ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - Admax
หน้า: [1] 2
1  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / สอบถามเรื่องพระเครื่องบูชาครับ เมื่อ: ตุลาคม 02, 2022, 11:20:42 am
คือผมอยากได้พระแทนตัวครูบาอาจารย์เพื่อไว้กำหนดจิตระลึกถึงเป็นสังฆคุณ สังฆานุสสติ ได้แก่

1. รูปหล่อสมเด็จพระญาณสังวรพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน ครับ
2. รูปหล่อพระอาจารย์สนธยา ธัมมวังโส องค์ครูที่เมตตาแก่ผมครับ

ไม่ทราบว่าผมพอจะมีโอกาสได้บูชาไหมน้อมมาสู่ตนบ้างไหมครับ ผมไม่ใช่ศิษย์สายตรง แต่ด้วยความเคารพนับถือหลวงปู่สุก และพระอาจารย์ธัมมวังโสครูผู้เมตตาผม ผมจึงปารถนาจะได้มาบูชากราบไว้และกำหนดระลึกถึงพระสังฆคุณของท่านทั้งสองให้เป็นสังฆานุสสติครับ

 st12  st12  st12
2  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / การทำบุญให้คนที่ฆ่าตัวตาย เมื่อ: มกราคม 18, 2022, 05:13:19 am
..
3  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / .. เมื่อ: ธันวาคม 23, 2020, 04:01:36 pm
..
4  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / โสดาปัตติมรรค เมื่อ: เมษายน 28, 2015, 08:17:34 am
กราบเรียนพระอาจารย์ธัมมวังโส และ ผู้รู้ทุกท่าน

ผมอยากทราบว่า

1. โสดาปัตติมรรคคืออะไร ได้แก่บุคคลประเภทไหน
2. ท่านยังมีเจตนาที่จะผิดศีลอยู่บ้างไหม

รบกวนพระอาจารย์ และ ผู้รู้ทุกท่านไขข้อข้องใจให้แก่ผมด้วยครับ
5  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / กราบนมัสการพระอาจารย์ธัมมวังโส ผมมีเรื่องใคร่ขอความสงเคราะห์จากพระอาจารย์ เมื่อ: ธันวาคม 12, 2014, 01:54:11 pm
ขออภิวาทแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนมัสการพระธรรม ซึ่งเป็นธรรมเพื่อออกจากทุกข์ ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอบนอบน้อมพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ซ6่งเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว

ขอนมัสการพระอาจารย์ธัมมวังโส

ผมใคร่ปารถนาจะขอธาตุกรรมฐานในการเดินจงกรม ขอความเอ็นดูอนุเคราะห์จากพระอาจารย์ธัมมวังโส ซึ่งผมถือเป็นครูอุปัชฌาย์ได้สงเคราะห์บอกวิธีพิจารณาธาตุเมื่อเดินจงกรมด้วยเถิดครับ ส่วนตัวผมก็เพียรปฏิบัติถวายเป็นพุทธบูชาตามสติกำลัง มีได้บ้างไม่ได้บ้าง ด้วยเป็นผู้มีราคะเยอะแม้จะเจอหรือสัมผัสเห็นธรรมได้บ้างแต่ก็ยังเพียงแค่สมถะยังไม่ถึงมรรค เพราะความเร่าร้อนมีอยู่ทุกขณะจึงใครปารถนาที่จะเดินจงกลมด้วยธาตุกรรมฐาน ขอพระอาจารย์โปรดสงเคราะห์ศิษย์คนนี้ด้วยครับ แม้ไม่ได้ไปขึ้นกรรมฐานแต่เจตนาของผมเป็นไปเพื่อพระศาสนาของพระศาสดา เพื่อทำตนเองให้พ้นทุกข์ เมื่อเห็นทางทำได้แล้วก็หมายจะทำให้ผู้อื่นได้ศรัทธาและปฏิบัตินับถือในพระพุทธศาสนาของพระตถาคต ขอพระอาจารย์ธัมมวังโสโปรดชี้แนะสอนสั่งแลบอกทางกรรมฐานในการเจริญธาตุเวลาเดินจงกรมแก่ผมด้วยเทอญ

สาธุ สาธุ สาธุ
6  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ฝากให้คุณที่ชอบปรามาส เพราะเป็นผู้ด้อยปัญญา จะได้ฉลาดขึ้น เมื่อ: เมษายน 22, 2014, 06:32:02 pm
ผมโพสท์กระทูนี้ด้วยมีจิตสงเคราะห์ให้เป็นทานแก่ "คนที่ชอบปรามาส" เพื่อให้คนที่ชอบปรามาสละบาปกรรมอันจะเกิดแก่ตนเอง พ่อ แม่ พี่ น้อง ลูก หลาน อย่างหาประมาณมิได้ดังนี้

"การบริภาษพระภิกษุผู้ทรงศีลเป็นกรรมอันหนัก"
โดย ittipol.k จากเวบขอนแก่นลิงค์
เมื่อ 21 เม.ย., 2014 20:4



"การบริภาษพระภิกษุผู้ทรงศีลเป็นกรรมอันหนัก"

ผู้บุกเบิกให้เกิดพัฒนาการใหม่ๆ ในช่วงแรกมักจะมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ไม่เห็นด้วย เพราะขัดกับความคุ้นเคยเดิม แม้ในวงการพระพุทธศาสนาก็เช่นกัน พระมหาเถระผู้มีคุณูปการต่อพระพุทธศาสนาจำนวนมาก ต่างก็ประสบกับการวิพากษ์โจมตีอย่างหนักมาแล้ว เพราะคนเรา พอไม่เข้าใจก็ไม่ชอบ จึงหาเรื่องจับผิด ด่าว่า ใส่ร้ายป้ายสี อาทิ

- พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ผู้เดินธุดงค์ตั้งใจปฏิบัติธรรม บุกเบิกสร้างพระป่าสายอีสาน ก็เคยถูกครหาว่าอวดอุตริมนุสสธรรม ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยเขียนวิจารณ์ว่าสอนผิดจากพระไตรปิฎก ที่บอกว่าไปสนทนาธรรมกับพระอรหันต์ที่นิพพานแล้วได้

- ครูบาศรีวิชัย ผู้นำศิษยานุศิษย์สร้างทางขึ้นพระธาตุดอยสุเทพสำเร็จในเวลาเพียง 3 เดือน และบุกเบิกเผยแผ่ธรรมะอย่างกว้างขวางในแดนล้านนา ก็เคยถูกใส่ร้ายป้ายสี จนถูกจับขังถึง 3 ครั้ง ปลดจากเจ้าอาวาส ถูกคุมตัวเข้ากรุงเทพฯ

- สมเด็จพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ) ผู้วางรากฐานให้ มจร. เติบใหญ่เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์หลักในปัจจุบัน ส่งพระไทยไปเรียนกรรมฐานกับพระพม่า กลับมาบุกเบิกสร้างสายธรรมปฏิบัติยุบหนอพองหนอในไทย ก็เคยถูกข้อกล่าวหาจากสังฆนายกในยุคนั้นว่าปาราชิก และสมเด็จพระสังฆราชมีพระบัญชาให้สึก ถึงขนาดถูกจับสึกเปลื้องผ้าเหลืองออก ต้องนุ่งขาวห่มขาวอยู่ที่สันติบาล 4 ปี แต่สุดท้ายศาลก็พิพากษาว่าท่านไม่ผิดจึงกลับมาครองผ้าเหลืองใหม่ ก่อนมรณภาพได้เป็นถึงผู้รักษาการแทนสมเด็จพระสังฆราช

- หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ผู้บุกเบิกการปฏิบัติแบบมโนมยิทธิ ก็เคยถูกกล่าวหาว่าปาราชิกเพราะอวดอุตริมนุสสธรรม อวดอ้างว่าไปสวรรค์ ไปนิพพานได้

- หลวงพ่อพุทธทาส ก็เคยถูกกล่าวหาว่าเป็นพระบ้า เพราะเทศน์ปากเปล่าโดยไม่ถือใบลาน ซึ่งคนยุคนั้นไม่คุ้น ถูกกล่าวหาว่าเป็นพระมหายาน พระนอกรีต เพราะชอบสอนเรื่องสุญญตา อิงคำสอนของท่านนาคารชุน ชอบแนวคิดแบบเซ็น แต่ท่านก็สามารถดึงปัญญาชนจำนวนมากให้หันมาสนใจศึกษาพระพุทธศาสนา

- หลวงพ่อธัมมชโย ก็ถูกกล่าวหาว่าอวดอุตริมนุสสธรรม และยักยอกที่ดินวัด แต่ท่านก็สามารถชักชวนประชาชนเข้าวัดปฏิบัติธรรมทำความดีมากมาย และเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั่วโลก ข้อกล่าวหาเรื่องปาราชิกก็ถูกลบล้างไป โดยมหาเถรสมาคมได้กลั่นกรองนำเสนอ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ จากคุณูปการที่ท่านมีต่อพระพุทธศาสนาและสังคมไทย

- หลวงตามหาบัว ก็เคยถูกกล่าวหาอวดอุตริมนุสสธรรม อวดอ้างว่าตนเป็นพระอรหันต์แล้ว แต่พูดจาหยาบคาย จับเงินจับทองผิดพระวินัย ระดมผ้าป่าช่วยชาติซึ่งไม่ใช่กิจของสงฆ์ หวังจะขึ้นเป็นใหญ่ในวงการสงฆ์ทางลัด แต่ท่านก็สามารถสร้างศรัทธาในหมู่ชาวพุทธได้มากมาย

> > น่าคิดว่า ผู้ที่เคยบริภาษด่าว่าพระมหาเถระเหล่านี้ จะต้องแบกบาปมากเพียงใด ตอนกำลังด่าว่าท่าน ทุกกรณีจะมีลักษณะคล้ายกัน คือ แต่ละคนก็คิดว่าท่านไม่ดีไม่ใช่พระแล้ว ด่าแล้วไม่บาป ได้บุญด้วย ปลุกระดมกันและกันด้วยโทสวาท (hate speech) ให้เกิดความเกลียดชังอย่างมากๆเหมือนท่านไม่ใช่คน

แต่พระมหาเถระเหล่านี้ แต่ละรูปก็ได้พิสูจน์ด้วยการอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนาจนตลอดชีวิตของท่าน สิ่งที่แต่ละรูปได้สร้างไว้นั้นต้องทำด้วยชีวิต ผู้ที่ไม่บริสุทธิ์ใจจะทำอย่างนั้นไม่ได้

น่าคิดว่าผู้ที่ด่าว่าท่านพระอาจารย์มั่น ครูบาศรีวิชัย สมเด็จพระพุฒาจารย์(อาจ) ฯลฯ คนเหล่านี้ต้องรับกรรมหนักเพียงใด

