บทเรียนพระอภิธรรมทางไปรษณีย์ ชุดที่ ๒
ชีวิตคืออะไร ชีวิตคืออะไร ตามหลักวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นวิทยาการทางโลกนั้นสิ่งมีชีวิตหมายถึง สิ่งที่เจริญเติบโตได้ กินอาหารได้ เคลื่อนไหวได้ และสืบพันธุ์ได้ ซึ่งนอกจากจะหมายถึงมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายแล้วยังหมายถึงพืชอีกด้วย
แต่ในพระอภิธรรมนั้นให้คำจำกัดความของชีวิตไว้ว่า “ชีวิตคือความเป็นอยู่ของร่างกาย จิตและเจตสิก โดยอาศัยกรรมเป็นผู้นาเกิดและตามรักษาดารงชีวิต และกระทำการต่าง ๆ ได้โดยอาศัยจิตและเจตสิกเป็นผู้กำกับ” ส่วนต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นร่างกายนั้น ทางธรรมะเรียกว่า “รูปธรรม” หรือเรียกสั้นๆ ว่า รูป เป็นธรรมชาติที่ไม่มีความรู้สึก นึกคิดใดๆ ทั้งสิ้น เปรียบได้ดั่งท่อนไม้ ส่วน จิตและเจตสิก เป็นนามธรรม หรือเรียกสั้นๆ ว่า นาม เป็นธรรมชาติที่รับรู้สิ่งต่างๆ และสามารถคิดนึกเรื่องราวต่างๆ ได้
ดังนั้นตัวเราหรือสัตว์ทั้งหลาย จึงมีส่วนประกอบอยู่ ๓ ส่วน ได้แก่ กาย จิตและเจตสิก ซึ่งในทางธรรม เรียกว่า รูป กับ นาม แต่เนื่องจากพืชทั้งหลายไม่ได้เกิดมาจากกรรม ไม่มีจิตและเจตสิกในการรับรู้ คิดนึกเรื่องราวต่างๆ ดังนั้นคำว่า “ชีวิต” ในพระอภิธรรมจึงหมายถึง มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายเท่านั้น คำว่า “สัตว์” ในที่นี้มิได้หมายถึง เฉพาะสัตว์เดรัจฉานเท่านั้น แต่หมายถึง สิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่ยังเวียนว่ายตายเกิดใน ๓๑ ภพภูมิ ดังนั้น มนุษย์จึงถือว่าเป็นสัตว์ประเภทหนึ่งด้วย สัตว์ทั้งหลายในจักรวาลนี้ ล้วนประกอบด้วยธรรมชาติ ๓ อย่าง คือ รูป จิตและเจตสิก ที่สาคัญผิดคิดว่าเป็น “เรา” เป็น “ตัวตนของเรา” แท้ที่จริงแล้วมีแต่รูปกับนามเท่านั้นที่เกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็ว ไม่มีส่วนไหนเลยที่เป็น “ตัวตนของเรา” แม้จะรวมกันเข้าแล้วก็ยังไม่ใช่ “เรา” อีกเช่นเคย
แม้คนที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังเรื่องเช่นนี้มาก่อน ไม่เคยรู้จักพระพุทธศาสนามาก่อน หรือผู้ที่นับถือศาสนาใดๆ ก็ตาม ทุกคนล้วนประกอบด้วยรูป จิตและเจตสิก ที่มีการเกิดดับอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลาเหมือนกันทั้งสิ้น เพราะสัตว์ทั้งหลายไม่รู้ธรรมชาติที่เป็นจริงนี้ จึงทาให้ยึด รูป-นาม ขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวตนของเรา โดยมีกิเลสตัณหา เป็นผู้บงการให้กระทากรรมต่างๆ ทั้งที่เป็นบุญและเป็นบาป แล้ววิบากที่เป็นผลของกรรมนั้น ก็จะส่งผลให้ต้องเวียนเกิดเวียนตายในสังสารวัฏอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ฯลฯ
ที่มา http://www.abhidhamonline.org/
