ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระโพธิสัตว์ กับ พุทธภูมิ ต่างกันอย่างไรครับ  (อ่าน 11928 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ปักษาวายุ

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 96
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผมไปที่วัดที่มีการ ภาวนาโดยเฉพาะ สายที่มีการนั่งสมาธิแล้ว มักจะพูดคำว่า

พระโพธิสัตว์

    คุณเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ถึงเวลา

พุทธภูมิ
   
   คุณยังอยู่ใน พุทธภูมิ ไม่สามารถทำอะไรได้มากกว่านี้


สุดท้าย ผมเองก็งงกับคำว่า พระโพธิสัตว์ และ พุทธภูมิ

วานผู้รู้ ช่่วยอธิบายให้ผมเข้าใจ หน่อยครับ ทหารอย่างผมไม่ค่อยจะเข้าใจในความหมายเท่าใด ?

 :c017: :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: พระโพธิสัตว์ กับ พุทธภูมิ ต่างกันอย่างไรครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 18, 2010, 11:09:15 am »
0
กล่าวกันว่า”คนที่ปรารถนาพุทธภูมิ ต้องบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์”


ภูมิ ๑, ภูมิ-  [พูม, พูมิ-, พูมมิ-] น. แผ่นดิน, ที่ดิน.
ภูมิ ๒  [พูม] น. พื้น, ชั้น, พื้นเพ; ความรู้ เช่น อวดภูมิ อมภูมิ.
ภูมิ ๓  [พูม] ว. สง่า, โอ่โถง, องอาจ, ผึ่งผาย, เช่น วางภูมิ.

โพธิสัตว์  น. ท่านผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า. (ส. โพธิสตฺตฺว; ป. โพธิสตฺต).
ที่มา  พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒

โพธิสัตว์   ท่านผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งกำลังบำเพ็ญบารมี ๑๐ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา
 ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (ป.อ.ปยุตโต)

ถึงตรงนี้เจ้าของกระทู้คงเข้าใจความหมายของ พุทธภูมิ และโพธิสัตว์ นะครับ
พูดง่ายๆก็คือ โพธิสัตว์ยังไม่ใช่พระพุทธเจ้า   พุทธภูมิ คือ ที่อยู่ของพระพุทธเจ้า หรือ ความเป็นพระพุทธเจ้า

ความเป็นพระโพธิสัตว์นั้น ระหว่างที่บำเพ็ญบารมีอยู่นั้น จะไม่ปฏิบัติธรรมให้บรรลุเป็นอริยบุคคล 
จะปฏิบัติได้แค่ สังขารุเบกขาญาน(เป็นญานสูงสุดของปุถุชน ก่อนที่จะก้าวไปเป็นอริยบุคคล)เท่านั้น
ในส่วนของฌาณนั้น สามารถทำได้สูงสุดถึง สมาบัติ ๘

เป็นที่รู้กันว่า สังขารุเบกขาญาน เป็นญานทางแยก แยกหนึ่งไปเป็นสาวกภูมิ  อีกแยกหนึ่งไปเป็นโพธิสัตว์
การปรารถนาหรือการลา จากภูมิต่างๆ (สาวกภูมิ ปัจเจกภูมิ พุทธภูมิ) ต้องอธิษฐานกันตรงนี้


อธิบายเพิ่มเติม
หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมโพธิสัตว์ปฏิบัติได้แค่เพียงสังขารุเบกขาญาน ขอตอบว่า
ในขณะที่ยังมีคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งอยู่
หากปฏิบัติข้ามญานนี้ไป จะเป็นอริยบุคคลทันที นั่นหมายถึง จะกลายเป็นสาวกภูมิ
คือ เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าองค์นั้นๆนั่นเอง