ส่วนพระที่มีเจตนาไม่สุจริตนั้น มักอยู่ได้ไม่นานก็มีเหตุให้ต้องออกไปเอง สมตามที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าพระธรรมวินัยนี้เหมือนทะเลที่จะซัดซากศพขึ้นฝั่งในที่สุด ดังมีตัวอย่างให้เราเห็นอยู่มากราย โดยเราไม่ต้องไปผสมโรงด่า ให้เสี่ยงต่อบาปกรรมเลย < <

ตัวอย่างวิบากกรรมของผู้บริภาษพระภิกษุผู้ทรงศีล

@ ในครั้งพุทธกาลที่เมืองสาวัตถีมีชาวประมงจับได้ปลาใหญ่ตัวหนึ่ง มีสีเหมือนทองคำแต่ปากเหม็นมาก จึงเอาไปถวายพระราชา พระราชารับสั่งให้นำไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พอปลาอ้าปากเท่านั้น กลิ่นเหม็นก็คลุ้งตลบทั้งเชตวันมหาวิหาร

พระราชาถามพระศาสดาว่า ทำไมปลามีสีเหมือนทองคำ แต่ปากเหม็น

พระศาสดาตรัสตอบว่า ปลานี้ภพในอดีตเป็นภิกษุชื่อกปิละ มีความรู้มาก ทะนงในความรู้ของตน เที่ยวด่าบริภาษพระภิกษุที่ไม่เชื่อคำของตน น้องสาวกับแม่ก็ด่าว่าพระภิกษุตามพระกปิละเพราะคิดว่าท่านรู้มาก พระกปิละตายแล้วจึงไปเกิดในอเวจีมหานรก ไหม้ในมหานรกสิ้นพุทธันดรหนึ่ง แล้วมาเกิดเป็นปลาด้วยเศษแห่งวิบาก

เนื่องจากเคยท่องบ่นคัมภีร์ สรรเสริญคุณพระพุทธเจ้า จึงได้อัตตภาพมีสีเหมือนทองคำ แต่เพราะเป็นผู้ด่าบริภาษพระภิกษุทั้งหลาย กลิ่นเหม็นจึงฟุ้งออกจากปากของเธอ
จากนั้นพระพุทธเจ้าทำให้ปลาพูดได้ด้วยพุทธานุภาพ

พระศาสดาตรัสถามปลาว่า__ เจ้าชื่อกปิละหรือ?

ปลาตอบ__ พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ชื่อกปิละ

พระศาสดาถาม__ เจ้ามาจากไหน?

ปลาตอบ__ มาจากอเวจีมหานรก พระเจ้าข้า

พระศาสดา __ แม่ของเจ้าไปไหน?

ปลาตอบ __เกิดในนรก พระเจ้าข้า

พระศาสดา __น้องสาวของเจ้า ไปไหน?

ปลาตอบ __เกิดในมหานรก พระเจ้าข้า

พระศาสดา__ บัดนี้เจ้าจักไปที่ไหน?

ปลาชื่อกปิละกราบทูลว่า__ “จักไปสู่อเวจีมหานรกดังเดิม พระเจ้าข้า”
ดังนี้แล้ว คิดถึงบาปกรรมที่ตนเคยทำ เศร้าเสียใจมากจึงเอาศีรษะฟาดเรือตายในทันทีนั่นเอง กลับไปเกิดในนรกแล้ว มหาชนเห็นเรื่องราวทั้งหมด ได้สลดใจมีขนลุกชูชันแล้ว

> การบริภาษด่าว่าพระภิกษุผู้ทรงศีลเป็นกรรมหนักมาก พวกเราอย่าไปทำเด็ดขาด บางคนแค่ฟังเขาว่าต่อๆ กันมาก็หลงเชื่อ ผสมโรงด่าว่าท่านด้วยความคึกคะนอง กรรมนี้น่ากลัวนัก ยิ่งในโลกปัจจุบันที่การสื่อสารออนไลน์ เป็นไปอย่างรวดเร็วกว้างขวาง ยิ่งต้องระมัดระวัง มีสติ ไม่ไปตามแห่ทำบาปกับใคร

การตัดต่อภาพใส่ร้ายป้ายสีพระภิกษุ ยิ่งผิดทั้งศีล ผิดทั้งธรรม จะหาเหตุผลมาอ้างว่าทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ เพราะคิดว่าท่านไม่ดี เหตุผลนี้เมื่อตายแล้วตกนรก จะเอาไปใช้อ้างกับยมบาลเขาก็ไม่รับฟังเลย

แนวปฏิบัติที่ถูกต้องคือ เราอย่าไปบริภาษด่าว่าพระภิกษุสงฆ์ เพราะเรายังรู้จักท่านไม่จริง แต่เอาเวลาไปประพฤติปฏิบัติธรรม กับพระภิกษุรูปใดก็ได้ที่เราถูกอัธยาศัย มีความศรัทธาเลื่อมใสในตัวท่านดีกว่า ทำอย่างนี้เราจะไม่มีวิบากกรรม จะมีแต่ความสุขความเจริญตลอดไป ทั้งภพนี้และภพหน้า <

ที่มา  https://www.facebook.com/BuddhaSamakkee?hc_location=timeline
7  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / กราบนมัสการพระอาจารย์ธรรมวังโส เมื่อ: เมษายน 21, 2014, 11:12:19 am
ขอนมัสการนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนมัสการนอบน้อมแด่พระธรรม เป็นธรรมเพื่อออกจากทุกข์ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้เป็นคู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ ผู้เป็นนาบุญของโลกควรแก่เขานำมาบูชา

กราบนมัสการพระอาจารย์ธัมมวังโสภิกขุ

ผมได้เจริญซึ่ง อานาปานสติ พุทธานุสสติ พรหมวิหาร ๔ เป็นนิจตามสติกำลัง คือ
๑. กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกเพื่อยังให้จิตสงบตั้งมั่น
๒. ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าด้วย หายใจเข้าระลึก พุทธ หายใจออกระลึก โธ ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง แลระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าว่าด้วย อระหัง ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส น้อมจิตเข้าระลึกถึงความว่างสงบจากกิเลสดั่งคุณนั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า
๓. พรหมวิหาร ๔
๓.๑ เมื่อถึงความสงบลงแล้วจะน้อมรำลึกถึงฉัพพรรณรังสีบารมีของพระตถาคตแผ่เมาสู่ตน แล้วก็ตั้งจิตอธิษฐานตามแสงนั้นเฝ้าแผ่เมตตาให้ตนเองนั้นเป็นสุขปราศจากกิเลสทุกข์ ไม่ผูกเวรใคร ไม่พยาบาทใคร ไม่มีความร้อนรุ่มอันเกิดแต่ ความใคร่ปารถนาที่จะเสพย์ความกำหนัดยินดีอันเกิดแต่ความติดใจเพลิดเพลิน ไม่มีความขุ่นมัวใจ เศร้าหมองใจ ตืดใจข้องแวะ ไม่มีความมัวหมองหม่นหมองใจ ให้ผมมีแต่ความสุขกายใจ แจ่มใสเบิกบานไม่เศร้าหมอง รักษากายวาจาใจให้พ้นจากภัยแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
๓.๒ เมื่อตัวผมเองนั้นกิเลสบางลงแล้วก็ตั้งจิตมั่นระลึกถึงฉัพพรรณรังสีของพระพุทธเจ้าที่แผ่ขยายไปทั่วหมื่นโลกธาตุ เสริมและนำทางเอาจิตอันปารถนาดีเป็นกุศลเมตตาของผมนั้นแผ่ไปให้สรรพสัตว์ทั้งปวงอันไม่มีประมาณทั้ง ๑๐ ทิศ ให้สัตว์ทั้งหลายได้เป็นสุขพ้นจากกิเลสและกองทุกข์ไม่ผูกเวรพยาบาทซึ่งกันและกัน ไม่มีความร้อนรุ่มใจใดๆ ดั่งสุขที่ผมได้รับเมื่อผมปราศจากกิเลสทุกข์ ไม่ร้อนรุ่มเพราะละความผูกเวรพยาบาทผู้อื่นแล้ว ให้สรรพสัตว์ทั้ง ๑๐ ทิศ นั้นได้เสวยผลบุญที่ผมได้กระทำและสะสมมาดีแล้วนี้แผ่ไปทีละทิศจนครบ
๔. ทาน ทั้งที่ สงเคราะห์ให้ อนุเคราะห์ให้ และ สละให้

- ผมเจริญปฏิบัติธรรมทั้ง ๔ ข้อนี้เป็นประจำควบคู่กับเจริญจิตตานุสติปัฏฐานเพื่ออบรมจิต แม้ยามปกติ ยามที่เป็นทุกข์กาย ยามเกิดกิเลสทุกข์ใจ เช่น เวลาเจ็บป่วย อยากกินเหล้า กำหนัดราคะ เวลาทะยานอยากไรๆ เวลาเกิดปฏิฆะ โทสะใดๆ
- ทำให้ทุกวันนี้ผมไม่หยากกินเหล้าแล้ว แม้ราคะมีมากอยู่แต่ก็มีสตืยั้งใจเกิด สัมมาทิฐิ และ สัมมาสังกัปปะ มากขึ้น
- ศีลผมก็บริสุทธิ์มากขึ้นตามที่ใจตนหวังไว้ แต่ไม่ใช่ว่าทำได้ตลอดเลยนะครับแต่ดีขึ้นมาก ซึ่งเมื่อก่อนนี้ผมเจริญอย่างนี้คิดว่าผมทำผิดทางเพราะเห็นและตรึกตรองด้วยตนเอง หรือ ปฏิบัติแบบผิดๆ ผมจึงเลิกปฏิบัติไป จนเห็นพระอาจารย์โพสท์สอนกรรมฐานไว้ในกระทู้  http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13937.0  ซึ่งผมได้ติดตามอ่านและน้อมนำมาปฏิบัติเป็นประจำทุกกระทุ้ จึงทำให้ผมเกิดศรัทธาและความมั่นใจที่จะทำอย่างล้นพ้น ทำให้ได้ผลดีมากไม่จำกัดกาล แม้ตอนนี้ผมยังไม่ได้สัมมาสมาธิ แต่จิตก็ตั้งมั่นจดจ่อดีมากขึ้นไม่วอกแวกฟุ้งซ่านเหมือนก่อนทำให้ผมได้พบความสุขจากผลที่ได้ปฏิบัติเป็นอันมาก

