แสดงกระทู้
|
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to. |
Messages - raponsan
|
หน้า: [1] 2 3 ... 691
|
2
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ปริศนาตุ๊กตาหินจีน ‘สตรีถือพัดกับประคำ’ ใช่รูปเคารพ ‘เจ้าแม่กวนอิม’ รุ่นเก่าหรือ
|
เมื่อ: วันนี้ เวลา 06:56:08 am
|
ปริศนาตุ๊กตาหินจีน ‘สตรีถือพัดกับประคำ’ ใช่รูปเคารพ ‘เจ้าแม่กวนอิม’ รุ่นเก่าหรือไม่.? สืบเนื่องจากตอนที่แล้ว บนฐานเขียง (ฐานไพที) คือฐานขนาดใหญ่ชั้นล่างสุดของ “สุวรรณเจดีย์” (ปทุมวดีเจดีย์) ภายในกำแพงแก้ว ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัดพระธาตุหริภุญชัย ลำพูน
นอกจากจะมีกลุ่มของ “พระศิลาสามองค์” รุ่นเก่าสมัยหริภุญไชยที่ดูประหนึ่งว่ารับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียสมัยคุปตะ และดิฉันลองตีความว่าอาจเป็น “พระอมิตาภะพุทธเจ้า” แล้ว (ด้วยเหตุที่นั่งขัดสมาธิเพชร และทำปางสมาธิ เหมือนกับกลุ่ม “พระอมิตาภะ” ด้านทิศตะวันตกของศาสนสถานบุโรพุทโธ)
ยังพบว่ามีประติมากรรมที่ทำจากหินขนาดเล็กอีกองค์หนึ่ง เป็นรูปสตรี ตั้งแทรกอยู่เป็นลำดับสองจากซ้ายมือ ระหว่างพระหินองค์ใหญ่ที่มุม (องค์ที่มีประภามณฑลด้านหลัง) กับพระหินองค์ย่อม ที่อยู่ถัดไปด้านขวา มองโดยรวมเผินๆ คล้ายว่าเป็นกลุ่มประติมากรรมหิน 4 ชิ้นที่กลมกลืนกัน (ใช้วัสดุหินเหมือนกัน) ทว่าอีกบางมุมกลับดูแปลกแยก ว่าเอาสิ่งที่ขัดแย้งนี้มารวมกันได้อย่างไร สมัยก่อนจะเห็นประติมากรรมหินทั้งสี่องค์ในระยะไกล ซึ่งตั้งวางเรียงรายบนฐานเขียงปทุมวดีเจดีย์ แต่ปัจจุบันมีทั้งป้ายคำบรรยาย และผ้าห่มองค์พระธาตุพันรอบฐานเขียง แทบจะปิดกั้นการมองเห็นกลุ่มประติมากรรมหินรุ่นเก่าทั้งสี่ชิ้นนี้ พูดง่ายๆ ก็คือ ใครหนอ กล้าเอารูปปั้นผู้หญิงมาแทรกหว่างกลางพระพุทธรูป?
จากหลักฐานภาพถ่ายเก่า อย่างต่ำมีมาแล้วตั้งแต่ปี 2490 ในหนังสือ “พระรอด พระเครื่องสกุลลำพูน” ของ “ตรียัมปวาย” เกจิพระเครื่องชื่อดังรุ่นบุกเบิก ได้เดินทางมาเจาะลึกเรื่องราวเกี่ยวกับโบราณวัตถุ โบราณสถานในลำพูนทุกซอกทุกมุม ได้บันทึกไว้ว่า
ประติมากรรมหิน “สตรี” ที่ดูแปลกแยกนี้ ตั้งอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับพระหินทั้งสามองค์ มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว โดยทั้งหมดย้ายมาจาก “วัดร้างดอนแก้ว” ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำกวง (ปิงเก่า) ต.เวียงยอง อ.เมืองลำพูน พร้อมกัน
คำถามคือ ประติมากรรมสตรีขนาดเล็กชิ้นนี้คือรูปอะไร ไทยหรือเทศ เก่าหรือใหม่ มาได้อย่างไร ทำไมจึงถูกจัดวางอยู่ตรงนี้ ใครเป็นผู้นำมารวมไว้กับกลุ่มพระหินสามองค์ที่มีพุทธศิลป์แบบหริภุญไชย? ประติมากรรมหินรูป “เจ้าแม่กวนอิม” ตามแนวคิดว่าเป็นพระโพธิสัตว์ที่คอยอุปัฏฐาก “พระอมิตาภะ”สตรีถือพัดกับประคำ คือ “เจ้าแม่กวนกิม” รุ่นเก่า.?
ประติมากรรมสตรีขนาดเล็กชิ้นนี้ อันที่จริงก็มีสภาพไม่ต่างไปจากพระหินสามองค์เท่าใดนัก กล่าวคือถูกเมินเฉย มองข้ามจากสายตาผู้ผ่านทางเสมอ
นักท่องเที่ยวเมื่อมาเยือน “ปทุมวดีเจดีย์” มักแหงนมองให้ความสนใจเพียงรูปทรง Stepped Pyramid พลางตั้งคำถามว่า เกี่ยวข้องอะไรหรือไม่กับอีกองค์ที่ขนาดใหญ่กว่าในวัดจามเทวี ไม่มีใครเหลียวแลพระหินสามองค์ กับประติมากรรมสตรีจีนขนาดเล็กที่ตั้งเรียงราย 4 องค์นี้ (ด้วยเหตุที่มีการพอกปูนทับจนดูใหม่ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในฉบับก่อน)
หรือแม้นจักปรายตามาแลบ้าง ก็มักสรุปในใจว่า เออหนอ! ใครช่างเอาเศษหิน 4 ชิ้นนี้มาประดับที่ฐานเจดีย์ ดูตุ๊กตาหินจีนตัวเล็กนี้ ยิ่งไม่เข้าพวกเอาเสียเลยกับพระหินสามองค์ (ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็ดูไม่ออก ว่าเป็นศิลปะที่เก่าถึงสมัยหริภุญไชย ซ้ำยังรับอิทธิพลในสายอินเดียคุปตะอีกด้วย)
ประติมากรรมสตรีชิ้นนี้ สำหรับคนที่พอจะมีความรู้ด้านโบราณคดีอยู่บ้าง ก็จะสรุปในใจว่า น่าจะเป็น “ตัวอับเฉาเรือ” หรือตุ๊กตาซีเมนต์ (เนื้อหิน) ที่ใช้ถ่วงเรือสำเภาจีน ในสมัยรัชกาลที่ 3 ที่ทรงทำการค้ากับจีน ขาไปเอาสินค้าพวกข้าว ดีบุก ไม้สักไปขาย ขากลับเรือเบาโหวง เพราะซื้อเครื่องถ้วย ผ้าไหมกลับมาถึงราชสำนักสยาม ก็แตกแหลกลาญหมด
ทำให้พ่อค้าจีนจึงนำตัวตุ๊กตาหิน (อันที่จริงหล่อด้วยซีเมนต์) ที่ราคาถูก บรรทุกลงสำเภามาด้วย เพื่อใช้ถ่วงเรือไม่ให้โคลงเคลง บนฐานเขียงปทุมวดีเจดีย์ มีรูปปั้นตุ๊กตาหินจีนขนาดเล็ก อยู่ลำดับที่ 2 จากซ้าย คนทั่วไปมองข้าม บ้างนึกว่าเป็นเครื่องอับเฉาใช้ถ่วงเรือเมื่อถึงสยามเราก็เอาตุ๊กตาหินเหล่านี้มาประดับสวนตามวัด พบได้ทั่วไปที่วัดพระแก้ว วัดโพธิ์ วัดสุทัศน์ วัดอรุณ เป็นต้น
ตอนแรกดิฉันก็เคยคิดเช่นนั้น ทุกครั้งที่มองตุ๊กตาหินจีนชิ้นนี้ทีไร ใจนึกประหวัดไปถึง “เครื่องอับเฉาเรือ” หรือเครื่องถ่วงน้ำหนักสำเภาสมัยรัชกาลที่ 3 พลางเกิดคำถามว่า “เอ ใครหนอ นำตุ๊กตาสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเหล่านี้จากรุงเทพฯ มาประดับให้วัดพระธาตุหริภุญชัย?”
เหตุที่เชื่อเช่นนี้ เพราะบริเวณทางขึ้นหอพระไตรปิฎกของวัด ยังพบ “ตุ๊กตาสิงโตจีน” อีก 1 คู่ ซึ่งก็มีลักษณะคล้ายกับสิงโตเครื่องอับเฉาเรือของกรุงรัตนโกสินทร์ด้วยเช่นกัน
ฤๅจะเป็นสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ นำมาในคราวตรวจราชการมณฑลพายัพ? หรือพระราชชายา เจ้าดารารัศมี นำมาคราวเสด็จนิวัติเชียงใหม่ชั่วคราวในปี 2464? หรือพลตรีเจ้าหลวงจักรคำขจรศักดิ์ นำมาคราวเคยลงไปเข้าเฝ้าฯ ในพิธีถวายน้ำพระพิพัฒน์สัตยา? หรือ…ใครเอ่ย เป็นผู้นำมา
ที่แน่ๆ ประติมากรรมจีนเหล่านี้ ต้องเป็นเครื่องอับเฉาเรืออย่างไม่มีข้อแม้
บุคคลผู้ทำให้ดิฉันเปลี่ยนมุมมองใหม่ ก็คือ “พี่แอ๊ว – ณัฏฐภัทร จันทวิช” อดีตผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดี กรมศิลปากร (ผู้ล่วงลับ) ท่านเคยเป็นอดีตหัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย มักแวะมาเสวนาวิชาการกับดิฉันอยู่เสมอ
ปี 2546 พี่แอ๊วได้พานักโบราณคดี ผู้เชี่ยวชาญด้านเจดีย์ (หรือจะเรียกให้เฉพาะทางเลยก็ได้ว่า “นักเจติยวิทยา”) ชาวออสซี่ ชื่อ ดร.เอเดรียน สน็อตกร๊าด (Prof. Dr. Adrian Snotgrad) มาพบดิฉันที่ลำพูน เพื่ออยากแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับสถูปเจดีย์ต่างๆ รวมทั้งประเด็นที่พี่แอ๊วอยากนำเสนอ ดร.เอเดรียน ก็คือ “ตุ๊กตาหินจีน” ชิ้นที่ตั้งอยู่ท่ามกลางพระหินสมัยหริภุญไชยสามองค์ บนฐานเขียงปทุมวดีเจดีย์
@@@@@@@
“ดิฉันสงสัยจริงๆ ว่าใครเอาประติมากรรมชิ้นนี้มา เพราะเป็นรูปเจ้าแม่กวนอิมรุ่นเก่า ถูกต้องตามหลักประติมาณวิทยา ที่ระบุว่าเจ้าแม่กวนอิมสมัยราชวงศ์ถังนั้นจะถือสัญลักษณ์ 2 สิ่งคือ พัดกับประคำ ซึ่งต่อมาสัญลักษณ์ทั้งสองนี้ ค่อยๆ เลือนหายไป รูปเจ้าแม่กวนอิมยุคหลังๆ มักถือสัญลักษณ์สิ่งอื่น”
ดร.เอเดรียน ครุ่นคิดตามสิ่งที่คุณณัฏฐภัทรนำเสนอ จากนั้นเราทั้งสามก็เข้าไปขอข้อมูลจาก “ตุ๊ลุงเจ๋” หรือ พระเจติยาภิบาล อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุหริภุญชัย และเจ้าคณะจังหวัดลำพูน ที่กุฏิของท่านในคณะหลวง เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประติมากรรมหินจีนดังกล่าว
ได้คำตอบว่า รูปปั้นหินทั้ง 4 ชิ้นนี้ (พระหินสาม + เจ้าแม่กวนอิม) ถูกโยกย้ายใส่ล้อเลื่อนมาพร้อมกันจากวัดร้างดอนแก้ว ไม่ใช่กรมพระยาดำรงหรือเจ้าหลวงจักรคำ ไปนำมาจากรุงเทพฯ แต่อย่างใดไม่ ทั้งหมดอยู่วัดดอนแก้วด้วยกันนานมากแล้ว
“ตอนบูรณะพระหินใหญ่สององค์ครั้งแรก (ปี 2478) ชาวบ้านที่อยู่แถววัดดอนแก้วก็บอกว่า หากจะย้ายพระพุทธรูปหินสององค์ใหญ่ไปไว้ที่อื่น อย่าเอาไปองค์เดียว ต้องยกไปเป็นเซ็ต เพราะท่านมาด้วยกัน 4 องค์ คือพระหินสามองค์กับเจ้าแม่กวนอิมอีกองค์ แต่ทีนี้ช่วงนั้น พระหินองค์เล็กยังไม่ได้ซ่อม (บูรณะตามมาในปี 2483) พระทั้งสี่องค์จึงต้องฝากไว้ที่วัดดอนแก้วก่อน กระทั่งเมื่อบูรณะพระหินครบสามองค์แล้ว เจ้าคุณวิมลญาณมุนี อดีตเจ้าคณะจังหวัดลำพูน ก็ให้ย้ายพระหินมาทั้งสามองค์ โดยปราชญ์ชาวบ้านแถวนั้นกำชับว่า หากจะย้ายไป ต้องเอาเจ้าแม่กวนอิมไปด้วย”
ประโยคของท่านเจ้าคุณเจ๋ มีความน่าสนใจ 2 ประเด็น
1. ตุ๊กตาหินจีนนี้ ในการรับรู้ของคนลำพูนรุ่นก่อนก็เรียกว่า “เจ้าแม่กวนอิม” กันมานานแล้วล่ะหรือ?
2. ประติมากรรมหินทั้งหมด (3+1) ไปไหนต้องไปด้วยกันเป็นเซ็ต อย่าให้พรากจากกัน เพราะของเดิมเขาอยู่กันเป็นกลุ่ม 4 องค์แบบนี้มานานแล้ว ตอกย้ำนิกายสุขาวดีในหริภุญไชย.?
นั่นคือข้อมูลเก่าตั้งแต่ 20 ปีก่อน ที่ดิฉันรับทราบด้วยความงุนงง ทั้งจากคุณณัฏฐภัทร และจากท่านตุ๊ลุงเจ๋ จำได้ดีก้องหูไม่รู้ลืม ในคำพูดของพี่แอ๊วที่ว่า
“ฝากดูแลเจ้าแม่กวนอิมให้ดีด้วยนะน้องเพ็ญ ถือพัดกับประคำแบบนี้หายากมากๆ พี่แอ๊วเองก็ไม่ทราบว่าเจ้าแม่กวนอิมรุ่นเก่านี้สร้างเมื่อไหร่ มาอยู่ที่นี่ได้อย่างไร ยิ่งองค์เล็กๆ อยู่ด้วย เกรงจะชำรุดสูญหาย น่าแปลกจริงๆ ที่ในดินแดนหริภุญไชย มีการทำรูปเจ้าแม่กวนอิม จัดวางคู่กับพระหินสามองค์ที่รับอิทธิพลศิลปะสมัยคุปตะ?”
