมดสิ้นไปจากใจของเราได้

เม - คือ เสียงอันศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถขจัดความเป็นเปรต ความโลภให้หมดไปจากใจ

หุม - คือ เสียงอันศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถขจัดความเป็นสัตว์นรก ดุร้าย ป่าเถื่อน ไร้ศีลธรรมให้หมดไปจากใจเราได้


@@@@@@@

มูลเหตุแห่งพระคาถา

ในครั้งที่พระมหาโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรกำลังเข้าสมาธิบำเพ็ญบารมีอยู่นั้น หมู่มารได้มาราวีรังควาน แต่พระเมตตาพระองค์จึงไม่ได้ทรงตอบโต้ ยิ่งทำให้หมู่มารได้ใจราวีหนักขึ้น

จนในที่สุดพระมหาโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรได้ทรงเปล่งพระวาจาออกมาสั้น ๆ เพียง 6 คำ แต่เปี่ยมล้นด้วยบุญญาภินิหารอันยิ่งใหญ่ไพศาลมิอาจจะเปรียบประมาณได้ ซึ่งก่อกำเนิดมาจากก้นบึ้งแห่งดวงจิตที่ได้บำเพ็ญสั่งสมบุญบารมีมานานนับภพนับชาติไม่ถ้วน ยิ่งกว่าเม็ดทรายในมหานทีคงคา

พระคาถาอันกล่าวอ้างถึง บารมีธรรมแห่งพระโพธิสัตว์ทั้งหกประการ เป็นพระคาถาอันศักดิ์สิทธิ์ยิ่งของชาวพุทธวัชรญาณ เป็นเสมือนหัวใจแห่งพุทธวัชรญาณ ด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ของพระคาถาบทนี้เอง ทำให้หมู่มารทั้งหลายต่างขวัญหนีแตกกระเจิงไปสิ้น อีกทั้งเหล่าทวยเทพยดาบนชั้นฟ้าต่างต้องสะดุดลุกขึ้นมาโมทนาโดยทั่วถ้วน

ให้นั่งสมาธิแล้วสวดมหามนต์นี้ไปตามเสียงเพลง โอม มณี ปัท เม หุม เบาๆ พอที่ตัวเราจะได้ยินจนจิตเราเริ่มเข้าสู่ความสงบ ใจของเราก็จะไม่อยากออกเสียง ก็ค่อยๆหยุดสวด จิตก็จะดิ่งเข้าสู่สมาธิ ซึ่งจะเป็นความสงบที่แท้จริง

สุข สงบ สว่าง จะประจักษ์แก่ผู้ที่ตั้งใจปฏิบัติจริงอย่างสม่ำเสมอ เสียงทิพย์แห่งมหามนต์ที่เราปฏิบัติทุกวันอย่างสม่ำเสมอนี้ จะก้องอยู่ทุกขณะจิตไม่ว่าเราจะเดิน ยืน นั่ง นอน

"โอม มณี ปัท เม หุม ๆ ๆ" จะก้องอยู่ทุกขณะจิต นับว่าเป็นวิธีที่ประเสริฐ์ในการฟื้นฟูชำระจิตใจเราให้ใส สะอาด บริสุทธิ์ จิตใจของผู้ปฏิบัติก็จะพ้นจากเครื่อง พันธนาการของกิเลส ตัณหา อวิชชาทั้งหลาย





ขอบคุณ : www.hollyhockgal.com/content-โอมมณีปัทเมหุมทีมาและความหมายแห่งพระคาถาอันศักดิ์สิทธิ์หัวใจแห่งพุทธวัชรญาณ-4-1637-117543-1.html
8 กุมภาพันธ์ 2558 21:34 น.
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.

ยอดพระรัศมีของพระโพธิสัตว์กวนอิมบนทะเลแห่งหนานชาน ซึ่งมีการสลักมนตร์ "โอม มณี ปัทเม หูม"


โอม มณี ปัทเม หูม
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


 :25: :25: :25:

โอม มณิ ปัทเม หูม (Oṃ maṇi padme hūṃ ; 
    สันสกฤต : ॐ मणि पद्मे हूँ,
    สัทอักษรสากล : [õːː mɐɳɪ pɐdmeː ɦũː],
    ทิเบต: ཨོཾ་མ་ཎི་པདྨེ་ཧཱུྃ,
    ไวลี : oM ma Ni pad+me hU~M,
    จีน : 唵嘛呢叭咪吽 ;
    พินอิน : Ōng mā nī bēi mēi hōng)

หรือในเอกสารไทยนิยมใช้ โอม มณี ปัทเม หูม หรือ โอม มา นี แปะ หมี่ ฮง ตามการอ่านทับศัพท์ภาษาจีนแต้จิ๋ว