ผมโพสท์กระทุ้นี้ด้วยเจตนา 2 คือ
1. ให้บรรดาศิษย์ทั้งหลายที่เข้ามาแวะชมได้เห็นว่า กรรมฐานที่พระอาจารย์โพสท์สอนดูเหมือนเป็นพื้นฐานและส่วนน้อยแต่หากน้อมนำมาปฏิบัติจริงจังย่อมให้ผลได้มากกว่าที่คิดเดาเอาอย่างไม่มีประมาณ ดังนั้นขอให้ศิษย์ของพระอาจารย์ทั้งหลายอย่ามองข้ามไป ผมนั้นขนาดยังไม่สามารถไปขึ้นกรรมฐานได้ และ ไม่รู้วิธีปฏิบัติตามจริงในสายมัชฌิมาแบบลำดับยังให้ผลได้ ท่านทั้งหลายที่ได้ขึ้นกรรมฐานแล้ว หรือ เพิ่งเริ่มปฏิบัติควรเร่งฝึกตามที่พระอาจารย์สนธนาสั่งสอนด้วยศรัทธาในพระรัตนตรัยและไม่ลังเลสงสัยในแนวปฏิบัติที่พระอาจารย์สอนสั่งแม้เพัยงน้อยนิดย่อมให้ผลได้อย่างแน่นอน
2. ผมอยากสอบถามพระอาจารย์หากพอจะโพสท์ตอบได้ ผมขอแนวทางเจริญพุทโธแบบมัชฌิมาให้ผมน้อมนำไปปฏิบัติด้วยเถิด พร้อมการเดินที่พิจารณาธาตุที่ถูกต้อง เพื่อให้ผมได้ปฏิบัติตามสติกำลังและเผยแพร่ต่อไปด้วยเทอญ
8  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี เมื่อ: มีนาคม 01, 2014, 06:29:35 pm


แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี


ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม


ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ และ แนวทางวิถีแห่งการปฏิบัติกรรมฐานทั้งหลายทั้งปวงที่ครูบาอาจารย์ทั้งหลายผู้เป็นสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าได้สั่งสอนชี้แนะไว้ มี หลวงปู่มั่น ภูริทตฺตมหาเถร พระอาจารย์ใหญ่ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล หลวงปู่ดุลย์ อตุโล พระราชพรหมญาณ(หลวงพ่อฤๅษีฯ) หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน หลวงปู่นิล มหันตปัญโญ(ครูอุปัชฌาย์ท่านแรกที่บวชให้แก่ผม) พระครูสุจินต์ธรรมวิมล(ครูอุปัชฌาย์ท่านที่สองที่บวชให้แก่ผม) และ พระอาจารย์สนธยา ธัมมวังโส(ผมขออนุญาตพระอาจารย์เป็นอุปัชฌาย์ของผมอีกท่านหนี่ง โดยการด้วยขอด้วยการตั้งจิตอธิษฐานระลึกถึง) ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน และ แนวทางวิถีปฏิบัติกรรมฐานทั้งหลายของครูบาอาจารย์ผู้เป็นสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าทุกท่านตามที่ผมได้กล่าวไว้ข้างต้นนั้น ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด




   ผมใคร่ขอย้ำท่านผู้แวะชมกระทู้นี้ด้วยครับ ซึ่งตัวผมนี้จบแค่นักธรรมตรี ความรู้ก็มีอย่างนักธรรมตรี ปฏิบัติได้ก็อย่างสอบแก้กระทู้ของนักธรรมตรีเท่านั้น สิ่งที่ผมเขียนนี้เป็นเพียงบันทึกผลจากการปฏิบัติเพื่อใช้วิเคราะห์ทบทวนความจำเมื่อหลงตนแล้วล้างสิ่งที่หลงนั้นกลับมาอยู่ที่ศุนย์แล้วเริ่มปฏิบัติทบทวนใหม่เท่านั้น อาจไม่ใช่ทางที่ถูกต้องตามจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน เป็นเพียงสิ่งที่ผมเรียนรู้ศึกษาปฏิบัติมาจากครูอุปชัฌาย์อาจารย์ และ ศึกษาปฏิบัติเอาเองบ้าง เห็นได้เพียงงูๆปลาเท่านั้น ยังไม่รู้ธรรมอันแท้จริงใดๆทั้งสิ้น หากผิดพลาดมาประการใดหรือบิดเบือนอย่างไร ไม่ใช่ครูบาอาจารย์อันเป็นที่เคารพของผมท่านสอนมาผิด แต่เป็นเพราะความเห็นไม่จริงของผมเพียงคนเดียวเท่านั้นครับ ที่ผมโพสท์ไว้นี้เพื่อขอฝากเป็นบันทึกคาามจำกับทางเวบนี้ไว้และหวังว่าอาจจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ศึกษาธรรมใหม่ทั้งหลายที่แวะเวียนมาชมแต่ต้องใช้วิจารณาญาณแยกแยะน้อมนำไตร่ตรองด้วยครับ พร้อมกันนั้นเพื่อเป็นการอุทิศบูญกุศลทางแห่งการพ้นทุกข์ทั้งปวงที่ผมสงเคราะห์ลงใน ๔๐ กรรมฐาน และ 1 วิปัสสนา นี้ให้แก่ คุณพ่อกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา บิดาผู้ละโลกนี้ไปแล้วของผมครับ

ขอขอบพระคุณทุกท่านที่แวะมาเยี่ยมเยียนติชมอย่างสูงครับ

ด้วยควรามเคารพและนับถือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์สาวก พ่อแม่บุพการีทั้งหลาย ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย และ สหายมิตรธรรมทุกท่าน




บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้


สารบัญ

แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนวกะ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13576.0

กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมกาย
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=12524.0

กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมสมาธิ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=12525.0

กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมจิต
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=12526.0

ทุกข์ และ การกำหนดรู้ทุกข์
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg46532#msg46532

สมุทัย และ การพิจารณาละสมุทัย
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg46533#msg46533

นิโรธ และ การทำให้แจ้งในนิโรธ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg46535#msg46535

มรรค และ สิ่งที่ควรเจริญให้มากในมรรค
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg46536#msg46536

แนวทางเจริญปฏิบัติเพื่อละกิเลสทุกข์ด้วย อานาปานสติ+พุทธานุสสติ / ศีล+สีลานุสสติ / พรหมวิหาร ๔
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg46538#msg46538

แนวทางเจริญปฏิบัติเพื่อละกิเลสทุกข์ด้วย พรหมวิหาร ๔ + ทาน
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg46665#msg46665

อุบายการปฏิบัติแบบสมถะกึ่งวิปัสสนาดับราคะทางสฬายตนะ กุศลวิตกพิจารณาสงเคราะห์ในธรรม(ธัมมวิจยะ)
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg46667#msg46667

อุบายการปฏิบัติแบบสมถะกึ่งวิปัสสนาดับโทสะทางสฬายตนะ กุศลวิตกพิจารณาสงเคราะห์ในธรรม(ธัมมวิจยะ)
วิธีน้อมจิตพิจารณาเข้าสู่ ทุกขอริยะสัจ , ทมะ+อุปสมะ , ขันติ+โสรัจจะ(ศีลสังวรณ์,สัลเลขสูตร)
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg46668#msg46668

การละกิเลสด้วยการเจริญเข้าสู่กอง สมถะกรรมฐาน(ราคะ)
พทุธานุสสติ , ท์วัตติงสาการะปาโฐ , จตุธาตุววัตถาน , การเพ่งเทียบกสินธาตุ , มรณะสติ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg46675#msg46675

การละกิเลสด้วยการเจริญเข้าสู่กอง สมถะกรรมฐาน(ราคะ)
กุศลวิตกเข้าอสุภะกรรมฐาน , อสุภะกรรมฐาน ๑๐ , อุปสมานุสสติ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg46731#msg46731

การละกิเลสด้วยการเจริญเข้าสู่กอง สมถะกรรมฐาน(โทสะ)
พุทธานุสสติ , ท์วัตติงสาการะปาโฐ , จตุธาตุววัตถาน , อสุภะกรรมฐาน
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg48253#msg48253

การละกิเลสด้วยการอบรมจิตในขั้นสมถะเชื่อมต่อไปวิปัสสนา ๑ (อุบายดึงสมถะยกจิตขึ้นพิจารณาสงเคราะห์ลงสู่ทางวิปัสสนา)
พุทธานุสสติ , สีลานุสสติ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg48254#msg48254

การละกิเลสด้วยการอบรมจิตในขั้นสมถะเชื่อมต่อไปวิปัสสนา ๑ (อุบายดึงสมถะยกจิตขึ้นพิจารณาสงเคราะห์ลงสู่ทางวิปัสสนา)
ท์วัตติงสาการะปาโฐ , จตุธาตุววัตถาน , มรณะสติ , อสุภะกรรมฐาน
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg48255#msg48255

การละกิเลสด้วยการอบรมจิตในขั้นสมถะเชื่อมต่อไปวิปัสสนา ๒ (อุบายสะสมให้เข้าถึงฌาณสมาบัติและเจโตวิมุตติ)
พุทธานุสสติ อุบายสะสมบารมีให้เต็มกำลังใจจนเข้าสู่ "สมาบัติ" , วิธีเจริญในธัมมานุสสติและสังฆานุสสติตามจริงโดยย่อ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg48269#msg48269

การละกิเลสด้วยการอบรมจิตในขั้นสมถะเชื่อมต่อไปวิปัสสนา ๒ (อุบายสะสมให้เข้าถึงฌาณสมาบัติและเจโตวิมุตติ)
อุปสมานุสสติ , สีลานุสสติ อุบายสะสมบารมีให้เต็มกำลังใจจนเข้าสู่ "สมาบัติ"
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg48339#msg48339

การละกิเลสด้วยการอบรมจิตในขั้นสมถะเชื่อมต่อไปวิปัสสนา ๒ (อุบายสะสมให้เข้าถึงฌาณสมาบัติและเจโตวิมุตติ)
พรหมวิหาร ๔ อุบายสะสมบารมีให้เต็มกำลังใจจนเข้าสู่ "สมาบัติ" เป็น "เจโตวิมุตติ"
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg48340#msg48340

การทรงอารมณ์ให้ได้สมาธิไวๆ ขั้นต่ำได้อุปจาระสมาธิ แล้วทรงอารมณ์ให้เป็นฌาณต่อไป
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg48341#msg48341

อุบายการทรงอารมณ์ใน เมตตาพรหมวิหาร ๔ ให้เข้าถึงอุปจาระสมาธิ แล้วทรงอารมณ์ให้เป็นฌาณต่อไป
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg48403#msg48403

อุบายการทรงอารมณ์ใน กรุณาพรหมวิหาร ๔ ให้เข้าถึงอุปจาระสมาธิ แล้วทรงอารมณ์ให้เป็นฌาณต่อไป

อุบายการทรงอารมณ์ใน มุทิตาพรหมวิหาร ๔ ให้เข้าถึงอุปจาระสมาธิ แล้วทรงอารมณ์ให้เป็นฌาณต่อไป

อุบายการทรงอารมณ์ใน อุเบกขาพรหมวิหาร ๔ ให้เข้าถึงอุปจาระสมาธิ แล้วทรงอารมณ์ให้เป็นฌาณต่อไป