ดิฉันก็ไม่รู้ว่าจะปะติดปะต่อเรื่องราวทั้งหมดนี้ให้เป็นเนื้อเดียวกัน อย่างน้อยให้ตัวเองเข้าใจได้อย่างไรดี กระทั่งเพิ่งมานึกเอะใจกับลักษณะท่านั่ง “ขัดสมาธิเพชร” + “ปางสมาธิ” ของพระหินทั้งสามองค์ ว่าน่าจะมีกลิ่นอายแบบพุทธมหายานนิกายสุขาวดี
จึงลองตั้งข้อสมมุติฐานเบื้องต้นดูว่า หากพระทั้งสามองค์นี้ ผู้สร้างตั้งใจสื่อให้เป็น “พระอมิตาภะพุทธเจ้า” ได้หรือไม่
ความหมายของ “พระอมิตาภะ” คืออะไร คือพระธยานิพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ตามความเชื่อของชาวพุทธมหายาน ที่เริ่มมีแนวคิดนี้จากนิกายวัชรยานในกลุ่มอินเดียเหนือสืบต่อลงไปถึงศรีวิชัย กับอีกสายขึ้นไปยังทิเบต จีน เรียกนิกายแยกย่อยนี้ว่า “นิกายสุขาวดี” เน้นการนับถือพระอมิตาภะพุทธเจ้าเหนือกว่าพระธยานิพุทธเจ้าองค์อื่นๆ
ในทางพุทธมหายาน นิยมทำพระอมิตาภะ นั่งสมาธิประดับบนมวยผมของ “พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร” แต่ในสายจีน ทิเบต กลุ่มนิกายสุขาวดีที่นับถือพระอมิตาภะอย่างเข้มข้น จักทำรูปเคารพของพระองค์แยกออกมาเดี่ยวๆ และทำพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรประกบคู่อีกองค์
@@@@@@@
บางยุคสมัย นิยมทำพระโพธสัตว์อวโลกิเตศวรเป็นรูปเจ้าแม่กวนอิม เช่น ศิลปะจีนสมัยราชวงศ์ถัง ซึ่งร่วมสมัยกับศิลปะอินเดียสมัยคุปตะตอนปลาย (ทวารวดีและหริภุญไชยตอนต้นด้วย) มีความเชื่อว่า พระโพธิสัตว์กวนอิม จักคอยอุปัฏฐาก พระอมิตาภะพุทธเจ้า
ดังนั้น เมื่อทำรูปพระอมิตาภะพุทธเจ้าเสร็จ มักมีรูปโพธิสัตว์กวนอิมในร่างสตรีไว้ด้วยอีกองค์ ให้คอยรับใช้ดูแล โดยกำหนดให้โพธิสัตว์กวนอิมถือพัดกับประคำ
“ถ้ารูปปั้นผู้หญิงองค์เล็กนี้ไม่ใช่เจ้าแม่กวนอิม ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ ใครจะกล้าให้เอารูปผู้หญิงไปตั้งประกบท่ามกลางพระเจ้า (พระพุทธรูป) อันศักดิ์สิทธิ์เล่า คนล้านนาเขาจะฮ้องว่าขึด!” ถ้อยคำของตุ๊ลุงเจ๋ยังอยู่ในความทรงจำ
ดิฉันมิอาจการันตีได้เลยว่า รูปเจ้าแม่กวนอิมแกะสลักจากหินชิ้นนี้ สร้างเมื่อไหร่ เก่าถึงยุคไหน ที่แน่ๆ ประเด็นเรื่องตัวอับเฉาเรือจากรัตนโกสินทร์นี่ ตัดทิ้งไปได้เลย
เหตุที่ไม่เคยมีตัวอย่างให้ศึกษาเปรียบเทียบว่าเครื่องแต่งกายชนิดที่มีกระดุมกุ๊นเรียงเป็นสาบหน้าแบบนี้ ในงานศิลปะจีนนั้นนิยมทำกันยุคไหน จะเก่าถึงสมัยราชวงศ์อะไรได้บ้าง ถ้าเป็นเจ้าแม่กวนอิมจริง ท่านเข้ามาอยู่ในลำพูนได้อย่างไร ใครเอามาถวายให้กับวัดดอนแก้ว
สิ่งที่คาใจมากที่สุดคือประเด็น ทำไมจึงกล่าวกันว่า พระหินสามองค์กับเจ้าแม่กวนอิม ห้ามแยกออกจากกันเด็ดขาด ไปไหนต้องไปเป็นกลุ่ม ฤๅทฤษฎีที่ว่า พระหินกลุ่มนี้คือองค์แทนของพระอมิตาภะในนิกายสุขาวดี จักมีเค้าลางว่าน่าจะเป็นจริง เพราะมีรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมมาสนับสนุน? • ขอขอบคุณ :- ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 22 - 28 กันยายน 2566 คอลัมน์ : ปริศนาโบราณคดี ผู้เขียน : เพ็ญสุภา สุขคตะ เผยแพร่ : วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน พ.ศ.2566 website : https://www.matichonweekly.com/column/article_713903
|
|
|
3
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / อโยธยาเก่าแก่กว่าสุโขทัย
|
เมื่อ: วันนี้ เวลา 06:36:52 am
|
. อโยธยาเก่าแก่กว่าสุโขทัยอโยธยาเก่าแก่กว่าสุโขทัย มีหลักฐานเริ่มแรกความเป็นมาของอโยธยาราว พ.ศ.1600-1700 พบวรรณกรรมไทยในอโยธยาราว พ.ศ.1778 แต่สุโขทัยมีพัฒนาการหลังจากนั้นราว 100 ปี
แต่ชนชั้นนำสมัยชาตินิยม “คลั่งเชื้อชาติไทย” ต้องการให้สุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรกของไทย นับแต่นั้นมาเมืองอโยธยาถูกบังคับสูญหายจากความทรงจำของไทย
กรุงสุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรกของไทย เพิ่งถูกสร้างขึ้นใหม่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เมื่อมากกว่า 100 ปีมาแล้ว จากนั้นถูกสถาปนาเป็นประวัติศาสตร์แห่งชาติของไทยเพื่อใช้ครอบงำสังคมไทย ผ่านสถานศึกษาทุกระดับ และผ่านสื่อสารพัดทั้งของราชการและของเอกชน ยังมีอิทธิพลสืบเนื่องจนทุกวันนี้
ประวัติศาสตร์เพิ่งสร้างใหม่เรื่องกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรกของไทย เสมือนเรื่องเล่าศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้ใดจะละเมิดมิได้ หมายถึงคิดต่างไม่ได้ หรือคัดค้านไม่ได้ว่าสุโขทัย “ไม่ใช่” แห่งแรก หากละเมิดหรือคิดต่างจะถูกใส่ร้ายป้ายสีว่าไม่รักชาติ ไม่รักสถาบัน เท่ากับต้องอยู่ยาก สุโขทัยเป็นเมืองสมัยหลังอโยธยา แต่ถูกสร้างใหม่เป็น “แดนเนรมิต” สุโขทัยราชธานีแห่งแรกของไทย สนองการเมืองชาตินิยม “คลั่งเชื้อชาติไทย” (ภาพกลางเมืองสุโขทัย ที่ถูกทำเป็นแหล่งท่องเที่ยว)หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 การเมืองแบบประชาธิปไตย มีนักค้นคว้าและนักวิชาการทั้งไทยและสากลศึกษาค้นคว้าวิจัย พบว่ากรุงสุโขทัย “ไม่ใช่” ราชธานีแห่งแรกของไทย โดยสรุปดังนี้
(1.) ไม่พบหลักฐานวิชาการสนับสนุนว่ากรุงสุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรกของไทย
(2.) ที่ว่ากรุงสุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรกของไทย ถูกสร้างขึ้นลอยๆ เพื่อหวังผลโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองชาตินิยม “คลั่งเชื้อชาติ” เรื่องคนไทย เชื้อชาติไทย สายเลือดบริสุทธิ์
(3.) กรุงสุโขทัยราชธานีแห่งแรกของไทย ถูกสร้างทางการเมืองให้เป็น “รัฐในอุดมคติ” แต่วิชาการสากลไม่เชื่อถือ ในที่สุดกรุงสุโขทัยกลายเป็น “แดนเนรมิต” ที่ตลกขบขันของวงวิชาการสากล
กรุงสุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรกของไทย มีเหตุจากความเข้าใจคลาดเคลื่อนในหลักฐานวิชาการหลายอย่างเกี่ยวเนื่องกัน ความเข้าใจคลาดเคลื่อนเหล่านั้น ศรีศักร วัลลิโภดม นักปราชญ์สยามประเทศ (บรรณาธิการวารสารเมืองโบราณ และอดีตอาจารย์ประจำภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร) ประมวลข้อมูลทั้งหมดเป็นบทความวิชาการเมื่อ 42 ปีที่แล้ว หรือ พ.ศ.2524 เรื่อง ข้อขัดแย้งเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย (สำนักพิมพ์เมืองโบราณ พ.ศ.2524 หน้า 5-14)
(4.) หลักฐานวิชาการทางประวัติศาสตร์โบราณคดีและมานุษยวิทยา สนับสนุนหนักแน่นว่าอโยธยาเก่าแก่กว่าสุโขทัย ดังนั้น อโยธยาเป็นเมืองตั้งต้นคนไทย, ภาษา ไทย และประเทศไทย
(5.) ชนชั้นนำต้องการให้สุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรกของไทย ถ้ายอมรับอโยธยาเป็นเมืองมีอายุเก่าแก่กว่าก็เท่ากับสุโขทัยไม่เป็นราชธานีแห่งแรก ย่อมกระทบเรื่องสำคัญอื่นๆ ที่เพิ่งสร้าง ได้แก่ พ่อขุนรามคำแหงประดิษฐ์อักษรไทย ฯลฯ ดังนั้น เมืองอโยธยาต้องถูกด้อยค่าและถูกบังคับสูญหายจากความทรงจำ ทำให้สังคมไม่รู้จัก หรือรู้จักน้อยเกี่ยวกับเมืองอโยธยา ด้วยการไม่กล่าวถึงเมืองอโยธยาในประวัติศาสตร์แห่งชาติของไทย อโยธยาเก่าแก่กว่าสุโขทัย พบหลักฐานในอโยธยาว่าเป็นเมืองตั้งต้นคนไทยและภาษาไทย แล้วไฉนจะทำลายเมืองอโยธยาด้วยรถไฟความเร็วสูง? แผนที่พระนครศรีอยุธยาปัจจุบัน แสดงพื้นที่ในเกาะเมืองและนอกเกาะเมือง ที่ตั้งเมืองโบราณทับซ้อนกัน 2 เมือง ได้แก่ (ขวา) อโยธยา (เมืองเก่า) เริ่มมีราว พ.ศ.1600 บริเวณที่จะสร้างรถไฟความเร็วสูง (ซ้าย) อยุธยา (เมืองใหม่) แรกมีราว พ.ศ.1893 (ปรับปรุงจากแผนที่ฯ ของกรมศิลปากร พ.ศ.2558)สุโขทัยราชธานีแห่งแรก ไม่มีอีกแล้วในหนังสือกรมศิลปากร
“สุโขทัยราชธานีแห่งแรกของไทยไม่มีในเล่มนี้” พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิของกรมศิลปากร บอกผู้ฟังเมื่อหลายปีมาแล้วในงาน “เปิดตัว” หนังสือสุโขทัยเมืองพระร่วง (กรมศิลปากร พิมพ์ครั้งที่สอง พ.ศ.2562) ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เท่ากับจะให้หมายความว่า “สุโขทัยไม่ใช่ราชธานีแห่งแรกของไทย”
“สุโขทัยราชธานีแห่งแรกของไทย” ยังถูกตัดออกไปไม่มีให้เห็นในงานอื่นๆ ของกรมศิลปากร ดังนี้
1. “สุโขทัยราชธานีแห่งแรกของไทย” ไม่มีให้เห็นอีกแล้วในงานนิทรรศการพิเศษของกรมศิลปากร เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช 2562
2. “สุโขทัยราชธานีแห่งแรกของไทย” ไม่มีให้เห็นอีกแล้วในหนังสือเล่มล่าสุดของกรมศิลปากร ประกอบนิทรรศการพิเศษฯ เรื่อง “นครรัฐไทยบนแผ่นดินสุวรรณภูมิ” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม-25 ตุลาคม 2562
เมื่อหลายปีก่อน กรมศิลปากรพยายามหลีกเลี่ยงวลี “สุโขทัยราชธานีแห่งแรกของไทย” แต่ไปไม่สุด เพราะยังออกอาการเขื่องๆ อย่างคลุมเครือโดยใช้ข้อความว่า “สุโขทัยเป็นอาณาจักรแรกที่ถือว่าเป็นอาณาจักรของคนไทย” ในหนังสือประวัติศาสตร์ชาติไทย (กรมศิลปากร พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2558 หน้า 76)
อาณาจักร เป็นคำแสดงความหมายพื้นที่อำนาจที่มีกว้างขวางเกินประมาณ เช่น อาณาจักรโรมัน เป็นต้น แต่สุโขทัยมีพื้นที่อำนาจแคบๆ ระดับรัฐหรือนครรัฐเท่านั้น (ยังห่างชั้นคำว่าอาณาจักร) แต่ประวัติศาสตร์ไทย มัก “เว่อร์” เรียกอาณาจักรทุกแห่ง นอกจากนั้นช่วงเวลาร่วมสมัยมีหลายรัฐที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษากลาง ได้แก่ รัฐหลวงพระบาง เป็นต้น
ตั้งแต่ พ.ศ.2562 กรมศิลปากรไม่เรียกอีกแล้วว่าสุโขทัยเป็น “อาณาจักรแรกๆ” แต่เรียก “รัฐสุโขทัย” (ในหนังสือ นครรัฐไทยบนแผ่นดินสุวรรณภูมิ กรมศิลปากร พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2562 หน้า 39) เท่ากับกลับคืนอยู่ในร่องในรอยทางวิชาการสากล • ขอขอบคุณ :- ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 22 - 28 กันยายน 2566 คอลัมน์ : สุจิตต์ วงษ์เทศ เผยแพร่ : วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน พ.ศ.2566 website : https://www.matichonweekly.com/column/article_713961
|
|
|
4
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / สุโขทัย ‘ไม่ใช่’ ราชธานีแห่งแรก อโยธยา ต้นกำเนิดคนไทย, ภาษาไทย, ประเทศไทย
|
เมื่อ: กันยายน 26, 2023, 07:19:44 am
|
. สุโขทัย ‘ไม่ใช่’ ราชธานีแห่งแรก อโยธยา ต้นกำเนิดคนไทย, ภาษาไทย, ประเทศไทยโครงการถไฟความเร็วสูง ต้องมีโครงสร้างฐานรากขนาดใหญ่ผ่าเมืองอโยธยา ซึ่งเท่ากับทำลายหายสูญความเป็นเมืองต้นกำเนิดกรุงศรีอยุธยา และเมืองต้นกำเนิดความเป็นไทย, ภาษาไทย และความเป็นประเทศไทย
แต่สังคมไทยถูกครอบงำด้วยประวัติศาสตร์ไทย “แห่งชาติ” ว่า “กรุงสุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรกของไทย” หมายถึงต้นกำเนิดความเป็นไทย, ภาษาไทย, อักษรไทย และต้นกำเนิดประเทศไทย
กรุงสุโขทัย “ไม่ใช่” ราชธานีแห่งแรกของไทย แต่ถูกสร้างให้เป็นราชธานีแห่งแรกของไทยเพื่อสนองการเมืองชาตินิยม “คลั่งเชื้อชาติไทย” เรื่องนี้ ศรีศักร วัลลิโภดม “นักปราชญ์ร่วมสมัย” (บรรณาธิการวารสารเมืองโบราณ และอดีตอาจารย์ประจำคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร) มีคำอธิบาย 42 ปีที่แล้ว เมื่อ พ.ศ.2524 จะคัดตัดตอนเฉพาะที่สำคัญมาดังนี้
ประวัติศาสตร์ไทย สมัยก่อนการสร้างพระนครศรีอยุธยา ถ้ามองกันตามความก้าวหน้าของแนวคิด ทฤษฎี เทคนิค และวิธีค้นคว้าตามหลักวิจัยในวิชาสังคมศาสตร์แล้วเป็นเรื่องราวที่ล้าสมัย สร้างขึ้นจากหลักฐานที่มีไม่เพียงพอ แต่ว่าตีความหมายเกินเลยไปตามความลำเอียง และแนวการศึกษาที่แคบไม่เป็นวิทยาศาสตร์ของผู้ที่เรียกว่านักประวัติศาสตร์ในสมัยก่อน
เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะนักประวัติศาสตร์เหล่านั้นท่านเอาแนวความคิดในเรื่องเชื้อชาติเข้าไปปะปนกับเรื่องวัฒนธรรม
@@@@@@@
ปัจจุบันความเชื่อในเรื่องเชื้อชาตินั้น นักวิชาการ และนักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่เห็นพ้องกันแล้วว่าเป็นความเชื่อที่เหลวไหล พิสูจน์อะไรไม่ได้ แต่มีผลทำให้เกิดความขัดแย้งกีดกันและฆ่าฟันกันในสังคมของมนุษย์ ดังเช่นพวกเยอรมันสมัยนาซีทารุณและฆ่าฟันพวกยิว เป็นต้น
เพราะฉะนั้น ผู้เขียนจึงใคร่เสนอว่าพวกเราซึ่งเป็นนักศึกษาที่ใฝ่หาข้อเท็จจริงควรจะหันมามองประวัติศาสตร์ไทยกันใหม่ และเริ่มทำการค้นคว้าวิจัยกันใหม่…หรือยัง?
การนำเชื้อชาติเข้ามาปะปนกับเรื่องวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ไทยนั้นพอจะแยกปัญหาออกมาเป็น 4 เรื่องใหญ่ๆ ด้วยกัน และแต่ละเรื่องก็มีความเกี่ยวเนื่องกันดังต่อไปนี้
(1.) เรื่องการอพยพของชนชาติไทยจากดินแดนประเทศจีนลงสู่ดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน (2.) เรื่องประชาชนที่อยู่ในดินแดนประเทศไทยก่อนที่ชนชาติไทยจะอพยพลงมา เป็นชนชาติมอญและเขมร (3.) เรื่องการก่อตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรกของชนชาติไทยในดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน (4.) เรื่องพระเจ้าอู่ทองหรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 อพยพผู้คนหนีโรคระบาดจากเมืองอู่ทองมาสร้างพระนครศรีอยุธยา
ปัญหาทั้ง 4 เรื่องนี้ สองเรื่องแรกเป็นสาเหตุที่นำเอาความเชื่อในเรื่องเชื้อชาติเข้ามาปนกับวัฒนธรรม ส่วนสองเรื่องหลังเป็นผลที่สืบเนื่องมาจาก 2 เรื่องแรก
@@@@@@@
สุโขทัย “ไม่ใช่” ราชธานีแห่งแรก
เรื่องการตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรกของชนชาติไทย ประวัติศาสตร์ตอนนี้มีอย่างย่อๆ ว่าชนชาติไทยอพยพเข้ามาในดินแดนประเทศไทยแล้วแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 18 มาอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของพวกขอม ต่อมาเมื่อขอมเสื่อมอำนาจลงชาวไทยที่อยู่ทางตอนเหนือของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอันมีพ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองราด และพ่อขุนบางกลางหาวเจ้าเมืองบางยาง ได้ขับไล่ขุนนางขอมที่ปกครองเมืองสุโขทัยได้สำเร็จ แล้วตั้งตัวเป็นอิสระ มีพ่อขุนบางกลางหาวปกครองกรุงสุโขทัย ทรงพระนามว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ แต่นั้นมาอำนาจของสุโขทัยก็แผ่ไปทั่วดินแดนในประเทศไทย จึงถือกันว่ากรุงสุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรกของเมืองไทย
เรื่องราวประวัติศาสตร์ตอนนี้ นักประวัติศาสตร์ท่านสร้างขึ้นจากข้อมูล 2 อย่างด้วยกัน
- อย่างแรก เป็นเรื่องสมมุติขึ้นตามความเชื่อในเรื่องเชื้อชาติ และทฤษฎีในเรื่อง ชัยชนะ คือเรื่องที่ว่าคนไทยอพยพเข้ามาในดินแดนประเทศไทย แต่ราวพุทธศตวรรษที่ 18 แล้วเข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจขอม เรื่องดังกล่าวนี้ไม่มีอยู่ในหลักฐานทั้งทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีเลย
- ข้อมูล อย่างที่สอง คือเรื่องเกี่ยวกับพ่อขุนผาเมือง พ่อขุนบางกลางหาว และการก่อตั้งกรุงสุโขทัยนั้นมีอยู่ในศิลาจารึกหลักที่ 2 ของกรุงสุโขทัย
@@@@@@@
แต่ในเรื่องราวที่มีอยู่ในศิลาจารึกนั้นไม่มีอะไรเพียงพอเลยที่จะระบุว่าพ่อขุนผาเมืองและพ่อขุนบางกลางหาวรบพุ่งชิงเมืองสุโขทัยจากขุนนางขอมที่กรุงกัมพูชาส่งมาปกครองดินแดนในประเทศไทย หรืออีกนัยหนึ่งจารึกไม่ได้กล่าวเลยว่าการรบพุ่งชิงเมืองสุโขทัย และการขึ้นครองราชย์ของพ่อขุนบางกลางหาวนั้นเป็นการที่คนไทยตั้งตัวเป็นอิสระจากพวกขอม นักประวัติศาสตร์ท่านมีความลำเอียงและเชื่อในเรื่องเชื้อชาติและทฤษฎีแห่งชัยชนะอยู่แล้ว พอพบอะไรในจารึกที่เกี่ยวกับขอมหน่อยก็เลยลากเอาไปเข้าเป็นเรื่องเป็นราวปะติดปะต่อกับสิ่งที่ตนคิดไว้ก่อนแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้จึงละเลยข้อมูลอื่นๆ ที่มีอยู่ในจารึกที่เห็นว่าไม่เกี่ยวข้องเสีย
อันที่จริงถ้านักประวัติศาสตร์ท่านไม่หลงในเรื่องเชื้อชาติและทฤษฎีแห่งชัยชนะแล้ว และพิจารณาข้อมูลในศิลาจารึกกรุงสุโขทัยหลักที่ 2 และหลักอื่นๆ ตลอดจนเอกสารในด้านตำนานและพงศาวดารให้ดีแล้วก็น่าจะพบเรื่องราวการรบพุ่งชิงเมืองสุโขทัยของพ่อขุนผาเมืองและพ่อขุนบางกลางหาวนั้น ตีความได้แต่เพียงว่าเป็นการรบพุ่งชิงบ้านเมืองกันเองในระหว่างบ้านเมืองในแคว้นสุโขทัยในดินแดนประเทศไทยเท่านั้น หาได้เกี่ยวข้องในเรื่องการที่กรุงกัมพูชามีอำนาจปกครองดินแดนในประเทศไทยไม่ การเกี่ยวข้องกับกรุงกัมพูชานั้นเป็นในด้านไมตรีและการแต่งงานระหว่างกษัตริย์ในดินแดนประเทศไทยกับกัมพูชาเท่านั้น “แดนเนรมิต” สุโขทัยราชธานีแห่งแรกของไทย สนองการเมืองชาตินิยม “คลั่งเชื้อชาติไทย” (ภาพกลางเมืองสุโขทัย ที่ถูกทำเป็นแหล่งท่องเที่ยว)อยุธยา มีต้นกำเนิดจากอโยธยา
เรื่องพระเจ้าอู่ทองหนีโรคระบาดมาสร้างพระนครศรีอยุธยา ประวัติศาสตร์ตอนนี้ ต่อเนื่องมาจากประวัติศาสตร์กรุงสุโขทัย พอสรุปได้โดยย่อว่าในตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 19 ของชาวทางใต้กรุงสุโขทัยที่อยู่ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอันมีพระเจ้าอู่ทองทรงครองอยู่ ณ เมืองอู่ทอง ได้รวบรวมผู้คนไว้มีกำลังกล้าแข็ง ตั้งตัวเป็นอิสระไม่ขึ้นกับกรุงสุโขทัย
ต่อมาเมื่อเมืองอู่ทองเกิดกันดารน้ำมีโรคระบาดผู้คนล้มตาย พระเจ้าอู่ทองต้องทรงอพยพผู้คนมาสร้างเมืองใหม่ในเขตเมืองอโยธยาร้าง ซึ่งเคยเป็นเมืองหน้าด่านของขอมอยู่ก่อน ทรงสร้างเมืองอยู่ 3 ปี ก็แล้วเสร็จใน พ.ศ.1893 ขนานนามราชธานีว่ากรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา
กรุงศรีอยุธยามีอำนาจแผ่ขยายอาณาเขตกว้างขวางในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) นั้น ปรากฏมีหัวเมืองขึ้นมากมายสามารถยกกองทัพไปปราบปรามอาณาจักรกัมพูชาไว้ได้ แม้ทางกรุงสุโขทัยเองสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทยยังต้องทรงขอเป็นไมตรีด้วย
@@@@@@@
ผู้เขียนเห็นว่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ไทยตอนนี้ ถ้าหากนักประวัติศาสตร์ท่านไม่ งมงายในเรื่องทฤษฎีแห่งชัยชนะจนเกินไปแล้ว และหันมาศึกษาแปลความกันตามหลักฐานที่ศิลาจารึก ตำนาน พงศาวดาร ตลอดจนลักษณะตำแหน่งที่ตั้งของโบราณสถานวัตถุและเมืองโบราณแล้ว ท่านก็น่าจะพบว่ากรุงศรีอยุธยานั้นเป็นแคว้นหนึ่งในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามานานแล้วก่อนการสร้างเมืองอยุธยาเสียอีก เป็นแคว้นที่มีวัฒนธรรมศิลปกรรมในทางพุทธศาสนาคติหินยานสืบเนื่องเรื่อยมาแต่สมัยทวารวดีและลพบุรี
ไม่มีหลักฐานอะไรที่บ่งเลยว่าพระเจ้าอู่ทองตลอดจนผู้คนของพระองค์ที่เป็นชาวอยุธยานั้น เป็นชาวไทยที่อพยพเข้ามาอยู่ในดินแดนขอมทางตอนใต้ของกรุงสุโขทัยแล้วขับไล่ขอมออกไป และต่อมาก็ประกาศเป็นอิสระไม่ขึ้นกับกรุงสุโขทัย
ถ้าหากเราเชื่อว่าแต่เดิมมีพวกมอญและขอมครอบครองดินแดนในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามาก่อนแล้ว พระเจ้าอู่ทองและประชาชนของท่านก็น่าจะเป็นลูกหลานของพวกมอญและขอมนั้น คงไม่ใช่คนไทยที่อพยพมาจากดินแดนในเมืองจีนอย่างแน่นอน
สรุปแล้ว สุโขทัย “ไม่ใช่” ราชธานีแห่งแรกของไทย จึงไม่เป็นแหล่งกำเนิดอะไรๆ ที่เป็นไทยๆ เพราะอโยธยาต่างหากที่เป็นต้นกำเนิดคนไทย, ภาษาไทย, ประเทศไทย ดังนั้น เมืองอโยธยามีความหมายสำคัญมากต่อความเป็นประเทศไทย • ขอขอบคุณ :- ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 15 - 21 กันยายน 2566 คอลัมน์ : สุจิตต์ วงษ์เทศ เผยแพร่ : วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน พ.ศ.2566 website : https://www.matichonweekly.com/column/article_712280
|
|
|
5
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เตรียมจัด “นั่งสมาธิ” บันทึกสถิติโลก งานสมโภช 338 ปี วัดมหาธาตุฯ
|
เมื่อ: กันยายน 26, 2023, 06:54:25 am
|
เตรียมจัด “นั่งสมาธิ” บันทึกสถิติโลก งานสมโภช 338 ปี วัดมหาธาตุฯวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เตรียมจัดงาน สมโภชพระอาราม ครบ 338 ปี วันที่ 27 ธ.ค.2566 – 2 ม.ค.2567
เมื่อวันที่ 25 ก.ย. ที่พระอุโบสถวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ มีการแถลงข่าวสมโภชพระอาราม ครบ 338 ปี วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ โดยพระพรหมวชิราธิบดี เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุฯ กล่าวว่า ปี 2566นี้ วัดมหาธาตุฯ จะมีอายุครบ 338 ปี เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณูปการ คุณงามความดีที่บูรพมหากษัตริย์และบูรพาจารย์ผู้ได้สร้างวัดมหาธาตุฯให้เป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียนของอนุชนคนรุ่นหลัง เป็นจุดเริ่มต้นของการสอนวิปัสสนากรรมฐานแนวสติปัฏฐาน 4
ดังนั้นคณะสงฆ์วัดมหาธาตุฯ และคณะศิษยานุศิษย์จึงจัดให้มีการสมโภชพระอารามขึ้น ในวันที่ 27 ธ.ค.2566 – 2 ม.ค.2567 ภายใต้ชื่อ “งานสมโภชพระอารามหลวงครบ 338 ปี เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วัดมหาธาตุฯ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระอนุชาธิราชในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สถาปนาพระอารามแห่งนี้ เมื่อปี พ.ศ.2326 เป็นสถานที่ทำสังคายนาพระไตรปิฎก มีการก่อตั้งวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทยแห่งแรกขึ้น นับเป็นวัดแรกที่ใช้นาม “วิทยาลัย” ในประเทศไทย จากมหาธาตุวิทยาลัย สู่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
การจัดงานดังกล่าวเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสเจริญพระชนมพรรษาครบ 72 พรรษา ใน ปี 2567 และเพื่อรำลึกถึงบูรพพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์และเหล่าบูรพาจารย์ ที่ได้สร้างและทำนุบำรุงวัดมหาธาตุฯ ให้เจริญรุ่งเรืองสืบมาถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ภายในงานจะมีการปฏิบัติธรรมเจริญจิตตภาวนา กิจกรรมสั่งสมเสบียงบุญ สวดมนต์ข้ามปี เจริญสมาธิพร้อมกันทั่วโลก หรือการนั่งสมาธิที่มีจำนวนคนเข้าร่วมมากที่สุดในโลกเพื่อบันทึกสถิติลงใน Guinness World Records ด้วย
@@@@@@@
นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมว.วัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า วธ.ร่วมสืบสานให้วัดมหาธาตุฯ เป็นจุดหมายแห่งการเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมทั้งของชาวไทยและชาวต่างชาติ ภายในวัดมี 5 สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่วัด ได้แก่
- พระเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ (พระเจดีย์ทอง) - พระศรีสรรเพชญ์ พระประธานใหญ่ในพระอุโบสถ - บวรราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระราชอนุชาร่วมพระชนกชนนีกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก - พระประธานศิลาแลง (หลวงพ่อหิน) พระประธานในอุโบสถวัดสลัก (ชื่อเดิมของวัดมหาธาตุ) ปัจจุบันประดิษฐานในพระวิหารหลวง - และต้นพระศรีมหาโพธิ์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ซึ่งพระสมณทูตไทยได้นำหน่อต้นพระศรีมหาโพธิ์ เมืองอนุราธปุระ มาปลูกไว้ที่วัดมหาธาตุฯ เมื่อปี 2361 ปัจจุบันมีอายุ 205 ปี
นางฐนิวรรณ กุลมงคล กรรมการอำนวยการจัดงาน กล่าวว่า ภายในงานสมโภชพระอารามหลวงครบ 338 ปี เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จะมีการจัดการแสดง ILLUMINATE LIGHTING SHOW โดยการใช้แสง สี และ MAPPING ใน Concept “การเดินทางด้วยแสงแห่งปัญญา : JOURNEYING THROUGH LIGHT OF WISDOM”
การแสดง ILLUMINATE WITH THAI JAZZ CONCERT ดนตรีที่เชื่อมโยงความงามของวัฒนธรรมไทย ประวัติศาสตร์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ความผูกพันและศรัทธาที่มีต่อพระพุทธศาสนากับสังคมไทยใน Concept “MINIMAL MUSIC” : ดนตรีเล่าเรื่อง โดยเป็นการจัดการแสดง คอนเสิร์ตผสมผสานกับ Mapping Laser Building ลงไปที่ตัวอาคารตามจังหวะเสียงดนตรี
นอกจากนี้ยังมีการเสวนาเรื่องงานของพระธรรมทูต , นิทรรศการทางการศึกษาของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ และการจัดแสดงนิทรรศการ 338 ปี วัดมหาธาตุฯ Thank to : https://www.dailynews.co.th/news/2751593/25 กันยายน 2566 19:32 น. | การศึกษา-ไอที
|
|
|
6
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / วัดมหาธาตุฯ แถลงข่าวจัด งานสมโภชพระอารามหลวง 338 ปี
|
เมื่อ: กันยายน 26, 2023, 06:47:32 am
|
วัดมหาธาตุฯ แถลงข่าวจัด งานสมโภชพระอารามหลวง 338 ปีเตรียมพบงานบุญใหญ่ ส่งท้ายปี วัดมหาธาตุฯ แถลงข่าวจัด งานสมโภชพระอารามหลวง 338 ปี วางการแสดงสุดอลังการ รับนักท่องเที่ยว
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร แถลงข่าวการจัดงานสมโภชพระอารามหลวง ครบ 338 ปี โดยมี พระพรหมวชิราธิบดี อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุฯ เป็นประธานการแถลงข่าว พร้อมด้วยผู้แทนจากหลายๆหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ร่วมกันจัดงานในปี 2566 นี้ เช่น ททท. กระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงวัฒนธรรม, สน.ชนะสงคราม, สำนักนายกฯ, กรมการศาสนา, กทม. ไฮไลท์สำคัญสำหรับการจัดงานในปีนี้ ทางคณะผู้จัดงานเตรียมการแสดง แสง Illuminate lighting show ซึ่งจะเป็นการใช้ สี แสง มา Mapping ในคอนเซ็ป Journeying through light of wisdom หรือ การเดินทางด้วยแสงแห่งปัญญา
การแสดงดนตรีเชื่อมโยงวัฒนธรรมไทย ผ่านดนตรีแจ๊ส ในการแสดงชุด Illuminate with thai jazz concert หัวข้อดนตรีเล่าเรื่อง ในคอนเซ็ป Minimal Music เครื่องดนตรีน้อยแต่เห็นภาพและสร้างสรรค์ ซึ่งจะถ่ายทอดผ่านการ Mapping แสง สี ไปที่ตัวอาคาร เคลื่อนไหวตามจังหวะดนตรี นอกจาก 2 การแสดงข้างต้น ยังมีการแสดงทางวัฒนธรรมอีกหลากหลาย, มีตลาดย้อนยุค, มีตลาดงานคร๊าฟ, การสวดมนต์ข้ามปีในวันขึ้นปีใหม่ ตอนนี้วางแผนเบื้องต้นไว้ว่า ในงานจะมีมัคคุเทศน์ หลายภาษาคอยให้ความรู้เกี่ยวกับวัดด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้น ในระหว่างวันที่ 27 ธ.ค. 66 - 2 ม.ค. 67 รวม 7 วัน
งานนี้ ทางคณะผู้จัดการ หมายมั่นปั้นมือ ให้สามารถกระจายการรับรู้ถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย ให้นักท่องเที่ยว บอกเล่าวัฒนธรรมอันดีของไทย ในด้านของศาสนา, เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ที่เกี่ยวข้องกับศาสนา และเพิ่มมูลค่าของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมไทย เปิดให้คนได้ทำความรู้จักกับวัดมหาธาตุฯแห่งนี้มากขึ้น
งานใหญ่ๆแบบนี้ พลาดไม่ได้นะครับ ปักหมุดรอได้เลย
Thank to : https://www.ejan.co/general-news/0c16o8ncysพิพรรธ ไทยเล็ก (เล็ก อีจัน) | เผยแพร่เมื่อ : 25 ก.ย. 2023, 19:38 1 นาทีในการอ่าน
|
|
|
7
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ขับรถทางไกลแล้วดับเครื่องทันที เครื่องยนต์พังจริงหรือ.?
|
เมื่อ: กันยายน 25, 2023, 08:39:08 am
|
. ขับรถทางไกลแล้วดับเครื่องทันที เครื่องยนต์พังจริงหรือ.?หลายคนมีความเชื่อว่าหากขับรถทางไกล หากจอดรถแล้วไม่ควรดับเครื่องยนต์ในทันที เพราะจะทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้ แท้จริงแล้วเป็นเช่นนั้นหรือไม่?
ความเชื่อดังกล่าวถือเป็นที่ถกเถียงกันมาอย่างยาวนานจวบจนถึงปัจจุบัน ว่าหากขับรถระยะทางไกลๆ หรือใช้รอบเครื่องยนต์สูงเป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะเครื่องยนต์ดีเซลเทอร์โบที่พบได้ในรถกระบะทั่วไป ควรปล่อยให้เครื่องยนต์อยู่ในรอบเดินเบาประมาณ 2-3 นาทีก่อนดับเครื่องยนต์ มิเช่นนั้นแล้วจะทำให้เครื่องยนต์หรือแกนเทอร์โบเสียหายได้
ผลจากความเชื่อที่ว่านั้น ทำให้เจ้าของรถบางรายนำรถไปติดตั้งอุปกรณ์เสริมที่เรียกว่า Turbo Timer เพื่อยืดระยะให้เครื่องยนต์ทำงานต่อเนื่องจนถึงเวลาที่ตั้งไว้ จากนั้นเครื่องยนต์จะดับลงเองโดยอัตโนมัติแม้ว่าผู้ขับขี่จะไม่ได้อยู่ภายในรถแล้วก็ตาม
แต่ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าการดับเครื่องยนต์ทันทีหลังจากเดินทางไกล จะทำให้เครื่องยนต์หรือเทอร์โบได้รับความเสียหายจากความร้อนสะสมภายในระบบ เนื่องจากปัจจุบันวิศวกรต่างพัฒนาระบบระบายความร้อนมาเป็นอย่างดีอยู่แล้ว จึงเรียกได้ว่าเป็นความเชื่อสมัยเก่าที่เกิดขึ้นกับเครื่องยนต์เทอร์โบยุคแรกๆ ที่ระบบระบายความร้อนยังไม่ดีพอนั่นเอง
หากคู่มือรถยนต์แต่ละรุ่นไม่ได้ระบุข้อแนะนำว่าต้องติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้ภายหลังจากเดินทางไกลแล้วล่ะก็ คงไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องเสียเวลานั่งรอ 2-3 นาทีจนกว่าจะได้ลงจากรถ หรือซื้อหา Turbo Timer มาติดตั้งให้เสียเงินฟรีๆ (แต่ได้ความสบายใจไปแทน) นอกจากนี้ การติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้ยังเป็นสาเหตุของมลพิษในอากาศ โดยเฉพาะพื้นที่ปิด เช่น ลานจอดรถของห้างสรรพสินค้า หรือภายในอาคารสำนักงาน จะเป็นการเพิ่มปริมาณของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO), คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2), ก๊าซกลุ่มไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) และอื่นๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตทั้งสิ้น
สิ่งสำคัญแท้จริงที่จะช่วยรักษาเครื่องยนต์ให้มีสภาพดีอยู่เสมอ คือ การนำรถเข้ารับการตรวจเช็คระยะตามที่ผู้ผลิตกำหนด เปลี่ยนถ่ายของเหลวและชิ้นส่วนต่างๆ ให้มีสภาพดีอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงการใช้สารแปลกปลอม เช่น หัวเชื้อน้ำมันเครื่อง, หัวเชื้อน้ำมันเชื้อเพลิง ฯลฯ เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้ยืดอายุเครื่องยนต์อยู่ในสภาพดีไปอีกยาวนานแล้วล่ะครับ Thank to : https://www.sanook.com/auto/79387/S! Auto : สนับสนุนเนื้อหา | 07 ก.ย. 66 (10:38 น.)
|
|
|
8
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ทำไมเราต้องรับประทานอาหาร 5 หมู่ให้ครบกันนะ
|
เมื่อ: กันยายน 25, 2023, 08:34:03 am
|
ทำไมเราต้องรับประทานอาหาร 5 หมู่ให้ครบกันนะ ในปัจจุบันเทรนการรักษาสุขภาพได้กลับมาเป็นที่นิยมปฏิบัติกันมากขึ้น หลังจากที่ได้เกิดวิกฤตโรคระบาด ทุกๆคนเริ่มหันมาสนใจพร้อมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพที่แข็งแรงอยู่เสมอ ดังคำที่บอกไว้ว่า “การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ” วันนี้เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาหาร 5 หมู่ที่ให้สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เพื่อเป็นเป้าหมายของการมีสุขภาพดีกันเถอะ
อาหาร 5 หมู่ มีอะไรบ้าง
อาหาร 5 หมู่ เป็นสารอาหารที่เราทุกคนได้รับจากการบริโภคที่หลากหลายในแต่ละวัน เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่จำเป็น รวมทั้งเพียงพอต่อร่างกายของเรา ทั้งยังทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ ทั้งยังมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ซึ่งสารอาหารเหล่านี้จะประกอบไปด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต เกลือแร่/ แร่ธาตุ วิตามิน รวมทั้งไขมัน หากร่างกายขาดสารอาหารเหล่านี้จึงจะส่งผลให้ระบบการทำงานภายในร่างกายของคนเราเกิดความผิดปกติได้นั้นเอง
เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเรามาทำความรู้จักกับอาหารทั้ง 5 หมู่นี้ รวมถึงรายละเอียดอัตราความต้องการสารอาหารที่จำเป็นของร่างกายกันเถอะ
@@@@@@@
สารอาหารของอาหาร 5 หมู่ ประกอบก้วยอาหารชนิดไหนกันบ้างนะ?
สารอาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างกายดำรงชีวิต การเจริญเติบโตของคนเราด้วยการกิน ซึ่งสารอาหารเหล่านี้จะช่วยสร้าง พร้อมทั้งซ่อมแซมในสวนที่สึกหรอของร่างกาย ทั้งยังระบบย่อยอาหาร สารอาหารเหล่านี้สามารถแบ่งได้ ดังนี้
อาหาร 5 หมู่ ประเภท 1 : โปรตีน
ประกอบด้วย เนื้อสัตว์ต่างๆ นม ไข่ ถั่วเมล็ด ถั่วเหลือง
อาหาร 5 หมู่ ประเภท 2 : คาร์โบไฮเดรต
ประกอบด้วย อาหารจำพวกข้าว แป้ง ขนมปัง เผือกมัน น้ำตาล รวมทั้งธัญพืชชนิดอื่นๆที่ไม่ผ่านการขัดสี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง
อาหาร 5 หมู่ ประเภท 3 : เกลือแร่ และแร่ธาตุต่าง ๆ
ประกอบด้วยผักชนิดต่างๆ ดังเช่น ผักกาดขาว ผักบุ้ง ตำลึง แตงกวา ฟักเขียว ฟักทอง แครอท คะน้า
อาหาร 5 หมู่ ประเภท 4 : วิตามิน
ประกอบด้วยสารอาหารที่มาจากอาหารประเภทผลไม้ต่างๆ เช่นผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ต่างๆ รวมถึงผลไม้ที่หาได้ตามท้องตลาด ได้แก่ ส้ม ลูกพีช องุ่น เสาวรส ส้มโอ มะละกอ กล้วย แอปเปิล มังคุด เป็นต้น
อาหาร 5 หมู่ ประเภท 5 : ไขมัน
ประกอบด้วยเนย ครีม ชีส น้ำมันมะพร้าว น้ำมันรำข้าว น้ำมันปาล์ม น้ำมันงา น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน น้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย
@@@@@@@
ในแต่ละวันควรรับประทานสารอาหาร 5 หมู่ให้ครบได้อย่างไรบ้าง
• สารอาหารประเภทโปรตีน : ในวัยผู้ใหญ่ท่านควรได้รับโปรตีนต่อวัน ระหว่าง 46 – 63 กรัม / ในส่วนของหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรรับประทานโปรตีนมากถึง 65 กรัมต่อวัน • สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต : ในวัยผู้ใหญ่ท่านควรได้รับคาร์โบไฮเดรตต่อวัน ระหว่าง 45 – 65 กรัม • สารอาหารประเภทเกลือแร่หรือแร่ธาตุต่างๆ : ในวัยผู้ใหญ่ท่านควรได้รับสารอาหารประเภทนี้ ระหว่าง 920 – 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน • สารอาหารประเภทวิตามิน : ในวัยผู้ใหญ่ท่านควรได้รับสารอาหารประเภทนี้ ระหว่าง 60 มิลลิกรัมต่อวัน / ในส่วนของหญิงตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร ควรได้รับสารอาหารระหว่าง 70 – 96 มิลลิกรัมต่อวัน • สารอาหารประเภทไขมัน : ในวัยผู้ใหญ่ท่านควรได้รับสารอาหารประเภทนี้ ประมาณ 70 กรัมต่อวัน
หากท่านไม่รับประทานอาหาร 5 หมู่ให้ครบ จะส่งผลเสียอย่างไรต่อร่างกายบ้าง
เนื่องจากอาหาร 5 หมู่ที่ร่างกายต้องการ มีความจำเป็นต่อการใช้พลังงานจากสารอาหารเหล่านั้น หากเราขาดสารอาหารเป็นระยะเวลาหนึ่ง หรือรับประทานแต่อาหารที่เดิมซ้ำๆเป็นประจำก็อาจจะส่งผลต่อร่างกายของเราได้ อาการที่ส่งผลต่อร่างกายเมื่อเราขาดสารอาหารจะมีอะไรบ้าง เราไปดูกันเถอะ
กรณีที่ร่างกายเกิดการขาดสารอาหารในช่วงระยะเวลาหนึ่งจะส่งผลได้ดังนี้
• น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ส่งผลให้ผมร่วง ตัวซีดง่าย ง่วงอ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ บางรายอาจมีอาการอยากอาหารมากกว่าปกติ ระบบการขับถ่าย/การย่อยอาหารไม่ดีจนทำให้ท้องผูก บางวันส่งผลให้ไม่มีสมาธิในการเรียน หรือไม่มีสมาธิในการทำงานวอกแวกได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ส่งผลกระทบต่อการหายใจ พร้อมทั้งไม่สามารถออกกำลังกายหนักได้ รู้สึกเสียว/ชาในบริเวณข้อต่อของร่างกาย ใจสั่นเป็นลมหมดสติ บางรายอาจจจะหดหู่ถึงกับเป็นรโรคซึมเศร้า สำหรับฝ่ายหญิงจะทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ รวมทั้งผู้ป่วยในเด็กจะทำให้การเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ ได้นั้นเอง กรณีที่ร่างกายขาดสารอาหาร 5 หมู่เป็นระยะเวลานาน หรือบางท่านรับประทานอาหารแบบเดิมซ้ำเป็นประจำจะส่งผลได้ดังนี้
• ร่างกายเกิดโรคขาดโปรตีน • โรคโลหิตจาง • โรคตาบอด • โรคเหน็บชา • โรคปากนกกระจอก • โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ • โรคคอพอก • โรคไขมันในเลือดสูง • โรคอ้วน • โรคหัวใจ
สารอาหาร 5 หมู่ที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัยที่ร่างกายต้องการ
การรับประทานอาหารก็เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดสารอาหาร วิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยป้องกันนั้น คือการที่ท่านรับประทานอาหาร 5 หมู่ให้ครบทุกประเภท ตามเกณฑ์อัตราความต้องการทางโภชนาการของร่างกายที่เหมาะสม โดยเน้นอาหารที่มีคุณภาพ ประโยชน์สูงสุดต่อร่างกาย ดังเช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชที่ไม่ขัดสีรวมทั้งการรับประทานอาหารจำพวกแป้งให้เหมาะสม เช่นข้าว ขนมปัง เป็นต้น และอาหารประเภทเนื้อสัตว์ เนื้อปลา ไข่ และนมได้อย่างลงตัว
เพื่อให้หลายท่านๆได้สามารถคำนวณการรับประทานอาหาร 5 หมู่ ให้ครบนั้น เรามาดูข้อมูลสารอาหารที่ร่างกายควรจะได้รับ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตให้สุขภาพแข็งแรงกันเถอะ
@@@@@@@
สำหรับวัยทารก อายุระหว่าง
• แรกเกิดจนถึง 6 เดือน : การรับประทานนมแม่จึงเป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกในวัยนี้ • 6 เดือนจนถึง 1 ปี: เริ่มให้อาหารบดละเอียดทีละชนิด เพื่อให้ทารกได้รู้จักการบดเคี้ยว รวมถึงคุณแม่จะได้สังเกตอาการแพ้อาหารชนิดต่างของบุตร
สำหรับวัยเด็ก จะสามารถแบ่งได้เป็น 2 ช่วงวัย
1. เด็กวัยก่อนเรียน อายุระหว่าง 1 ปีจนถึง 5 ปี
• ควรจัดอาหารเป็นมื้อเล็กๆ ให้บุตรของท่านได้ฝึกการกินผัก โดยแบ่งขนาดของผักเป็นชิ้นเล็กๆแทรกในระหว่างอาหาร 5 หมู่หรืออาหารว่างที่มีประโยชน์ รวมถึงฝึกให้บุตรของท่านได้ฝึกหยิบจับอาหาร กล้าลอง กล้าเลอะ
2. เด็กวัยเรียน อายุระหว่าง 6 ปีจนถึง 12 ปี
• ควรรับประทานอาหาร 5 หมู่ให้ครบทุกประเภท โดยให้ความสำคัญกับมื้อแรกของวัน / อาหารเช้า ซึ่งเด็กในวัยนี้มักจะเลือกอาหารที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายทั้งใน และนอกโรงเรียน รวมถึงบริเวณใกล้เคียงกับที่พักอาศัย เพื่อให้เด็กได้รับรู้ความสำคัญของโภชนาการต่างๆ คุณพ่อคุณแม่ควรปลูกฝังการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับวัยได้ในช่วงระยะเวลานี้
สำหรับวัยรุ่น
• เป็นวัยที่ต้องการอาหารที่ให้พลังงานสูง พร้อมทั้งให้คุณค่าทางอาหารที่ครบถ้วน ซึ่งวัยรุ่นมักจะให้ความสำคัญในการรักษารูปร่าง แต่ไม่ควรงดอาหารเพื่อลดน้ำหนักในการรักษาสัดส่วนที่ต้องการ ทางออกที่ดีที่สุดจึงเป็นการออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอนั้นเอง
สำหรับวัยผู้ใหญ่
• ควรเลือกรับประทานข้าว / แป้งที่ไม่ขัดสี ดังเช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท รวมถึงธัญพืชต่างๆ และอาหารที่สามารถให้โปรตีนพอประมาณ มีไขมันมีการปรุงแต่งอาหารแทรกเล็กน้อย พร้อมทั้งควรควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมกับส่วนสูงของแต่ละบุคคล
สำหรับผู้สูงอายุ
• ท่านควรรับประทานอาหารที่สามารถย่อยได้ง่าย ทั้งให้คุณค่าทางโภชนาการสูงคุณค่าทางอาหาร 5 หมู่ครบถ้วน ควรเลือกโปรตีนจากไข่ ปลา และเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ พร้อมทั้งสามารถบำรุงกระดูกด้วยนม หรือผลิตภัณฑ์จากนม ปลาเล็กปลาน้อย เต้าหู้ รวมถึงผักใบเขียวเข้มเป็นประจำ
@@@@@@@
สรุป
การทานอาหาร 5 หมู่ให้ครบในแต่ละประเภทต่อวันนั้น จึงจะช่วยให้ร่างกายของท่านมีสุขภาพที่แข็งแรง มีการทำงานอย่างเป็นระบบ มีความปกติต่อการย่อยอาหาร ส่งผลให้ท่านมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรค ทั้งยังไม่ส่งผลให้ท่านเกิดโรคที่ไม่พึงประสงค์เช่นโรคอ้วน หรือไขมันในเลือดสูง จนต้องเข้ารับการรักษาให้ยางยาก แต่การที่จะรักษาสุขภาพให้แข็งแรงได้นั้น ท่านควรออกกำลังควบคู่กับการรับประทานอาหาร 5 หมู่ให้ครบด้วยนั้นเองThank to : https://www.silpa-mag.com/news/article_116872เผยแพร่ : วันศุกร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ.2566
|
|
|
9
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / กฎหมายเพื่อรักษาพระศาสนา
|
เมื่อ: กันยายน 25, 2023, 07:11:23 am
|
ภาพในอดีต ผมบันทึกไว้ตั้งแต่ปี ๒๕๖๒ คือเมื่อ ๔ ปีมาแล้วกฎหมายเพื่อรักษาพระศาสนาโปรดทราบก่อนว่า ภาพประกอบเรื่องนี้ไม่ใช่ภาพปัจจุบันนะครับ เป็นภาพในอดีต ผมบันทึกไว้ตั้งแต่ปี ๒๕๖๒ คือเมื่อ ๔ ปีมาแล้ว จนถึงวันนี้ จังหวัดบึงกาฬมี “พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำจังหวัด” เรียบร้อยไปแล้ว หรือเป็นอย่างไรไปแล้ว ผมไม่ทราบ ใครรู้ข่าว เอามาบอกเล่าสู่กันฟังบ้างก็จะเป็นการดี เมื่อตอนที่มีภาพนี้ปรากฏในเฟซบุ๊ก ผมแสดงความคิดเห็นไปแล้วเล็กน้อย วันนี้ขออนุญาตนำมาขยายความ ดังต่อไปนี้
@@@@@@@
บึงกาฬโมเดล บึงกาฬประกาศให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำจังหวัด
ขออนุโมทนาสาธุอย่างยิ่งกับจังหวัดบึงกาฬครับที่ประกาศออกมาอย่างนั้น ปัญหาที่ควรจะมีคำตอบที่ชัดเจนก็คือ-ถ้าเกิดมีคนหัวหมอร้องถามขึ้นมาว่า ประกาศแบบนี้มีกฎหมายรองรับหรือเปล่า.? เราจะตอบว่าอย่างไร.? อย่าให้กลายเป็นว่า-จังหวัดไหนอยากประกาศก็ประกาศไป แต่ไม่มีผลตามกฎหมาย
คนส่วนมากจะรู้สึก จะคิด หรือจะเข้าใจกันว่า ประเทศเราเป็นเมืองพุทธมาตลอดเวลาอยู่แล้ว อย่างกรณีเรียกร้องให้บัญญัติศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ก็มีคนบอกว่า ชาติของเรามีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติอยู่แล้ว ไม่เห็นจำเป็นจะต้องไปบัญญัติอะไรอีก
ความคิดเห็นหรือทัศนะแบบนี้แหละครับ คือทางมาแห่งมหันตภัยของพระศาสนา เรื่องนี้พอจะเทียบเคียงให้เข้าใจได้ชัดๆ-เหมือนสามีภรรยา สมมุติว่า ภรรยาคนที่ ๑ ไม่ได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย สามีไปมีภรรยาคนที่ ๒ และจดทะเบียนสมรส
ภรรยาคนที่ ๑ จะมามัวนอนใจไม่ได้เลยว่ายังไงๆ ฉันก็เป็นภรรยาอยู่แล้ว ฉันเป็นภรรยามาก่อนเธอ ที่นอนใจไม่ได้ก็เพราะกฎหมายรับรองเฉพาะภรรยาที่จดทะเบียน จะเป็นภรรยามาก่อนหรือเป็นทีหลัง กฎหมายไม่รับทราบ กฎหมายรับทราบเฉพาะภรรยาที่จดทะเบียน ภรรยาที่จดทะเบียนมีสิทธิ์ ภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนหมดสิทธิ์ นี่คือข้อเท็จจริง
กรณีศาสนาประจำจังหวัดหรือศาสนาประจำชาตินี่ก็ทำนองเดียวกัน เรานอนใจว่าเราเป็นพุทธอยู่แล้ว บ้านเมืองเราผู้คนนับถือศาสนาพุทธตั้งมากมาย แต่ถ้าวันหนึ่งมีกฎหมายออกมาว่า “ประเทศไทยมีศาสนา x (ซึ่งไม่ใช่พระพุทธศาสนา) เป็นศาสนาประจำชาติ”
ศาสนาพุทธก็จอดสนิท ทั้งๆ ที่มีผู้คนนับถืออยู่เต็มบ้านเต็มเมืองนั่นแหละ เพราะทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎหมาย เพราะเราอยู่ในระบบนิติรัฐ คือถือกฎหมายเป็นสำคัญเรื่องแบบนี้ก็คือที่เรารู้จักกันในคำว่า นิตินัย-พฤตินัย นั่นเองเวลานี้นิตินัยสำคัญที่สุด ระบบราชการทั้งหมดอยู่ภายใต้นิตินัย
@@@@@@@
สมมุติว่ามีกฎหมายหรือมีระเบียบกำหนดไว้ว่า “ผู้นับถือศาสนา x เดินทางไปแสวงบุญต่างประเทศ รัฐบาลไทยต้องสนับสนุนอย่างนี้ๆ ตั้งแต่ไปจนกลับ” ถ้ามีกฎหมายหรือมีระเบียบกำหนดไว้แบบนี้ หน่วยราชการไหนเกี่ยวข้องก็ต้องสนับสนุนทั้งหมด แม้แต่คนที่ไม่ได้นับถือศาสนา x ถ้ามีตำแหน่งฐานะเกี่ยวข้อง ก็ต้องสนับสนุน ไม่สนับสนุน ผิดกฎหมาย นี่คือผลที่เกิดตามมาจากการที่มีกฎหมายรองรับ
และตรงจุดนี้แหละที่คนส่วนมากยังไม่ได้ตระหนักสำนึกกัน คนส่วนมากยังมัวนอนใจว่าเราเป็นพุทธอยู่แล้ว พุทธเรามีมากกว่า จะต้องไปกลัวอะไร และคนส่วนมากที่ยังไม่ตระหนักสำนึกในเรื่องนี้ก็คือบรรดา “ชาววัด” ทั้งหลาย โดยเฉพาะชาววัดที่มีตำแหน่งเป็นพระสังฆาธิการตั้งแต่ระดับเจ้าอาวาสขึ้นไป จนกระทั่งถึงกรรมการมหาเถรสมาคมเป็นที่สุด
ขอถวายไว้เป็น “กิจของสงฆ์” อย่างสำคัญที่สุด คือ กิจการพระศาสนาไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ หาทางทำให้มีกฎหมายรองรับไว้ก่อน เป็นเรื่องสำคัญที่สุด ชาวบ้านก็ต้องช่วยด้วย แต่เรื่องนี้ชาววัดต้องเป็นหลัก
ผมไม่ทราบว่าใน มจร และ มมร มีคณะหรือมีภาควิชานิติศาสตร์หรือเปล่า ถ้ายังไม่มี ก็สมควรเปิดให้มี ถ้ามีอยู่แล้วก็ยิ่งดี แต่ต้องวางเป้าหมายไว้ให้ชัดว่า เราจะเปิดสอนวิชานี้เพื่ออบรมบ่มเพาะให้ชาววัดมีวิสัยทัศน์ทางกฎหมายที่กว้างไกลและทันเกม เพื่อใช้กฎหมายรักษาพระศาสนาเป็นสำคัญ อย่าคิดเพียงแค่-จะได้มีวุฒิการศึกษาเพิ่มขึ้นอีกสาขาหนึ่ง เหมือนกับที่ชาวบ้านเขาเรียนกันอยู่แล้ว
ถ้าผู้บริหารการพระศาสนาไม่ตระหนักถึงประโยชน์ของพระศาสนาที่จะได้มาจากกฎหมาย เราก็ปล่อยโอกาสดีๆ ให้หลุดหายไปทุกวัน และถ้าผู้บริหารการพระศาสนาไม่ตระหนักถึงภัยที่จะมาจากกฎหมาย พระศาสนาก็ฉิบหายได้เร็วพลัน
พลเรือตรี ทองย้อย แสงสินชัย ๑๖ กันยายน ๒๕๖๕ , ๑๗:๑๗Thank to : https://dhamtara.com/?p=26831Admin : suriyan bunthae , 1 พฤษภาคม 2023
|
|
|
10
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / คณกโมคคัลลานสูตร ว่าด้วย ข้อศึกษาและข้อปฏิบัติโดยลำดับ
|
เมื่อ: กันยายน 24, 2023, 07:43:26 am
|
คณกโมคคัลลานสูตร ว่าด้วย ข้อศึกษาและข้อปฏิบัติโดยลำดับเหตุการณ์ : พราหมณ์คณกะโมคคัลลานะถามพระพุทธเจ้าถึงการศึกษาและปฏิบัติโดยลำดับ เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมจบ พราหมณ์คณกะโมคคัลลานะ ประกาศตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนไตรเป็นสรณะ
สำหรับผู้ที่ไม่รู้จะศึกษาและปฏิบัติอย่างไร พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงการศึกษาและการปฏิบัติโดยลำดับไว้ในพระสูตรนี้ เหมาะกับผู้ที่ต้องการศึกษาและปฏิบัติตามลำดับด้วยตนเอง
@@@@@@@
การศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ สำหรับภิกษุที่ยังเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุพระอรหัตมรรค
๑. เธอจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด ฯ ๒. เธอจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย อย่าถือเอาโดยนิมิต อย่าถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์ บุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่พึงถูกอกุศลธรรมอันลามกคือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ๓. เธอจงเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ๔. เธอจงเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่ ๕. เธอจงเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ๖. เธอจงพอใจเสนาสนะอันสงัด นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า ละอภิชฌาในโลกแล้ว มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌาได้ ละนิวรณ์ ๕ ได้ ๗. เธอครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการ จึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุรูปฌาณ ๔
ส่วนภิกษุพวกที่เป็นอรหันตขีณาสพ ธรรมเหล่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่สบายในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะ
@@@@@@@
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ พราหมณ์คณกะโมคคัลลานะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า สาวกของพระองค์ เมื่อพระองค์ให้โอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ ย่อมยินดีนิพพาทุกรูปทีเดียว หรือว่าบางพวกก็ไม่ยินดี
พระผู้มีพระถาคตรัสว่า แม้นิพพานก็ยังดำรงอยู่ ทางให้ถึงนิพพานก็ยังดำรงอยู่ ผู้ชักชวนก็ยังดำรงอยู่ แต่สาวกของพระโคดมผู้เจริญเพียงส่วนน้อยยินดีนิพพาน บางพวกถึงโดยสวัสดี บางพวกก็ไม่ยินดี จำทางผิด กลับเดินไปเสียตรงกันข้าม ในเรื่องนี้จะทรงทำอย่างไรได้ ทรงเป็นแต่ผู้บอกหนทางให้ขอขอบคุณ :- อ้างอิง : คณกโมคคัลลานสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ ข้อที่ ๙๓-๑๐๔ หน้า ๖๒-๖๗ websit : https://uttayarndham.org/node/1321
|
|
|
12
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เชื่อผิดมาตลอด.! เกลียดใครอย่าไปกรวดน้ำให้ แต่ควรทำแบบนี้
|
เมื่อ: กันยายน 24, 2023, 06:44:50 am
|
เชื่อผิดมาตลอด.! เกลียดใครอย่าไปกรวดน้ำให้ แต่ควรทำแบบนี้ได้ยินกันจนชินหู เกลียดใครให้กรวดน้ำให้ ด้วยเชื่อว่าจะช่วยลดทุเลาความโกรธแค้นในใจของตนเองบ้าง หรือได้ผลบุญช่วยลดการกระทำร้าย ๆ ของเขาต่อตนเองบ้าง บางคนก็กรวดในทำนองสาปส่งระบายความอาฆาตแค้นในใจ เรื่องนี้มาทำความเข้าใจกันใหม่ โหรรัตนโกสินทร์บอกเลยว่า “เกลียดใครอย่าไปกรวดน้ำให้” เพราะเหตุนี้
“เกลียดใครอย่าไปกรวดน้ำ เค้าจะยิ่งทรงพลังยิ่งมีอิทธิฤทธิ์”
ปกติหลังทำบุญทำทาน จะมีบทสวดที่ตัดมาจากพระไตรปิฎก เรียกสั้นๆ “ยะถาให้ผี สัพพีให้คน”
บทยถา อุทิศส่วนกุศลให้วิญญาณผู้ล่วงลับ บทสัพพี อวยพรให้ผู้ถวายทานปราศจากอันตราย
ดังนั้น ถ้าเกลียดใครอย่าไปกรวดน้ำ เค้าจะยิ่งเกลียดเราหนักขึ้น เหมือนไปล้อเล่นว่าเค้าตาย..
หลวงพ่อจรัญ สอนว่า “การให้อภัย เป็นทานชั้นยอดเหนือทานใดๆ” ไม่ใช่เป็นการให้โอกาสผู้อื่นเท่านั้น แต่เป็นการให้โอกาสตัวเราเอง หลุดพ้นจากความทุกข์ใจ ไม่ถูกไฟแห่งความโกรธเกลียดอาฆาตพยาบาทเผาไหม้.. บทแผ่เมตตา ช่วยให้จิตใจสงบสุข..
คนที่จะ “แบ่งของ”ให้ใคร อย่างน้อยต้องมีสิ่งนั้นอยู่บ้าง คือต้องมีความเมตตา ตั้งใจจะยุติความบาดหมางด้วยใจจริง
@@@@@@@
บทแผ่เมตตาให้ตัวเอง
อะหัง สุขิโต โหมิ อะหัง นิททุกโข โหมิ อะหัง อะเวโร โหมิ อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ
คำแปล
ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุขกายสุขใจ รักษากายวาจาใจให้พ้นจากความทุกข์ภัยทั้งปวงเถิด
บทแผ่เมตตาทั่วไป
สัพเพ สัตตา อะเวราโหนตุ อัพ๎ยาปัชฌาโหนตุ อะนีฆาโหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
คำแปล
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากโรคภัยด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้นเถิด Thank to : https://www.sanook.com/horoscope/262135/โหรรัตนโกสินทร์ : สนับสนุนเนื้อหา | 22 ก.ย. 66 (15:20 น.)
|
|
|
14
|
เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / กึสุ โลกสฺมิ ชาคโร - อะไรหนอ.? เป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ในโลก.!!
|
เมื่อ: กันยายน 23, 2023, 08:19:18 am
|
. สติ โลกสฺมิ ชาคโร (บาลีวันละคำ 3,984) เรียนบาลีจากคำผิด
"สติ โลกสฺมิ ชาคโร" คำบาลีที่ยกขึ้นตั้งข้างต้นเป็น “คาถา” 1 บาท หรือ 1 วรรค คำว่า “คาถา” หมายถึงบทร้อยกรองในภาษาบาลี อย่างที่พูดในภาษาไทยว่า กาพย์กลอนโคลงฉันท์
“คาถา” นั้น ในบาลีนิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ฉันท์” แต่อาจแยกความหมายได้ดังนี้ :-
- เมื่อหมายถึงบทร้อยกรองทั่วไปในภาษาบาลี เรียกว่า“คาถา” - เมื่อหมายถึงชนิดหรือประเภทของบทร้อยกรองนั้นๆ (ชนิดหรือประเภทของคาถา) เรียกว่า “ฉันท์”
“ฉันท์” นั้นมีมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป ฉันท์ทุกชนิดมีข้อกำหนดที่เป็นมาตรฐานกลางเหมือนกัน คือ 4 บาท เป็น 1 บท (ในภาษาไทย คำว่า “บาท” เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วรรค”)
ความแตกต่างของฉันท์แต่ละชนิดกำหนดด้วย (1) จำนวนพยางค์ใน 1 บาท และ (2) ลำดับคำที่เป็นครุหรือลหุในแต่ละบาท คือในแต่ละบาท คำที่เท่าไรต้องเป็นครุ คำที่เท่าไรต้องเป็นลหุ ข้อกำหนดว่าด้วยคำ ครุ-ลหุ นี้ เรียกว่า “คณะฉันท์” รู้ไว้คร่าวๆ เท่านี้ก่อน ผู้สนใจพึงศึกษารายละเอียดต่อไป
คำบาลีที่ยกขึ้นตั้งข้างต้นเป็นคาถาชนิดที่มีชื่อว่า “ปัฐยาวัตฉันท์” ฉันท์ชนิดนี้มีกำหนดว่า 1 บาทมี 8 พยางค์ (โปรดนับพยางค์ในคำบาลีข้างต้นนั้นดู)
ข้อความที่เป็นคาถาหรือฉันท์นั้น ถ้าอ่านในเล่มคัมภีร์จะรู้ได้ง่าย เพราะคัมภีร์ที่พิมพ์เป็นเล่มนิยมแบ่งวรรค แบ่งบรรทัด ให้เห็นได้ชัดเจนว่าข้อความนั้นเป็นคาถา แต่ถ้ายกเฉพาะบาทคาถามาเขียนเป็นต่างหาก ผู้ที่ไม่ได้เรียนบาลีหรือนักเรียนบาลีที่ยังเรียนไม่ถึงวิชาแต่งฉันท์ ก็อาจจะไม่รู้ว่า คำบาลีที่เห็นนั้นเป็นคาถาหรือว่าเป็นคำธรรมดา
“สติ โลกสฺมิ ชาคโร” เป็นคาถาปัฐยาวัตฉันท์ 1 บาทหรือ 1 วรรค เขียนแบบคำอ่านเป็น “สะติ โลกัส๎มิ ชาคะโร”
@@@@@@@
ศึกษาศัพท์
(๑) “สติ” อ่านว่า สะ-ติ รากศัพท์มาจาก สรฺ (ธาตุ = คิด, ระลึก; เบียดเบียน) + ติ ปัจจัย, ลบ รฺ ที่สุดธาตุ (สรฺ > ส) : สรฺ + ติ = สรติ > สติ แปลตามศัพท์ว่า (1) “กิริยาที่ระลึกได้” (2) “ธรรมชาติเป็นเหตุให้ระลึกได้” (3) “ผู้เบียดเบียนความประมาท”
“สติ” (อิตถีลิงค์) หมายถึง ความระลึกได้, การจำได้, สติ; ความตั้งใจ, การมีใจตื่นอยู่, ความตระหนัก, ความระมัดระวัง, ความเข้าใจ, การครองสติ, มโนธรรม, ความมีสติถึงตนเอง (memory, recognition, consciousness, intentness of mind, wakefulness of mind, mindfulness, alertness, lucidity of mind, self-possession, conscience, self-consciousness)
ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า... “สติ : (คำนาม) ความรู้สึก, ความรู้สึกตัว, เช่น ได้สติ ฟื้นคืนสติ สิ้นสติ, ความรู้สึกผิดชอบ เช่น มีสติ ไร้สติ, ความระลึกได้ เช่น ตั้งสติ กำหนดสติ. (ป.; ส. สฺมฺฤติ).”
(๒) “โลกสฺมิ” อ่านว่า โล-กัด-สมิ , สฺ ออกเสียงครึ่งเสียง ถ้าอ่านแยกพยางค์เด็ดขาดเพื่อนับจำนวนพยางค์ ก็อ่านว่า โล-กัด-มิ เป็น 3 พยางค์ แต่เวลาอ่านจริง –มิ มีเสียง สะ นำหน้าครึ่งเสียง คือไม่ใช่ สะ-มิ แต่เป็น สฺมิ คล้ายกับจะออกเสียงว่า สิม แต่ปลายเสียงเป็น -มิ
“โลกสฺมิ” รูปคำเดิมเป็น “โลก” อ่านว่า โล-กะ รากศัพท์มาจาก (1) ลุชฺ (ธาตุ = พินาศ) + ณ ปัจจัย, ลบ ณ, แปลง ช เป็น ก แผลง อุ เป็น โอ : ลุชฺ > ลุก > โลก + ณ = โลกณ > โลก แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่จะพินาศไป” (2) ลุจฺ (ธาตุ = ย่อยยับ, พินาศ) + อ (อะ) ปัจจัย แปลง จ เป็น ก แผลง อุ เป็น โอ : ลุจฺ > ลุก > โลก + อ = โลก แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่จะย่อยยับไป” (3) โลกฺ (ธาตุ = เห็น, ปรากฏ; ตั้งอยู่) + อ (อะ) ปัจจัย : โลก + อ = โลก แปลตามศัพท์ว่า (1) “ร่างอันเขาเห็นอยู่” (2) “ร่างเป็นที่ตั้งอยู่แห่งบุญบาปและผลแห่งบุญบาปนั้น”
“โลก” (ปุงลิงค์) มีความหมายดังนี้ (1) ดินแดน แผ่นดิน วัตถุธาตุ หรือดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง คือโลกที่เรามองเห็นและอาศัยอยู่นี้ รวมทั้งดาวดวงอื่น (2) สิ่งมีชีวิต เช่น คน สัตว์ เช่นในคำว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม (3) สังคม หมู่ชน ชุมชน เช่นในคำว่า โลกติเตียน เมตตาธรรมค้ำจุนโลก (4) ชีวิต อันประกอบด้วยร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรม ของแต่ละคน ที่สำนวนเก่าเรียกว่า “โลกคือกายยาววา หนาคืบ กว้างศอก” (5) วิสัยหรือธรรมดาของโลก เช่น เกิด แก่ เจ็บ ตาย พบ พราก ได้ เสีย อิ่ม อด สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์ (6) ค่านิยม ความคิดจิตใจ ความประพฤติแบบหนึ่ง ที่ตรงกันข้ามกับ “ธรรม” เช่น – ดื่ม กิน เที่ยว เสพสุข เป็น “โลก” สงบ สำรวม ควบคุมขัดเกลาตนเอง เป็น “ธรรม”
ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า... “โลก, โลก– : (คำนาม) แผ่นดิน, โดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ เช่น ให้โลกนิยม; ส่วนหนึ่งแห่งสกลจักรวาล เช่น มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก โลกพระอังคาร; (คำที่ใช้ในภูมิศาสตร์) ดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ ๕ ในระบบสุริยะ เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ลักษณะอย่างรูปทรงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ศูนย์สูตรยาว ๑๒,๗๕๕ กิโลเมตร ศูนย์กลางที่ขั้วโลกยาว ๑๒,๗๑๑ กิโลเมตร มีเนื้อที่บนผิวโลก ๕๑๐,๙๐๓,๔๐๐ ตารางกิโลเมตร. (ป., ส.).”
บาลี “โลก” (โล-กะ) แจกด้วยวิภัตตินามที่เจ็ด (สัตตมีวิภัตติ) เอกวจนะ ปุงลิงค์ เปลี่ยนรูปเป็น “โลกสฺมิ” แปลว่า “ในโลก”
โปรดเปรียบเทียบ “โลก” (โล-กะ) แปลว่า “โลก” “โลกสฺมิ” แปลว่า “ในโลก”
(๓) “ชาคโร” อ่านว่า ชา-คะ-โร รูปคำเดิมเป็น “ชาคร” อ่านว่า ชา-คะ-ระ รากศัพท์มาจาก “ชาครฺ” (ธาตุ = สิ้นความหลับ) + อ (อะ) ปัจจัย : ชาครฺ + อ = ชาคร แปลตามศัพท์ว่า “อาการที่ตื่นตัว” หมายถึง ตื่น, เฝ้าสังเกต, คอยเอาใจใส่, ระวังระไว, ตั้งตาคอยดู (waking, watchful, careful, vigilant)
“ชาคร” แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) เอกวจนะ ปุงลิงค์ เปลี่ยนรูปเป็น “ชาคโร”
หมายเหตุ : “ชาคร” มักใช้เป็นคุณศัพท์ (วิเสสนะ) แต่ใช้เป็นคำนามก็มี “ชาคร” ที่ใช้เป็นคำนามเป็นทั้งปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์ ขยายความ
“สติ โลกสฺมิ ชาคโร” (สะติ โลกัส๎มิ ชาคะโร) แปลว่า “สติเป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ในโลก”
ข้อความเต็มของคาถาบทนี้อยู่ในปัชโชตสูตรในพระไตรปิฎก ขอนำข้อความเต็มๆ มาแสดงไว้ในที่นี้เป็นการศึกษาเพื่อเจริญปัญญา ดังนี้
(เทวดาทูลถามว่า) กึสุ โลกสฺมิ ปชฺโชโต - อะไรหนอเป็นแสงสว่างในโลก กึสุ โลกสฺมิ ชาคโร - อะไรหนอเป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ในโลก กึสุ กมฺเม สชีวานํ - อะไรหนอเป็นสหายในการงานของผู้เป็นอยู่ด้วยการงาน กึสุ จสฺส อิริยาปโถ - อะไรหนอเป็นเครื่องสืบต่อชีวิตของเขา กึสุ อลสํ อนลสญฺจ มาตา ปุตฺตํว โปสติ - อะไรหนอย่อมเลี้ยงบุคคลผู้เกียจคร้านบ้าง ไม่เกียจคร้านบ้าง ดุจมารดาเลี้ยงดูบุตร กึสุ ภูตา อุปชีวนฺติ เย ปาณา ปฐวึ สิตาติฯ - เหล่าสัตว์มีชีวิตที่อาศัยแผ่นดิน อาศัยอะไรหนอเลี้ยงชีวิต
(พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า) ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต - ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก สติ โลกสฺมิ ชาคโร - สติเป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ในโลก คาโว กมฺเม สชีวานํ - ฝูงโคเป็นสหายในการงานของผู้เป็นอยู่ด้วยการงาน สีตสฺส อิริยาปโถ - ไถเป็นเครื่องต่อชีวิตของเขา วุฏฺฐิ อลสํ อนลสญฺจ มาตา ปุตฺตํว โปสติ - ฝนย่อมเลี้ยงบุคคลผู้เกียจคร้านบ้าง ไม่เกียจคร้านบ้าง เหมือนมารดาเลี้ยงบุตร วุฏฺฐึ ภูตา อุปชีวนฺติ เย ปาณา ปฐวึ สิตาติฯ - เหล่าสัตว์มีชีวิตที่อาศัยแผ่นดิน อาศัยฝนเลี้ยงชีวิต________________________________________ ที่มา : ปัชโชตสูตร สังยุตนิกาย สคาถวรรค พระไตรปิฎกเล่ม 15 ข้อ 217, 218 @@@@@@@
แถม
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ โปรดดูภาพประกอบเพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจ ภาพประกอบเป็นภาพปกหนังสือที่พิมพ์เผยแพร่ไปแล้ว โปรดดูข้อความบรรทัดบนสุดที่ปรากฏบนปกเปรียบเทียบกับข้อความที่นำมาจากพระไตรปิฎก และที่อธิบายมา ท่านสามารถบอกได้หรือไม่ว่าข้อความบนปกหนังสือผิดพลาดคลาดเคลื่อนตรงไหน เรื่องนี้ไม่ใช่การจับผิด แต่เป็นการถือโอกาสเรียนบาลีจากคำผิด
สิ่งที่กำลังปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ก็คือ ถ้อยคำภาษาหรือข้อธรรม เมื่อมีการพูดผิด เขียนผิด นำมาแสดงผิด ก็มักไม่มีใครสนใจหรือติดใจที่จะชี้แจงแก้ไข มักอ้างว่าเป็นแค่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ แต่เหตุผลสำคัญคือเพราะเกรงกลัวคำประณามที่จะตามมาว่า “ดีแต่เที่ยวตำหนิคนอื่น” หรือ “ดีแต่เที่ยวจับผิดชาวบ้าน”
สังคมเรามาถึงขั้นที่แยกไม่ออกบอกไม่เป็นแล้วว่า อย่างไรคือจับผิด อย่างไรคือชี้โทษ เพราะฉะนั้น ความวิปริตทั้งทางโลกและทางพระศาสนาก็นับวันจะแพร่หลายขยายตัวออกไปทุกทีๆ และสักวันหนึ่งก็จะถึงขั้นที่แยกไม่ออกบอกไม่เป็นว่า อะไรถูกอะไรผิด อะไรชั่วอะไรดี อะไรควรเว้นอะไรควรทำ เห็นสิ่งควรทำเป็นสิ่งควรเว้น และเห็นสิ่งควรเว้นเป็นสิ่งควรทำ และเมื่อถึงวันนั้น มนุษย์ก็จะอยู่ร่วมกันแบบ-ไม่ต่างไปจากสัตว์
ดูก่อนภราดา.! เห็นการชี้โทษเป็นการจับผิด คือให้สิทธิ์คนสร้างความวิปริตได้อย่างเสรี
Thank to : https://dhamtara.com/?p=27187บาลีวันละคำ (3,984) | admin : suriyan bunthae | 24 สิงหาคม 2023
|
|
|
16
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / “คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ” เปิดภาพพร้อมข้อความบน “จารึกเมืองศรีเทพ”
|
เมื่อ: กันยายน 22, 2023, 09:03:38 am
|
. “คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ” เปิดภาพพร้อมข้อความบน “จารึกเมืองศรีเทพ”“คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ” เผยแพร่ภาพพร้อมข้อความบน “จารึกเมืองศรีเทพ”
เพจเฟซบุ๊ก คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ได้เผยแพร่ภาพที่หาชมได้ยาก และข้อมูลใน “จารึกเมืองศรีเทพ” โดยระบุว่า ในโอกาสที่ “เมืองโบราณศรีเทพ” ได้รับการประกาศจาก UNESCO ให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งที่ 4 โดยมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า The Ancient Town of Si Thep and its Associated Dvaravati Monuments : เมืองโบราณศรีเทพ และโบราณสถานในสมัยทวารวดีที่เกี่ยวข้อง
จึงขอนำเสนอโบราณวัตถุในคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ คือ “จารึกเมืองศรีเทพ” ตามประวัติระบุว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพบที่เมืองโบราณศรีเทพ เมื่อ พ.ศ. 2449 ตรงกับ ร.ศ. 125 เมืองศรีเทพปัจจุบันอยู่ในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ จารึกนี้ส่งมาเก็บรักษาที่คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2550
มีลักษณะเป็นเสากลมรูปคล้ายตะปูหัวเห็ดหรือคล้ายดอกบัวตูม ทำจากหินทรายเนื้อละเอียด จารึกอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต จำนวน 1 ด้าน มี 6 บรรทัด มีคำว่า “ขีลัง” ซึ่งแปลว่า “หลัก” โดยปรากฏในหนังสือเรื่อง เที่ยวที่ต่างๆ ภาค 3 เล่าเรื่องเที่ยวมณฑลเพชรบูรณ์ พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ หน้า 20 ความว่า
@@@@@@@
“ …ศิลาจารึกพบที่เมืองศรีเทพครั้งนี้แปลกมาก สัณฐานคล้ายตะปูหัวเห็ด ข้างปลายที่เสี้ยมแหลมเป็นแต่ถากโคลน สำหรับฝังดินขัดเกลี้ยง แต่ที่หัวเห็ดจารึกอักษรไว้ที่นั้นเป็นอักษรคฤนถ์ชั้นก่อนหนังสือขอม แต่ตรงที่จารึกแตกชำรุดเสียมาก ได้เอาศิลานี้มาที่กรุงเทพ (หอวชิรญาณ) ให้อ่าน ดูเป็นภาษาสันสกฤตมีคำว่า ขีลัง ซึ่งแปลว่าหลัก จึงเข้าใจว่าศิลาแท่งนี้คือ หลักเมืองศรีเทพแบบโบราณ เขาทำเป็นรูปตะปูตอกไว้ลงในแผ่นดิน ประสงค์ว่าให้มั่นคง…”
และต่อมานายชะเอม แก้วคล้าย มีการอ่านชำระใหม่ เป็นคำว่า “ขิลํ” จากถ้อยความว่า “เวตฺตย ขิลํ สโจทฺยม” แปลว่า เขาเป็นผู้รู้ความรุ่งเรืองทั้งสิ้น
เนื่องจากเนื้อหินด้านหนึ่งของจารึกแตกหาย ข้อความจารึกแต่ละบรรทัดจึงเหลืออยู่เฉพาะช่วงกลาง เนื้อหาที่เหลือโดยสรุป กล่าวถึงการสรรเสริญบุคคลว่า เป็นผู้เปี่ยมด้วยความรู้และยังเป็นผู้มีธรรม ซึ่งอาจเป็นพระราชาหรือเชื้อพระวงศ์ที่ปกครองเมืองศรีเทพ ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 11 ขอบคุณที่มา : https://www.dailynews.co.th/news/2738829/21 กันยายน 2566 ,14:01 น. |การศึกษา-ไอที
|
|
|
17
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / “ตำนานหลวงพ่อพระใส – เมรุลอย – อุ้มพระดำน้ำ” ขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมปี 65
|
เมื่อ: กันยายน 22, 2023, 08:03:17 am
|
“ตำนานหลวงพ่อพระใส – เมรุลอย – อุ้มพระดำน้ำ” ขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมปี 65กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) จัดงาน มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พร้อมทั้งการประกาศขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประจำปี 2565 จำนวน 14 รายการ
เมื่อวันที่ 21 ก.ย.ที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) มีการจัดงาน มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ในช่วงเช้ามีพิธีเปิดการประชุมวิชาการทางวัฒนธรรม “วิจัยวัฒนธรรม ครั้งที่ 13” และกิจกรรมการบรรยาย การเสวนาทางวิชาการมรดกภูมิปัญญาที่เตรียมนำเสนอยูเนสโกให้ขึ้นทะเบียน โดยนายโกวิท ผกามาศ อธิบดี สวธ. กล่าวว่า
การประชุมครั้งนี้เพื่อนำเสนอสาระความรู้ทางวัฒนธรรมในประเด็นที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม พร้อมเผยแพร่สาระงานวิจัยทางวัฒนธรรมที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสวธ. เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งมีทั้งการบรรยายพิเศษ เรื่อง “ทิศทางวัฒนธรรมภายใต้ การเปลี่ยนแปลงในสังคมโลกยุคใหม่”
โดยรศ.ศานติ ภักดีคำ รองเลขาธิการราชบัณฑิตยสภา การเสวนา “งานวิจัยภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเพื่อการใช้ประโยชน์” 2 เรื่อง คือ “หนังใหญ่และการขอขึ้นทะเบียนต่อยูเนสโก” โดย ผศ.เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์ และเรื่อง “การสืบทอดละครชาตรี ชุมชนนางเลิ้ง” โดย ผศ.สิทธิชัย สุขธรรมสถิต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ
จากนั้นเป็นการเสวนาพิเศษ “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่เตรียมขอขึ้นทะเบียนยูเนสโก ในปีพ.ศ. 2567” จำนวน 3 เรื่อง ได้แก่ “ชุดไทยพระราชนิยม” โดย ผศ.อนุชา ทีรคานนท์ จาก ม.ธรรมศาสตร์ เรื่อง “ประเพณีลอยกระทง” โดย รศ.ฤทธิรงค์ จิวากานนท์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ “มวยไทย” โดย ดร.ประไพร จันทะบัณฑิต จากมรภ.หมู่บ้านจอมบึง จากนั้นช่วงบ่าย นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมว.วัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานพิธียกย่องเชิดชูบุคคล องค์กร หน่วยงานผู้ทำคุณประโยชน์ต่อมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ พร้อมทั้งการประกาศขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประจำปี 2565 จำนวน 14 รายการ คือ
บ่อเกลือ, ตำนานนางผมหอม, ตำนานหลวงพ่อพระใส, แห่นกบุหรงซีงอ, ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ, นาเกลือ, น้ำผักสะทอน, ผ้าไหมหางกระรอกโคราช, ผ้าซิ่นตีนแดงบุรีรัมย์, ผ้าโฮลสุรินทร์, เมรุลอย, การเส็งกลองกิ่ง, การเล่นโหวด และเรือบก การมอบโล่รางวัล “1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น”
ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนายกระดับอาหารถิ่น สู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย (Thailand Best Local Food) และการมอบโล่รางวัลโครงการคัดเลือกโรงเรียนดนตรีไทย 100 เปอร์เซ็นต์ ระดับดีเด่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 จำนวน 11 โรงเรียน นายเสริมศักดิ์ กล่าวว่า รัฐบาล และวธ. ให้ความสำคัญกับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งที่แสดงถึงเกียรติและความภูมิใจของคนในท้องถิ่น และคนในชาติ ทำให้เกิดความรัก หวงแหน และเห็นคุณค่าในวัฒนธรรมไทยที่ถูกถ่ายทอดสืบต่อกันมา ทั้งก่อให้เกิดความรู้สึก ความสามัคคี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ เพราะวัฒนธรรมนับเป็นฐานรากของชุมชน สังคม และประเทศ ที่แสดงถึงการดำเนินวิถีชีวิตของคนในสังคม ประเทศไทยมีเสน่ห์มรดกทางวัฒนธรรมที่เข้มแข็งจากวิถีชีวิต จึงทำให้คนไทยแตกต่างจากชาติอื่นในโลก เช่น การมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
ตลอดจนจากมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เช่น เรื่องของศิลปวัฒนธรรม อัตลักษณ์ ความเป็นไทย อาหารไทย ดังนั้นเศรษฐกิจที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง และวิถีชีวิตของครอบครัว และชุมชน จะเติบโตอย่างแข็งแรงได้โดยนำทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างคุณค่าทางสังคม ต่อยอดให้เกิดมูลค่า ทางเศรษฐกิจ ทำวัฒนธรรมไทยเป็นซอฟต์พาวเวอร์ ผลักดันให้เกิดค่านิยม ที่มีอิทธิพลกับความคิดของสังคมและประชาชนในประเทศ และต่างประเทศ ภายใต้นโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้ครอบครัวเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ด้วย “รัฐบาลมองให้วธ.เป็นกระทรวงด้านเศรษฐกิจ เพื่อช่วยแก้ปัญหาความยากจนให้กับประชาชน ผลิตแบงค์ให้ประชาชน และในเร็วๆนี้วธ.จะได้รับมอบหมายงานใหญ่จากรัฐบาล เพราะถือเป็นอีกหนึ่งกระทรวงที่จะสามารถช่วยแก้ปัญหาความยากจนให้ประชาชนได้” นายเสริมศักดิ์ กล่าวThank to : https://www.dailynews.co.th/news/2740729/21 กันยายน 2566 ,22:16 น. \ การศึกษา-ไอที
|
|
|
20
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / วัดไตรสามัคคี ดินแดนพญานาคแห่งศรีสะเกษ วัดสวยที่ควรค่าแก่การไปชม
|
เมื่อ: กันยายน 21, 2023, 07:25:10 am
|
วัดไตรสามัคคี ดินแดนพญานาคแห่งศรีสะเกษ วัดสวยที่ควรค่าแก่การไปชมศรีสะเกษ ใครว่าไม่มีที่เที่ยว วันนี้ Sanook Travel จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับวัดไตรสามัคคี วัดสวยแห่งศรีสะเกษ ที่รับสมญานามว่าเป็นดินแดนพญานาคแห่งศรีสะเกษ สถานที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งของเกาะนาค เมืองบาดาล ที่รวบรวมเอารูปปั้นองค์พญานาคเอาไว้มากมายหลายองค์ หากมองในด้านพุทธศิลป์ที่นี่จะดูงดงามวิจิตรตระการตา ราวกับอยู่ในเมืองบาดาล อีกทั้งยังขึ้นชื่อในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์หลายๆ คนไปขอพรแล้วก็มักจะสมหวังกันเสมอ ถือเป็นอีกหนึ่งพิกัดสายมูที่ต้องไม่พลาดสำหรับคนชอบเรื่องสายมู
ใครมีแพลนไปเที่ยวศรีสะเกษ ลองแวะไปเช็กอิน ไปไหว้พระทำบุญ ให้เป็นสิริมงคลแก่ชีวิตกันได้ที่วัดไตรสามัคคีแห่งนี้ครับ รับรองสวยงามประทับใจแน่นอน
ข้อมูลเพิ่มเติม
ที่ตั้ง : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ พิกัด : maps.app.goo.gl/bDdVCvsSBbybQ36NA?g_st=ic เวลาเปิด - ปิด : 6.00 - 18.00 น. ติดต่อ : 093 462 7547ขอขอบคุณ :- ภาพ : Tassanee Sangkrai Peeranut P. : ผู้เขียน | 19 ก.ย. 66 (14:10 น.) website : https://www.sanook.com/travel/1441999/
|
|
|
22
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ฤกษ์จุดธูปขอขมากรรม 23 กันยายน 2566 ฤกษ์ดีถอนคำสาบาน คำสาปแช่ง
|
เมื่อ: กันยายน 21, 2023, 07:13:39 am
|
ฤกษ์จุดธูปขอขมากรรม 23 กันยายน 2566 ฤกษ์ดีถอนคำสาบาน คำสาปแช่งวันที่ 23 กันยายน 2566 อาจารย์สุทธิธรรม พากเพียร ผู้เชี่ยวชาญวิชาโหราศาสตร์ไทย และโหราศาสตร์สากล และเจ้าของเพจ ดูดวงโหราศาสตร์ไทยระบบรังสีดาว ได้คำนวณฤกษ์เอาไว้ว่าเป็นวันดีในการจุดธูปขอขมากรรม ถอนคำสาบาน ถอนคำสาปแช่ง ต่อเจ้ากรรมนายเวร เจ้าเกณฑ์ดวงชะตา แก้ไขดวงด้วยตนเอง โดยวันที่ 23 กันยายน 2566 เป็นวันศารทวิษุวัต หรือภาษาไทยเรียกว่า วันราตรีเสมอภาค ซึ่งเป็นวันที่มีเวลา กลางวันกับกลางคืนเท่ากัน จึงเป็นช่วงเวลาที่ ห้วงมิติแต่ละภพเชื่อมต่อถึงกัน โลกมนุษย์ โลกวิญญาณ โลกบาดาล
เป็นความเชื่อส่วนบุคคล โปรดใช้วิจารณญาณ
ฤกษ์จุดธูปขอขมากรรม
• วันที่ 23 กันยายน 2566 • เวลา 06.09 น. - 18.09 น.
@@@@@@@
การทำพิธี
• จุดธูป 18 ดอก • หันหน้าไปทางทิศตะวันออก กลางแจ้ง หรือในร่มก็ได้ ถ้าอยู่ในร่มหันหน้าไปหาพระ หรือทิศใดก็ได้ตามสะดวก (อย่าลืมคำนึงถึงความปลอดภัยในสถานที่ที่ใช้จุดธูป) • กล่าวนะโมฯ 3 จบ • และกล่าว อิมัง มิฉา อธิษฐานัง ปันจุทัดธาราปิ ทุติยัมปิ อิมัง มิจฉา อธิษฐานัง ปันจุทัดธาราปิ ตะติยัมปิ อิมัง มิจฉา อธิษฐานัง ปันจุทัดธาราปิ
ข้าพเจ้า (ชื่อ-นามสกุล) ขอถอดถอนคำอธิษฐาน ขอถอดถอนคำสาบาน ขอถอดถอนคำสาบคำแช่ง ขอถอดถอนคำบนบานศาลกล่าว ขอถอดถอนคำสัญญาที่ข้าพเจ้าได้ตั้งขึ้น พร้อมแล้วด้วยกิเลส ด้วยตัณหา ด้วยอุปทาน ด้วยโทสะ ด้วยโมหะ ด้วยมานะ ด้วยมิจฉาทิฐิ ที่ข้าพเจ้าได้อธิษฐานไว้ สาปแช่งไว้ บนบานศาลกล่าวไว้ สาบานไว้ สัญญาไว้ ในอดีตชาติก็ดี ปัจจุบันชาติก็ดี
ข้าพเจ้า น้อมขออำนาจพระบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระรัตนตรัยและเทพพรหมทั้ง 16 ชั้นฟ้า 15 ชั้นดิน แม่พระธรณี ได้โปรดเป็นทิพย์พยานในการที่ข้าพเจ้า ขอถอดถอนคำอธิษฐานเหล่านั้น ถอนคำแช่ง คำสาบาน คำบนบานศาลกล่าว คำสัญญา ร้อยหน พันหน ณ กาล บัดนี้เทอญ
นะถอน โมถอน พุทธถอน ธาถอน ยะถอน นะคลอน โมคลอน พุทคลอน ธาคลอน ยะคลอน ถอนด้วย นะโมพุทธายะ นะมามิหัง
ข้าพเจ้า (เอ่ยชื่อ นามสกุล ปัจจุบันของท่าน) ขอขมากรรม ในสิ่งที่ได้ล่วงเกินไป ทั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ต่อท่านทั้งหลาย ไม่ว่าจะรู้ก็ดี ไม่รู้ก็ดี ระลึกได้ หรือ ไม่ได้ก็ดี ขอท่านผู้มีฤทธิ์ มีอำนาจ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเจ้ากรรมนายเวร เจ้าบุญนายคุณ เจ้ากรรมนายเวร เจ้าเกณฑ์ดวงชะตาของข้าพเจ้าทั้งหลาย
โปรดอโหสิกรรมให้กับข้าพเจ้าด้วยเถิด อย่าได้โกรธเคือง อย่าได้จองเวรต่อข้าพเจ้าอีกต่อไป และโปรดถอดถอนคำสาปแช่งที่ให้แก่ข้าพเจ้า หรือคำสาปใด ๆ อันเกิดจากข้าพเจ้าได้เป็นผู้กระทำ หรือถูกกระทำจากท่านทั้งหลายก็ดี ขอจงดับหมดสิ้นไป
ด้วยอนุภาพ พระบารมีแห่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ และด้วยบารมีแห่งองค์มหาโพธิสัตว์เจ้า และองค์มหาเทพ โปรดเมตตาและประทานพรแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด และช่วยเปิดทาง และแสงสว่างทั้งทางโลกและทางธรรม และให้การดำรงชีวิตของข้าพเจ้า จงมีแต่ความเจริญรุ่งเรืองยิ่ง ๆ ขึ้นไป
ขอให้ข้าพเจ้าจงมีโชค มีลาภ มีเงินมีทอง เหลือกินเหลือใช้เหลือเก็บเป็นเศรษฐีมหาเศรษฐีด้วยเถิด และขอให้ข้าพเจ้าได้พบแต่คนดีมีคุณธรรมอยู่ในศีล ในธรรม เข้ามาช่วยเหลือข้าพเจ้าด้วยเถิด สาธุ สาธุ สาธุ
ปะโตเมตัง ปะระชีวินัง สุขะโตจุติ จิตตะ เมตตะ นิพพานัง สุขะโตจุติ (กล่าว 3 จบ)
• เมื่ออธิษฐานในสิ่งที่ท่านปรารถนาแล้ว ให้ปักธูปลงในกระถาง หรือภาชนะที่เตรียมไว้หรือ ดินบริเวณนั้น
@@@@@@@
ทั้งนี้ ในวันดังกล่าว เวลา 06.30 น. อาจารย์สุทธิธรรม พากเพียร จะนำทุกกท่านขอขมากรรมไปพร้อมกันที่เฟซบุ๊ก Sutthitham Phakphian และเพจ ดูดวงโหราศาสตร์ไทยระบบรังสีดาว หากใครดูไลฟ์ไม่ทันก็ให้รอฟังที่บันทึกแล้วกล่าวตาม ได้ตามสะดวกจนถึงก่อนพระอาทิตย์ ตกดิน คือเวลา 18.09 น.ขอขอบคุณ :- ข้อมูล : Sutthitham Phakphian, ดูดวงโหราศาสตร์ไทยระบบรังสีดาว website : https://www.sanook.com/horoscope/262043/S! Horoscope : สนับสนุนเนื้อหา | 20 ก.ย. 66 (10:38 น.)
|
|
|
26
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / กรมศิลป์ รับ ยูเนสโกห่วงรถไฟกระทบอยุธยา อยู่ในขั้นตอนศึกษา ยังไม่ถูกถอดมรดกโลก
|
เมื่อ: กันยายน 20, 2023, 07:26:00 am
|
. กรมศิลป์ รับ ยูเนสโกห่วงรถไฟกระทบอยุธยา อยู่ในขั้นตอนศึกษา ยังไม่ถูกถอดมรดกโลกเมื่อวันที่ 19 กันยายน เวลา ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร เขตพระนคร กรุงเทพฯ ในงานแถลงข่าวเมืองโบราณศรีเทพ ถูกประกาศขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางวัฒนธรรม โดยองค์กรยูเนสโก จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 45 ที่กรุงริยาด ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย
ในตอนหนึ่ง นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อประเด็นการสร้างรถไฟความเร็วสูงผ่านเมืองอยุธยา ว่า เรื่องนี้อยู่ในระหว่างการศึกษาผลกระทบ ซึ่งองค์การยูเนสโกก็แสดงความเป็นห่วง
“รถไฟความเร็วสูงจะส่งผลกระทบต่อโบราณสถาน หรือ การเป็นมรดกโลกหรือเปล่า ซึ่งทางการรถไฟแห่งประเทศไทยและรัฐบาลที่แล้ว ก็ให้มีการศึกษาผลกระทบ ว่าเมื่อหากรถไฟผ่านแล้ว จะกระทบต่อการเป็นมรดกโลก หรือ ทำให้โบราณสถานเสียหายหรือไม่
พูดง่ายๆตอนนี้อยู่ในระหว่างขั้นตอนการศึกษาผลกระทบ ต่อแหล่งมรดกโลก ซึ่งทราบว่าการรถไฟฯให้ทางมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้ทำการศึกษาในเรื่องนี้ ผลการศึกษายังไม่ออกมา เพราะฉะนั้นกระบวนการขั้นตอน ยังไม่ออกมาถึงกรมศิลปากร แต่อย่างไรก็ตามหากผลการศึกษาออกมาว่า มีผลกระทบมันก็ต้องมีการแก้ไข เช่น การเบี่ยงเส้นทาง เลี่ยงเส้นทาง หรือ การทำอุโมงค์รอด ซึ่งตอนนี้ยังตอบไม่ได้” นายพนมบุตรชี้
@@@@@@@
นายพนมบุตร กล่าวอีกว่า ตอนนี้ตอบได้เพียงว่าเรื่องนี้อยู่ได้รับการดูแล และอยู่ในขั้นตอนการศึกษาผลกระทบ หากมีผลกระทบเกิดขึ้นก็จะแก้ไข ไม่ให้เกิดขึ้นมาได้
“ยืนยัน พ่อ แม่ พี่ น้องชาวอยุธยาสบายใจได้ กรมศิลปากรและกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ไม่ได้เพิกเฉย หรือ ไม่ได้ละทิ้งในเรื่องนี้ และผมเชื่อว่าการรถไฟก็มีแนวโน้มในทาวที่ดี ที่จะไตร่ตรองและรอผลการศึกษาที่คาดว่าใกล้จะแล้วเสร็จ” นายพนมบุตรเผย
เมื่อถามว่าการที่องค์การยูเนสโกส่งโนติสถึง 3 ครั้ง เป็นการส่งสัญญาณเตือนเราหรือไม่
นายพนมบุตร กล่าวว่า ตนคิดว่าไม่ เพราะความสำเร็จต่างๆ มันมาพร้อมกับภาระหน้าที่ ทุกประเทศที่มีมรดกโลกก็จะต้องปฏิบัติไปตามเกณฑ์ หรือ ทำให้มันเป็นไปตามเกณฑ์ ซึ่งเวลาเขารู้สึกว่ามีอะไรที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์เขาก็จะแสดงความเป็นห่วง
“แต่ไม่ใช่ว่าเขาจะถอดถอนเราออกจากบัญชีเลย มันก็มีการปรับแก้ อย่างอยุธยาก็ไม่ได้มีแค่เรื่องรถไฟความเร็วสูงอย่างเดียว มันก็มีเรื่องบริหารจัดหารพื้นที่ต่างๆ ซึ่งกรมศิลปากรก็ปฏิบัติตามคำแนะนำ เพราะว่ามันเป็นคำพันธสัญญาระหว่างกัน ขอยืนยันว่าอยุธยายังอยู่ในสถานะที่ปลอดภัย และสถานะของการเป็นมรดกโลกยังคงอยู่อย่างเต็มเปี่ยม ไม่มีปัญหา” นายพนมบุตรเผยThank to : https://www.matichon.co.th/education/religious-cultural/news_4188756วันที่ 19 กันยายน 2566 - 22:02 น.
|
|
|
28
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: ไทยเฮ.! กก.มรดกโลกเห็นชอบ ให้ขึ้นทะเบียน "เมืองโบราณศรีเทพ"
|
เมื่อ: กันยายน 20, 2023, 06:43:12 am
|
ที่ประชุมมรดกโลก มีมติขึ้นทะเบียน “เมืองโบราณศรีเทพ” เป็นมรดกโลกที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ประกาศให้เมืองโบราณศรีเทพของไทย เป็นมรดกโลก เป็นที่เรียบร้อย
วันนี้ (19 ก.ย. 66) เมื่อเวลาประมาณ 15.35 น. ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 45 ณ กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย ประกาศให้เมืองโบราณศรีเทพของไทย เป็นมรดกโลก
ตัวแทนจากสภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (ICOMOS) รายงานว่า เมืองโบราณศรีเทพนั้น เป็นอารยธรรมโบราณที่แสดงให้เห็นถึงสถาปัตยกรรม ศิลปะ และความหลากหลายทางศาสนา ของอาณาจักรทวารวดี ซึ่งเจริญรุ่งเรืองในพื้นที่ทางตอนกลางของประเทศไทย ช่วงพุทธศตวรรษที่ 11-16 และเป็นหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์สำคัญของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ตัวแทน ICOMOS กล่าวว่า การเสนอเมืองโบราณศรีเทพเป็นมรดกโลกนั้น เสนอภายใต้เกณฑ์ 2 ข้อ คือ
• เกณฑ์ข้อ 2 เพื่อแสดงการแลกเปลี่ยนที่สำคัญของค่านิยมของมนุษย์ในช่วงเวลาหนึ่งหรือภายในพื้นที่วัฒนธรรมของโลก ในการพัฒนาสถาปัตยกรรมหรือเทคโนโลยี ศิลปะอนุสาวรีย์ การวางผังเมือง หรือการออกแบบภูมิทัศน์ • เกณฑ์ข้อ 3 เพื่อแสดงประจักษ์พยานที่เป็นเอกลักษณ์หรืออย่างน้อยที่สุดถึงประเพณีทางวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ยังดำรงอยู่หรือสูญหายไป
หลังจากการนำเสนอข้อมูล ตัวแทนจากประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมการประชุมไม่มีข้อคัดค้านใด ทำให้มีมติเป็นที่สรุปว่า “อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ของประเทศไทย” อย่างเป็นทางการ
@@@@@@@
หลังการประกาศมติที่ประชุม นายเศรษฐา ทวีสิน ได้ส่งข้อความคลิปวิดีโอสั้น ระบุว่า ในนามของรัฐบาลไทย ขอแสดงความขอบคุณต่อที่ประชุมและคณะกรรมการฯ ที่ยอมรับคุณค่าอันโดดเด่นของเมืองโบราณศรีเทพ ซึ่งนำมาสู่การขึ้นทะเบียนในวันนี้
“เมืองโบราณศรีเทพตั้งอยู่ในจังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยโครงสร้างโบราณ 3 ส่วนที่เชื่อมต่อกัน ซึ่งมีอายุย้อนไปได้ถึงยุคโบราณ ซึ่งนอกจากจะเป็นภาพแทนที่สำคัญของอารยธรรมจักรทวารดีแล้ว เมืองโบราณศรีเทพยังมีคุณลักษณะและรูปแบบศิลปะอันโดดเด่น ที่ได้รับการยอมรับว่า ศิลปะแบบศรีเทพ” นายกเศรษฐากล่าว
เขาเสริมว่า การขึ้นทะเบียนเมืองโบราณศรีเทพในวันนี้ ยังถือเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือที่สำคัญในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และปกป้องสถานที่อันประเมินค่ามิได้แห่งนี้ เป็นสมบัติของทั้งโลกและชนรุ่นหลังThank to : https://www.pptvhd36.com/news/สังคม/206075 โดย PPTV Online | เผยแพร่ 19 ก.ย. 2566 ,16:04น.
