ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ถึงแม้ตอบโจทย์ได้ ก็ยังไม่สามารถบรรลุเป็นพระอรหันต์ เรื่องจริงจากพระสูตร  (อ่าน 10056 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7283
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
พระไตรปิฎกเล่มที่ 18 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 10
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค สฬายตนสังยุตต์ ปัณณาสกะที่ ๒
ฉันนวรรค สังขิตสูตร


สังขิตสูตร


      [๑๐๓] ฯลฯ ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดง  ธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว พึงเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออก  จากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า  ดูกรอานนท์ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
      ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
       พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
       อา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
      พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร  หรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
      อา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
      พ. รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
     อา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ 
     พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ 
     อา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
      พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ  หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
       อา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
      พ. จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข-  เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย  เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
      อา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
       พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า ฯ
       อา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
      พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ  หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
       อา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯลฯ
      พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
      อา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
      พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
       อา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
      พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ  หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
      อา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
      พ. มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขม-  สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
      อา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
       พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
      อา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
       พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ  หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
      อา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า
       ดูกรอานนท์ อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งใน  จักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกข-  เวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อม  เบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้ง  ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็น  ปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อ  หลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหม-  จรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก


จบสูตรที่ ๓
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 02, 2011, 10:21:13 am โดย patra »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7283
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
จากตัวอย่าง พระสูตรด้านบน นั้น เป็นพระพุทธดำรัส ตรัสกับพระอานนท์ ที่พระองค์ทรงแนะการภาวนาต่าง ๆ ใหกับพระอานนท์ ถึงแม้พระอานนท์ จักจำได้ และโต้ตอบได้ในขณะนั้น แต่ก็ไม่ทำให้พระอานนท์บรรลุเป็นพระอรหันต์ แต่ประการใด
 
อันนี้เอามาตอบโจทย์ให้ท่านนักอ่าน ทั้งหลายทุกท่านว่า การเรียน การอ่านมาก ๆ นั้น หากมิได้ทำ มนสิการ คือ ภาวนาเข้าสู่ใจแล้ว ก็ไม่สามารถที่บรรลุธรรมแม้อยู่ต่อหน้า พระพุทธเจ้า
 
เจริญธรรม
 
 ;)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 02, 2011, 09:06:42 pm โดย patra »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

pornpimol

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 152
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พระอาจารย์ ต้องการสื่อให้เห็นเรื่องใดคะ คือต้องการให้อ่านพระสูตรให้เข้าใจ และทำไว้ในใจ

หรือว่าต้องการสื่อให้เห็นว่า การเรียนการอ่าน นั้นไม่มีประโยชน์

คือยังไม่ค่อยจะเข้าใจคะ

 :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
น่าจะหมายถึง การฟังธรรม หากเพียงแต่ฟัง หรือ แม้ตอบได้ในระหว่างฟัง ก็ยังไม่ได้จัดเป็นภาวนามยปัญญา
กระมังคะ หากแต่ฟังแล้วน้อมมาใส่ใจ และภาวนา โอกาสแห่งธรรมย่อมเกิดขึ้นได้

แต่โดยส่วนตัว มองเห็นจากพระสุตร การโต้ตอบของพระอานนท์ กับ พระพุทธเจ้า แล้วก็เห็นอะไรหลาย ๆ ประการในการศึกษาและภาวนากรรมฐาน มากยิ่งขึ้น
 :19:
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร

saieaw

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 271
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
ดูกรอานนท์ อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งใน  จักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกข-  เวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อม  เบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้ง  ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็น  ปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อ  หลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหม-  จรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก

ถ้าพิจารณาให้ดี น่าจะมีโจทย์ ที่พระอานนท์ ยังไม่ได้ตอบในส่วนนี้นะคะ
บันทึกการเข้า

rainmain

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 323
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถ้าอย่างนั้น มาลองวิจัยโจทย์ กันต่อเลยไหมครับ ว่าพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงตรัสสอนภาวนาอะไรให้ พระอานนท์ ในขณะนั้น

ดูกรอานนท์ อริยสาวกผู้สดับแล้ว

แสดงว่า อริยสาวกเท่านั้น ที่ฟังเข้าใจนะครับ เพราะใช้คำว่า อริยะสาวกผู้สดับแล้ว ในที่นี้น่่าจะหมายถึงพระอานนท์ ซึ่งเป็นพระโสดาบันอยู่ในขณะนั้น