ยกเว้นในชาติสุดท้ายของการเกิดเป็นมนุษย์ เมื่อโพธิสัตว์ที่บารมีเต็มแล้ว ลงมาเกิดเป็นมนุษย์
เพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จะปฏิบัติข้ามสังขารุเบกขาญาน จนได้เป็นอริยบุคคล(เป็นพระพุทธเจ้า)
แต่เราเรียกญานของพระพุทธเจ้าว่า อนุตรสัมมาสัมโพธิญาน
(การอุบัติของพระพุทธเจ้า เกิดได้ครั้งละองค์เท่านั้น ไม่เกิดพร้อมกันสององค์)


 


ประเภทของพระโพธิสัตว์ผู้มุ่งสู่พุทธภูมิ
คำว่า “ พระโพธิสัตว์” แปลว่า ผู้ข้องอยู่ในโพธิ์ คือความรู้ คือผู้จักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในเบื้องหน้า ซึ่งมหายานแบ่งโพธิสัตว์ออกเป็น ๒ ประเภทคือ

๑. พระฌานิโพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์ที่กำหนดไม่ได้ว่าเกิดเมื่อใด แต่เกิดก่อนพระศากยมุนีพุทธเจ้า เป็นผู้บรรลุพุทธภูมิแล้วแต่ไม่ไปเพราะมุ่งจะช่วยสัตว์ให้พ้นทุกข์ จึงไม่เสด็จเข้านิพพาน พระฌานิโพธิสัตว์ที่สำคัญที่ควรทราบคือ
 
๑.๑ พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ คุณธรรมพิเศษคือ มหากรุณา

๑.๒ พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ มีความสามารถพิเศษในการเทศนาให้คนเกิดปัญญา

๑.๓ พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ สามารถรู้ถึงความต้องการทางสติปัญญาของสรรพสัตว์ ทรงมีปัญญาเยี่ยม ใช้ปัญญาทำลายอวิชชา

๑.๔ พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งความกรุณาหน้าที่สำคัญคือ การรื้อขนสัตว์ออกจากนรก

๑.๕ พระวัชรปาณีโพธิสัตว์ มีสัญลักษณ์เด่นคือ ทรงสายฟ้าในพระหัตถ์ เป็นสัญลักษณ์แห่งการฟาดฟันกิเลส ตัณหาทั้งปวง

 
๒. พระมานุษิโพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์ที่อยู่ในสภาพมนุษย์ทั่วไป ยังต้องฝึกอบรมตนเอง และทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้อื่นไปพร้อมๆ กัน

อ้างอิง
พระพุทธเจ้าในพุทธศาสนา นิกายเถรวาทและมหายาน
ส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ของคุณ ประโยชน์ ส่งกลิ่น มหาวิทยาลัยมหิดล
http://www.dharma-gateway.com/buddha/buddha-misc/bd-misc-09.htm

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 19, 2010, 01:16:52 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

fasai

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 540
  • ทางสายกลาง
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: พระโพธิสัตว์ กับ พุทธภูมิ ต่างกันอย่างไรครับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 19, 2010, 07:03:32 am »
0
 :08:

ไม่ผิดหวังกับคำตอบ เลยจริง ๆ อนุโมทนา สาธุ

 :25: :25:
บันทึกการเข้า
ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นไปตามกรรม
ใครสร้างกรรมอย่างไร ก็รับผลกรรมอย่างนั้น

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: พระโพธิสัตว์ กับ พุทธภูมิ ต่างกันอย่างไรครับ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มิถุนายน 19, 2010, 10:36:23 pm »
0
   
ขออนุโมทนาบุญกับคุณ "ฟ้าใส" และคุณครู "กัลยา" ในวันธรรมสวนะ

19 มิ.ย.(ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๘) นี้


 :043:  :043:  :043:  :25:  :043:  :043:  :043:

ไม่ทราบว่าวิถีบุญของทั้งสองท่านอยู่ในความปรารถนาใด ?

