เรื่องวิบากกรรมจาก พระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=4&t=21279วิบากกรรมของ อกุศลกรรมบถ ๑๐
http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=11188http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=11191๕. ปิสุณวาจา หมายถึงการพูดส่อเสียด เป็นการพูดที่มีเจตนาให้เกิดการแตกแยก รวมทั้งการพูดที่กล่าวพาดพิงถึงบุคคลอื่นในทางที่ไม่ดี องค์ประกอบที่จะตัดสินว่าเป็นการกระทำผิดอกุศลกรรมบถในข้อนี้คือ
๑) มีผู้ที่ถูกทำให้แตกแยก
๒) มีจิตมุ่งให้แตกแยกกัน
๓) มีความเพียรให้แตกแยกกัน หรือได้พูดออกไป
๔) คนฟังรู้ความ
เมื่อได้กระทำออกไป ผลที่จะได้รับในปวัตติกาล คือ
(๑) ชอบตำหนิตัวเอง เมื่อได้ทำอะไรผิดมักอุทานออกเป็นคำพูดที่ตำหนิตนเอง เช่น "บ้าจัง !" หรือ "แย่จริง ! " บางคนกลัวเพื่อนฝูงจะหยิบยืมเงินทองมักชอบพูดเป็นทำนองว่าตนเองไม่มีเงิน หรือบางคนชอบพูดว่าตนเองไม่ดีอย่างโน้น อย่างนี้ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะอดีตชาติชอบตำหนิ และส่อเสียดผู้อื่นไว้ อำนาจนี้จึงทำให้ชาติต่อ ๆ ไปกล้าที่จะตำหนิตนเองซึ่งเป็นชีวิตที่เรารักที่สุดได้
(๒) มักถูกกล่าวหาโดยไม่เป็นจริง หลายท่านอาจเคยประสบพบเห็นมาว่า เมื่อมีเรื่องราวอะไรเกิดขึ้น หรือมีข้าวของอะไรเสียหาย เด็กบางคนมักจะถูกพ่อแม่ดุเป็นประจำ ทั้ง ๆ ที่เด็กคนนั้นไม่ได้ทำอะไรเลย หรือขณะที่เด็ก ๆ เล่นกันเมื่อมีเรื่องราวเกิดขึ้น เด็กบางคนต้องตกเป็นผู้เสียหาย ถูกฟ้องทั้งที่ตนเองเป็นฝ่ายถูก นั่นคือไม่ว่าจะมีความผิดใด ๆ เกิดขึ้น แม้ไม่ได้เป็นผู้กระทำ ก็จะถูกมองว่าเป็นคนผิด นักโทษที่ถูกตำรวจจับ และต้องถูกกักขัง บางรายก็ไม่ได้กระทำผิดจริง แต่กลับถูกส่งฟ้องเพราะสิ่งแวดลล้อมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นหลักฐานสำคัญทำให้ถูกจับการถูกกักขังนั้นก็เป็นผลเนื่องจากอดีตชาติเป็นคนที่ชอบกักขังสัตว์มาก่อนนั่นเอง
(๓) ถูกบัณฑิตติเตียน นั่นคือไม่ว่าจะทำการงานอะไร แม้งานที่คิดว่าเสร็จสมบูรณ์ดีแล้วก็ยังมีช่องโหว่ทำให้ได้รับคำตำหนิจากหัวหน้างาน หรือเด็กบางคนที่ถูกพ่อแม่ ครูอาจารย์ดุเป็นประจำ
(๔) แตกกับมิตรสหาย บางคนมีพฤติกรรมบางอย่างที่ใคร ๆ ไม่ชอบ หรือเป็นคนที่เข้ากับใคร ๆ ไม่ได้ แม้มีเพื่อนก็มีเหตุทำให้ต้องมีเรื่องแตกแยกในที่สุด ทั้งนี้เป็นเพราะอดีตชาติได้เคยส่อเสียดคนอื่นเอาไว้มาก อำนาจนี้จึงทำให้ต้องได้รับผลคือไม่มีใครอยากคบหาสมาคมด้วย เป็นการแตกกับมิตรสหายนั่นเอง
อกุศลกรรมบถในข้อปิสุณวาจานี้ ถ้าพิจารณาอย่างละเอียดแล้ว หลาย ๆ คนยังประพฤติและปฏิบัติกันอยู่ เช่น การกล่าวถึงบุคคลอื่นในทางที่ไม่ดี การกระทำนี้จะสร้างความสันทัดให้ติดตัวไปและในที่สุดจะผลักดันให้มีการกระทำทางวาจา เช่น หลาย ๆ คนเมื่อมีเสียงดังจากภาชนะที่ตกหล่น มักจะส่งเสียงร้องโทษแมว อันนี้เป็นผลของความสันทัดในการส่อเสียดเริ่มต้นจากการว่าแมวแล้วอาจส่อเสียดคนอื่น ๆ ต่อไปได้อีก เมื่อได้กระทำกรรมเช่นนั้น ผลก็ย่อมต้องได้รับดังที่กล่าวมาแล้ว