เห็นอยู่อย่างนี้
เห็นอะไร ต้องย้อนไปที่คำถามตอบเริ่มต้น ซึ่งพระองค์ปูพื้นฐานให้ในตอนนั้น มีดังนี้

 1.จักษุ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ถ้าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรจะตามเห็นว่าเ็ป็นเราเป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเราหรือไม่
 2. รูป

 3.จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข-  เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย

 4.ใจ

 5.มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขม-  สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

  อันที่จริง อาจจะต้อง อายตนะ 18 ร่วมด้วย
 ดังนั้น ถ้ามองเห็นเข้าใจจริง ก็ควรจะต้อง
 
 ย่อมเบื่อหน่ายทั้งใน  จักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกข-  เวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อม  เบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้ง  ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็น  ปัจจัย

ต่อด้วยสภาวะที่เป็นเหมือนลูกโซ่

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด

ต่อด้วยสภาวะที่เป็นเหมือนลูกโซ่

เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น

ต่อด้วยสภาวะที่เป็นเหมือนลูกโซ่

เมื่อ  หลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว

รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก

ถึงตรงนี้น่าจะเป็นสภาวะ อรหัตผล ใช่หรือไม่ครับ

ถึงวิเคราะห์มาได้อย่างนี้ แล้ว ภาวนาจริง ๆ อยู่ตรงไหนครับ

 ภาวนาจริง อยู่ที่ สัมมาทิฏฐิ เห็นว่า อายตนะทั้ง 18 นั้น ไม่เที่ยง เป็น ทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

อันบุคคลไม่ควรตามสำคัญมั่นหมายว่า นั่นเป็นเรา นั่นเป็นของเรา นั่นเป็นตัว เป็นตนของเรา

  เห็นตรงนี้สำคัญมาก เพราะต้องเห็นจนกระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ที่สำคัญอยู่ตรงนี้เท่านั้น คือต้องรู้แจ้งเห็นจริง จนเกิดความเบื่อหน่าย

  ความเบื่อหน่าย เป็น นิพพิทานุปัสสนาญาณ

  สรุป ถ้ายังไม่เกิดความเบื่อหน่าย ก็ยังไม่เห็นตามความเป็นจริง

  ในทางกลับกัน ถ้าเห็นตามความเป็นจริง ก็ย่อมเกิดความเบื่อหน่าย




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 02, 2011, 09:09:09 pm โดย patra »
บันทึกการเข้า
คิดดี พูดดี ทำดี เป็นกุศล และ กรรมฐาน เป็นมหากุศล นะครับ

pongsatorn

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 242
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คุณ rainmain วิจัยให้เห็นเนื้อหา ดีครับอยากให้คุณ  rainmain  ช่วยทำหน้าที่อย่างนี้เสมอ ๆ ครับ
ผมอ่านตามแล้ว ก็เข้าใจตามได้ด้วยครับ เพราะบางทีอ่านพระสูตรตรง ๆ ผมเองก็จับต้นชนปลาย ยังไม่ค่อยได้

ช่วย วิจัย ไปตลอดเลยนะครับ เพราะจะติดตามครับ

 :s_hi: :25:
บันทึกการเข้า

pussadee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 149
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คุณ rainmain วิจัยให้เห็นเนื้อหา ดีครับอยากให้คุณ  rainmain  ช่วยทำหน้าที่อย่างนี้เสมอ ๆ ครับ
ผมอ่านตามแล้ว ก็เข้าใจตามได้ด้วยครับ เพราะบางทีอ่านพระสูตรตรง ๆ ผมเองก็จับต้นชนปลาย ยังไม่ค่อยได้

ช่วย วิจัย ไปตลอดเลยนะครับ เพราะจะติดตามครับ

 :s_hi: :25:

เห็นด้วย คะ มาทำหน้าที่ บ่อย ๆ นะคะจะตามอ่านคะ
ชอบอ่านคะ ได้ความรู้ดีคะ

 :13:
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7283
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
พระอาจารย์ ต้องการสื่อให้เห็นเรื่องใดคะ คือต้องการให้อ่านพระสูตรให้เข้าใจ และทำไว้ในใจ

หรือว่าต้องการสื่อให้เห็นว่า การเรียนการอ่าน นั้นไม่มีประโยชน์

คือยังไม่ค่อยจะเข้าใจคะ

 :smiley_confused1:
Aeva Debug: 0.0004 seconds.

