พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร
[๕๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมาณพ
สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน
เป็นทายาทแห่งกรรม
มีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้ ฯลฯ
อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ วิภังควรรค
จูฬกัมมวิภังคสูตร
อรรถกถาสุภสูตร
สุภสูตร๑- มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
____________________________
๑- บาลีว่า จูฬกัมมวิภังคสูตร
ในสูตรนั้น บทว่า สุโภ ความว่า ได้ยินว่า เขาเป็นคนน่าดู น่าเลื่อมใส. ด้วยเหตุนั้น ญาติทั้งหลายจึงตั้งชื่อเขาว่า สุภะ เพราะความที่เขามีอวัยวะงาม. แต่ได้เรียกเขาว่า มาณพในกาลเป็นหนุ่ม. เขาถูกเรียกโดยโวหารนั้นแล แม้ในกาลเป็นคนแก่.
บทว่า โตเทยฺยปุตฺโต ได้แก่ บุตรของพราหมณ์ปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล ชื่อว่าโตเทยยะ. ได้ยินว่า เขาถึงอันนับว่าโตเทยยะ เพราะเขาเป็นใหญ่แห่งบ้านชื่อว่าตุทิคาม ซึ่งมีอยู่ใกล้กรุงสาวัตถี. ก็เขาเป็นผู้มีทรัพย์มาก มีสมบัติถึง ๘๗ โกฏิ แต่มีความตระหนี่จัด. เมื่อจะให้ก็คิดว่า ขึ้นชื่อว่าความไม่สิ้นเปลืองของโภคะทั้งหลายไม่มี จึงไม่ให้อะไรแก่ใครๆ.
สมดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า
บัณฑิตเห็นความสิ้นไปแห่งยาหยอดตา
ทั้งหลาย การสะสมของตัวปลวกทั้งหลาย และ
การรวบรวมของตัวผึ้งทั้งหลายแล้ว พึงอยู่ครอง
เรือน.
เขาให้สำคัญอย่างนี้ ตลอดกาลนานทีเดียว. เขาไม่ให้วัตถุสักว่ายาคูกระบวยหนึ่ง หรือภัตสักทัพพี แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ประทับอยู่ในวิหารใกล้ ทำกาละด้วยความโลภในทรัพย์ ไปเกิดเป็นสุนัขในเรือนนั้นเทียว. สุภะรักสุนัขนั้นมากเหลือเกิน ให้กินภัตที่ตนบริโภคนั้นแหละ ยกขึ้นให้นอนในที่นอนอันประเสริฐ.
อยู่มาวันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูโลกในสมัยใกล้รุ่ง ทรงเห็นสุนัขนั้นแล้ว ทรงดำริว่า โตเทยยพราหมณ์ตายไปเกิดเป็นสุนัขในเรือนของตนเทียว เพราะความโลภในทรัพย์ วันนี้ เมื่อเราไปสู่เรือนของสุภะ สุนัขเห็นเราแล้ว จักทำการเห่าหอน.
ลำดับนั้น เราจักกล่าวคำหนึ่งแก่สุนัขนั้น สุนัขนั้นจะรู้เราว่าเป็นสมณโคดม แล้วไปนอนในที่เตาไฟ เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ สุภะจักมีการสนทนาอย่างหนึ่งกับเรา สุภะนั้นฟังธรรมแล้ว จักตั้งอยู่ในสรณะทั้งหลาย ส่วนสุนัขตายไปแล้วจักเกิดในนรก ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ความที่มาณพจะตั้งอยู่ในสรณะทั้งหลายนี้แล้ว ในวันนั้นทรงปฏิบัติพระสรีระ เสด็จไปสู่เรือนนั้นเพื่อทรงบิณฑบาต โดยขณะเดียวกันกับมาณพออกไปสู่บ้าน. สุนัขเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ทำการเห่าหอน ไปใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า.
แต่นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้กะสุนัขนั้นว่า แน่ะโตเทยยะ เจ้าเคยกล่าวกะเราว่า ผู้เจริญๆ ไปเกิดเป็นสุนัข แม้บัดนี้ ทำการเห่าหอนแล้ว จักไปสู่อเวจี ดังนี้.
สุนัขฟังพระดำรัสนั้นแล้ว รู้เราว่าเป็นสมณโคดม มีความเดือดร้อน ก้มคอไปนอนในขี้เถ้า ในระหว่างเตาไฟ. มนุษย์ไม่อาจเพื่อจะยกขึ้นให้นอนบนที่นอนอันประเสริฐได้. สุภะมาแล้วพูดว่า ใครยกสุนัขนี้ลงจากที่นอนเล่า. มนุษย์พูดว่า ไม่มีใคร แล้วบอกเรื่องราวเป็นมานั้น.
มาณพฟังแล้วโกรธว่า บิดาของเราไปเกิดในพรหมโลก ไม่มีสุนัขชื่อโตเทยยะ แต่พระสมณโคดมทรงทำบิดาให้เป็นสุนัข พระสมณโคดมนั้นพูดพล่อยๆ ดังนี้ เป็นผู้ใคร่จะข่มพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำเท็จ จึงไปสู่วิหารทูลถามประวัตินั้น.