เป็นมนตร์หกพยางค์ในภาษาสันสกฤต ซึ่งเกี่ยวข้องเป็นพิเศษกับพระโพธิสัตว์แห่งความเมตตา พระษฑักษรี ปางสี่กร ปรากฏการใช้ครั้งแรกในคัมภีร์ของมหายาน การัณฑวยูหสูตร ซึ่งเรียกมนตร์นี้ในชื่อ ษฑกฺษร ("หกพยางค์") และ บรมหฤทัย ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ในคัมภีร์นี้มองว่า มนตร์นี้เป็นเหมือนรูปย่นย่อของคำสอนทั้งปวงในพุทธศาสนา



ภาพสลักพระษฑักษรีอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ และมนตร์ "โอม มณี ปัทเม หูม"


คำแปลแท้จริงและความสำคัญของมนตร์นี้ ยังเป็นที่พูดถึงโดยมากในบรรดานักวิชาการพุทธศาสนา

คำแปลตรงตัวในภาษาอังกฤษมีแปลไว้ว่า "ขอบูชาแด่แก้วมณีในดอกบัว"  หรือในรูปกล่าวประกาศที่อาจแปลว่า "ข้าพเจ้าในแก้วมณี-ดอกบัว"

ในขณะที่ในภาษาไทยมีการแปลไว้ว่า "โอม แก้วมณีในดอกบัว"

มนตร์นี้ประกอบด้วยคำว่า ปัทม แปลว่าดอกบัวอินเดีย (Nelumbo nucifera) กับ มณี ซึ่งในศาสนาพุทธนิยมใช้เรียกมณีทางจิตวิญญาณหรือจินตมณี

ส่วนคำนำว่า โอม เป็นพยางค์ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาอินเดีย และ หูม ใช้แทนดวงวิญญาณแห่งการตรัสรู้



หินมณีสลักด้วยมนตร์ "โอม มณี ปัทเม หูม" ในซังสการ์


ในศาสนาพุทธแบบทิเบต มนตร์นี้เป็นมนตร์ที่มีสวดกันทั่วไปที่สุด ทั้งในฆราวาสและสงฆ์ นอกจากนี้ยังปรากฏในฐานะส่วนหนึ่งของทิวทัศน์ที่พบได้ในทิเบต ในรูปของหินมณี หรือใสธงมนตร์กับกงล้อมนตร์

นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 ซึ่งมีการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างชาวพุทธในจีน ทิเบต และมองโกเลียมากขึ้น มนตร์นี้ได้เข้ามาสู่ศาสนาพุทธแบบจีน รวมถึงถูกนำไปประยุกต์ใช้ในลัทธิเต๋าของจีน





ขอบคุณที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/โอม_มณี_ปัทเม_หูม
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.



คาถาโอม มณี ปัทเม ฮัม (Om Mani Padme Hum)

"โอม มณี ปัทเม ฮัม" เป็นมนตราบทหนึ่งของชาวธิเบตที่นับถือพุทธศาสนา ซึ่งแปลความได้ว่า ‘โอม อัญมณีในดอกบัว’ บทสวดนี้เป็นบทสวดที่ใช้ในการสวดอ้อนวอนต่อ เชนเรสี (Chenrezi, พระโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวร) หรือเทพเจ้าที่ปกปักษ์รักษาชาวธิเบต และมักจะพบบทสวดนี้ได้ตามหินผา
                 
การอ่านมนตรานี้ซ้ำๆ จะเป็นการเพิ่มพูนกุศลบุญ และลดบาปอันเกิดจากการกระทำส่วนการเจริญสมาธิ เชื่อว่าเป็นการชำระล้างใจและกายให้สะอาดบริสุทธิ์ ช่วยให้พวกเขาไม่ต้องตกนรกหมกไหม้ และได้บรรลุธรรมเช่นเดียวกับพระพุทธองค์

เชื่อกันว่าการหมุนกงล้ออธิษฐานนั้น ให้ผลเช่นเดียวกับการสวดมนตรานี้พร้อมไปกับการใช้นิ้วมือหมุนสร้อยลูกประคำไปทีละเม็ด

                 
@@@@@@@

มีการสันนิษฐานว่า บทสวดนี้น่าจะแปลความหมายได้ว่า มนุษย์นั้นสามารถเปลี่ยนแปลงกายเนื้อ คำพูด และจิตใจที่แปดเปื้อนมีมลทินไปเป็นกายเนื้อ คำพูด และจิตใจอันบริสุทธิ์ได้ เหมือนดังพระพุทธองค์ที่ครั้งหนึ่งเคยต้องมัวหมองทั้งกาย ใจ และคำพูดมาก่อน แต่สุดท้ายพระองค์ก็ทรงสามารถตัดกิเลสและตรัสรู้ได้เอง การเดินตามรอยพระพุทธองค์ด้วยวิธีการเดียวกันนั้น จะทำให้วิธีคิดและปัญญาไม่แยกออกจากกัน
                 