ต้องการให้เข้าใจว่า ถ้าบารมีเรายังไม่เต็ม คือการอบรมภาวนายังไม่เต็ม ไม่มีความปรารถนาที่จะพ้นจากสังสารวัฏ นี้แล้วไซร้ ให้อยู่กับพระพุทธเจ้า ฟังธรรมทุกวัน ก็ไม่สามารถบรรลุเป็นพระอริยะบุคคลชั้นสูงสุดได้

ส่วนการอ่าน การฟัง การภาวนา ย่อมมีประโยชน์อยู่แล้วนะจ๊ะ จะมาก หรือ จะน้อยก็ดีสั่งสมไว้
ไม่ใช่เห็นว่าเป็นไปไม่ได้ ก็ไม่อ่าน ไม่ฟัง ไม่ภาวนา อันนี้ผิดนะจ๊ะ

เจริญธรรม

 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

yungolose

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ขอบคุณครับ อ่านแล้วดีมากเลย
บันทึกการเข้า
บริการแพคเกจทัวร์สิงคโปร์ราคาพิเศษตลอดปี
Cheap football shirts SOCCER JERSEY online store
Mitsubishi cleansuiเป็นเครื่องกรองน้ำที่ได้รับความไว้วางใจ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ปัญญา ๓ (ความรอบรู้, รู้ทั่ว, เข้าใจ, รู้ซึ้ง)
๑. จินตามยปัญญา (ปัญญาเกิดแต่การคิดการพิจารณาหาเหตุผล)
๒. สุตมยปัญญา (ปัญญาเกิดแต่การสดับการเล่าเรียน)
๓. ภาวนามยปัญญา (ปัญญาเกิดแต่การฝึกอบรมลงมือ)


การที่จะบรรลุธรรมในขั้นต่างๆ นอกจากต้องอาศัย "บารมีที่สั่งสมมาแต่ชาติก่อน"แล้ว

ต้องรอให้ "อินทรีย์แก่กล้าและสมดุลย์" ก่อน ขอให้ดูตัวอย่าง เช่น พระวักกลิ กับพระพาหิยะ

หรือ พระสารีบุตรที่ฟังธรรมจากพระอัสสชิ หรือพระโมคคัลลานะที่ฟังธรรมจากพระสารีบุตรก็บรรลุโสดาบันได้

แนะนำให้อ่านเรื่องนี้ครับ


บาลานซ์อินทรีย์ เพื่ออะไร ทำไมต้องบาลานซ์
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2913.0

 :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
พระไตรปิฎกเล่มที่ 18 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 10
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค สฬายตนสังยุตต์ ปัณณาสกะที่ ๒
ฉันนวรรค สังขิตสูตร

ดูกรอานนท์ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
     พ. รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
     อา.ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ 
     พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ 
     อา.เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
     พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ  หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
     อา.ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

ดูกรอานนท์ อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งใน  จักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุข-เวทนา ทุกข-เวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อม  เบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้ง  ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็น  ปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อ  หลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก

ทุกท่าน การเรียน การอ่านมาก ๆ นั้น หากมิได้ทำ มนสิการ คือ ภาวนาเข้าสู่ใจแล้ว ก็ไม่สามารถที่บรรลุแม้อยู่ต่อหน้า



กายนี้...ไม่ใช่เรา

กายนี้...ไม่เป็นเรา

กายนี้...ไม่มีในเรา

มีแต่จิต......ล้วนๆ

(ทิ้งโลก...ทิ้งกาย...ปัคคหะบริกรรม หยั่งฐานจิต นับ "พุทโธ" 1 2 3 ฯลฯ) เท่านี้เพียงนี้ และได้อะไร?

เราจะรู้ว่าจิตไม่มีรูป(คงที่) ไม่ทรงสถานะ เรามีสติดำรงอยู่ สัมปชัญญะรู้ตัวอยู่ จิตสามารถเคลื่อนไหวเหมือน

ลม อากาศ น้ำ เบา เราจึงรู้ในความหมายว่า กายนี้...ไม่ใช่เรา, กายนี้...ไม่เป็นเรา, กายนี้...ไม่มีในเรา,

มีแต่จิต......ล้วนๆ ชื่อว่าภาวนาจึงแสดงผลอย่างนี้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 04, 2011, 10:30:26 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา