อธิบาย เข้าใจยากจัง หรือ ผมยังอ่านไม่เข้าใจครับ
คือส่วนตัว ผมคิดว่า กรรมฐาน ไม่ต้องกำหนด ฐานจิตได้หรือไม่ครับ
อย่างเช่นกำหนด ภาวนา พุท หายใจเข้า โธ หายใจออก แค่นี้ไม่ได้หรือครับ
โดยทำเนียมปฏิบัติกรรมฐานมัชฌิมา จะไม่อธิบายเป็นตัวหนังสือ แต่เน้นให้ความเข้าใจเกิดจากปฏิบัติมากกว่า
เท่าที่พระอาจารย์ได้พยายามอธิบายมา ถือว่าอนุโลมมากแล้ว
การกำหนดฐานจิตเป็นการผูกจิตเอาไว้ ไม่ให้ส่งออกนอก คุณลองต้องปฏิบัติไปเรื่อยๆก่อน
ถึงจุดหนึ่งจะเข้าใจได้่เองครับ
อีกอย่างในเรื่องลำดับขั้น ปีติ ผมมีความคิดว่า ถ้าปีิติเกิด ปีติไหน เกิดก่อนก็ได้
แล้วปีติ ไม่จำเป็นต้องมีฐาน จิต ก็น่าจะได้ ( คือสงสัยว่าใครสมมุติ ไว้ว่า ปีติ นั้นต้องอยู่ตรงนั้น ครับ )
เพราะปีติ เช่น ขุททกาปีติ ก็ คือ ปีติเล็กน้อย ขณิกาปีติ ปีิติที่มีเพียงชั่วขณะหนึ่ง คือคำอธิบายไม่ตรงกับ
ที่อธิบายเรื่องปีติไว้ ครับ
บูรพาจารย์ของกรรมฐานมัชฌิมา ได้กำหนดการลำดับกรรมฐานเอาไว้ ท่านต้องมีเหตุผล
ถึงแม้ตัวผมเอง จะไม่กระจ่างในเรื่องนี้ แต่จากการได้ปฏิบัติมา มันได้ปิติ ตามที่พระอาจารย์ได้บอกไว้
ตอนนี้อย่าเพิ่งไปคิดว่า มันมาได้อย่างไร ใครเป็นคนคิด ทำไปทำไม ทำแล้วจะไ้ด้ผลรึเปล่า
รสชาติอาหารต่างๆ คุณต้องกินมันไปก่อน ถึงจะรู้ว่ามันมีรสอย่างไร
หลายคนอาจคิดว่า คำสอนนี้ไม่มีในพระไตรปิฎก เรื่องนี้อธิบายได้ว่า
การบริกรรมพุทโธ หรือ พองหนอ ยุบหนอ ก็ไม่ปรากฏใยพระไตรปิฎกเช่นกัน
แต่ทำไม คนจึงทำตามกันมา โดยไม่ขัดแย้ง ตอบว่า เพราะมันทำแล้วต้องได้ผล
การลำดับกรรมฐานมัชฌิมาก็เหมือนกัน มีคนทำแล้วได้ผล จึงมีผู้สืบทอดมาถึงปัจจุบัน
ดังนั้นผมคิดว่า ในส่วนลำดับพระกรรมฐาน นั้น ไม่น่าจะจำเป็นในการภาวนาเพื่อปีติ หรือ สุข ครับ
เพราะลำพังปีติ และ สุข ก็ เป็นส่วนหนึ่งของ ฌาน นี่ครับ
การเข้าฌาน ออกฌาน ก็ไม่น่าจะต้องกำหนดขั้นตอนอย่างนี้ นะครับ
( คือ ที่แย้งเพราะยังไม่ค่อยจะเข้าใจ ครับ )
สัมมาสมาธิ ในพระไตรปิฎก ได้อธิบายไว้ว่า คือ ฌาน ๔ องค์ของฌาน คือ ปิติ สุข เป็นต้น
และในพระไตรปิฎก ยังบอกไว้ว่า องค์ฌานต่างๆ เป็นเครื่องบอกว่า เราอยู่ที่ฌานไหน
เช่น ปฐมฌาน จะมี วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นต้น
ดังนั้นการได้มาซึ่งสัมมาสมาธิ จำเป็นต้องรู้องค์ฌานครับ
