กล่าวกันว่า”คนที่ปรารถนาพุทธภูมิ ต้องบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์”
ภูมิ ๑, ภูมิ- [พูม, พูมิ-, พูมมิ-] น. แผ่นดิน, ที่ดิน.
ภูมิ ๒ [พูม] น. พื้น, ชั้น, พื้นเพ; ความรู้ เช่น อวดภูมิ อมภูมิ.
ภูมิ ๓ [พูม] ว. สง่า, โอ่โถง, องอาจ, ผึ่งผาย, เช่น วางภูมิ.
โพธิสัตว์ น. ท่านผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า. (ส. โพธิสตฺตฺว; ป. โพธิสตฺต).
ที่มา พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒โพธิสัตว์ ท่านผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งกำลังบำเพ็ญบารมี ๑๐ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (ป.อ.ปยุตโต)
ถึงตรงนี้เจ้าของกระทู้คงเข้าใจความหมายของ พุทธภูมิ และโพธิสัตว์ นะครับ
พูดง่ายๆก็คือ โพธิสัตว์ยังไม่ใช่พระพุทธเจ้า พุทธภูมิ คือ ที่อยู่ของพระพุทธเจ้า หรือ ความเป็นพระพุทธเจ้า
ความเป็นพระโพธิสัตว์นั้น ระหว่างที่บำเพ็ญบารมีอยู่นั้น จะไม่ปฏิบัติธรรมให้บรรลุเป็นอริยบุคคล
จะปฏิบัติได้แค่ สังขารุเบกขาญาน(เป็นญานสูงสุดของปุถุชน ก่อนที่จะก้าวไปเป็นอริยบุคคล)เท่านั้น
ในส่วนของฌาณนั้น สามารถทำได้สูงสุดถึง สมาบัติ ๘
เป็นที่รู้กันว่า สังขารุเบกขาญาน เป็นญานทางแยก แยกหนึ่งไปเป็นสาวกภูมิ อีกแยกหนึ่งไปเป็นโพธิสัตว์
การปรารถนาหรือการลา จากภูมิต่างๆ (สาวกภูมิ ปัจเจกภูมิ พุทธภูมิ) ต้องอธิษฐานกันตรงนี้อธิบายเพิ่มเติม
หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมโพธิสัตว์ปฏิบัติได้แค่เพียงสังขารุเบกขาญาน ขอตอบว่า
ในขณะที่ยังมีคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งอยู่
หากปฏิบัติข้ามญานนี้ไป จะเป็นอริยบุคคลทันที นั่นหมายถึง จะกลายเป็นสาวกภูมิ
คือ เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าองค์นั้นๆนั่นเอง
ยกเว้นในชาติสุดท้ายของการเกิดเป็นมนุษย์ เมื่อโพธิสัตว์ที่บารมีเต็มแล้ว ลงมาเกิดเป็นมนุษย์
เพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จะปฏิบัติข้ามสังขารุเบกขาญาน จนได้เป็นอริยบุคคล(เป็นพระพุทธเจ้า)
แต่เราเรียกญานของพระพุทธเจ้าว่า อนุตรสัมมาสัมโพธิญาน
(การอุบัติของพระพุทธเจ้า เกิดได้ครั้งละองค์เท่านั้น ไม่เกิดพร้อมกันสององค์)
ประเภทของพระโพธิสัตว์ผู้มุ่งสู่พุทธภูมิคำว่า “ พระโพธิสัตว์” แปลว่า ผู้ข้องอยู่ในโพธิ์ คือความรู้ คือผู้จักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในเบื้องหน้า ซึ่งมหายานแบ่งโพธิสัตว์ออกเป็น ๒ ประเภทคือ
๑. พระฌานิโพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์ที่กำหนดไม่ได้ว่าเกิดเมื่อใด แต่เกิดก่อนพระศากยมุนีพุทธเจ้า เป็นผู้บรรลุพุทธภูมิแล้วแต่ไม่ไปเพราะมุ่งจะช่วยสัตว์ให้พ้นทุกข์ จึงไม่เสด็จเข้านิพพาน พระฌานิโพธิสัตว์ที่สำคัญที่ควรทราบคือ ๑.๑ พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ คุณธรรมพิเศษคือ มหากรุณา
๑.๒ พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ มีความสามารถพิเศษในการเทศนาให้คนเกิดปัญญา
๑.๓ พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ สามารถรู้ถึงความต้องการทางสติปัญญาของสรรพสัตว์ ทรงมีปัญญาเยี่ยม ใช้ปัญญาทำลายอวิชชา
๑.๔ พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งความกรุณาหน้าที่สำคัญคือ การรื้อขนสัตว์ออกจากนรก
๑.๕ พระวัชรปาณีโพธิสัตว์ มีสัญลักษณ์เด่นคือ ทรงสายฟ้าในพระหัตถ์ เป็นสัญลักษณ์แห่งการฟาดฟันกิเลส ตัณหาทั้งปวง ๒. พระมานุษิโพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์ที่อยู่ในสภาพมนุษย์ทั่วไป ยังต้องฝึกอบรมตนเอง และทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้อื่นไปพร้อมๆ กัน อ้างอิง
พระพุทธเจ้าในพุทธศาสนา นิกายเถรวาทและมหายาน
ส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ของคุณ ประโยชน์ ส่งกลิ่น มหาวิทยาลัยมหิดล
http://www.dharma-gateway.com/buddha/buddha-misc/bd-misc-09.htm