    • คำว่า โอม (om) นั้นเป็นตัวแทนของมนุษย์ที่มีร่างกาย คำพูด และจิตใจที่มัวหมอง
    • มณี (Mani) หมายถึง อัญมณี เป็นตัวแทนขององค์ประกอบของความเมตตา กรุณาและความรักความห่วงใย
    • ปัทเม (padme) แปลว่า ดอกบัว และเป็นเครื่องหมายของปัญญา การที่ดอกบัวมีกำเนิดมาจากโคลนตม แต่ก็ไม่ได้ทำให้ดอกบัวต้องมัวหมองด้วยโคลนตม ด้วยเหตุนี้ดอกบัวจึงถูกนำพาไปเปรียบเทียบกับปัญญาที่นำมนุษย์ให้พ้นจากความมัวหมองทั้งปวง
    • ฮัม (hum) แปลว่า สิ่งที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เป็นตัวแทนของความบริสุทธิ์ และสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยการรวมเอาวิธีการและปัญญาไว้ด้วยกัน




 
ขอบคุณที่มา :-
จาก : หนังสือนัยแห่งสัญลักษณ์
website : https://www.finearts.go.th/mahavirawongmuseum/view/12448-คาถาโอม-มณี-ปัทเม-ฮัม--Om-Mani-Padme-Hum-
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 25, 2025, 08:50:43 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.

แผ่นศิลาจารึกของสุไลมานสร้างขึ้นที่ถ้ำโม่เกาในปี ค.ศ. 1348 เพื่อรำลึกถึงการบริจาคของสุไลมาน เจ้าชายแห่งซีหนิง แผ่นศิลาจารึกประกอบด้วยมนต์หกพยางค์ที่เขียนด้วยอักษรหกแบบ ได้แก่ ลันต์ซา [แถวที่ 1] อักษรทิเบต [แถวที่ 2] อักษรอุยกูร์ [ซ้ายสุด] อักษรพัคส์ปา [ซ้าย] อักษรตังกุต [ขวา] และอักษรจีน [ขวาสุด]



 :25: :25:

โอม มณี ปัทเม ฮุม
บทความจาก Wikipedia

โอม มานิ ปัทเม ฮูม̐ (สันสกฤต : ॐ मणि पद्मे हूँ, สัทอักษรสากล : [õːː mɐɳɪ pɐdmeː ɦũː]) เป็นมนต์ภาษาสันสกฤต รูปศทัคชะรีสี่กรพระอวโลกิเตศวรพระโพธิสัตว์แห่งความเมตตา ปรากฏครั้งแรกในมหายานกาลัญญะสุตราซึ่งเรียกอีกอย่างว่า สาทัศกฤต(สันสกฤต : षडक्षरหกพยางค์) และ ปรมหทัย หรือ "หัวใจส่วนลึกที่สุด" ของพระอวโลกิเตศวร ในข้อความนี้ มนต์ถูกมองว่า เป็นรูปแบบย่อของคำสอนของพุทธศาสนาทั้งหมด

ความหมายและความสำคัญของคำเหล่านี้ ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมากในหมู่นักวิชาการด้านพุทธศาสนา ความหมายตามตัวอักษรในภาษาอังกฤษได้แสดงออกมาว่า "สรรเสริญอัญมณีในดอกบัว" หรือเป็นความปรารถนาอันประกาศออกมา อาจหมายถึง "ฉันในดอกบัวอัญมณี"

ปัทมาเป็นภาษาสันสกฤต สำหรับดอกบัวของอินเดีย (Nelumbo nucifera) และมณีสำหรับ "อัญมณี" เช่นเดียวกับ "อัญมณี" ทางจิตวิญญาณชนิดหนึ่งที่มักเรียกกันทั่วไปในพระพุทธศาสนา

คำแรก คือ อุม/โอม เป็นพยางค์ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาต่างๆของอินเดีย และ หุม หมายถึง จิตวิญญาณแห่งการตรัสรู้

ในพระพุทธศาสนานิกายทิเบตมนต์นี้ เป็นมนต์ที่แพร่หลายที่สุด และการสวดมนต์เป็นรูปแบบการปฏิบัติทางศาสนาที่ได้รับความนิยม โดยทั้งฆราวาสและพระภิกษุสงฆ์ต่างก็ทำกัน มนต์นี้ยังเป็นลักษณะเด่นที่ปรากฏอยู่ทั่วไปบนภูมิประเทศ มักแกะสลักบนหินที่เรียกว่า หินมณี วาดลงบนเนินเขา หรือไม่ก็เขียนบนธงมนต์และกงล้อมนต์