การละกิเลสด้วยการอบรมจิตอันเป็นไปเพื่อวิปัสสนาญาณ ๑
- วิธีการเจริญจิตกำหนดรู้ในสภาวะที่เป็น "รูปธรรม" และ "นามธรรม" เบื้องต้น
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg48599#msg48599

การละกิเลสด้วยการอบรมจิตอันเป็นไปเพื่อวิปัสสนาญาณ ๒
- การดึงจิตออกจากโมหะ และ ทรงอารมณ์ของ สติ+สัมปชัญญะ ให้พอเหมาะกับการพิจารณาสภาวะธรรม
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg48600#msg48600

9  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ภารทวาชสูตร..การสำรวมระวังปฏิบัติกาย-ใจ เพื่อละกามราคะ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2014, 08:15:15 am

ภารทวาชสูตร


             [๑๙๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระบิณโฑลภารทวาชะอยู่ ณ พระวิหารโฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี
ครั้งนั้นแล พระเจ้าอุเทนได้เสด็จไปหาท่านพระบิณโฑลภารทวาชะ ทรงสนทนาปราศรัยกับท่านพระบิณโฑลภารทวาชะ ครั้นผ่านการสนทนาปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้ว จึงประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ได้ตรัสถามท่านพระบิณโฑลภารทวาชะว่า

      ท่านภารทวาชะผู้เจริญ เหตุปัจจัยอะไรหนอแล เป็นเครื่องให้ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่มแรกรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย  ยังไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติอยู่ได้นาน
      ท่านพระบิณโฑลภารทวาชะทูลตอบว่า ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ตรัสไว้ดังนี้ว่า
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมาตั้งจิตว่าเป็นมารดา ในสตรีปูนมารดา เธอทั้งหลายจงตั้งจิตว่าเป็นพี่สาวน้องสาว ในสตรีปูนพี่สาวน้องสาว เธอทั้งหลายจงตั้งจิตว่าเป็นธิดา ในสตรีปูนธิดา ขอถวายพระพร ข้อนี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่มแรกรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย ผู้ยังไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติอยู่ได้นาน ฯ


             [๑๙๖] พระเจ้าอุเทนตรัสถามท่านพระบิณโฑลภารทวาชะว่า ท่านภารทวาชะผู้เจริญ จิตเป็นธรรมชาติโลเลบางคราวธรรม คือ ความโลภทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นในเหล่าสตรีปูนมารดาก็มี ปูนพี่สาว น้องสาวก็มี ปูนธิดาก็มี มีไหมหนอ ท่านภารทวาชะ ข้ออื่นที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่ม แรกรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย ยังไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิตและปฏิบัติอยู่ได้นาน ฯ
      ท่านพระบิณโฑลภารทวาชะทูลตอบว่า ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ตรัสไว้ดังนี้ว่า
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมาพิจารณากายนี้แหละ เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา อันมีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้  คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร ดังนี้
      ขอถวายพระพร แม้ข้อนี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่ม แรกรุ่นมีผมดำสนิท เป็นหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย ผู้ยังไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิตและปฏิบัติอยู่ได้นาน ฯ


             [๑๙๗] พระเจ้าอุเทนตรัสถามท่านพระบิณโฑลภารทวาชะว่า ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้มีกายอันอบรมแล้ว เป็นผู้มีศีลอันอบรมแล้ว เป็นผู้มีจิตอันอบรมแล้ว เป็นผู้มีปัญญาอันอบรมแล้ว การอบรมกายเป็นต้นนั้น ไม่เป็นกิจอันภิกษุเหล่านั้นทำได้โดยยาก  ส่วนภิกษุเหล่าใดเป็นผู้มีกายยังไม่ได้อบรมแล้ว เป็นผู้มีศีลยังไม่ได้อบรมแล้ว เป็นผู้มีจิตยังไม่ได้อบรมแล้ว เป็นผู้มีปัญญายังไม่ได้อบรมแล้ว การอบรมกายเป็นต้นนั้น เป็นกิจอันภิกษุเหล่านั้นทำได้โดยยาก ท่านภารทวาชะผู้เจริญ บางคราวเมื่อบุคคลตั้งใจอยู่ว่า เราจักทำไว้ในใจโดยความเป็นของไม่งาม แต่อารมณ์ย่อมมาโดยความเป็นของงามก็มี มีไหมหนอแล ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ข้ออื่นที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ ผู้ยังเป็นหนุ่ม แรกรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย ผู้ยังไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิตและปฏิบัติอยู่ได้นาน ฯ
      ท่านพระบิณโฑลภารทวาชะทูลตอบว่า ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ได้ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมาเถิดเธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่เถิด

      - เธอทั้งหลายเห็นรูปด้วยตาแล้ว จงอย่าเป็นผู้ถือเอาโดยนิมิต อย่าเป็นผู้ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว เป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษาจักขุนทรีย์ จงถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์...

      เธอทั้งหลายฟังเสียงด้วยหูแล้ว จงอย่าเป็นผู้ถือเอาโดยนิมิต อย่าเป็นผู้ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมโสตินทรีย์เมื่อไม่สำรวมแล้ว เป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษาโสตินทรีย์ จงถึงความสำรวมในโสตินทรีย์...

      - เธอทั้งหลายสูดกลิ่นด้วยจมูกแล้ว จงอย่าเป็นผู้ถือเอาโดยนิมิต อย่าเป็นผู้ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมฆานินทรีย์เมื่อไม่สำรวมแล้ว เป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษาฆานินทรีย์ จงถึงความสำรวมในฆานินทรีย์...

      - เธอทั้งหลายลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว จงอย่าเป็นผู้ถือเอาโดยนิมิต อย่าเป็นผู้ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมชิวหินทรีย์เมื่อไม่สำรวมแล้ว เป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษาชิวหินทรีย์ จงถึงความสำรวมในชิวหินทรีย์...

      - เธอทั้งหลายถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว จงอย่าเป็นผู้ถือเอาโดยนิมิต อย่าเป็นผู้ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมกายินทรีย์เมื่อไม่สำรวมแล้ว เป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษากายินทรีย์ จงถึงความสำรวมในกายินทรีย์...

      - เธอทั้งหลายรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว อย่าได้เป็นผู้ถือเอาโดยนิมิต อย่าได้เป็นผู้ถือเอาโดยอนุพยัญชนะจงปฏิบัติเพื่อความสำรวมมนินทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว เป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษามนินทรีย์ จงถึงความสำรวมในมนินทรีย์...


-----------------  สัมมัปปธาน ๔ (การทำความเพียร ๔)  -----------------


      ขอถวายพระพร แม้ข้อนี้ ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่ม แรกรุ่นมีผมดำสนิท เป็นหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย ผู้ยังไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิตและปฏิบัติอยู่ได้นาน ฯ

             [๑๙๘] พระเจ้าอุเทนตรัสว่า น่าอัศจรรย์ ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ไม่เคยมีแล้ว ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ตามกำหนดธรรมปริยายนี้ อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสดีแล้ว ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ข้อนี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่ม แรกรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มแน่นอยู่ในปฐมวัย ยังเป็นผู้ไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิตและปฏิบัติอยู่ได้นาน

      ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ในสมัยใด แม้ข้าพเจ้าเอง มีกายมิได้รักษาแล้ว มีวาจามิได้รักษาแล้ว มีจิตมิได้รักษาแล้ว มีสติมิได้ตั้งไว้แล้ว มีอินทรีย์ทั้งหลายมิได้สำรวมแล้ว เข้าไปสู่ฝ่ายใน
      ในสมัยนั้น ธรรม คือ ความโลภทั้งหลายย่อมครอบงำข้าพเจ้ายิ่งนัก ท่านภารทวาชะผู้เจริญ


      แต่ว่า ในสมัยใดแล ข้าพเจ้ามีกายอันรักษาแล้ว มีวาจาอันรักษาแล้ว มีจิตอันรักษาแล้ว มีสติอันตั้งไว้แล้ว มีอินทรีย์ทั้งหลายอันสำรวมแล้ว เข้าไปสู่ฝ่ายใน
      ในสมัยนั้น ธรรม คือ ความโลภทั้งหลายไม่ครอบงำข้าพเจ้า


      ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก
      ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ท่านภารทวาชะประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจะเห็นรูปได้ ฉะนั้น
      ท่านภารทวาชะผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอถึงพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นกับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง ขอท่านภารทวาชะจงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งจนตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปเถิด ฯ



จบสูตรที่ ๔



การเจริญปฏิบัติในพระสูตรนี้ต้องอาศัย ความเพียรชอบ คือ
สัมมัปปธาน ๔ (การทำความเพียรชอบ ๔ ประการดังนี้)


ปธาน ๔ อย่าง

๑. สังวรปธาน [เพียรระวัง]
๒. ปหานปธาน [เพียรละ]
๓. ภาวนาปธาน [เพียรเจริญ]
๔. อนุรักขนาปธาน [เพียรรักษา]

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สังวรปธานเป็นไฉน

- ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรม วินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
- ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมโสตินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้นชื่อว่ารักษาโสตินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในโสตินทรีย์ ฯ
- ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมฆานินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาฆานินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในฆานินทรีย์ ฯ
- ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมชิวหินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาชิวหินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในชิวหินทรีย์ ฯ
- ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมกายินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษากายินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในกายินทรีย์ ฯ
- รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สังวรปธาน ฯ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ปหานปธาน เป็นไฉน

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
- ย่อมไม่รับไว้ซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี
- ย่อมไม่รับไว้ซึ่งพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไปให้ถึงความไม่มี
- ย่อมไม่รับไว้ ซึ่งวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไปให้ถึงความไม่มี
- ย่อมไม่รับไว้ซึ่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วๆ ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่าปหานปธาน ฯ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภาวนาปธาน เป็นไฉน

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
- ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับน้อมไปเพื่อความสละลง
- ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับอันน้อมไปเพื่อความสละลง
- ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง
- ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง
- ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลง
- ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับอันน้อมไปเพื่อความสละลง
- ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยความสงัดอาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความสละลงผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภาวนาปธาน ฯ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อนุรักขนาปธาน เป็นไฉน

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมตามรักษาสมาธินิมิตอันเจริญที่บังเกิดขึ้นแล้วคือ
- อัฏฐิกสัญญา กำหนดหมายกระดูก
- ปุฬุวกสัญญา กำหนดหมายหมู่หนอนไชศพ
- วินีลกสัญญา กำหนดหมายศพขึ้นพองเขียว
- วิจฉิททกสัญญา กำหนดหมายศพที่เป็นท่อนๆ
- อุทธุมาตกสัญญา กำหนดหมายศพขึ้นอืด

ผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อนุรักขนาปธาน ฯ


ขอขอบคุณ สัมมัปปธาน ๔ ที่มาจาก http://www.84000.org/tipitaka/read/byit ... &preline=0


ขอขอบคุณ ภารทวาชสูตร ที่มาจาก..