ส่วนขั้นตอนการปฏิบัตินั้น เป็นวิธีปฏิบัติหรือกุศโลบายเฉพาะของกรรมฐานแนวนี้
ส่วนการปฏิบัติ จิตตานุปัสสนา นั้นอธิบายให้เกี่ยวเนื่องกับสมาธิก็ไม่น่าจะใช่แบบนี้นะครับ
ข้อธรรมในจิตตานุปัสสนานั้น แสดงให้เห็นว่า จิตของเราคิดเรื่องอะไรต่ออะไรอยู่ตลอด มันไม่เคยว่าง
ศัพท์บาลีเรียกว่า เสวยอารมณ์ จิตมันรู้สึกถึง ราคะ โทสะ โมะ อยู่ตลอดวลา ทุกข์บ้าง สุขบ้าง
การบริกรรมคำบริกรรมต่างๆ การอธิษฐานต่างๆ เป็นกุศโลบาย ผูกจิดเอาไว้ ไม่ให้ส่งออกนอก
คิดเรื่องที่ไม่เป็นกุศล
ดังนั้น คำบริกรรม คำอธิษฐานต่างๆ ถูกนำเข้าไปแทนที่ การเสวยอารมณ์ของจิตที่ไม่เป็นกุศล นั่นเอง
แทนที่จะให้ จิตไปคิดเรื่องที่ไร้สาระ เราก็หางานให้จิตคิดแต่เรื่องที่มีสาระหรือเป็นกุศล ไม่ดีกว่าหรือ
อีกอย่าง คำอธิษฐานมีผลครับ ขอให้ไปศึกษาเรื่องอธิษฐานบารมี พระพุทธเจ้าของเรายังต้องอธิษฐานเลย
จิตของคนเรา แม้จะเป็นอนัตตา แต่ก็เป็นธรรมชาติที่ฝึกได้ และคำอธิษฐานและคำบริกรรมต่างๆ ก็เป็น
กุศโลบายหนึ่ง ที่ใช้ฝึกจิิต
เพราะเท่าที่ผมฝึกตามดูจิต ตามแบบ พระอาจารย์ปราโมช ก็ไม่จำเป็นต้องกำหนดอะไรเพียงแต่ให้มี สติ กำหนดรู้เท่านั้นไม่จำเป็นต้องไปกำหนดให้ รู้เฉพาะ ซึ่งเป็นไปตามสถานการณ์
ขอโทษครับ คุณยังเข้าใจคำสอนของพระอาจารย์ปราโมช ไม่ตลอดสาย คำสอนของท่านสอนเฉพาะคนครับ
คือ ท่านจะสอนแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนท่านก็สอนให้ดูกายครับ
บางคนจิตไม่ถึงฐาน ไม่ตั้งมั่น ท่านก็ให้ไปทำสมาธิในรูปแบบใดก็ได้ ท่านไม่ได้บังคับ
เช่น ภาวนาพุทโธ ท่านอธิบายว่า คำบริกรรมพุทโธ เปรียบเสมือน "land mark"
ในเบื้องต้นจิตจำเป็นต้องมีเครื่องผูกไว้ ไม่ให้ส่งออกนอก การบริกรรมเป็นการกำหนดใช่ไหมครับ
ที่สำคัญ ท่านห้ามนำคำสอนของท่านไปอ้างอิง เพระคำสอนของท่านสอนเฉพาะคนนั้นๆ
อีกคนหนึ่งอาจใช้วิธีนั้นไม่ได้ผล เมื่อไม่ได้ผลอาจมีการปรามาส หรือเกิด "วิวาทะ" ตามมา
ที่ผมตอบมา ขอให้ถือว่า เป็นการคุยเป็นเพื่อนนะครับ เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวเท่านั้น
สุดท้ายขอนำคำกล่าวของพระอาจารย์ปราโมช มาแสดง ดังนี้ครับ
หนทางยังมีอยู่ ผู้เดินทางยังไม่ขาดสาย ลงมือเสียแต่วันนี้
ก่อนที่กระแสลมแห่งกาลเวลา จะพัดพารอยพระบาทของท่านหายไป
เพราะถึงเวลานั้น พวกเราก็จะต้องระหกระเหินไร้ทิศทาง ไปอีกนานแสนนาน
(พระอาจารย์ปราโมชย์ ปาโมชโช)