เนื่องมาจากปฏิสัมพันธ์ที่เพิ่มมากขึ้น ระหว่างชาวพุทธจีนกับชาวทิเบตและชาวมองโกล ในช่วงศตวรรษที่ 11 มนต์จึงเข้ามาสู่พุทธศาสนาจีนด้วย มนต์ยังได้รับการดัดแปลงเป็นลัทธิเต๋าของจีนด้วย



มณฑลทราย ทิเบตของพระอวโลกิเตศวรซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของพิธีกรรมการเริ่มต้นตันตระที่จำเป็นในการฝึกมนต์ตามการานดาวยวหะ


ที่วัดหย่งเหอ ปักกิ่ง


ความหมายและผลกระทบ

ความหมาย : ผู้ปฏิบัติมนต์อาจตีความได้หลายวิธี หรืออาจตีความเป็นเพียงลำดับเสียง ที่มีผลเหนือกว่าความหมายเชิงความหมายที่แท้จริง

ส่วนกลางของมนต์ "มณีปัทเม" มักถูกตีความว่าเป็นคำอุทานว่า "อัญมณีในดอกบัวที่สมปรารถนา"

ในภาษาสันสกฤต มณี "อัญมณีที่สมปรารถนา/ล้ำค่า อัญมณีจินตมณี" และคำอุทานว่า ปัทมา "ดอกบัว"

ดอกบัวเป็นสัญลักษณ์ที่ปรากฏอยู่ทั่วทั้งศาสนาอินเดีย แสดงถึงความบริสุทธิ์ (เนื่องจากสามารถโผล่พ้นโคลนตมได้โดยไม่เปื้อน) และผลทางจิตวิญญาณ (และด้วยเหตุนี้จึงทำให้ตื่นขึ้น)

มณีปัทเม นำหน้าด้วย พยางค์ oṃ และตามด้วย พยางค์ hūṃ ซึ่งเป็นคำอุทานทั้งสองคำที่ไม่มีความหมายทางภาษา แต่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นเสียงศักดิ์สิทธิ์

อย่างไรก็ตาม ตามที่ Donald Lopez กล่าว (โดยอ้างแหล่งข้อมูลไวยากรณ์ภาษาธิเบต) มีแนวโน้มสูงมากว่า maṇipadme จะเป็นคำเรียกขานที่กล่าวถึงโพธิสัตว์ ที่เรียกว่า maṇipadma ซึ่งแปลว่า "ดอกบัวอันเป็นอัญมณี" ซึ่งเป็นคำเรียกอีกชื่อหนึ่งของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

Damien Keown ยังตั้งข้อสังเกตอีกว่าทฤษฎีอื่นเกี่ยวกับความหมายของมนต์ก็คือว่า จริงๆ แล้วมนต์นี้เรียกเทพเจ้าหญิงที่ชื่อ มณีปัทมี เนื่องมาจากหลักฐานจากตำราต่างๆ เช่น Kāraṇḍavyūhasūtra ซึ่งบรรยายมนต์ว่าเป็นเทพเจ้าหญิง

@@@@@@@

นอกจากนี้ ตามที่ Studholme ระบุไว้ หากคำนี้อ่านเป็นคำเรียกเฉพาะ ก็มักจะเป็นคำทางไวยากรณ์ เพศหญิง เพราะหากเป็นเพศชาย ก็จะเป็นรูปแบบที่ไม่สม่ำเสมออย่างมาก

ดังนั้น ตามที่ Lopez ระบุไว้ ความหมายดั้งเดิมของมนต์อาจเป็นการเรียก "นางแห่งอัญมณีดอกบัว" ซึ่งเป็นวิทยา(ปัญญา) และพระชายาของพระอวโลกิเตศวร และเทียบเท่ากับบทบาทของพระศักติต่อ พระอิศวร

เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอัญมณีและดอกบัว สเตน โคโนว์แย้งว่า อาจหมายถึง "ดอกบัวที่เป็นอัญมณี" หรือ "อัญมณีในดอกบัว" เขาแย้งว่า คำอธิบายที่สองฟังดูสมเหตุสมผลมากกว่า โดยชี้ให้เห็นอิทธิพลของศาสนาไศวะผ่านภาพของลึงค์และโยนี ซึ่งทั้งสองคำนี้เกี่ยวข้องกับมณีและปัทมาตามลำดับ ดังนั้น มนตราอาจหมายถึง "โอ้ เธอที่มีอัญมณีในดอกบัว"