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘  บรรทัดที่ ๒๙๐๔ - ๒๙๘๑.  หน้าที่  ๑๒๕ - ๑๒๘.
 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=18&A=2904&Z=2981&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=195
             สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๘
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_18

10  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนวกะ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2014, 08:32:45 am

แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนวกะ


ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ และ แนวทางวิถีแห่งการปฏิบัติกรรมฐานทั้งหลายทั้งปวงที่ครูบาอาจารย์ทั้งหลายผู้เป็นสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าได้สั่งสอนชี้แนะไว้ มี หลวงปู่มั่น ภูริทตฺตมหาเถร พระอาจารย์ใหญ่ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล หลวงปู่ดุลย์ อตุโล พระราชพรหมญาณ(หลวงพ่อฤๅษีฯ) หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน หลวงปู่นิล มหันตปัญโญ(ครูอุปัชฌาย์ท่านแรกที่บวชให้แก่ผม) พระครูสุจินต์ธรรมวิมล(ครูอุปัชฌาย์ท่านที่สองที่บวชให้แก่ผม) และ พระอาจารย์สนธยา ธัมมวังโส(ผมขออนุญาตพระอาจารย์เป็นอุปัชฌาย์ของผมอีกท่านหนี่ง โดยการด้วยขอด้วยการตั้งจิตอธิษฐานระลึกถึง) ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน และ แนวทางวิถีปฏิบัติกรรมฐานทั้งหลายของครูบาอาจารย์ผู้เป็นสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าทุกท่านตามที่ผมได้กล่าวไว้ข้างต้นนั้น ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด

บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนวกะ ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้


กรรมฐาน ชั้นนวกะ บทที่ ๑ ว่าด้วย "ความศรัทธา"

ท่านใดที่จะมาเจริญปฏิบัติในพระพุทธศาสนานี้ ต้องทีศรัทธาก่อน ศรัทธา คือ อะไร

ศรัทธา  คือ  ความเชื่อ  หมายถึงเฉพาะ  ศรัทธาที่เชื่อด้วยปัญญา  เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ  เชื่อด้วยเหตุผล  ถ้าเชื่อโดยปราศจากปัญญา  เรียกว่า  อธิโมกข์ ( ความน้อมใจเชื่อ หรือ เชื่อตามเขา )
       ประเภทของศรัทธา มี ๔ ประเภท คือ
           ๑. กัมมสัทธา    เชื่อกรรม
           ๒. วิปากสัทธา   เชื่อผลของกรรม
           ๓. กัมมัสสกตาสัทธา  เชื่อความที่สัตว์โลกมีกรรม เป็นของ ๆ ตน
           ๔. ตถาคตาโพธิสัทธา  เชื่อการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
ดังนั้นแล้วก่อนอื่นใด ให้เรามีจิตตั้งมั่นในศรัทธา เพื่อความมีเจตตั้งมั่นในการเจริญปฏิบัติกรรมฐานดังนี้
- ศรัทธา ในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เชื่อในพระพุทธเจ้า
- ศรัทธาพระธรรมคำสอนและแนวทางปฏิบัติที่เป็นเครื่องออกจากทุกข์ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน
 (เมื่อเราเชื่อด้วยปัญญาและรู้แล้วว่า ไม่ว่าเราจะกระทำสิ่งใดไว้ เป็นบุญ หรือ เป็นบาป เราย่อมเป็นทายาท คือว่าเราจะได้รับผลของกรรมนั้นสืบไป
   และ ด้วยศรัทธาที่มีต่อพระพุทธเจ้า เราก็ต้องศรัทธาในพระธรรมคำสอนและแนวทางปฏิบัติที่เป็นเครื่องออกจากทุกข์ทั้งปวงที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า เป็นทางเพื่อออกจากทุกข์ได้จริง)

- เมื่อเรามีความเชื่อเช่นนี้แล้ว จิตเราย่อมมีเจตนาตั้งมั่นแน่วแน่ที่จะปฏิบัติเพื่อให้ถึงความพ้นทุกข์ทั้งสิ้นนี้


กรรมฐาน ชั้นนวกะ บทที่ ๒ ว่าด้วย "ทำไมทุกข์ จึงเป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้"
ผู้ใดก็ตามแต่ที่จะเจริญกรรมฐานในพระพุทธศาสนานี้ หากไม่กำหนดรู้ทุกข์แล้ว ย่อมปฏิบัติได้ยาก ที่กล่าวเช่นนี้ ด้วยเหตุผลเพราะ
- เมื่อเราไม่กำหนดรู้ทุกข์ ก็จะไม่รู้จักตัวตนของทุกข์ อาจจะเป็นผู้ที่มีแต่ความสุขอยู่แล้ว แม้จะเคารพในพระรัตนตรัย พระพุทธศาสนา แต่ก็ไม่รู้จุดหมายของการปฏิบัติกรรมฐาน และ ไม่รู้ว่าจะพ้นทุกข์ไปถึงนิพพานที่เป็นบรมสุขเพื่ออะไร เพราะที่เป็นอยู่ก็มีความสุขดีอยู่แล้ว  (นี่เป็นเหตุให้เกิดความลังเลสงสัย เสื่อมศรัทธา ไม่มีความตั้งใจในการปฏิบัติ)
-  เมื่อเราไม่กำหนดรู้ทุกข์ เราก็จะเกิดแต่ตัณหา อุปาทาน ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นตัวตนอันน่าใครปารถนาไปหมด เหมือนคนที่มีแต่ความสุขอยู่แล้ว เมื่อไม่กำหนดรู้ทุกข์ก็ย่อมไม่เห็นว่าความทุกข์เป็นเช่นไร ที่ตนมีอยู่ก็เป็นสิ่งสัมผัสได้แตะต้องได้มีตัวตนจริงๆ จะต้องสละแล้วดิ้นรนไปให้ลำบากไปทำไม (นี่เป็นเหตุให้เกิดความความยึดมั่น ถือมั่น เป็น อุปาทานทั้งปวง)
- เมื่อเราไม่กำหนดรู้ทุกข์ เราก็จะไม่รู้จัก คุณ และโทษ ในสิ่งที่เราเสพย์เสวยอารมณ์ใดๆ หรือ สิ่งใดๆอยู่นั้น
- เมื่อเราไม่กำหนดรู้ทุกข์ ก็จะไม่รู้จักความเบื่อหน่ายที่เป็น นิพพิทา คือ ความหน่ายที่เกิดขึ้นจากปัญญาพิจารณาเห็นความจริง จึงมีความเบื่อหน่ายในกองทุกข์ ,ความหน่ายจากการไปรู้เห็นความจริงในการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ หรือความเบื่อหน่ายในการเวียนว่ายตายเกิดในกองทุกข์ ที่ไม่รู้วันจบ,ไม่รู้วันสิ้น  จึงเป็นความหน่ายที่ประกอบด้วยปัญญา  จึงย่อมแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับความเบื่อหน่ายโดยทั่วๆไปหรือในทางโลกหรืออย่างโลกิยะ ที่ย่อมประกอบด้วยตัณหา
- เมื่อเราไม่กำหนดรู้ทุกข์ เราก็จะไม่รู้จักดน้อมพิจารณาในธรรม ทำให้ไม่เห็นสาเหตุที่ทำให้เรานั้นเกิดความทุกข์ทาง กาย และ ใจ เป็นเหตุให้ ไม่รู้สมุทัย คือ ไม่รู้สิ่งที่ควรละ เป็นเหตุให้ไม่รู้แจ้งถึงความดับทุกข์ และ ทางดับทุกข์ที่ควรเจริญปฏิบัติให้มาก


กรรมฐาน ชั้นนวกะ บทที่ ๓ ว่าด้วย "ทุกข์ เราควรกำหนดรู้อย่างไร"

