
เพิ่งเริ่มทำสมาธิค่ะ. แล้วจะทราบได้อย่างไรว่าเราเข้าปฐมฌานได้แล้ว

เพิ่งเริ่มทำสมาธิ ก็ ควรฝึกให้ก้าวหน้า ตามวิชา สมาธิ ส่วนฌาน ถึงจะไม่เรียน ก็ทราบเองว่า เป็น ฌาน ถ้าทำได้ ถึง ได้ ในสมาธิ ไม่มีใครตอบได้ดี เท่ากับคนทำ มีแต่คนที่ทำไม่ได้ พยายามที่จะถามลักษณะ ของ ฌาน ว่าเป็นอย่างไร ดังนั้น อย่าเพิ่งไปใส่ใจ กับคำว่า ฌาน ให้เพีียรพยายาม ทำใจให้เป็น สมาธิ อันเป็นลักษณะ เบื้องต้นของ สมาธิ หรือ ควรถามว่า จะรู้ได้อย่างไร ว่าเป็นสมาธิ แล้ว อันนี้ควรถาม
สมาธิ หมายถึง ความที่จิต ตั้งมั่นกับอารมณ์ใด อารมณ์หนึ่ง ในที่นี้หมายถึง อารมณ์ที่เกาะอยู่ กับ นิมิต 3 ประการ คือ
1.ปัคคาหะนิมิต ฐานที่จิตกำหนดตั้งไว้ รูปนิิมิต ที่สร้างไว้ด้วยกำลังใจ
2.บริกรรมนิมิต คำภาวนากำกับในวิชากรรมฐานต่าง ๆ
3.อุเบกขานิมิต จิตตั้งมั่นวางอยู่กันนิมิต 2 นิมิตข้างต้นแล้ว วางเฉยต่อ ทุกสรรพสิ่ง
ความที่จิตตั้งมั่น แบ่งออกเป้น 10 ระดับ
1.ขณิกะสมาธิ ขั้นหยาบ ความที่คนตั้งใจทำ อย่างใด อย่างหนึง แม้ชั่วประเดี่ยวเดียว อยู่ตรงนี้
2.ขณิกะสมาธิ ขั้นกลาง ความที่ สติ และ สัมปชัญญะปรากฏ แม้ขณะหนึ่ง อยู่ตรงนี้
3.ขณิกะสมาธิ ขั้นประณีต ความที่ สัมมปชัญญะ คงสภาพอยู่ มากกว่าชั่วขณะหนึ่ง อยู่ตรงนี้
4.อุปจาระสมาธิ ขั้นหยาบ ปีติธรรม 5 ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ อยู่ตรงนี้
5.อุปจาระสมาธิ ขั้นกลาง ยุคลธรรม 6 ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ อยู่ตรงนี้
6.อุปจาระสมาธิ ขั้นละเอียด สุขสมาธิ พุทธกาย ในกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ อยู่ตรงนี้
7.อัปปนาสมาธิ ขั้นหยาบ ปฐมฌาน ทุติยฌาน อยู่ตรงนี้
8.อัปปนาสมาธิ ขั้นกลาง ตติยฌาน อยู่ตรงนี้
9.อัปปนาสมาธิ ขั้นละเอียด จตุตฌาน จน ถึง เนวนาสัญญายตนะ อยู่ตรงนี้
10.อุเบกขาสมาิธิ อันเกิดแต่ญาณ คือการตามเห็นตามความเป็นจริง
ดังนั้นจะเห็น ว่า การพัฒนา สมาธิ ไปสู่ สมาธิ สุดท้าย คือ อุเบกขาสมาธิ ภาษาชาวบ้าน พูดว่า การปล่อยวาง การละตัว ละตน การไม่ยึดถึง การอยู่เหนือโลก
ตอบเท่านี้ ลำบากด้วยการพิมพ์
เจริญธรรม/ เจริญพร