เพราะโดยปกติแล้วการกระทำซึ่งบุญของปุถุชนทั่วไปนั้นมีเจตนาในกุศลต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าใจ ณ เวลานั้นใคร่

ใ้ห้เป็นไปในเจตนาใด ผมหมายถึง เป้าหมายเมื่อกระทำซึ่งกุศลนั้นสำเร็จแล้วใจยึดหน่วงเพื่อใคร ปล่อยวางกับ

กุศลที่ทำแล้วนั้นอย่างไร ? ผมกำลังจะกล่าวอย่างนี้ครับว่า การประกอบกุศลนั้น จิตเป็นตัวกำหนดเจตนาแห่ง

กุศล ซึ่งมีที่ไปของเจตนาอย่างนี้ คือ


:043:- เจตนาแห่งความเป็นเทวดา คือ หน่วงกุศลอย่างนี้ว่า ทานนี้มีอานิสงส์ ทานนี้เป็นความดี

ทานนี้เป็นประเพณี ทานนี้เป็นไปเพื่อสมณะ ทานนี้เป็นไปตามอัชยาศัย

 :043:- เจตนาแห่งความเป็นพราหม คือ หน่วงกุศลอย่างนี้ว่า ทานนี้จะชำระซึ่งสันดานอันคับแคบเพื่อเจตนา

แห่งองค์ภาวนา

 :043:- เจตนาแห่งความเป็นโพธิสัตว์ คือ หน่วงกุศลอย่างนี้ว่า ทานนี้จะขวนขวายเพื่อยังประโยชน์แห่งชนอื่น

แม้มาก (อนุเคราะห์ตามสถานะแห่งศีลของบุคคลผู้มีกิจอนุเคราะห์ลดหลั่นกันไป)

 :043:- เจตนาแห่งความเป็นสาวกภูมิ คือ บำเพ็ญทานเพื่อยังกิจให้แจ้งในมรรคผล


นี่คือบาทวิถีแห่งกุศลเจตนาของปุถุชนทั่วๆไปครับ

ส่วนตัวผมเองนั้นแปลก คือ ทุกครั้งที่ทำบุญกุศลมักปล่อยวาง ไม่หน่วงเอาเป็นของเรา ไม่ใส่ใจว่าจะได้อะไร 

แต่มีสันดานชอบทำ สงเคราะห์ไปเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น โดยที่ตัวเองไม่หน่วงเอาว่าตัวเองสำคัญ แต่คนอื่น

สำคัญ นี่เป็นสันดานในการประกอบกุศลของผม พิจารณาแล้วคงอยู่ในข่ายประเภทชอบเป็นพระโพธิสัตว์

ครับ.....สวัสดี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 21, 2010, 07:17:11 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

lastman

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +10/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 158
  • สระบุรี มีอรอยพระพุทธบาทมากที่สุด.................
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ผู้มีโอกาสในทาน ควรรักษาทานนั้นไว้
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มิถุนายน 21, 2010, 04:52:07 am »
0
 ทานวัตถุ ๘ อย่าง
๑. ให้ทานเพราะประจวบเหมาะ
๒. ให้ทานเพราะกลัว
๓. ให้ทานโดยคิดว่า เขาได้เคยให้แก่เรา
๔. ให้ทานโดยคิดว่า เขาจักให้แก่เรา
๕. ให้ทานโดยคิดว่า การให้ทานเป็นการดี
๖. ให้ทานโดยคิดว่า เราหุงต้ม คนเหล่านี้มิได้หุงต้ม เราหุงต้มอยู่จะไม่ให้แก่ผู้ที่มิ
      ได้หุงต้ม ย่อมไม่สมควร
๗. ให้ทานโดยคิดว่า เมื่อเราให้ทานนี้ เกียรติศัพท์อันดีงาม ย่อมจะระบือไป
๘. ให้ทานเพื่อประดับจิต และเป็นบริขารของจิต

พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค - หน้าที่ 231


การให้ทานในข้อที่ 8 นั้นวางจากของเรา ไม่มีเรา ไม่เป็นตัวตนของเรา

ผมได้ฟัง ครั้งแรกที่ป่าช้าตาลอย ผู้แสดงคือ พระอาจารย์กิตติศักดิ์ กิติสาโีร ( วัดป่าหนองหลุบ )
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 21, 2010, 04:54:54 am โดย lastman »
บันทึกการเข้า
อนันตริยกรรม ๖ พึงงดเว้น
มีเพื่อนบอกว่าคุณจะเลวอย่างไรก็ได้ แต่อย่าทำผิดศีล ๕