ขันธ์ ๕ หรือ เบญจขันธ์ (กองแห่งรูปธรรมและนามธรรม ๕ หมวด ที่ประชุมกันเข้าเป็นหน่วยรวม ซึ่งบัญญัติเรียกว่า สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เป็นต้น, ส่วนประกอบ ๕ อย่างที่รวมเข้าเป็นชีวิต)
๑. รูปขันธ์ (กองรูป, ส่วนที่เป็นรูป, ร่างกาย พฤติกรรม และคุณสมบัติต่างๆ ของส่วนที่เป็นร่างกาย, ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด, สิ่งที่เป็นร่างพร้อมทั้งคุณและอาการ)
๒. เวทนาขันธ์ (กองเวทนา, ส่วนที่เป็นการเสวยอารมณ์, ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ)
๓. สัญญาขันธ์ (กองสัญญา, ส่วนที่เป็นความกำหนดหมาย, ความกำหนดได้หมายรู้ในอารมณ์ ๖ เช่นว่า ขาว เขียว ดำ แดง เป็นต้น)
๔. สังขารขันธ์ (กองสังขาร, ส่วนที่เป็นความปรุงแต่ง, สภาพที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลางๆ, คุณสมบัติต่างๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแต่งคุณภาพของจิต ให้เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต)
๕. วิญญาณขันธ์ (กองวิญญาณ, ส่วนที่เป็นความรู้แจ้งอารมณ์, ความรู้อารมณ์ทางอายตนะทั้ง ๖ มีการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ได้แก่ วิญญาณ ๖) ขันธ์ 5 นี้ ย่อลงมาเป็น 2 คือ นาม และ รูป; รูปขันธ์จัดเป็นรูป, 4 ขันธ์ นอกนั้นเป็นนาม.
อีกอย่างหนึ่ง จัดเข้าในปรมัตถธรรม 4 :
-
วิญญาณขันธ์เป็น จิต, - เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ เป็น เจตสิก,
- รูปขันธ์ เป็น รูป,
- ส่วน นิพพาน เป็นขันธวินิมุต คือ พ้นจากขันธ์ 5
โยนิ ๔ (กำเนิด, แบบหรือชนิดของการเกิด )
๑. ชลาพุชะ (สัตว์เกิดในครรภ์ คือ คลอดออกมาเป็นตัว เช่น คน โค สุนัข แมว เป็นต้น )
๒. อัณฑชะ (สัตว์เกิดในไข่ คือ ออกไข่เป็นฟองก่อนแล้วจึงฟักเป็นตัว เช่น นก เป็น ไก่ เป็นต้น )
๓. สังเสทชะ (สัตว์เกิดในไคล คือ เกิดในของชื้นแฉะหมักหมมเน่าเปื่อย ขยายแพร่ออกไปเอง เช่น กิมิชาติบางชนิด )
๔. โอปปาติกะ (สัตว์เกิดผุดขึ้น คือ เกิดผุดเต็มตัวในทันใด ได้แก่ เทวดา สัตว์นรก มนุษย์บางพวก และเปรตบางพวก ท่านว่า เกิดและตาย ไม่ต้องมีเชื้อหรือซากปรากฏ ) ที่มา พจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม(ป.อ.ปยุตโต)กิมิชาติ: แบคที่เรีย-ไวรัส-จุลินทรีย์-หนอน-พยาธิ (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกายมหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑หน้าที่ ๒๔๐-๒๔๒)
พระวิปัสสนาจารย์ชื่อดังท่านหนึ่งกล่าวว่า เชื้อโรคไม่มีวิญญาณ ดังนั้นขอตอบว่า
สัตว์ที่อยู่ใน ๓๑ ภพ ล้วนมีวิญญาณทั้งสิ้น ยกเว้นเชื้อโรค หรือ สังเสทชะ(สัตว์เกิดในไคล)
ส่วนเรื่องกรรมที่จะนำให้ไปเกิดเป็นมนุษย์นั้น เบื้องต้นต้องถือศีลห้า จะต้องถือนานเท่าไหร่อย่างไร
ตอบไม่ได้ครับ กรรมเป็นเรื่องอจินไตย ผู้มีญาณทัสสนะอันยิ่งเท่านั้นที่จะตอบได้