การกำหนดรู้ทุกข์ในชั้นนวกะนี้ มีวิธีกำหนดดังนี้

1. มีสติระลึกรู้เท่าทันปัจจุบันขณะ หรือ จะหวนระลึกถึงอารมณ์ใดๆ สิ่งใดๆ เรื่องไรๆ ที่เราได้พบเจอมาได้เสพย์อารมณ์สิ่งนั้นๆมา โดยพิจารณาแยกแยะให้เห็นว่า สิ่งที่เรานั้นกำลังเกิดความปารถนายินดีใคร่ได้ต้องการที่จะเสพย์อยู่นี้ เรามีความรู้สึกอย่างไร เป็นสุข หรือ ทุกข์  หากเมื่อเราเสพย์มันเข้าไปแล้วมันจะให้คุณ หรือ ให้โทษ เป็นประโยชน์สุขกับเราและบุคคลรอบข้างแค่ไหนหรือกลับส่งผลเสียให้เราและบุคคลรอบข้าง มันให้คุณหรือโให้ทษมากกว่ากัน
2. มีสติระลึกรู้เท่าทันปัจจุบันขณะ ว่าสิ่งที่เรากำลังเสพย์อยู่นี้ เรามีความรู้สึกอย่างไร เป็นสุข หรือ ทุกข์  ให้คุณ หรือ โทษ ในขณะที่เสพย์อยู่นี้ มันทำให้หายป่วยไข้ ทำให้หายหิวข้าว ทำให้สุขภาพร่างกายและจิตใจแจ่มใสเบิกบาน แข็งแรง มีแต่กุศลธรรมในกายและใจไหม หรือ เมื่อเสพย์แล้วมันทำให้เกิดความติดใจเพลิดเพลินยินดี ปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์เพิ่มเติมไหม เมื่อได้เสพย์สมใจปารถนาแล้วเกิดความสูญเสียทั้ง เงิน สุขภาพร่างกายเสื่อมโทรม เจ็บป่วยไข้ สภาพจิตใจไม่ปกติมีความร้อนรุ่มร้อนรนกายและใจ อัดอัดคับแค้นกายและใจ จิตใจเศร้าหมอง สูญเสียครอบครัวคนรัก เสียงาน ละเลยหน้าที่ๆควรทำ ละเลยสิ่งที่ต้องดูแล
3. มีสติระลึกรู้เท่าทันปัจจุบันขณะ ว่าหลังจากที่เราได้เสพย์สมอารมณ์ที่ใครปารถนานั้นแล้ว เรามีความรู้สึกอย่างไร เป็นสุข หรือ ทุกข์  ให้คุณ หรือ โทษ ในขณะที่เสพย์อยู่นี้ มันทำให้หายป่วยไข้ ทำให้หายหิวข้าว ทำให้สุขภาพร่างกายและจิตใจแจ่มใสเบิกบาน แข็งแรง มีแต่กุศลธรรมในกายและใจไหม หรือ เมื่อเสพย์แล้วมันทำให้เกิดความติดใจเพลิดเพลินยินดี ปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์เพิ่มเติมไหม เมื่อได้เสพย์สมใจปารถนาแล้วเกิดความสูญเสียทั้ง เงิน สุขภาพร่างกายเสื่อมโทรม เจ็บป่วยไข้ สภาพจิตใจไม่ปกติมีความร้อนรุ่มร้อนรนกายและใจ อัดอัดคับแค้นกายและใจ จิตใจเศร้าหมอง สูญเสียครอบครัวคนรัก เสียงาน ละเลยหน้าที่ๆควรทำ ละเลยสิ่งที่ต้องดูแล
4 หากสิ่งนี้ๆเราได้เคยเสพย์มาก่อนแล้ว ก่อนที่เราเข้าไปร่วมเสพย์อารมณ์ใดๆ สิ่งใดๆ ให้เราเจริญพิจารณาดังนี้
- หวนระลึกพิจารณาถึง สภาพ รูป สี เสียง กลิ่น รส การกระทบสัมผัสทางกาย กระทบสัมผัสทางใจ  ที่เราเคยได้เสพย์อารมณ์นั้นๆมาแล้วในกาลก่อน  ว่ามันมีสภาพอย่างไร เป็นสุข หรือ ทุกข์  ให้คุณ หรือ โทษ  และ หลังจากที่ได้เสพย์มันแล้วมีผลลัพธ์เช่นไร เป็นสุข หรือ ทุกข์  ให้คุณ หรือ โทษ  เช่น มันทำประโยชน์สุขให้เราแค่ไหน มากเท่าใด ทำให้หายป่วยไข้ ทำให้หายหิวข้าว ทำให้สุขภาพร่างกายและจิตใจแจ่มใสเบิกบาน แข็งแรง มีแต่กุศลธรรมในกายและใจไหม หรือ ผลลัพธ์อันเกิดจากหลังที่ได้เสพย์มันแล้วเกิดความสูญเสียทั้ง เงิน สุขภาพร่างกายเสื่อมโทรม เจ็บป่วยไข้ สภาพจิตใจไม่ปกติมีความร้อนรุ่มร้อนรนกายและใจ อัดอัดคับแค้นกายและใจ จิตใจเศร้าหมอง สูญเสียครอบครัวคนรัก เสียงาน ละเลยหน้าที่ๆควรทำ ละเลยสิ่งที่ต้องดูแล
- มีสติระลึกรู้เท่าทันปัจจุบันขณะ หรือ หวนระลึกพิจารณาว่า ก่อนที่เราจะเสพย์ในอารมณ์นั้นๆ สิ่งนั้นๆ สภาพอาการความรู้สึกทางกายและใจของเรานั้นแจ่มใสเบิกบาน มีกาย วาจา ใจ เป็นกุศลมีปกติจิตเป็นสุขยินดี มีสติยั้งคิด รู้แยกแยะดีชั่วไหม
- มีสติระลึกรู้เท่าทันปัจจุบันขณะ หรือ หวนระลึกพิจารณาว่า เมื่อเราได้เสพย์ในอารมณ์นั้นๆ สิ่งนั้นๆ แล้ว หรือ หลังจากที่ได้เสพย์ในอารมณ์นั้นๆ สิ่งนั้นๆ สภาพอาการความรู้สึกทางกายและใจของเรานั้นเป็นเหมือนก่อนที่จะได้เสพย์ไหม


กรรมฐาน ชั้นนวกะ บทที่ ๔ ว่าด้วย "ทุกข์ เราได้กำหนดรู้แล้วเป็นอย่างไร

เมื่อเราได้กำหนดรู้ทุกข์แล้ว ผลอานิสงส์ที่เราจะได้รับหลังจากที่ได้กำหนดรู้ทุกข์แล้วนั้นมีเบื้องต้นดังนี้

1. เห็นคุณประโยชน์ และ โทษ ในอารมณ์ใดๆ สิ่งใดๆ ที่เราได้กำหนดรู้ทุกข์แล้วนั้น
2. เกิดความเบื่อหน่ายที่เกิดขึ้นจากปัญญาพิจารณาเห็นความจริงใน อารมณ์ใดๆ สิ่งใดๆ ที่เราได้กำหนดรู้ทุกข์แล้วนั้น
3. มีการหวนระลึกพิจารณาวิเคราะห์ลงในธรรมถึงเสาเหตุที่ทำให้ก่อเกิดความทุกข์เมื่อรู้กระทบสัมผัสในอารมณ์ใดๆ สิ่งใดๆเหล่านั้น เป็นเหตุให้รู้เห็นเหตุแห่งทุกข์ตามจริง
4. ทำให้รู้ถึงสิ่งที่ควรละเพื่อถึงความดับทุกข์ พร้อมเห็นตามจริงถึงทางดับทุกข์อันประเสริฐที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้ว
5. ทำให้เรานั้นเกิดเจตนาอันมีจิตตั้งมั่นแน่วแน่ที่จะปฏิบัติ สัดับฟัง ค้นคว้าศึกษา โดยความไม่ย่อท้อ

กรรมฐาน ชั้นนวกะ บทที่ ๕ ว่าด้วย "การปฏิบัติเพื่อเข้าถึงกุศลธรรมทั้งปวง และ ให้ถึงซึ่งทางแห่งการพ้นทุกข์ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน


- เมื่อเรารู้ทุกข์แล้ว รู้สมุทัยแล้ว เราจะเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันอยู่ที่ว่า ขณะนั้นที่เราเข้าไปเสพย์อารมณ์ใดๆ หรือ สิ่งใดๆ เหล่านั้นมันเป็นกุศลธรรม หรือ อกุศลธรรม
- เมื่อมีจิตเป็นกุศล เราย่อมไม่น้อมนำเอาสิ่งไรๆที่ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์สุขยินดี ต่อตนเองและผู้อื่นมาพึงกระทำทาง กาย วาจา ใจ
- เมื่อมีจิตเป็นอกุศล เราย่อมเพิกเฉยต่อกุศลธรรมใดๆ และพร้อมกันนั้นก็เกิดความใคร่ปารถนายินดีที่จะเสพย์ในอารมณ์ใดๆ สิ่งใดๆ แม้รู้ว่ามันเป็นโทษไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์ก็ตาม
- ด้วยเหตุอย่างนี้ๆ พระพุทธเจ้าจึงสั่งสอนชี้แนะให้เราเจริญปฏิบัติในสิ่งที่เป็นกุศล และ กุศลจิต กุศลกรรมใดๆ มีความไม่ร้อนรุ่ม ร้อนรนใจด้วยกิเลสเป็นอานิสงส์ ซึ่งหนทางแห่งกุศลจิตที่เราจะพึงเห็นได้และปฏิบัติได้เป็นเบื้องต้นมีดังนี้


1. ศีล คือ ทางปฏิบัติเพื่อความเป็นให้แห่งกุศลทาง กาย และ วาจา เป็นหลัก ให้พึงระลึกว่า หากมีคนมากระทำการใดๆที่ผิดในข้อศีลที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ มีศีล ๕ เป็นเบื้องต้น เราจะรู้สึกดีไหม ยกตัวอย่างเช่น
- หากมีใครมาคิดปองร้ายหมายเอาชีวิตเรา เราจะชอบใจ พอใจยินดี มีความสุขกาย สุขใจ แจ่มใส เบิกบานไหม
- หากมีใครมาลักขโมยเอาสิ่งของที่มีค่าหวงแหนของเรา สิ่งของที่เราไม่ได้ให้ เราจะชอบใจ พอใจยินดี มีความสุขกาย สุขใจ แจ่มใส เบิกบานไหม
- หากมีใครมากระทำผิดหรือล่วงละเมิดใดๆต่อบุคคลที่เรารัก เราจะชอบใจ พอใจยินดี มีความสุขกาย สุขใจ แจ่มใส เบิกบานไหม
- หากมีใครมากล่าววาจาด่าทอ ส่อเสียด ยุยงให้ร้าย ไม่มีความเคารพให้เกียรติต่อเรา เราจะชอบใจ พอใจยินดี มีความสุขกาย สุขใจ แจ่มใส เบิกบานไหม
- หากเมื่อเราได้ดื่มสุรายาเมาแล้วทำให้หมดที่ต้องใช้จ่ายหมดไปไม่พอใช้ ต้องไปหยิบยืมเขามาใช้แทน ไม่มีเงินช่วยเหลือจุนเจือครอบครัว ไม่มีเงินใช้ในยามฉุกเฉิน เสียงาน เสียสุขภาพ เรี่ยวแรงกายใจอ่อนล้า สูญเสียสิ่งที่เป็นครอบครัว หรือ อาจจะไปกระทำผิดไรๆที่ทำให้เกิดความสูญเสียอันยิ่งใหญ่ที่ไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้อีก เกิดความพรัดพราก อยู่ด้วยความร้อนรุ่มร้อนรนกายใจ เราจะชอบใจ พอใจยินดี มีความสุขกาย สุขใจ แจ่มใส เบิกบานไหม หรือ เมื่อ ลูก เมีย สามี พี่ น้อง พ่อ แม่ ลุง ป้า น้า อา ปู่ ย่า ตา ยาย ของเรากินแต่เหล้าอยู่ในสภาพที่เมามายขาดสติยั้งคิดอยู่เป็นประจำ เราจะเอือมระอา และ รังเกลียดไหม หรือ จะเป็นสุขพอใจยินดี
- เมื่อเราไม่ชอบที่จะประสบพบเจอในสิ่งนี้ๆอย่างไร ก็อย่าไปกระทำต่อตนเองและผู้อื่นแบบนั้น ผลอานิสงส์ที่จะได้รับคือ ความไม่ร้อนรุ่มร้อนรนกายใจ ไม่เดือนเนื้อร้อนกายร้อนใจ มีจิตแจ่มใสชื่นบานเป็นสุข อยู่หรือไปสู่ที่ใดๆก็เป็นสุขแจ่มใจเบิกบาน

**ก็แลเมื่อเจริญปฏิบัติในศีลแล้ว ให้พึงระลึกถึงศีลข้อใดอันที่เราปฏิบัติมาดีแล้ว ไม่ขาด ไม่ทะลุ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ดีแล้วในแต่ละวัน เอามาเป็นที่ตั้งแห่งจิต พึงเจริญระลึกอยู่เป็นอารมณ์เช่นนี้เป็นประจำ จะเข้าสู่อุปจาระฌาณได้ป็นอย่างต่ำ นี่คือ "สีลานุสสติกรรมฐาน" ผู้ที่ไม่มีศีลจะไม่สามารถระลึกได้**