ทิด...คนหนึ่งที่นับถืออาจารย์

nongmai

  • สมาชิก
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 51
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พระโพธิสัตว์ กับ พุทธภูมิ ต่างกันอย่างไรครับ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ตุลาคม 16, 2010, 07:51:47 am »
0
เป็นเรื่องที่ควรน่ารู้ อีกเรื่องครับ

 :25: :25:
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ผู้มีโอกาสในทาน ควรรักษาทานนั้นไว้
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ตุลาคม 16, 2010, 01:42:24 pm »
0
ทานวัตถุ ๘ อย่าง

๓. ให้ทานโดยคิดว่า เขาได้เคยให้แก่เรา

๕. ให้ทานโดยคิดว่า การให้ทานเป็นการดี


๘. ให้ทานเพื่อประดับจิต และเป็นบริขารของจิต

พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค - หน้าที่ 231




ปกติผมจะให้ทานตามนี้ครับ เพื่อนๆ พิจารณาให้ทานกันอย่างไร ?
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 16, 2010, 01:52:31 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

tuenum

  • บุคคลทั่วไป
Re: พระโพธิสัตว์ กับ พุทธภูมิ ต่างกันอย่างไรครับ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: ตุลาคม 17, 2010, 03:06:35 pm »
0
"พระโพธิสัตว์" มี 2 ประเภท

1. "พระโพธิสัตว์" ในความหมายที่ 1 เป็นความหมายของเถรวาท คือ ผู้ซึ่งจะได้มาตรัสรู้เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต ท่านอธิษฐานจิตถึงพระพุทธภูมิ ทุ่มเทปฏิบัติธรรม ช่วยผู้อื่นทั้งทางโลกและทางธรรม สะสมบารมี ๑๐ ทัศ   

พระโพธิสัตว์ในความหมายของเถรวาทนี้หมายถึง...ทุกๆคนเป็นพระโพธิสัตว์ได้ทั้งนั้น ไม่จำเป็นต้องบรรลุธรรมให้ถึงขั้นอรหันต์ก่อน ถ้าหากว่าเขาผู้นั้นเป็นผู้มีจิตเมตตาประจำใจ ทำแต่คุณประโยชน์ช่วยเหลือคนทุกข์ยาก ไม่ประพฤติเบียดเบียนสนับสนุนผู้อื่นในทางผิดศีลธรรม เขาก็อธิษฐานเป็นพระโพธิสัตว์(เถรวาท)ได้

2.  "พระโพธิสัตว์" ในความหมายที่ 2 เป็นความหมายของมหายาน (ภาษาญวนเรียกว่า “โบ่ต๊าก” ภาษาจีนเรียกว่า “ ผ่อสัก,ผู่สัก,ผู่ซ่า”)  หมายถึง   ผู้ข้องอยู่ในโพธิคือความรู้ เป็นผู้รู้ คือ เป็นผู้รู้แจ้งซึ่งอาจจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตเมื่อใดก็ได้   แต่ท่านยังไม่ปรารถนาพุทธภูมิ  ก็เนื่องจาก :   

พระโพธิสัตว์ในความหมายของมหายาน ได้ตั้งปณิธานไว้ว่า  จะช่วยบำบัดทุกข์ให้แก่สรรพสัตว์  ถ้าท่านเข้าสู่พุทธภูมิเสียแล้ว สรรพสัตว์จะตกอยู่ในความยากลำบากในการเข้าถึงพระนิพพาน    ด้วยเหตุนี้ พวกท่านจึงไม่เข้าสู่พุทธภูมิ

หลักสำคัญของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน คือ หลักแห่งพระโพธิสัตวภูมิ   ซึ่งเป็นหลักที่พระพุทธศาสนามหายาน  จะเห็นได้ว่า  พระโพธิสัตว์ในความหมายของมหายานนี้ พวกท่านมีความรู้ ขนาดเป็นผู้รู้แจ้งซึ่งอาจจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตเมื่อใดก็ได้   แสดงว่า ท่านเป็นพระอรหันต์ที่เหนือกว่าอรหันต์ไปแล้ว แต่เพราะไม่ยอมละทิ้งความเมตตากรุณาออกจากใจ  ท่านจึงยอมตกภูมิลงมาอยู่ในอนาคามีภูมิ 

หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ เรียก พระอรหันต์ที่ยอมตกภูมิลงมาอยู่ในอนาคามีภูมิว่า "หน่อพุทธภูมิ" หรือ "ภูตพระเจ้า" ท่านจัดเป็น  "อนาคามีชั้นพิเศษ"

เพราะฉะนั้น... พระโพธิสัตว์ในความหมายของมหายาน จึงต้องบรรลุเป็นอรหันต์มาก่อน  ผมเรียก พระโพธิสัตว์มหายานว่า พระอรหันต์โพธิสัตว์ หลวงปู่ดู่เรียกว่า "หน่อพุทธภูมิ" หรือ "ภูตพระเจ้า" = ท่านสามารถละกิเลสทั้งหยาบและละเอียดออกจากใจแล้ว ไม่มีความโลภ โกรธ หลง และความยึดมั่นถือมั่นเหลืออยู่ เพียงแต่ท่านไม่ยอมเข้านิพพาน  เอาความเมตตากรุณามาหล่อเลี้ยงจิตของท่านให้อยู่ใน 3 ภพต่อไป

ย้ำ! พระอรหันต์โพธิสัตว์มหายาน ต้องการอยู่ช่วยสรรพสัตว์ต่อไป ท่านจึงต้องนำความเมตตากรุณามาใส่ลงในใจใหม่


ตัวอย่างของพระอรหันต์โพธิสัตว์ หรือ"หน่อพุทธภูมิ" หรือ "ภูตพระเจ้า"


1. พระอชิตะเถระ ท่านบรรลุอรหันต์ไปแล้วเมื่อครั้งพุทธกาล แต่เพราะท่านตั้งใจอยู่ช่วยสรรพสัตว์ต่อไป ท่านจึงต้องนำความเมตตากรุณามาใส่ลงในใจใหม่ และท่านก็ยังตั้งปณิธานจะมาตรัสรู้เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต และขนสรรพสัตว์ไปนิพพานให้มากที่สุดด้วย  ท่านจึงต้องบำเพ็ญบารมีนานถึง  16 อสงไขยแสนกัป เพื่อจะได้เป็นพระพุทธเจ้ายิ่งด้วยวิริยะ   

(พระศรีอริยเมตไตรยิ่งด้วยวิริยะ   บำเพ็ญบารมีนานถึง   16  อสงไขย์แสนกัป  นานกว่าโคตมะพระพุทธเจ้า 4 เท่า เพราะพระพุทธเจ้ของเราเป็นพระพุทธเจ้ายิ่งด้วยปัญญา  ท่านบำเพ็ญบารมี  4 อสงไขยแสนกัปเท่านั้น )

อนึ่ง พระศรีอริยะเมตตรัยโพธิสัตว์ที่เป็นมนุษย์คือ พระอชิตะ  อยู่บนสวรรค์ขั้นดุสิต  ส่วนเป็นตัวที่เป็นแม่คือ พระศรีอริยะเมตตรัยโพธิสัตว์ที่เป็นสัมโภคกาย อยู่ที่พุทธเกษตรดุสิต  ตัวแม่นี้เป็นพระกุณาของพระพุทธเจ้า ออกมาจากฌานของพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง  พระศรีอริยะเมตตรัยโพธิสัตว์ที่เป็นสัมโภคกาย(ตัวแม่)ออกมาจากฌานของพระรัตนสมภพพุทธเจ้า(หนึ่งในพระฌานิพุทธเจ้า)