อย่างไรก็ตาม ตามที่ Alexander Studholme กล่าว ความหมายของmanipadme "ควรวิเคราะห์เป็นtatpurusa หรือคำที่ 'กำหนด' ในกรณีระบุตำแหน่ง (เพศชายหรือกลาง)" ซึ่งหมายถึง "ในดอกบัวประดับอัญมณี" หรือ "ในดอกบัวที่ทำด้วยอัญมณี" ซึ่งหมายถึง :-

    ลักษณะที่พระพุทธเจ้าและโพธิสัตว์กล่าวกันว่า ประทับนั่งบนดอกไม้อันสวยงามเหล่านี้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งลักษณะที่เชื่อว่า มีสิ่งมีชีวิตทางโลกมากขึ้นปรากฏตัวในดินแดนบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้า เมื่อพิจารณาถึงความสำคัญในคัมภีร์การัณดาวยูหะและในคัมภีร์มหายานโดยทั่วไป ของเป้าหมายทางศาสนาในดินแดนบริสุทธิ์ของพระอมิตาภะ อาจถือได้อย่างปลอดภัยว่า มณีปัทเมนั้น สัมพันธ์กับวิธีเกิดใหม่ของมนุษย์ในดินแดนนั้นโดยธรรมชาติ การสวดโอมมณีปัทเม หุณ ซึ่งทำให้ระลึกถึงชื่อของอิศวรในศาสนาพุทธนั้น รวมถึงการประกาศลักษณะที่บุคคลจะเกิดใหม่ในสุขาวดีว่า "ในดอกบัวแก้ว"



ในอักษรเนปาล landyza


ตามคัมภีร์การัณฏวหสูต

คำอธิบายเกี่ยวกับมนต์นี้ ครั้งแรกที่ทราบปรากฏใน Kāraṇḍavyūhasūtra ("The Basket's Display", c 4–5th century) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์มหายานบางเล่ม เช่น คัมภีร์ทิเบตในพระสูตรนี้พระพุทธเจ้าศากยมุนีตรัสว่า "นี่คือ มนต์ที่มีประโยชน์สูงสุด แม้แต่ข้าพเจ้าเองก็ได้ปรารถนาสิ่งนี้ต่อพระพุทธเจ้าทั้งล้านองค์ และต่อมาก็ได้รับคำสอนนี้จากพระอมิตาภ"

พระสูตรส่งเสริมการสวดมนตร์นี้เป็นหนทางสู่การหลุดพ้น โดยระบุว่า ผู้ใดที่รู้จักมนตร์นี้ (ชนัตถะ) จะรู้จักการหลุดพ้นในฐานะพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้โดยสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังระบุด้วยว่า การเริ่มสวดมนตร์โดยพระอุปัชฌาย์ที่มีคุณสมบัติ (ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นธรรมะภาณกะวิทยาธร หรือ มหาสิทธะที่เป็นฆราวาส) เป็นข้อกำหนดที่สำคัญ

สำหรับการฝึกฝนมนตร์นี้ ในพระสูตร พระอวโลกิเตศวรตรัสว่า ไม่ควรสวดมนตร์ให้กับผู้ที่ไม่เคยเห็นมณฑล กล่าวกันว่า การเริ่มต้นนี้เปิดกว้างสำหรับชาวพุทธทุกคนโดยไม่คำนึงถึงชนชั้นและเพศ ไม่ว่าจะเป็นมหายานหรือหินยานแต่เปิดกว้างสำหรับนักบวชตีรติกะ

การันฎวหสูตราถือว่า มนต์เป็นแก่นหรือการแสดงออกอย่างย่อของ "แปดหมื่นสี่พันธรรม" ทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ มนต์จึงถูกเรียกว่า "เมล็ดข้าวของมหายาน" และการสวดมนตร์นี้เทียบเท่ากับการสวดพระสูตรจำนวนมาก

@@@@@@@

ดังนั้น ตามที่สตัดโฮล์มกล่าวไว้ ความสำคัญของมนต์ในคารณพยุหะ ก็คือว่ามันเป็น "หัวใจที่อยู่ลึกที่สุด" ของพระอวโลกิเตศวร และดังนั้น จึงเป็น "วิธีการทั้งเข้าเฝ้าพระอวโลกิเตศวรและครอบครองพลังบางส่วนของพระโพธิสัตว์" กล่าวกันว่า การฝึกฝนมนต์นี้จะนำไปสู่คุณสมบัติเชิงบวกมากมาย รวมถึง :-