2. ทาน คือ การสละให้ เป็นการรู้จักสละให้ผู้อื่นด้วยความปารถนาดี มีความเอื้อเฟื่ออนุเคราะห์แบ่งปันสิ่งที่ดีเป็นประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น หวังให้ผู้อื่นได้ใช้ประโยชน์สุขจากการให้นั้นของเราด้วยจิตที่ยินดีเมื่อเขาได้รับสุขจากการให้นั้นของเรา

**ก็แลเมื่อเจริญปฏิบัติในทานแล้ว ให้พึงระลึกถึงทานใดๆอันที่เราปฏิบัติมาดีแล้ว งดงามเป็นกุศล ทั้งเมื่อก่อนให้ ขณะให้ และ หลังให้ หรือให้ด้วยจิตที่เป็นเมตตา กรุณา มุทิตา บริสุทธิ์ บริบูรณ์ดีแล้วในแต่ละวัน เอามาเป็นที่ตั้งแห่งจิต พึงเจริญระลึกอยู่เป็นอารมณ์เช่นนี้เป็นประจำ จะเข้าสู่อุปจาระฌาณได้ป็นอย่างต่ำ นี่คือ "จาคานุสสติกรรมฐาน" ผู้ที่ไม่มีกุศลทานจะไม่สามารถระลึกได้**


3.พรหมวิหาร ๔ คือ ทางปฏิบัติเพื่อความเป็นให้แห่งกุศลทาง ใจ เป็นหลัก ให้พึงเจริญระลึกทางใจเบื้องต้นอย่างนี้คือ
- เมตตาพรามหวิหาร ๔  คือ ความปารถนาดีต่อผู้อื่น ด้วยจิตที่ปารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข
- กรุณาพรามหวิหาร ๔  คือ ความรู้จักเอื้อเฟื้อ ประสงค์ที่จะอนุเคราะห์ แบ่งปัน ให้แก่ผู้อื่น ด้วยจิตที่ปารถนาให้ผู้อื่นได้พ้นทุกข์
- มุทิตาพรามหวิหาร ๔  คือ ความมีจิตยินดีเมื่อผู้อื่นเป็นสุข  มีจิตยินดีเมื่อผู้อื่นพ้นจากทุกข์ได้ประสบสุขแล้ว ด้วยจิตที่ไม่ติดใจ ไม่ขัดเคืองใจไรๆ
- อุเบกขาพรามหวิหาร ๔ คือ มีความรู้จักวางใจไว้กลางๆไม่หยิบจับเอาความพอใจยินดีและ ไม่พอใจยินดีมาเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งจิต ด้วยจิตที่รู้ว่าสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามผลแห่งกรรม คือ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำใดๆของตนเองไม่ว่าจะเมื่อกาลก่อนหรือปัจจุบันขณะนี้ จะเป็นกุศล หรือ อกุศลใดๆก็ตามแต่ เราย่อมเป็นทายาท คือว่าเราจะได้รับผลของกรรมนั้นสืบไป

วิธีการเจริญปฏิบัติให้เริ่มที่ เมตตาจิต กรุณาจิต มุทิตาจิต เป็นหลักก่อนโดยปฏิบัติดังนี้

๑. เจริญเข้าสู่สมาธิก่อน ไม่ว่าจะนั่งสมาธิอยู่ จะลืมตา หรือ หลับตา หรือ กำลังเดำเนินไปมในอิริยาบถใดๆก็ตามแต่ เมื่อหายใจเข้า-ออก ให้ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าที่เป็นผู้ไกลขจากกิเลส คือ ปราศจากกิเลส ตัณหา กาม ราคะ โทสะ โมหะ ทั้งปวง

๒. ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ที่มีพระเมตตตา ที่ปารถนาดีหวังให้ สัตว์โลก มนุษย์ เทวดา มาร พรหม ทั้งหลายได้พ้นจากกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ แล้วน้อมจิตเราให้เกิดความเมตตาจิตแผ่ซ่านไปทั่ว

๓. ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ที่มีพระกรุณาของพระพุทธเจ้าว่า พระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์ มีพระกรุณา ดุจห้วงมหรรนพมีความอนุเคราะห์ให้แก่หมู่สัตว์ มนุษย์ เทวดา มาร พรหม ทั้งหลาย แล้วน้อมจิตเราให้เกิดความกรุณาจิตแผ่ซ่านอนุเคราะห์แบ่งปันไปทั่ว โดยระลึกเอาบุญใดที่เรากราบไหว้อยู่ซึ่งพระรัตนะตรัยนี้ บุญใดที่เราได้เจริญปฏิบัติกรรมฐานทั้งปวงนี้ บุญใดที่กระทำมาแล้วแม้ในกาลก่อน และ ปัจจุบันนี้ แบ่งปัน อนุเคราะห์ให้แก่หมู่สัตว์ มนุษย์ เทวดา มาร พรหม ทั้งหลาย เพื่อให้เขาได้พ้นจากทุกข์ด้วยการเจริญจิตขึ้นเป็น ทาน คือ การสละให้ ไม่มีความหวงแหนยึดมั่นถือมั่นในสิ่งอันใดที่ตนมีอยู่เป็นอยู่ เป็นการสละให้ด้วยจิตปารถนาให้เขาได้พ้นทุกข์ และ ได้ใช้ประโยชน์สุขจากสิ่งที่เราสละให้นั้นของเรา

๔. ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ที่มีพระมุทิตา ที่มีความเป็นสุขยินดีเมื่อเห็นหมู่สัตว์ มนุษย์ เทวดา มาร พรหม ทั้งหลาย ได้พ้นจากทุกข์  แล้วน้อมจิตเราให้เกิดความมุทิตาจิตแผ่ความมีจิตยินดีที่เห็นผู้อื่นได้พ้นทุกข์ หรือ ได้มี เมตตา กรุณา อนุเคราะห์ช่วยเหลือให้เขาได้พ้นทุกข์ด้วยการแผ่เมตตาความปารถนาดีหวังให้เขาได้เป็นสุข มีความอนุเคราะห์แบ่งปันด้วยการนำเอาบุญใดที่เรากราบไหว้อยู่ซึ่งพระรัตนะตรัยนี้ บุญใดที่เราได้เจริญปฏิบัติกรรมฐานทั้งปวงนี้ บุญใดที่กระทำมาแล้วแม้ในกาลก่อน และ ปัจจุบันนี้ แบ่งปัน อนุเคราะห์ให้แก่หมู่สัตว์ มนุษย์ เทวดา มาร พรหม ทั้งหลาย เพื่อให้เข้าได้พ้นจากทุกข์นี้แผ่ซ่านไปทั่ว

** นี่เป็นการระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า พร้อมน้อมนำเอาธรรมและกิตติศัพท์อันงามของพระพุทธเจ้ามาน้อมเจริญปฏิบัติ เมื่อทำเป็นปกติประจำทุกปวัน ย่อมเข้าถึงอุปจาระฌาณได้เป็นอย่างต่ำ เป็นการเจริญปฏิบัติใน "พุทธานุสสติกรรมฐาน" ผู้ที่ไม่มีศรัทธาในพระพุทธเจ้าจะไม่สามารถเจริญปฏิบัติในข้อนี้ได้**

๕. เจริญบทสวดมนต์แผ่เมตตาให้ตนเองก่อน เพื่อให้ตนเองมีกำลังเมตตาหรือบารมีมากพอจะแผ่ไปให้คนอื่น แล้วค่อยแผ่เมตตาให้อื่นต่อไป โดยพึงเจริญเหมือนพ่อแม่ที่มีบุตรคนเดียวที่ให้ความรักใคร่ปารถนาอยากให้ลูกเป็นสุข พ้นจากทุกข์ ยินดีเมื่อลูกได้พ้นทุกข์ประสบสุข

วิธีการระลึกจิตแผ่เมตตานั้น ดูได้ตาม Link ข้างล่างนี้ครับ  http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8226.0  หรือ  http://www.thammaonline.com/15097.msg17168

๖. เมื่อได้แผ่ เมตตาจิต กรุณาจิต มุทิตาจิต ไปแล้ว เราต้องรู้วาวงใจไว้กลางๆ ไม่หยิบจับเอาความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีมาเป็นที่ตั้งแห่งจิต ด้วยพิจารณาเห็นว่าสิ่งที่เราได้อนุเคราะห์แบ่งปันให้เขาไปนั้น จะช่วยเขาได้มากน้อยแค่ไหน เราก็อย่าไปติดข้องใจไรๆ ด้วยถือว่าได้อนุเเคราะห์ช่วยเหลือเขาแล้ว เขาจะเป็นอย่างไรต่อไปก็อยู่ที่ กรรม และ วิบากกรรมของเขาที่ได้มีได้กระทำมาในกาลก่อน หรือ ปัจจุบันนี้ของเขา ้พราะไม่ว่า สัตว์ใด บุคคลใด ย่อมมีกรรม คือ การกระทำโดยเจตนาไรๆนั้นเป็นของๆตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นผู้ติดตาม มีกรรมเป็นที่พึ่งพาอาศัย ไม่ว่าคนใดหรือสัตว์ใดจะกระทำกรรมอันใดไว้ เป็นบุญหรือเป็นบาป จะต้องเป็นทายาท คือว่าจะได้รับผลของกรรมนั้นสืบไป
- เมื่อเจริญเมตตาจิต กรุณาจิต มุทิตาจิต เป็นประจำทุกวัน จนจิตที่เป็นเมตตามีกำลังมากแล้ว ให้เจริญเข้าสู่การแผ่ไปแบบไม่มีประมาณเป็นเมตตาฌาณ  คือ เจโตวิมุตติ แผ่ไปใน 10 ทิศ คือ ทิศเบื้องหน้า เบื้องหลัง เบื้องซ้าย เบื้องขวา เบื้องเฉียง เบื้องบน เบื้องล่าง เป็นการปฏิบัติธรรมในกรรมฐานกอง พรหมวิหาร ๔ กรรมฐาน

4. ขันติ คือ ความทนได้ทนไว้ มีความอดทนอดกลั้น มีสภาพจิตที่รู้จักปล่อย รู้จักละ รู้จักวาง ไม่ติดข้องใจกับสิ่งไรๆ สิ่งที่ใช่ปฏิบัติควบคู่กับขันติ คือ โสรัจจะ หรือ การสำรวมระวังใน ศีล พรหมวิหาร ๔  และ ทาน นั้นเอง

5. สมาธิ คือ ความมีจิตตั้งมั่นจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานซึ่งเอื้อประโยชน์แก่การเจริญปฏิบัติในข้อที่ 1-4 ข้างต้นนั้น ด้วยมีความรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะว่ากำลังกระทำสิ่งใดๆอยู่และมีความระลึกรู้อารมณ์ความรู้สึกความปรุงแต่งนึกคิดเท่าทันก่อนจะกระทำสิ่งไรๆทาง กาย วาจา ใจ ออกไป