|
|
|
29
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: ไทยเฮ.! กก.มรดกโลกเห็นชอบ ให้ขึ้นทะเบียน "เมืองโบราณศรีเทพ"
|
เมื่อ: กันยายน 20, 2023, 06:36:34 am
|
ประกาศขึ้นทะเบียน โบราณศรีเทพ เป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมวันที่ 19 ก.ย. นี้ การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 45 ที่มีการประชุม ณ กรุงริยาด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ได้พิจารณาและประกาศขึ้นทะเบียน โบราณศรีเทพ เป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม ทำให้ประเทศไทย มีแหล่งมรดกโลกเพิ่มขึ้นเป็น 7 แห่ง และศรีเทพนับเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแหล่งที่ 4 ของประเทศไทย ซึ่งจากนี้จะนับเป็นสถานที่หรือพื้นที่สำคัญที่ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายโดยอนุสัญญาระหว่างประเทศซึ่งบริหารงานโดยองค์กร UNESCO หนึ่งเมืองโบราณ สองโบราณสถาน สามองค์ประกอบหลักแห่งศรีเทพ
• เมืองโบราณศรีเทพ ซึ่งเป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี 2 ชั้น คือ เมืองใน และเมืองนอก • เขาคลังนอก ศาสนสถานขนาดใหญ่ สมัยทวารวดี เป็นตัวแทนความเชื่อในเรื่องมณฑลจักรวาล • ถ้ำเขาถมอรัตน์ ที่ตั้งของศาสนสถาน ที่สำคัญบนยอดเขาถมอรัตน์ พบภาพสลักพระพุทธรูปโบราณ และเป็นศาสนสถานสำคัญที่คนในพื้นที่ให้ความเคารพ
ทั้งนี้การนำเสนอเมืองโบราณศรีเทพเป็นมรดกโลก ดำเนินการโดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) ตั้งอยู่ในอำเภอศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 107 กิโลเมตร เมืองโบราณแห่งนี้เป็นเมืองซ้อนเมืองขนาดใหญ่ ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมและศาสนาหลากหลายแบบผสมผสาน ทั้งทวารวดี และขอม คาดว่าอายุไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี
ความเจริญของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม สันนิษฐานว่า อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11- 16 การสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีเมืองโบราณศรีเทพ กรมศิลปากรพบว่า มีความเก่าแก่มาก อยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ 2,500 ปี และได้ขุดค้นพบโครงกระดูกมนุษย์ มีอายุเก่าแก่ถึง 1,800 ปี และยุคทวารวดี ที่มีความเก่าแก่ถึง 1,400 ปี
เมืองแห่งนี้มีกำแพงเมืองที่ก่อด้วยดินล้อมรอบ คูเมืองนอกกำแพง ประตูเมืองทั้งสี่ทิศ ภายในเมืองมีปรางค์สมัยลพบุรีอยู่สององค์ เรียกว่า ปรางค์องค์พี่และปรางค์องค์น้อง มีสระน้ำสองแห่งThank to : https://www.tvpoolonline.com/content/217806112 ชั่วโมงที่แล้ว | โซเชียล
|
|
|
31
|
เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / พระพุทธรูปศิลาสามองค์ เชิงฐานปทุมวดีเจดีย์ คือ พระอมิตาภะพุทธเจ้า.?
|
เมื่อ: กันยายน 19, 2023, 07:05:59 am
|
. พระพุทธรูปศิลาสามองค์ เชิงฐานปทุมวดีเจดีย์ คือ พระอมิตาภะพุทธเจ้า.?เคยสังเกตกันบ้างหรือไม่คะ เมื่อท่านได้ไปชม “สุวรรณเจดีย์” หรืออีกชื่อคือ “ปทุมวดีเจดีย์” ทรงปราสาทสี่เหลี่ยมซ้อนชั้นแบบพีระมิด ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัดพระธาตุหริภุญชัย
เจดีย์ก่ออิฐที่เคยมีพระพุทธรูปประทับยืนในซุ้มจระนำ 60 องค์ แต่ปัจจุบันสูญหายไปเกือบหมดแล้ว เจดีย์ที่มีหน้าตาคล้ายกับเจดีย์กู่กุฏิ (สุวรรณจังโกฏ) วัดจามเทวี แต่ขนาดย่อมกว่า
แล้วท่านเคยสงสัยไหม ว่าใครเอาพระพุทธรูปสามองค์มานั่งตากแดดตากลมที่ฐานเขียงชั้นล่างสุดด้านทิศใต้ของเจดีย์องค์นี้
พระพุทธรูปทั้งสาม มองเผินๆ แล้ว มักไม่มีใครให้ความสำคัญ ดูไม่น่าสนใจเอาเสียเลย เนื่องจากถูกพอกทับใหม่ด้วยปูนซีเมนต์ มีร่องรอยของความพยายามที่จะแปลงโฉม “พระหินสมัยหริภุญไชย” ที่ครั้งหนึ่งเคยไว้หนวดถมึงทึง หน้าตาทรงพลัง ถูกจับเขียนคิ้วเขียนตา เขียนขอบปาก เสริมดั้ง แต่งคางใหม่
ผลลัพธ์คือความขัดหูขัดตา เนื่องจากโครงสร้างเดิมดูบึกบึน เป็นหินแกรนิตเนื้อแกร่งสีแดงคล้ายผสมศิลาแลงซ่อนอยู่ด้านใน แต่มาถูกแปลงให้เป็นศิลปะยอง ดูอมยิ้มพริ้มเพราอ่อนหวาน
เราสามารถรับรู้ว่าพระพุทธรูปทั้งหมดได้รับการซ่อมแซม เนื่องจากมีการเขียนจารึกใหม่ที่ฐานพระทั้งสามองค์เป็นอักษรธัมม์ล้านนา ด้วยภาษายองกำกับไว้
@@@@@@@
พระหินองค์ใหญ่สององค์ขนาดใกล้เคียงกัน จัดวางไว้ที่มุมฐานเขียงของเจดีย์ปทุมวดีทั้งสองมุม เขียนข้อความเหมือนกันว่า
“เจ้าคุณพระราชสุธี เจ้าอาวาสวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร และเจ้าน้อยประพันธ์ กาญจนกามล เป็นผู้ปฏิสังขรณ์ โดยอาราธนาพระครูญาณมงคล วัดเหมืองง่า และภิกษุอีก 50 รูปมาบำเพ็ญปริวาสกรรม ณ วัดดอนแก้ว ปฏิสังขรณ์เสร็จเมื่อ 31 ธันวาคม 2478”
ส่วนองค์กลาง ขนาดย่อมสุดเขียนคำจารึกที่ฐานว่าซ่อมหลังจากสององค์แรก 5 ปี
“เจ้าคุณพระวิมลญาณมุนี อดีตเจ้าคณะจังหวัดลำพูนเป็นผู้ปฏิสังขรณ์ โดยอาราธนาพระครูญาณมงคล วัดเหมืองง่า และภิกษุอีก 25 รูป บำเพ็ญบริวาสกรรม ณ วัดดอนแก้ว ปฏิสังขรณ์สำเร็จและฉลองเมื่อ 29 ธันวาคม 2483” กล่าวโดยสรุปได้ว่า พระพุทธรูปสมัยหริภุญไชยทั้งสามองค์นี้ ถูกบูรณะฉาบปูนใหม่ที่ผิวด้านนอกในช่วงไม่เกิน 80-90 ปีที่ผ่านมานี้เอง จากจารึกทำให้เรารู้ว่าเดิมพระทั้งสามองค์เคยประดิษฐาน ณ วัดดอนแก้ว
น่าหดหู่ใจทีเดียว ที่ปัจจุบันวัดดอนแก้วกลายสภาพเป็นโรงเรียนบ้านเวียงยอง ไม่เหลือเค้าแห่งความเป็นวัดที่ยิ่งใหญ่เก่าแก่มากตั้งแต่สมัยหริภุญไชยอีกเลย
ส่วนในแวดวงนักวิชาการด้านโบราณคดีก็มักจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า พระพุทธรูปทั้งสามองค์นี้สะท้อนถึงการรับอิทธิพลพุทธศิลปะอินเดียแบบคุปตะของช่างชาวหริภุญไชย (เพิ่มขึ้นมาอีกสกุลช่างหนึ่ง ว่างั้น)
บ้างว่าท่านั่งของพระหินสามองค์ คือท่านั่งขัดสมาธิเพชร หรือวัชรอาสนะ กับการครองจีวรห่มคลุมเรียบไม่มีชายสังฆาฏิบนบ่าทั้งสองข้าง สองคุณลักษณะนี้ คือต้นแบบของการทำพระพิมพ์รุ่น “พระคง” (ซึ่งต่างจากพระรอด ที่เห็นรอยจีวรพาดห่มเฉียง) ทำให้บางท่านเรียกพระสามองค์ว่า “แม่พระคง”
บทความชิ้นนี้ ดิฉันจะชี้ชวนให้ท่านพิจารณาประเด็น “ท่านั่งขัดสมาธิเพชร” กับการทำปาง “สมาธิ” ว่าสองสิ่งนี้สะท้อนถึงอะไร และเราเคยพบสองสิ่งนี้อยู่ด้วยกันในศิลปะสกุลช่างไหนมาก่อนแล้วบ้างไหม? นั่งขัดสมาธิเพชรทำไมไม่ “มารวิชัย”.?
พระพุทธรูปทั้งสามองค์นี้ หากเรามองแบบแยกส่วน ว่าการครองจีวรเรียบเหมือนรับอิทธิพลมาจากศิลปะอินเดียสมัยคุปตะ นั่นก็คือเรื่องหนึ่ง กับท่านั่งขัดสมาธิเพชรแลเห็นฝ่าพระบาทสองข้าง มีชายผ้าทิพย์ ก็รับอิทธิพลจากศิลปะปาละของอินเดียซึ่งมีคุปตะเป็นแม่แบบ นั่นก็แยกเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
หากเรามองแค่ จุดนี้รับอิทธิพลจากสกุลช่างโน้น จุดนั้นคล้ายกับพุทธศิลป์สกุลช่างนี้ วิชาประวัติศาสตร์ศิลปะก็แทบไม่มีความหมายอันใดเลย ตราบที่เราไม่สามารถอธิบายถึงปูมหลังแห่ง “การรับอิทธิพล” เอางานพุทธศิลป์สกุลช่างใดสกุลช่างหนึ่งมาใช้ ว่าผู้รับรับมาด้วยเหตุผลใด คงไม่ใช่แค่สวย แค่พึงใจ
หากเราไม่พิจารณาให้รอบด้าน องค์ความรู้ก็จะหยุดอยู่แค่ อ้อ! พระทั้งสามองค์นี้คือภาพสะท้อนของอิทธิพลศิลปะอินเดียแบบคุปตะในนครหริภุญไชย อันเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่เพิ่มขึ้นมาเท่านั้นเอง นอกเหนือไปจากการที่หริภุญไชยมีการรับรูปแบบพุทธศิลป์มาจากทวารวดีภาคกลาง ทวารวดีภาคอีสาน จามปา ขอม พุกาม ลังกา ที่แท้แล้วก็ยังมีอิทธิพลจากคุปตะด้วยอีกสายสกุลหนึ่ง
ดิฉันอยากให้ทุกท่านช่วยพิเคราะห์ให้ลึกลงไปอีกชั้นว่า แม้คุปตะจะนิยมการครองจีวรเรียบเน้นรอยขีดพระศอเป็นปล้องๆ ล้อกับขอบจีวรห่มคลุม รวมทั้งการที่คุปตะนิยมท่านั่งขัดสมาธิเพชรแลเห็นชายผ้าทิพย์ อันเป็นรูปแบบเดียวกันกับพระหินสามองค์ของหริภุญไชยนี้
ทว่า อัตลักษณ์ของพระพุทธรูปคุปตะกว่า 99.99 เปอร์เซ็นต์ เขาเน้นการทำปางแสดงธรรมมิใช่หรือ?
@@@@@@@
ส่วนพุทธศิลป์ที่นิยมทำปางสมาธิ ก็คือสกุลช่างอินเดียใต้สมัยอมราวดี กับสกุลช่างลังกา ครั้นมาดูท่านั่งของสายเถรวาทสองกลุ่มนี้ กลับพบว่านิยมนั่งขัดสมาธิราบแบบหลวมๆ ไม่ใช่ขัดสมาธิเพชร เป็นงั้นไปเสียอีก
ครั้นหันไปมองพุทธศิลป์อินเดียยุคปาละ ต่อเนื่องมายังสมัยพุกามในพม่า ก็หนักไปทางนั่งสมาธิเพชรมชายผ้าทิพย์ แต่เน้นปางมาวิชัยเข้าอีก เหลียวไปแลกลุ่มทวารวดีภาคกลาง ภาคตะวันออกแถบปราจีน สระมรกต ทำปางสมาธิก็จริง แต่กลับนั่งขัดสมาธิราบแบบหลวมๆ ตามอิทธิพลสายเถรวาทจากอมราวดีเข้าจนได้
มองไปทางไหนก็พบแต่ทางตัน แล้วพระสามองค์นี้ไปรับเอารูปแบบพิเศษมาจากไหนกันหนอ ประมาณว่าท่อนบนทำปางสมาธิ แบบที่นิยมในกลุ่มเถรวาท ในขณะที่ท่อนล่างกลับนั่งขัดสมาธิเพชร ตามความนิยมในกลุ่มอินเดียเหนือสายมหายาน
เหลียวไปมองเพื่อนบ้านไม่ใกล้ไม่ไกล แล้วจะพบคำตอบในศิลปะที่เรียกว่าสกุลช่างศรีวิชัย หรือชวา ณ ศาสนสถานบุโรพุทธโธ ในประเทศอินโดนีเซีย เราได้พบพระพุทธรูปกลุ่มหนึ่ง “นั่งขัดสมาธิเพชร ทำปางสมาธิ” รูปแบบเดียวกันเปี๊ยบเลยกับพระหินสามองค์ที่เราว้าวุ่นอยู่กับการหาหมวดหมู่ให้ไม่ลงตัวสักที
@@@@@@@
พระพุทธรูปที่บุโรพุทโธ มีชื่อเรียกโดยรวมว่า “พระธยานิพุทธเจ้า” ตามความเชื่อของชาวพุทธมหายานสายวัชรยาน ว่ามีพระพุทธเจ้าอยู่ 5 พระองค์ เป็นบุคลาธิษฐานของขันธ์ทั้ง 5 และพระตถาคตก็สถิตประจำทิศทั้ง 5 ดังนี้
ทิศตะวันออก เรียก พระอักโษภยะ แสดงออกด้วยการทำปางมารวิชัย (ภูมิสปรศมุทรา) ทิศใต้ เรียกพระรัตนสัมภวะ ทำปางประทานพร (วรมุทรา) ทิศตะวันตก เรียกพระอมิตาภะ ทำปางสมาธิ (ธยานมุทรา) ทิศเหนือ เรียกพระอโมฆสิทธะ (สิทธิ) ทำปางประทานอภัย (อภัยมุทรา)
ทิศเบื้องบนสุด เหนือทิศทั้งสี่ ที่เป็นองค์ประธานของพระธยานิพุทธทั้งหมด มีชื่อว่า “พระไวโรจนะ” ทำปางแสดงธรรม (ธรรมจักรมุทรา) อันเป็นปางยอดฮิตของสมัยคุปตะ แต่ในอินเดียไม่ได้มากำหนดเรียกชื่อให้เป็น 1 ในพระธยานิพุทธเจ้าแต่อย่างใด
พระธยานิพุทธเจ้าทุกองค์ ทุกทิศ ทุกปางนั่งขัดสมาธิเพชรเหมือนกันหมด อันเป็นรูปแบบที่ศิลปะชวาได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียเหนือสมัยคุปตะ แต่แนวคิดเรื่องพระธยานิพุทธเจ้านั้น ไม่ปรากฏว่ามีแพร่หลายในสมัยคุปตะแต่อย่างใด เริ่มมีในสมัยปาละ และกระจายไปยังทิเบต เนปาล จีน ตลอดจนชวาอย่างเข้มข้น
ถ้าเช่นนั้นก็แสดงว่า พระหินสามองค์ที่ฐานปทุมวดีเจดีย์ ซึ่งนั่งขัดสมาธิเพชร ปางสมาธิเช่นเดียวกับพระทางทิศตะวันตกของบุโรพุทโธ ก็คือ “พระอมิตาภะพุทธเจ้า” หนึ่งใน 5 ของ “พระธยานิพุทธเจ้า” ตามความเชื่อของพุทธมหายานด้วยหรือไม่ เช่นไร? พระอมิตาภะกับนิกายสุขาวดี
นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ศิลปะที่กล่าวเน้นย้ำถึงแนวคิดที่ว่า พระพุทธศาสนาในดินแดนสยามช่วงพุทธศตวรรษที่ 11-15 นั้นมีหลายนิกาย หนึ่งในนั้นมี “นิกายสุขาวดี” ด้วย ก็คือท่านศาสตราจารย์ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์
นิกายสุขาวดีคืออะไร เป็นนิกายย่อยในสายพุทธมหายาน ที่แยกออกไปจากวัชรยานที่นับถือ “พระธยานิพุทธทั้ง 5” ด้วยการเน้นความเคารพศรัทธาที่มีต่อ “พระอมิตาภะ” อย่างสูงสุดเพียงองค์เดียว
นิกายนี้มีความเชื่อว่า พระอมิตาภะเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง สถิต ณ พุทธเกษตร (ดินแดน) ที่เรียกว่า สุขาวดี อยู่ทางทิศตะวันตกจากโลกของเราไปไกลโพ้น
โดยทางประติมานวิทยา ชาวพุทธที่นับถือนิกายนี้ในยุคทวารวดี นิยมทำพระพุทธรูปปางหลักๆ ที่เห็นได้ชัดคือ “พระพุทธเจ้าประทับเหนือพนัสบดี” แสดงออกด้วยการหักนิ้วพระหัตถ์สองข้าง คล้ายเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หรือล่องลอยลงจากห้วงนภากาศ คือดินแดนสุขาวดี เพื่อมาโปรดสัตว์โลก
นั่นคือ ปางยอดฮิตที่พบมากในพุทธศิลป์สมัยทวารวดีซึ่งกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค ทำให้เชื่อได้ว่าสมัยเมื่อพันกว่าปีก่อน นิกายสุขาวดีเป็นที่นิยมอย่างสูงของผู้คนในแถบลุ่มเจ้าพระยา ท่าจีน โดยได้รับอิทธิพลจากจีนสมัยราชวงศ์ถัง
@@@@@@@
ทว่า การศึกษาเรื่องรูปแบบ “พระอมิตาภะในท่านั่งขัดสมาธิเพชร ปางสมาธิ” อันเป็นอีกมิติหนึ่งของการช่วยตอกย้ำเรื่องนิกาย “สุขาวดี” ที่คู่ขนานไปกับ รูปเคารพพระพุทธเจ้าประทับเหนือพนัสบดี นั้น เข้าใจว่ายังไม่มีผู้ศึกษากันมากนัก
โชคดีแท้เทียว ที่เรามาพบพระพุทธรูปหินสามองค์ขนาดใหญ่พอสมควรในงานพุทธศิลป์หริภุญไชย ที่ดูเผินๆ จากภายนอกแล้ว ละม้ายว่าน่าจะมีความสัมพันธ์กับสายอินเดียคุปตะเท่านั้น แต่เอาเข้าจริงแล้ว ท่านั่งกับการทำปาง กลับไปสอดคล้องกับแนวคิดเรื่อง “พระอมิตาภะ” ที่บุโรพุทโธของชวา อย่างน่าขบคิด
ฉบับหน้ามาชวนครุ่นคำนึงกันต่อ ว่าลำพังแค่ท่านั่งขัดสมาธิเพชรกับการทำปางสมาธิ จำเป็นต้องหมายถึงพระอมิตาภะเสมอไปด้วยล่ะหรือ
ถ้าเช่นนั้นแล้ว เราจะใช้ตรรกะเดียวกันนี้ได้หรือไม่ว่า พระสิงห์ 1 ที่นั่งขัดสมาธิเพชร ทำปางมารวิชัย ทั่วล้านนาก็ต้องเป็น “พระอักโษภยะ” (พระธยานิพุทธเจ้าประจำทิศตะวันออก ตามอย่างแนวคิดของบุโรพุทโธ) หมดทุกองค์ด้วยหรือเปล่า? สัปดาห์หน้ามาว่ากันต่อ • ขอขอบคุณ :- ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 15 - 21 กันยายน 2566 คอลัมน์ : ปริศนาโบราณคดี ผู้เขียน : เพ็ญสุภา สุขคตะ เผยแพร่ : วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน พ.ศ.2566 website : https://www.matichonweekly.com/column/article_712709
|
|
|
34
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พิพิธภัณฑ์ห้องสมุดเจ้าอาวาสวัดบวรฯ จัดกิจกรรม “สรรพวิทยาในตำราแมว กรมพระยาปวเรศฯ
|
เมื่อ: กันยายน 18, 2023, 07:30:30 am
|
. พิพิธภัณฑ์ห้องสมุดเจ้าอาวาสวัดบวรฯ จัดกิจกรรม “สรรพวิทยาในตำราแมว กรมพระยาปวเรศฯ”เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร จัดกิจกรรม “สรรพวิทยาในตำราแมว กรมพระยาปวเรศฯ” เรื่องแมวๆในตำราแมว ที่พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร อาคารมนุษยนาควิทยาทาน วัดบวรนิเวศวิหาร ทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ตั้งแต่เดือนก.ย. - ต.ค. 2566 เริ่ม 23 ก.ย.นี้
เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร จัดกิจกรรม “สรรพวิทยาในตำราแมว กรมพระยาปวเรศฯ” เรื่องแมวๆในตำราแมว ที่พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร อาคารมนุษยนาควิทยาทาน วัดบวรนิเวศวิหาร ทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ ตั้งแต่เดือน ก.ย.–ต.ค.2566
โดยในวันที่ 23 ก.ย.เวลา 13.00 – 16.00น. จะมีการเสวนา โดย อ.ธนโชติ เกียรติณภัทร คณะมนุษยศาสตร์ ม.รามคำแหง อ.บุญเตือน ศรีวรพจน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านอักษรศาสตร์ กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณกรรม ปี 2565 และนายปรีชา วัฒนา ผู้อนุรักษ์สายพันธุ์แมวไทย พร้อมทั้งมีกิจกรรม ชมสมุดภาพตำราแมวโบราณหลายฉบับ ของสะสมสุดว้าวของทาสแมว และร่วมกิจกรรมกับน้องแมวที่ “ลานแมวสรวล” ทั้งนี้สำหรับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อยเล็ก เมื่อวันที่ 14 ก.ย. กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๒ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าฤกษ์ เมื่อพระชันษาได้ 13 ปี ได้ผนวชเป็นสามเณร ณ วัดมหาธาตุ เมื่อมีพระชันษาครบ 20 ปี ได้ผนวซเป็นพระภิกษุ โดยสมเด็จพระอริยวงษญาณ (ด่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นนุชิตชิโนรส เป็นพระกรรมวาจาจารย์
ผนวชแล้วศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวชณะเป็นพระภิกษุ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งธรรมยุติกนิกายก็ได้ทรงเข้าถือธรรมเนียมนั้นตาม นับว่าทรงเป็นต้นวงศ์ธรรมยุติกนิกาย 10 รูปแรก วันที่ พ.ศ.2379 ได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะเป็นพระภิกษุ ย้ายไปประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระมหาสมณจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงสนพระทัยศึกษาวิชาการทั้งตำราโบราณและวิทยาการสมัยใหม่ ตำรา “มัชชารนีติ” เป็นตำราที่ทรงนิพนธ์ขึ้นเป็นอักษรขอม ภาษาบาลี ประพันธ์ด้วยฉันทลักษณ์โตฎกฉันท์และปัฐยาวัตรฉันท์ เมื่อพ.ศ.2381 คือ
หลังจากเสด็จมาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหารได้ 2 ปี ทรงเรียบเรียงจากองค์ความรู้เดิมตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุยา แล้วผนวกกับตามที่พระองค์ได้ทรงศึกษาเพิ่มเติมมาถึงแมวดี หรือ แมวคุณ ไว้ 26 ชนิด และกล่าวถึงแมวไม่ดี หรือ แมวโทษไว้ 12 ชนิด รวมเป็น 38 ชนิด นับว่าละเอียดกว่าตำราแมวทุกฉปับ หนังสือฉบับนี้ทรงนิพนธ์เป็นคาถาภาษาบาลีตลอดทั้งเล่ม แสดงถึงพระอัจฉริยภาพของพระองค์ด้านอักษรศาสตร์
ส่วน “ตำราดูลักษณะแมวและนก” เป็นคำประพันธ์ด้วยโคลงสี่สุภาพและกาพย์ฉบัง 16 พบในตำหนักเดิม อันเป็นที่ประทับของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์นั้น กล่าวถึงแมวทั้งสิ้น 17 ชนิด ปรากฏท้ายสมุดไทยว่า “ข้าพเจ้ามีนามฉายาว่า ศิริคุตโต ได้คัดจัดเรียงแล้ว แต่วันที่ 21 ส.ค. ร.ศ.130 ปีกุน” ก็เป็นตำราที่ใช้อ้างอิงการดูลักษณะแมวและการเลี้ยงแมวในยุคต่อมา นับเป็นตำราอันทรงคุณค่า เป็นหลักฐานแสดงถึงพระอัจฉริยภาพและความเป็นนักปราชญ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์Thank to : https://www.dailynews.co.th/news/2724723/17 กันยายน 2566 , 9:30 น. , การศึกษา-ไอที
|
|
|
35
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / 3 คาถาเสริมเสน่ห์เมตตา ทำอะไรก็สำเร็จ ราบรื่น
|
เมื่อ: กันยายน 18, 2023, 06:42:40 am
|
. 3 คาถาเสริมเสน่ห์เมตตา ทำอะไรก็สำเร็จ ราบรื่น โดย อ.โนรีถ้ามีคนรักคนเมตตาคนช่วยเหลืออุปถัมภ์แล้ว ไม่ว่าเราจะทำสิ่งใดก็จะสำเร็จราบรื่นขึ้น วันนี้เลยมี 3 คาถาเสริมเสน่ห์เมตตามาฝากค่ะ หมั่นสวดบ่อย ๆ นะคะ คาถาเมตตามหานิยม ตั้งนะโม 3 จบ
"นะ เมตตา โม กรุณา พุทธ ปราณี ธา ยินดี ยะ เอ็นดู สารพัดศัตรู วินาสสันตุ อิติปิโส ภะคะวา เห็นหน้า วาจา เอ็นดูด้วย นะโม พุทธายะ" คาถาอุปถัมภ์
"อิติปาระมิตาติงสา อิติสัพพัญมาคะตา อิติโพธิ มนุปปัตโต อิติปีโส จะตมะโน นะเมตตา โมกรุณา พุทปรานี ธายินดี ยะเอ็นดู ยะหันตวา ธามัวเมา พุทพาเอา นะโมพุทธายะ" คาถานะเมตตา
"ปีโยเทวมนุสสานัง ปีโยพรมหา นะมุตตะโม ปีโยนาคะ ปุปันนานัง ปีนินทรียัง นะมามิหัง โสคาวิระตะจิตโตโย โสกะมาโน สะเทวะเก โสกัปเปเต นะโม เทนโต โสภะวันนัง นะมามิหัง"Thank to : https://www.sanook.com/horoscope/261759/Horosociety199 : สนับสนุนเนื้อหา | 17 ก.ย. 66 (11:55 น.)
|
|
|
36
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / 3 วิธีขจัดความเครียด ในชีวิตประจำวัน ตามคำแนะนำของ จิตแพทย์ญี่ปุ่น
|
เมื่อ: กันยายน 18, 2023, 06:34:03 am
|
. 3 วิธีขจัดความเครียด ในชีวิตประจำวัน ตามคำแนะนำของ จิตแพทย์ญี่ปุ่นฤดูใบไม้ผลิเป็นช่วงเวลาที่คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่มีความเครียดจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมของที่เรียนหรือที่ทำงาน (ที่ญี่ปุ่นจะเปิดภาคเรียนหรือเริ่มทำงานในบริษัทหลังจบกิจกรรมหางานในเดือนเมษายน) และความแตกต่างของอุณหภูมิในระหว่างวันซึ่งทำให้รู้สึกเหนื่อย กังวล และเครียดได้ง่าย โดยสาเหตุของอาการดังกล่าวอาจเกิดจากการที่ระบบประสาทอัตโนมัติถูกรบกวน ทำให้ทำงานได้ไม่สมดุล มารู้วิธีการดูแลให้ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานได้อย่างเป็นปกติเพื่อสุขภาพกายและจิตที่แข็งแรงตามคำแนะนำของจิตแพทย์ชาวญี่ปุ่นกันค่ะ
3 วิธีขจัดความเครียด ความรู้สึกเหนื่อยหน่ายเป็นกังวล ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ระบบประสาทอัตโนมัติถูกรบกวน 1. นอนหลับอย่างมีคุณภาพ
เพื่อปรับแต่งระบบประประสาทอัตโนมัติให้ทำงานได้อย่างสมดุล สิ่งสำคัญคือการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ การนอนหลับที่ไม่เพียงพอจะทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติเสียสมดุล และนำไปสู่ความรู้สึกเหนื่อยล้าและวิตกกังวล
การสร้างสุขลักษณะที่ดีในการนอนหลับมีดังนี้ - แช่น้ำอุ่นประมาณ 10 นาที ก่อนเข้านอนอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง - งดสัมผัสสมาร์ทโฟนก่อนเข้านอน - ในห้องนอนให้ใช้แสงสว่างจากหลอดไฟที่ไม่สัมผัสร่างกายโดยตรง และใช้กลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหยเพื่อสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย
 2. รับประทานอาหารที่มีคุณค่าสารอาหารที่สมดุล
นอกจากการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าสารอาหารครบถ้วนสมดุลแล้ว สารอาหารสำคัญหลายชนิดจะช่วยเสริมให้ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานได้ดีขึ้น ได้แก่
กาบา (GABA, γ-aminobutyric acid) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยลดการทำงานของเซลล์ประสาทในระบบสมองทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย ลดความกระสับกระส่าย และความกังวล ส่งผลให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น กาบามีมากในมะเขือเทศ ข้าวกล้องงอก และอาหารหมัก เป็นต้น
วิตามินดีจากเห็ดต่างๆ ช่วยเสริมให้สมองหลั่งฮอร์โมนเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งมีผลช่วยลดความเครียดและภาวะซึมเศร้าได้
ทริปโตเฟน เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายใช้สร้างสารเซโรโทนินหรือฮอร์โมนแห่งความสุข โดยอาหารที่อุดมไปด้วยกรดอะมิโนทริปโตเฟน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง เช่น นมถั่วเหลือง เต้าหู้ มิโซะ ฯลฯ เมล็ดธัญพืช ผลิตภัณฑ์นมและชีส เป็นต้น 3. หาเวลาคลายเครียดระหว่างวัน
ความเครียดเป็นตัวการสำคัญที่ไปรบกวนการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ ดังนั้นสิ่งสำคัญคือต้องแบ่งเวลาระหว่างวันเพื่อผ่อนคลายความเครียดแม้จะเป็นเพียงเวลาสั้นๆ เพื่อช่วยให้ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานได้อย่างสมดุลกัน โดยมีตัวอย่างดังนี้
- วิ่งหรือเดินออกกำลังกายหลังจากเลิกงานประมาณ 10 นาที - นั่งสมาธิก่อนเข้านอน - สูดลมหายใจเข้าลึกๆ และยืดเส้นยืดสายในขณะที่ทำงาน - มีความสุขกับการนอนหลับพักผ่อนในวันหยุด - ปล่อยตัวเองให้ดื่มด่ำไปกับสิ่งที่ชอบและงานอดิเรก - ออกไปข้างนอกเพื่อผ่อนคลาย
ทุกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเริ่มการศึกษาหรือการเข้าทำงานใหม่ ทำให้คนเราต้องปรับตัวและเป็นเหตุให้รู้สึกเครียดและเหนื่อยล้าได้ง่าย นอกจากการทำใจให้เข้มแข็งและสนุกไปการเปลี่ยนแปลงแล้ว ก็ลองปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าวเพื่อรักษาสมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบสำคัญที่จะคงสุขภาพกายและจิตของเราให้ดีไปนานๆ ดูค่ะ
Thank to : https://mgronline.com/japan/detail/9660000037609เผยแพร่ : 24 เม.ย. 2566 ,09:54 | ปรับปรุง : 24 เม.ย. 2566, 09:54 | โดย : ผู้จัดการออนไลน์
|
|
|
38
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / โจทนาสูตร ว่าด้วย คุณสมบัติของภิกษุผู้เป็นโจทก์
|
เมื่อ: กันยายน 17, 2023, 07:49:39 am
|
โจทนาสูตร ว่าด้วย คุณสมบัติของภิกษุผู้เป็นโจทก์เหตุการณ์ : พระสารีบุตรแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายเรื่องการโจทก์ภิกษุอื่น
พระสารีบุตรกล่าวว่าภิกษุผู้โจทก์ทั้งหลายพึงตั้งธรรม ๕ ประการ คือ
โจทก์โดยกาลควร หรือโดยกาลไม่ควร ๑ ด้วยเรื่องจริง หรือด้วยเรื่องไม่จริง ๑ ด้วยคำอ่อนหวาน หรือด้วยคำหยาบ ๑ ด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ หรือด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ ด้วยเมตตาจิตหรือด้วยเพ่งโทษ ๑
หากภิกษุถูกโจทก์โดยไม่เป็นธรรมด้วยอาการ ๕ คือ โดยกาลไม่ควร ด้วยเรื่องไม่จริง ด้วยคำหยาบ ด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ด้วยการเพ่งโทษ ไม่ถูกโจทด้วยเมตตาจิต ภิกษุผู้ถูกโจทก์โดยไม่เป็นธรรมไม่ควรเดือดร้อน ภิกษุผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรมควรเดือดร้อน
@@@@@@@
หากภิกษุถูกโจทก์โดยเป็นธรรมด้วยอาการ ๕ คือ โดยกาลควร ด้วยเรื่องจริง ด้วยคำอ่อนหวาน ด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ด้วยเมตตาจิต ภิกษุผู้ถูกโจทก์โดยเป็นธรรมจึงควรเดือดร้อน ภิกษุผู้โจทก์โดยเป็นธรรมไม่ควรเดือดร้อน
บุคคลผู้ถูกโจทก์พึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ คือ ความจริงและความไม่โกรธ และพึงทราบว่าธรรม ๕ ประการ ที่ถูกโจทก์มีอยู่ในตนหรือไม่ หากมีธรรมนั้นอยู่ในตน ก็ตอบว่ามี หากไม่มีธรรมนั้นอยู่ในตน ก็ตอบว่าไม่มี
พระผู้มีพระภาคตรัสกับพระสารีบุตรว่า เป็นเช่นนั้น แต่ว่าโมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ (ผู้ไม่มีศรัทธา) เมื่อถูกกล่าวสอน ย่อมไม่รับโดยเคารพ จงยกไว้ (ยกเว้น) ไม่กล่าวสอน แต่จงกล่าวสอนกุลบุตรผู้มีศรัทธาออกบวช มีปัญญา มิใช่คล้ายคนบ้าน้ำลาย เพื่อยกเพื่อนพรหมจรรย์จากอสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ในสัทธรรม อ้างอิง : โจทนาสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ ข้อที่ ๑๖๗ หน้า ๑๗๕-๑๗๘ Thank to : https://uttayarndham.org/node/3731
|
|
|
39
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / คณะสงฆ์ลพบุรีสร้างบ้านให้ผู้ประสบเหตุเพลิงไหม้อ.โคกสำโรง
|
เมื่อ: กันยายน 17, 2023, 07:08:44 am
|
คณะสงฆ์ลพบุรีสร้างบ้านให้ผู้ประสบเหตุเพลิงไหม้อ.โคกสำโรง พระเทพเสนาบดี เจ้าคณะจังหวัดลพบุรี พร้อมด้วยพระสังฆาธิการในจังหวัดลพบุรี พร้อมด้วยนักเรียนจากโรงเรียนวินิตศึกษา ร่วมทำจิตอาสาปรับพื้นที่ เพื่อเตรียมความพร้อม สร้างบ้านใหม่ให้กับญาติของผู้เสียชีวิตจากเหตุเกิดเพลิงไหม้
เมื่อวันที่ 16 ก.ย. ที่บ้านพรมทินใต้ ต.หลุ่มข้าว อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี พระเทพเสนาบดี เจ้าคณะจังหวัดลพบุรี พระครูภัทรปัญญาวุธ เจ้าคณะอำเภอโคกสำโรง พร้อมด้วยพระสังฆาธิการในจังหวัด นางสาวอังศุมาลิน จุฑาจินดาเขต ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดลพบุรี ปลัดอำเภอโคกสำโรง ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนในพื้นที่ พร้อมด้วยนักเรียนจากโรงเรียนวินิตศึกษา ร่วมทำจิตอาสาปรับพื้นที่ เพื่อเตรียมความพร้อมสร้างบ้านใหม่ให้กับญาติของผู้เสียชีวิตจากเหตุเกิดเพลิงไหม้ที่บ้านเลขที่ 72 หมู่ 11 ต.หลุ่มข้าว อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี ซึ่งเหตุการณ์เพลิงไหม้ดังกล่าว เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 ก.ย. ที่ผ่านมา พระเทพเสนาบดี กล่าวว่า หลังจากทราบว่าประชาชนของเรา บ้านเกิดเพลิงไหม้และมีคนเสียชีวิต ซึ่งเป็นคนแก่ป่วยติดเตียง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ รวมทั้งเด็กเล็กอายุแค่ 3 ขวบ ปกติไปเรียนทุกวัน วันนั้นเกิดไม่สบาย แม่จึงให้หยุดเรียน จังหวะที่แม่ออกไปซื้อก๋วยเตี๋ยวเพื่อให้ลูกกับยายรับประทาน บ้านก็เกิดเพลิงไหม้ จากการสอบถามทราบว่า กลัวลูกออกไปวิ่งเล่นนอกบ้าน จึงล็อกประตูบ้านไว้ข้างนอก ตอนเกิดเพลิงไหม้ ทั้งยายและเด็กไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และต้องเสียชีวิต
สำหรับการดำเนินการครั้งนี้ ได้พาเด็กนักเรียนจากโรงเรียนวินิตศึกษามาด้วยจำนวน 60 คน มาร่วมทำจิตอาสากับชาวบ้าน ปลูกฝังจิตสำนึกให้รู้จักช่วยเหลือสังคม เกื้อกูลประชาชน พร้อมด้วยคณะสงฆ์ลงมาดูมาช่วยเหลือเบื้องต้นแล้ว 2 ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 นำรถแบ๊กโฮมาปรับเศษไม้ เศษปูนออก เพื่อสร้างบ้านขนาดชั้นเดียว 2 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ ตั้งงบฯ ไว้ประมาณ 5 แสนบาท
ทั้งได้นิมนต์พระสงฆ์มาประกอบพิธีเรียบร้อย ส่วนหลายคนที่เป็นห่วงแม่ของเด็กเรื่องงาน ตอนนี้ได้ปรึกษากับนายอำเภอโคกสำโรง ซึ่งกำลังจะหางานให้ทำ แม่ของเด็กมีความประสงค์ต้องการทำงานโรงงาน ตอนนี้กำลังให้ทางอำเภอ ไปขอวุฒิการศึกษาจากโรงเรียนที่จบมา เพื่อไปสมัครงานให้ต่อไป
Thank to : https://www.dailynews.co.th/news/2723831/16 กันยายน 2566 ,16:04 น. | การศึกษา-ไอที
|
|
|
|