    • การเห็น (ทรรศนะ) รูปลักษณ์ “พันเท่า” ของโพธิสัตว์
    • การเกิดใหม่ในโลกนับไม่ถ้วนที่อยู่ในรูพรุนของพระโพธิสัตว์
    • สมาธิ (การเพ่งสมาธิ) มากมายนับไม่ถ้วนรวมทั้งสมาธิแห่ง "การชื่นชมยินดีในความเมตตาและกรุณา" (ไมตรีกรุณามุทิโต)
    • การพัฒนาของ “มหากรุณา”
    • การสะสมบุญ อันมิอาจประมาณได้
    • การบรรลุบารมี 6 ประการ
    • การตื่นรู้ (โพธิ์)

ในพระสูตรนี้มหาวิทยาสาทกสารี (มหาวิทยาที่มีหกพยางค์) ยังปรากฏเป็นเทพี สีเหลืองในฤดูใบไม้ร่วง มีสี่พระกร สองพระกร ถือดอกบัวและลูกประคำ และอีกสองพระกรถืออัญชลีมุทรา ตามที่สตัดโฮล์มกล่าว ลักษณะเหล่านี้คล้ายคลึงกับลักษณะที่มนตราโอม นมะ ศิวายะ ปรากฏในคัมภีร์ไศวะ เนื่องจาก "ทั้งสองเป็น วิทยาการ ที่กระชับ เป็น หฤทัย [หัวใจ] ของอิศวร แต่ละอันเป็นวิธีการบรรลุการหลุดพ้นแบบเหนือธรรมชาติที่หาได้ทั่วไป แม้ว่าจะมีคุณค่าหายากและค่อนข้างเป็นความลับ ทั้งสองยังถูกโต้แย้งว่า เป็นรูปแบบของปราณวะ [เสียงศักดิ์สิทธิ์]"

Kāraṇḍavyūhasūtra ได้รับการแปลเป็นภาษาจีนในศตวรรษที่ 11 หรือ 12 และเป็นส่วนหนึ่งของพระธรรมพุทธศาสนาของจีน



มนต์เป็นอักษรทิเบตมีหกพยางค์เป็นสี


ในพระพุทธศาสนานิกายทิเบต

ปรมาจารย์ชาวเบงกอลในศตวรรษที่ 11 ชื่อ Atiśa Dīpaṃkara Śrījñāna ผู้มีอิทธิพลในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในทิเบต ยังได้เขียนบทความสั้นๆ เกี่ยวกับมนต์ที่เรียกว่า Arya-sad-aksari-sadhana นักวิชาการด้านพุทธศาสนาบางคนโต้แย้งว่า มนต์ที่ฝึกฝนในพระพุทธศาสนาแบบทิเบตนั้นมีพื้นฐานมาจากSadhanamala ซึ่งเป็นชุดการปฏิบัติทางจิตวิญญาณ ที่ตีพิมพ์ในศตวรรษที่ 12

อย่างไรก็ตาม ตามที่ Peter Alan Roberts กล่าวไว้ "แหล่งข้อมูลหลักสำหรับการปฏิบัติและคำสอนของพระอวโลกิเตศวรแบบทิเบต" คือ Maṇi Kambum ในศตวรรษที่ 11

โดนัลด์ โลเปซ เขียนว่า ตามงานเขียนของนายกรัฐมนตรีขององค์ทะไลลามะองค์ที่ 5 ในศตวรรษที่ 17 ความหมายของมนต์นี้คือ "โอ ท่านผู้มีอัญมณีและดอกบัว" คำว่า manipadme ในกรณีสำนวนก็ได้รับการสนับสนุนจากบทความทางไวยากรณ์ทิเบตในศตวรรษที่ 9 เช่นกัน

โลเปซยังสังเกตด้วยว่า ข้อความทางพุทธศาสนาแบบทิเบตส่วนใหญ่ถือว่า การแปลมนตร์เป็นเรื่องรอง โดยเน้นที่ความสอดคล้องกันของพยางค์ทั้ง 6 พยางค์ในมนตร์ กับ พยางค์ทั้ง 6 พยางค์อื่นๆ ในประเพณีทางพุทธศาสนาแทน

ตัวอย่างเช่น ใน Chenrezig Sadhana Tsangsar Tulku Rinpoche ได้ขยายความหมายของมนต์โดยใช้พยางค์ทั้ง 6 เพื่อแสดงถึงการชำระล้างอาณาจักรแห่งการดำรงอยู่ทั้ง 6 แห่ง :-





(ยังมีต่อ...)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 29, 2025, 10:41:44 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.
(...ต่อจากด้านบน)


“โอม มณี ปัทเมฮูม รีฮ”


