การปฏิบัติภาวนา สำหรับ นักปฏิบัติเริ่มต้น
ก็ต้องดำเนินการภาวนา โดยแยก ศีล สมาธิ และ ปัญญา ส่วนใหญ่ ก็จะเลือกเอาเป็นอย่าง ๆ เข่น อยู่อุโบสศีล ไปเจริญสมาธิ หรือ ไปศึกษาภาวนาในแนวทาง วิปัสสนา การปฏิบัตอย่างนี้ก็ดี เพราะเป็นการเพาะบ่ม อบรมนิสัย ธรรม สร้างบารมีในตัว แต่ข้อเสีย นาน ๆ ไป ก็จะติดนิสัยเอาเป็นด้าน เช่น บางท่าน ก็เอาแต่สวดมนต์ ถึงเวลาฟังธรรมไม่เอา นั่งสมาธิไม่เอา เดินจงกรมก็ไม่เอา ที่เอามีเรื่องเดียว สวดมนต์ สวดทั้งวัน ทั้งคืน ขอให้ได้สวดมนต์ ฉันเอาเท่านี้ อันนี้เห็นมาแล้วจริง ๆ สวดกันตั้งแต่ กลางคน จนปลายคน กิเลสก็ยังไม่ยุบ แต่ก็นับว่ายังดี ดังนั้นถ้าเป็นประเภมนี้ ปริยัติ ปฏฺบัติ สลับกัน
การปฏิบัติภาวนา สำหรับ นักปฏิบัติขั้นกลาง
ก็ต้องดำเนินการภาวนา ประสาน ระหว่าง สติ และ สมาธิ ส่วนมากจะเป็นกับ บุคคลที่ประสบทุกข์อยู่เบื้องหน้า แล้วต้องการคลายทุกข์เบื้องหน้าขณะนั้นจึงแสวงหาการภาวนา ที่จะทำให้ทุกข์เบื้องหน้าตรงนั้นสงบลง ครั้นทุกข์เบื้องหน้า สงบจางคลายลงไป ก็เลิกปฏิบัติ เท่าที่เห็นจะเป็นอย่างนั้นดังนั้นพวกนี้มีความตั้งใจ อยากจะบรรลุธรรมในชาตินี้ก็มี แต่ เวลาปฏิบัติก็มักจะสับสนกับวิธีการไปด้วย คือ เอาเฉพาะด้าน บางท่านเจริญสติ อย่างเดียว บางท่านเจริญสมาธิ อย่างเดียว เป็นต้น พวกนี้จัดเป็นพวกปฏิบัติ
การปฏิบัติภาวนา สำหรับนักปฏิบัติขั้นสูง
ก็ต้องดำเนินการรวมมรรค ทั้ง 8 ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน โดยใช้ สมาธิ ตั้งแต่ระดับ อุปจาระสมาธิ เป็นเกลียวบิดสุดท้าย ให้การภาวนาสมบูรณ์ สำหรับพวกนี้เป็นพวกต่อยอดมาจากขั้นกลาง เมื่อปฏิบัติไปถูกทาง สัมมาทิฏฐิ ที่มีอยู่ก็จะพัฒนาคุณธรรม ตามความตั้งใจที่จะไม่เกิดอีก ไม่อยากมาทุกข์อีก ไม่เอาอีกแล้วในสังสารวัฏกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ได้ นิพพิทา แล้วจริง ๆ สำหรับประเภทนี้ อนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง
ดังนั้น คำตอบอยู่ที่ ว่า ท่านปฏิบัติอยู่ ระดับไหน ?[/]
Aeva Debug: 0.0007 seconds.