๗. สัมผัปปลาปะ หมายถึงการพูดเพ้อเจ้อ เป็นการกล่าววาจาหรือเรื่องราวอันหาสาระประโยชน์ไม่ได้ มีองค์ประกอบของการตัดสินว่าเป็นการพูดเพ้อเจ้อคือ
๑) มีเจตนากล่าววาจาที่ไม่มีสาระ ไม่เป็นประโยชน์
๒) ได้กล่าววาจานั้นออกมา
เมื่อได้กระทำออกไป ผลที่จะได้รับในปวัตติกาลคือ
(๑) เป็นอธรรมวาทบุคคล คือ เป็นคนที่พูดมากและเรื่องราวที่พูดนั้นไร้สาระ หาประโยชน์ไม่ได้ บางคนไม่ว่าใครจะพูดอะไรก็พูดกับเขาได้ทุกเรื่อง มีการเพลิดเพลินในการพูดคุยโดยไม่สนใจว่าคนอื่นเขาจะรู้สึกอย่างไร บางคนไม่ว่าใครจะทำอะไรหรือซื้ออะไรมา ก็ชอบไปพูดวุ่นวายทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่เรื่องของตนเอง เช่น เขาซื้อผ้ามา ก็เที่ยวไปถามว่า "ซื้อเท่าไร? ซื้อที่ไหน?" และติว่าซื้อแพง เป็นต้น คนที่มีพฤติกรรมเช่นนี้เป็นเพราะความสันทัดจากการเป็นคนพูดเพ้อเจ้อในอดีตชาติติดตามมานั่นเอง
(๒) ไม่มีผู้เลื่อมใสในคำพูด แม้จะพูดจริงก็ไม่มีใครเชื่อถือ สิ่งเหล่านี้เป็นผลที่ได้รับเพราะพูดเพ้อเจ้อมา คนที่พูดหาสาระไม่ได้ เมื่อพูดจริงคนก็ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่พูดนั้นเชื่อถือได้หรือไม่ เพราะสิ่งที่เขาพูดมีมากมาย และข้อความบางอย่างที่พูดก็ไม่มีประโยชน์เลย
(๓) เป็นคนไร้อำนาจ ถึงจะเป็นหัวหน้า ลูกน้องก็ไม่มีความยำเกรง เป็นพ่อแม่พูดจาสั่งสอน ลูกก็ไม่เชื่อฟัง เป็นครูอาจารย์ ลูกศิษย์ก็ไม่ให้ความเคารพ ทั้งนี้เพราะอดีตชาติเป็นคนเพ้อเจ้อ ไม่มีใครให้ความเชื่อถือมาก่อนนั่นเอง
(๔) วิกลจริต คนวิกลจริตบางครั้งนั่งพูดอยู่คนเดียวที่เป็นเช่นนี้เพราะอดีตเป็นคนพูดมาก ไร้สาระ ไม่มีใครอยากฟัง จิตจึงเก็บอำนาจนั้นไว้ ผลที่ตามมาจึงทำให้วิกลจริตกล้าพูดคนเดียว
ทั้ง ๔ ประการนี้จัดเป็นวาจาทุจริต เมื่อได้กระทำออกไปย่อมมีผลตามมามากมาย ดังนั้น ในการรักษาศีล ๕ ข้อ ๔ มุสาวาท ซึ่งหมายถึงเว้นจากการพูดทุจริต จึงรวมการพูดส่อเสียดพูดคำหยาบและพูดเพ้อเจ้อเข้าไปด้วย
-------------------------------------------------
สมาธิ - วิปัสสนา ต่างกันอย่างไร ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16060เมื่อครั้งพุทธกาล เจโตวิมุติ(ผู้ได้ฌาน) น้อยกว่าปัญญาวิมุตติ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062====================================
การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201สำนักปฏิบัติวิปัสสนาอ้อมน้อย
ต. อ้อมน้อย อ. กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร (ก.ม. ๒๔) โทร. ๐๒ - ๔๒๐๒๑๒๐
http://www.abhidhamonline.org/Omnoi/Omn2/Omn1.htm-------------------------------------------
หลักการปฏิบัติ
http://abhidhamonline.org/OmNoi1.htmนกการเวกสำคัญที่ เสียง
สตรีสำคัญที่ รูป
บุรุษสำคัญที่ วิทยาคุณ
นักพรตสำคัญที่ การอบรม
ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาฯ สำคัญที่ ความเข้าใจ
http://abhidhamonline.org/15Principle.htm