ตามคำบอกเล่าของทริจัง รินโปเช

ครูบาอาจารย์ขององค์ทะไลลามะองค์ปัจจุบันทริจัง รินโปเช (ค.ศ. 1901–1981) เขียนคำอธิบายเกี่ยวกับมนต์ดังกล่าวไว้ว่า :-

    ส่วน มณีปัทเม นั้น “แก้วมณี” หรือ “แก้วมณีดอกบัว” เป็นพระนามหนึ่งของพระอวโลกิเตศวร เหตุที่พระองค์ได้รับพระนามนั้นก็เพราะว่า ดอกบัวไม่เปื้อนโคลน ฉันใด พระอวโลกิเตศวรเองก็ทรงละทิ้งรากแห่งสังสารวัฏอันเป็นมลทินแห่งความคิดถึงความเป็นอยู่ที่แท้จริง พร้อมทั้งความแฝงอยู่ด้วยด้วยพระปัญญาอันยิ่งใหญ่ของพระองค์เอง ดังนั้น...

    • เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่า พระองค์ไม่ยึดมั่นในความเป็นอยู่ทางโลกสุดโต่ง พระองค์จึงทรงถือดอกบัวสีขาวไว้ในพระหัตถ์
    • พระองค์ทรงประกบพระหัตถ์ทั้งสองข้างบนเข้าด้วยกัน ทำท่าถือแก้วมณี เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่า พระองค์ทรงขจัดความทุกข์ทรมานของสรรพสัตว์ทั้งหลายให้หมดไป
    • เหมือนกับแก้วมณีที่ประทานพรให้พร และประทานความสุข และความสุขชั่วคราว และสูงสุดแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย



"โอม มณี ปัทเม หูม" หินมณีแกะสลักด้วยอักษรทิเบตนอกพระราชวังโปตาลาในลาซา


ตามคำบอกเล่าขององค์ทะไลลามะองค์ที่ 14

เทนซิน เกียตโซ ทะไลลามะองค์ ที่ 14 กล่าวว่า :-

    “การสวดมนต์ โอม มณี ปัทเม ฮัง นั้นดีมาก แต่ขณะที่สวดมนต์อยู่นั้น ควรนึกถึงความหมายของมันด้วย เพราะความหมายของพยางค์ทั้งหกนั้นยิ่งใหญ่และไพศาลยิ่งนัก...โอม แรกนั้นเป็นสัญลักษณ์ของร่างกาย คำพูด และจิตใจที่ไม่บริสุทธิ์ของผู้ปฏิบัติ และยังเป็นสัญลักษณ์ของร่างกาย คำพูด และจิตใจอันบริสุทธิ์อันสูงส่งของพระพุทธเจ้าอีกด้วย”

    “แนวทางสายกลางนั้นได้แสดงไว้ด้วยพยางค์สี่พยางค์ต่อไปนี้ มณี ซึ่งแปลว่า อัญมณี เป็นสัญลักษณ์ของปัจจัยแห่งวิธีการ ได้แก่ เจตนาอันบริสุทธิ์ที่จะบรรลุธรรม ความเมตตาและความรัก”

    “สองพยางค์ คือ ปัทเม แปลว่า ดอกบัว เป็นสัญลักษณ์ของภูมิปัญญา”

    “ความบริสุทธิ์ต้องบรรลุได้โดยความสามัคคีของวิธีการและภูมิปัญญาที่แยกจากกันไม่ได้ ซึ่งแสดงด้วยพยางค์สุดท้ายที่แขวนอยู่ ซึ่งบ่งชี้ถึงการแยกจากกันไม่ได้”

    “ดังนั้น พยางค์ทั้งหก โอม มณี ปัทเม หุง หมายความว่า โดยอาศัยการปฏิบัติแนวทางอันเป็นการรวมเอาแนวทางและปัญญาเข้าไว้ด้วยกันอย่างแยกไม่ออก คุณสามารถเปลี่ยนแปลงกาย วาจา และใจที่ไม่บริสุทธิ์ของคุณให้กลายเป็นกาย วาจา และใจอันบริสุทธิ์อันสูงส่งของพระพุทธเจ้า”

                      — Tenzin Gyatso ทะไลลามะที่ 14 “ตามความหมายของ : โอม มานี ปัดเม ฮุง”