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสอย่างนั้นเทียวแก่สุภมาณพนั้น เพื่อไม่ให้โต้เถียงกัน จึงตรัสว่า ดูก่อนมาณพ ก็ทรัพย์ที่บิดาของเธอไม่ได้บอกไว้มีอยู่หรือ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ มีหมวกทองคำราคาหนึ่งแสน รองเท้าทองคำราคาหนึ่งแสน และกหาปณะหนึ่งแสน.
เจ้าจงไป จงถามสุนัขนั้นในเวลาให้กินข้าวปายาสมีน้ำน้อย แล้วยกขึ้นในที่นอนก้าวสู่ความหลับนิดหน่อย มันจะบอกทรัพย์ทั้งหมดแก่เจ้า. ลำดับนั้น เจ้าจะพึงรู้สุนัขนั้นว่า มันเป็นบิดาของเรา.
มาณพดีใจแล้วด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ถ้าจักเป็นความจริง เราจะได้ทรัพย์ ถ้าไม่เป็นความจริง เราจักข่มพระสมณโคดมด้วยคำเท็จดังนี้ แล้วไปทำอย่างนั้น. สุนัขรู้ว่า เราอันมาณพนี้รู้แล้ว ทำเสียงร้อง หุง หุง ไปสู่สถานที่ฝังทรัพย์ ตะกุยแผ่นดินด้วยเท้าแล้วให้สัญญา.
มาณพถือเอาทรัพย์แล้ว มีจิตเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ธรรมดาสถานที่ปกปิดทรัพย์ปรากฏเป็นของละเอียด อยู่ในระหว่างปฏิสนธิอย่างนี้ นั่นเป็นสัพพัญญูของพระสมณโคดมแน่แท้ จึงรวบรวมปัญหา ๑๔ ปัญหา.
นัยว่า มาณพนั้นเป็นนักปาฐกในวิชาทางร่างกาย. ด้วยเหตุนั้น มาณพนั้นจึงมีความคิดว่า เราถือธรรมบรรณาการนี้แล้ว จักทูลถามปัญหากะพระสมณโคดม. โดยการไปครั้งที่สอง จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแก้ปัญหาทั้งหลายที่มาณพนั้นทูลถามแก่เขาเพียงครั้งเดียวเท่านั้น จึงตรัสว่า กมฺมสฺสกา เป็นต้น.

ในบทนั้น กรรมเป็นของสัตว์เหล่านั้น คือเป็นภัณฑะของตน เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้นชื่อว่ามีกรรมเป็นของตน. สัตว์ทั้งหลายเป็นทายาทแห่งกรรม เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าเป็นทายาทแห่งกรรม. อธิบายว่า กรรมเป็นทายาทคือเป็นภัณฑะของสัตว์เหล่านั้น.
กรรมเป็นกำเนิดคือเป็นเหตุของสัตว์เหล่านั้น เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้นชื่อว่ามีกรรมเป็นกำเนิด. กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ของสัตว์เหล่านั้น เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่ามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์. อธิบายว่า มีกรรมเป็นญาติ.
กรรมเป็นที่พึ่งอาศัย คือเป็นที่ตั้งของสัตว์เหล่านั้น เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่ามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย.
บทว่า ยทิทํ หีนปฺปณีตตาย ความว่า กรรมนี้ใดจำแนกโดยให้เลวและประณีตอย่างนี้ว่า ท่านเลว ท่านประณีต ท่านมีอายุน้อย ท่านมีอายุยืน ท่านมีปัญญาทราม ท่านมีปัญญา ดังนี้ ใครอื่นไม่ทำกรรมนั้น กรรมนั้นเทียวย่อมจำแนกสัตว์ทั้งหลายอย่างนี้.
สัตว์ทั้งหลายเป็นทายาทแห่งกรรม เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าเป็นทายาทแห่งกรรม. อธิบายว่า กรรมเป็นทายาทคือเป็นภัณฑะของสัตว์เหล่านั้น.
กรรมเป็นกำเนิด คือเป็นเหตุของสัตว์เหล่านั้น เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้นชื่อว่ามีกรรมเป็นกำเนิด.
กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ของสัตว์เหล่านั้น เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่ามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์. อธิบายว่า มีกรรมเป็นญาติ.
กรรมเป็นที่พึ่งอาศัย คือเป็นที่ตั้งของสัตว์เหล่านั้น เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่ามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย.
บทว่า ยทิทํ หีนปฺปณีตตาย ความว่า กรรมนี้ใดจำแนกโดยให้เลวและประณีตอย่างนี้ว่า ท่านเลว ท่านประณีต ท่านมีอายุน้อย ท่านมีอายุยืน ท่านมีปัญญาทราม ท่านมีปัญญา ดังนี้ ใครอื่นไม่ทำกรรมนั้น กรรมนั้นเทียวย่อมจำแนกสัตว์ทั้งหลายอย่างนี้.
...........ฯลฯ................อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๗๖๒๓ - ๗๗๙๘. หน้าที่ ๓๒๓ - ๓๒๙.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=7623&Z=7798&pagebreak=0ฟังพระสูตรนี้ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/listen/?b=14&item=579ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=579ขอบคุณภาพจาก
www.chiangmaithailand.tht.in,www.oknation.net}http://www.ee43.com