2. เจ้าแม่กวนอิม... จิตอรหันต์ของท่าน ตั้งความปราถนาหรือปณิธานเอาไว้ว่า "หากยังมีสัตว์ที่ตกทุกข์ได้ยากอยู่ จักไม่ขอบรรลุพุทธภูมิ"

การตั้งความปราถนาหรือปณิธานของพระอรหันต์เหล่านี้ ทำให้กายทิพย์ที่เป็นกายธรรม(ธรรมกาย) ยังคงวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏฏ์ต่อไป แม้ว่าละกิเลสตัณหาหมดแล้ว

พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ตัวจริง ที่เป็นตัวแม่ ท่านเป็นสัมโภคกาย อยู่ในแดนสุขาวดี  ส่วนตัวลูกที่เป็นเจ้าแม่กวนอิมนั้นอยู่บนโลกชื่อเมี่ยวซ่าน

จะเห็นได้ว่า  พระโพธิสัตว์ไม่ว่าของฝ่ายมหายานหรือฝ่ายเถรวาทที่เป็นตัวลูก ล้วนเป็นมนุษย์ทั้งนั้น = พระมานุษิโพธิสัตว์ คือเป็นพระโพธิสัตว์ที่อยู่ในสภาพมนุษย์ทั่วไป ยังต้องฝึกอบรมตนเอง และทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้อื่นไปพร้อมๆกัน

แต่ที่บางท่านยกตัวอย่างพระฌานิโพธิสัตว์มานั้น  พึงตระหนักว่า พระฌานิโพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์ที่กำหนดไม่ได้ว่าเกิดเมื่อใด  ท่านเป็นพระเมตตาของพระพุทธเจ้าแต่ละองค์  ออกมาจากฌานของพระฌานิพุทธเจ้าทั้ง 5 ท่าน 


สรุป

1."พระโพธิสัตว์" มี 2 ประเภท คือ พระโพธิสัตว์เถรวาท และพระโพธิสัตว์มหายาน
2. พระโพธิสัตว์เถรวาท และพระโพธิสัตว์มหายาน ล้วนอยู่ในสภาพที่เป็นมนุษย์ เรียกว่า พระมานุษีโพธิสัตว์
3. พระโพธิสัตว์มหายาน อีกประเภทหนึ่งไม่ใช่มนุษย์  คือ พระฌานิโพธิสัตว์  พวกท่านเป็นกายทิพย์วิเศษ ที่เรียกว่า สัมโภคกาย อยู่ในพุทธเกษตร หรือเมืองพระนิพพาน  พระฌานิโพธิสัตว์  พวกท่านเป็นสัมโภคกาย  หรือกายที่เป็นตัวแมของพระโพธิสัตว์เป็นมนุษย์   พระฌานิโพธิสัตว์  ที่เป็นตัวแม่ของพระโพธิสัตว์ที่เป็นมนุษย์ ในสมาธิของท่าน  ท่านได้ยับยั้งจิตปภัสสรของท่านเอาไว้ ยังไม่เสด็จเข้าสู่พุทธภูมิ 

ผมขอยกตัวอย่างพระโพธิสัตว์ตัวแม่(สัมโภคกาย) และพระโพธิสัตว์ตัวลูก(พระมานุษีโพธิสัตว์)  2 องค์ให้เห็นนะครับ

เช่น พระศรีอริยะเมตตรัยโพธิสัตว์ ตัวแม่ เป็นสัมโภคกายอยู่ในพุทธเกษตรดุสิต   พระศรีอริยะเมตตรัยโพธิสัตว์ ตัวลูก เป็นพระมานุษีโพธิสัตว์อยู่ในโลก  พอตายไปก็ไปอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต   

4. พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ พระวัชรปาณีโพธิสัตว์  พวกท่านเหล่านี้ล้วนเป็นพระโพธิสัตว์ ตัวแม่(สัมโภคกาย)หรือพระฌานิโพธิสัตว์  พวกท่านไม่ได้เป็นพระมานุษีโพธิสัตว์ หรือ พระโพธิสัตว์ตัวลูก







« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 17, 2010, 03:23:59 pm โดย tuenum »
บันทึกการเข้า