@@@@@@@

ดิลโก เคียนเซ รินโปเช

    “มนต์โอม มณี ปัทเม ฮุม เป็นคำที่กล่าวได้ง่ายแต่ทรงพลังมาก เนื่องจากมีสาระสำคัญของคำสอนทั้งหมด เมื่อคุณกล่าว โอม พยางค์แรก คุณจะได้รับพรเพื่อช่วยให้คุณบรรลุความสมบูรณ์แบบในการปฏิบัติธรรม
     มะ ช่วยให้บรรลุความสมบูรณ์แบบในการปฏิบัติธรรมบริสุทธิ์
     นิ ช่วยให้บรรลุความสมบูรณ์แบบในการปฏิบัติความอดทนและอดกลั้น พยางค์ที่สี่ ช่วยให้บรรลุความเพียรพยายามอย่างสมบูรณ์แบบ
     เม ช่วยให้บรรลุความสมบูรณ์แบบในการปฏิบัติสมาธิ และพยางค์ที่หกสุดท้าย
     ฮุม ช่วยให้บรรลุความสมบูรณ์แบบในการปฏิบัติปัญญา”


    “ดังนั้นการสวดมนต์ด้วยวิธีนี้ จึงช่วยให้บรรลุความสมบูรณ์ในการปฏิบัติทั้ง 6 ประการ ตั้งแต่การให้ทานไปจนถึงปัญญา แนวทางของความสมบูรณ์แบบทั้ง 6 ประการนี้ เป็นแนวทางที่พระพุทธเจ้าทั้งสามพระองค์เคยเดินมาแล้ว แล้วจะมีความหมายอะไรยิ่งไปกว่า การสวดมนต์และบรรลุความสมบูรณ์แบบทั้ง 6 ประการนี้”

                     — ดิลโก เคียนเซ รินโปเช สมบัติแห่งหัวใจของผู้รู้แจ้ง



จารึกพระคาถาที่ใหญ่ที่สุดในโลกตั้งอยู่บนภูเขา Dogee ในเมือง Kyzyl ประเทศรัสเซีย


การถ่ายอักษร

ในภาษาอังกฤษ มนต์จะถูกแปลงอักษรแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสำนักต่างๆ ในพระพุทธศาสนาและครูผู้สอนแต่ละคน นักวิชาการส่วนใหญ่ถือว่า maṇipadme เป็นคำรวมคำเดียวแทนที่จะเป็นคำง่ายๆ สองคำ การเขียนภาษาสันสกฤตไม่มีตัวพิมพ์ใหญ่ ซึ่งหมายความว่า การใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ในมนต์ที่แปลงอักษรเป็นอักษรจะแตกต่างกันไป ตั้งแต่ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด ไปจนถึงใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ตัวแรก และไม่มีตัวพิมพ์ใหญ่เลย การเขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมดเป็นลักษณะทั่วไปของงานวิชาการเก่าๆ และตำราสวดมนต์ทิเบต

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี้



หินมณีแกะ สลักแต่ละก้อนมีคำว่า "โอม มณี ปัทเม ฮุม" อยู่บนทางเดินในซังสการ์


รูปแบบต่างๆ

ดังที่ Bucknell et al. (1986, p. 15) กล่าวเอาไว้ว่ามนต์อวโลกิเตศวร ฉบับสมบูรณ์ ประกอบด้วยhrīḥ บทสุดท้าย ( สันสกฤต : ह्रीः , IPA: [ɦɽiːh] ) ซึ่งปรากฏเป็นสัญลักษณ์ในพื้นที่ตรงกลางของมณฑล พยางค์ดังที่เห็นได้ในการตกแต่งเพดานของพระราชวังโปตาลา

มนต์ฉบับสมบูรณ์ในภาษาธิเบต มีดังนี้ : ཨོཾ་མ་ཎི་པདྨེ་ཧཱུྃ་ཧྲཱིཿ hrīḥ ไม่ได้ถูกเปล่งออกมาให้ได้ยินเสมอไป และอาจก้องสะท้อนออกมา "ภายใน" หรือ "เป็นความลับ" ผ่านเจตนา

ตามคำบอกเล่าของ Sam Van Schaik งานเขียนของชาวทิเบตจากเมืองตุนหวง ซึ่งเป็นศูนย์กลางลัทธิสำคัญของพระอวโลกิเตศวรประกอบด้วยมนต์จำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับรูปนี้ โดยมนต์หกพยางค์เป็นเพียงหนึ่งในหลายๆ มนต์เหล่านี้เป็นเพียงรูปแบบที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักของมนต์หกพยางค์ เช่น Om vajra yaksa mani padme hum

อีกรูปแบบหนึ่งที่ Peter Alan Roberts กล่าวไว้คือ Om manipadme hum mitra svaha



มนต์ : โอม มณี เปเม ฮุม หริ


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี้





Thank to : https://en-m-wikipedia-org.translate.goog/wiki/Om_mani_padme_hum?_x_tr_sl=en&_x_tr_tl=th&_x_tr_hl=th&_x_tr_pto=wa
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 29, 2025, 10:44:12 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