ว่าถึงเรื่อง ตำรา ทางพระพุทธศาสนา นั้นส่วนใหญ่ผู้ปฏิบัติ ก็จะมีการจดบันทึกกันไว้ตามความรู้ของตนเองอยู่แล้ว ย้อนไปก่อนพุทธกาล ชนชมพูทวีป ขณะนั้นใช้ภาษา อยู่ 2 ภาษา คือ สันสกฤต และ ภาษามคธ ซึ่งทั้งสองภาษานี้ ภาษาสันสกฤต เป็นภาษาชั้นสูงกว่า จึงไม่เป็นที่นิยมในการพูด แต่นิยมกับ กาพย์ โคลง กลอน และ เพลง
แต่ภาษามคธ เป็นภาษา ที่มีแบบแผน และก็มีแบบแผนถึงปัจจุบัน ในรูปของภาษาบาลี และช่วยรักษา พุทธวจนะ นิสัยขีดเขียน บันทึกมีกันทุกคน แต่สิ่งที่นำมาขีดเขียนกันในสมัยนั้น อาจจะไม่ใ่ช่กระดาษอย่างปัจจุบัน นะคะ พิจารณาแล้ว ก็มี ผ้า มีหิน มีไม้ มีโลหะ เหล่านี้แหละคะ ที่เป็นที่เก็บบันทึกเครื่องมืออุปกรณ์ของคนสมัยนั้น ดังนั้นการใช้อุปกรณ์เขียน ก็แล้วแต่เขียนลงไปในอะไร
ดังนั้นการที่บอกว่าไม่มีตำราเลยเป็นทางการ น่าจะไม่ใช่ แต่การทำสังคายนานั้น เป็นการรวบรวมตำรา และ คำพูด และ อภิปราย พร้อมกันเพื่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิ มากที่สุดซึ่งพระอานนท์ ท่านก็น่จะมีบันทึกเหมือนกัน ในฐานะ เป็น พหูสูตร ดังนั้นใช้การเล่าบอก ผสมการบันทึก และ อภิปรายด้วยกลุ่มพระอรหันต์ จึงเกิด พระไตรปิฏก
จะกล่าวว่าพระพุทธศาสนา ในยุคพระพุทธเจ้าไม่มีตำรานั้นก็มิใช่ เพียงแต่ว่าตำราทั้งหมดที่เขียนบันทึกไว้ขณะนั้นไม่ได้รับรอง ด้วยกลุ่มพระอรหันต์ ที่เป็นคณะใหญ่ อย่างชุดที่ทำสังคายนา ดังนั้นในขณะนั้น จึงมีการแตกเรื่อง นิกายของพุทธศาสนา มาร่วมกันด้วย
ดูคำถามตอบ ในเรื่อง อภิธรรม ดูก็ได้นะคะ มีการพูดกล่าว อภิปราย ถามตอบกันก่อนลงมติ เป็นต้นแบบจริง ๆ คะ เหมือนกับประชุมสภา เพียงแต่ สภาสงฆ์ ไม่มีการ walkout ใส่อารมณ์กัน เพราะเป็นไปเพื่อการรักษา พุทธธรรม คำสอนของพระพุทธเจ้าให้มากที่สุด ดังนั้นยุคแรก การทำสังคายนาครั้งที่ จึงคัดแต่พระอรหันต์ที่พระพุทธเจ้ารับรองแล้ว และ เพิ่มอีกองค์คือ พระอานนท์ ซึ่งคณะพระอรหันต์ก็บีบคั้นให้ท่านสำเร็จเ็ป็นพระอรหันต์และรับรองการเป็นพระอรหันต์ ในครั้งนั้นด้วย
เรื่องนี้มีความสำคัญมาก เพราะปัจจุบัน มีกลุ่มคนที่พยายาม ทำลายพระไตรปิฏก คือ พยายามกล่าวไม่ให้เชื่อถือพระไตรปิฏก กันอยู่โดยเฉพาะ พวกศาสนาสากลที่กำลังทำการปูยี่ปูยำ รวมคำสอนทุกศาสนาเป็นศาสนาเดียวเป็นต้น ดังนั้นจึงทำให้เกิดการแตกแยก และการทำลายพุทธพจน์ หลายส่วน
พระพุทธเจ้า พระองค์จึงทรงตรัสให้ พระธรรมและวินัยเป็นศาสดา ต่อจากพระองค์ก็เพราะเหตุนี้ เพื่อไม่ให้ชาวพุทธรุ่นหลัง ลืมความสำคัญของพระธรรม และ พระวินัย นั่นเอง