การทำสมาธินี้ที่เราพอจะรู้กันดี เข้าใจง่ายและให้ผลได้ไม่จำกัดกาลคือ

1. อานาปานนสติ รู้ลมหายใจเข้า-ออก สั้น-ยาวก็รู้ ตามรู้ลมหายใจเข้าออกไปหยั่งนั้นไม่ส่งจิตออกนอก หากเมื่อส่งจิตออกนอกไปตรึกนึกคิดเรื่องราวใดๆก็ให้รู้ว่ากำลังคิด คิดกุศล หรือ อกุศล  (เพราะไม่ว่าจะคิดเรื่องใดๆสิ่งใดๆมันก็เป็นสมาธิหมดขึ้นอยู่แต่ว่ามันเป็นกุศลดีงามและมีกำลังมากพอที่ทำให้จิตตั้งมั่นและเอื้อแก่สติไหมเท่านั้น หากจิตที่วิตกตรึกนึกนั้นเป็นไปในกุศลจิตใจเราย่อมไม่ถูก กาม ราคะ โทสะ โมหะ กลุ้มรุม ย่อมสงบรำงับจากกิเลสทั้งปวง หากจิตที่วิตกตรึกนึกนั้นเป็นไปในอกุศลจิตใจเราย่อมถูกบดบังด้วย กาม ราคะ โทสะ โมหะ กลุ้มรุม ทำให้ลุ่มหลงอยู่ ไม่รู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ ไม่มีความระลึกรู้เท่าทันสภาพจิตตน แต่หากเป็นผู้ที่อยรมในสัมปชัญญะมาดีแล้วจะมีความรู้กายรู้ใจรู้ปัจจุบันขณะของตนที่กำลังดำเนินไปอยู่แล้วดึงกลับมาเข้าสมาธิอันเป็นกุศลได้)
หากกำหนดลมหายใจเข้า-ออก ด้วยพุทธานุสสติ คือ พุทโธ ให้รู้ว่าพุทธโธนี่คือ ชื่อพระพุทธเจ้า พุทโธ คือ พระพุทธเจ้าผู้ทรงคุณ เราจักระลึกถึงพระพุทธเจ้าทุกลมหายใจเข้าออก ก็ให้กำหนดระลึกรู้ลมหายใจไปเรื่อยๆไม่ต้องหวังไม่ต้องไปคิดไม่ต้องไปรู้สิ่งไรๆมาก ให้รู้ลมหายใจเข้าระลึกบริกรรมว่า พุทธ หายใจออกระลึกบริกรรมว่า โธ ไปเรื่อยๆจนกว่า พุทโธ จะกลายเป็นลมหายใจเข้า-ออก

2. กสิน คือ การเพ่ง โดยเพ่งในรูปที่มีลักษณะสีและแสงตามที่มีบัญญัติไว้แทนรูปธาตุใดๆตามใน กสิน ๑๐ ให้พิจารณาเพ่งเพื่อให้เห็นโทษในกามคุณ ๕ เท่านั้น เพ่งด้วยจิตที่ปารถนาเพื่อจะเข้าถึงความจริงตามสภาพจริง โดยไม่ใช่ใครปารถนาเอา อภิญญา วิธีการเพ่งให้เพ่งตามที่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของท่านที่ท่านสอนมา อย่างสายพระราชพรหมญาณท่านสอนให้เพ่งรูปพระพุทธเจ้า แล้วดึงเอารูปพระพุทธเจ้านั้นมาเป็นกสินนิมิตนี่ก็เรียกกสินโดยพุทธานุสสติ

3. อุปสมานุสสติ คือ ระลึกถึงพระนิพานเป็นอารมณ์ ให้ดึงเอาคุณสมบัติของพระนิพพานคือ ความว่างจากกิเลส หมดสิ้นจากกิเลส นั่นคือ สภาพจิตที่เป็นอุเบกขา เช่น อุเบกขาในองค์ฌาณ ระลึกเอาสภาพนั้นเป็นอารมณ์ หากยังไม่ชินหรือจิตชินกับอานาปานสติมาก ก็สามารถระลึกเข้าประกอบกับลมหายใจได้เช่น หายใจเข้าระลึกบริกรรมว่า ว่าง หายใจออกระลึกบริกรรมว่า หนอ เป็นต้น

4. เมื่อเราส่งจิตออกนอกระส่ำระส่ายไม่เป็นสมาธิมีทางแก่ดังนี้
    4.1 ตามดุมัน โดยพึงระลึกรู้ว่าจิตส่งออกนอก ดึงสติขึ้นแลดูในสภาพที่มันตรึกนึกคิดนั้นว่ามันเป็นไปอย่างไร คือเพียงแค่ตามดูเท่านั้น การตามดูนี้คนบางกลุ่มที่ปฏิบัติหากเขาไม่สามารถดึงสัมปชัญญ+สติขึ้นมาให้มีสภาพแค่แลดูแนบไปกับความปรุงแต่งนั้นได้ เขาจะเห็นว่าการตามดูนั้นเป็นแค่เรื่องพื้นๆ และ เมื่อเขาเหล่านั้นรู้สภาพธรรมใดๆความปรุงแต่งนั้นก็จะดับไปทันที ทำให้ไม่เห็นถึงเหตุปัจจัยของสภาวะธรรมนั้นๆ ซึ่งที่จริงแล้วการตามดูนี้เป็นการดึงเอาสติ+สัมปชัญญะขึ้นมา ระลึกรู้และรู้ตัวทั่วพร้อมขึ้นแลดูความปรุงแต่งแห่งสังขารแนบดูตามความปรุงแต่งนั้นไปด้วยกำลังที่พดอเหมาะ ทำให้เราเห็นทั้งความปรุงแต่งและเกิดปัญญาญาณที่รู้ว่า จิตกับสังขารมันแยกกันอย่างไรมันทำหน้าที่ต่างกันยังไง คำว่าเกิดดับทีละขณะเป็นไฉน จะเข้าไปรู้ในตรงนี้ด้วยความเห้นตามจริงอันตัดจากความนึกคิดที่เรียกว่า ยถาภูญาณทัสสะ เช่น
- ขณะที่รับรู้อารมณ์ใดๆทาง สฬายยตนะ เมื่อแรกที่รู็มันจะยังเป็นเพียงสภาพที่ยังไม่มีบัญญัติใดๆทั้งสิ้น
- ขณะที่สังขารปรุงแต่งเรื่องราวใดๆ ขณะแรกนั้นจิตมันยังไม่เขาไปรู้เรื่องราวที่คิดนั้น
- เมื่อความที่ปรุงแต่งเรื่องราวดับไปขณะหนึ่ง ความที่จิตเข้าไปรู้เรื่องราวที่ปรุงแต่งนั้นก็เกิดขึ้น ต่อมาก็เกิดบัญญัติตามมา
- เมื่อจิตรู้บัญญัติ ความหวนระลึกถึงความจำได้จำไว้ในสิ่งที่ตรึกนึกอยู่นั้นก็เกิดขึ้น
- เมื่อสัญญาเกิดแจ้งขึ้นแก่จิต ในขณะนั้นจิตน้อมไปหาความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีทางใดๆที่เกิดขึ้นแต่ กาม ราคะ โทสะ โมหะ ก็เกิดขึ้น แล้วก็ปรุงแต่งเรื่องราว
- ในขณะที่ปรุงแต่งเรื่องราวโดยมีจิตเข้าไปร่วมเสพย์อยู่นี้ อาการความรู้สึกใน กาม ราคะ โมสะ โมหะ ก็เกิดขึ้น
- อันนี้ก็ทำให้เห็นถึงธรรมารมณ์แล้ว จนเมื่อจิตสงบตั้งมั่นดีพอจะเห็นถึงกองขันธ์ ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แยกเป็นอย่างๆไป
    4.2 ไปเอาฌาณกับลมหายใจและพระพุทธเจ้า ให้จดจ่ออยู่ที่ลมหายใจ โดยพึงระลึกรู้ว่าจะตามไปเอาสามาธิกับลมหายใจเข้า และ ลมหายใจออก ค้นหาฌาณสมาธิตามลมหายใจนั้นไป หรือ หากบริกรรมพุทธโธก็ให้พึงระลึกว่าจะไปเอาฌาณกับพระพุทธเจ้าแล้วดึงจิตจดจ่อตามคำบริกรรมพุทธโธพร้อมน้อมจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าตามไป
    4.3 ตั้งจิตระลึกถึงความว่าง โดยไม่ต้องไปจับอารมณ์ไรๆทั้งสิ้นให้พึงระลึกถึงความว่างอันปราศจาก กาม ราคะ โทสะ โมหะ หรือ พึงระลึกถึงความว่างอันหาประมาณไม่ได้ตามดูความว่างนั้นไป
    4.4 เพ่งที่จุดสัมผัสของลม หากเป็นที่จมูกดูเมื่อมีลมผ่านเข้าผัสสะกับปลายจมูกหรือรูจมูก  หากเป็นที่อกให้พึงระลึกรู้ตามเมื่อกระบังลมเคลื่อนตัวขึ้น-ลง หากเป็นที่ท้องก็ให้ระลึกรู้ตามท้องที่ยุบ-พอง หรือ จะตามดูลมเคลื่อนตัวตั้งแต่ผ่านเข้าจมูกเคลื่อนตัวไปที่หน้าอกลงไปท้อง เมื่อหายใจออกก็ระลึกตามดูไล่ตั้งแต่ท้องเคลื่อนตัวผ่านหน้าออกออกมาจมูก
    4.5 เพ่งจุดแสง
   ก. พึงระลึกเวลาเราหลับตามันจะมืดมิดแต่จะมีจุดแสงเล็กๆกระจัดกระจายไปทั่ว ให้พึงเพ่งแสดงเล็กๆนั้นด้วยตรึกนึกว่านั่นคือจิตของเราที่กระจักดกระจายไม่รวมตัว จนเมื่อตั้งเพ่งมองในความมือนั้นโดยตรงหน้ากึ่งกลางระหว่างคิ้วดูแสงที่เล็กๆนั้นผุดขึ้นดับไปหลายๆจุดมันก็เหมือนจิตและเจตสิกนั้นแหละที่ทำให้มันกระจัดกระจายพอเมื่อเพ่งไปเมื่อเรามีจิตตั้งมั่น จิตก็จะรวมแสดงนั้นเป้นจุดเดียวเป็นวงใหญ่เท่าลูกแก้วสว่างไสวหรือจะใหญ่มากก็แล้วแต่จิตคนให้พึงดูตามดวงแก้วแห่งแสงสว่างนั้นไป จนสามารถบังคับมันเล็กใหญ่ได้แต่ไม่เข้าไปยึดมั่นในแสงนั้นเพียงเอาแสงนั้นเป็นฐาน เหมือนพระพุทธเจ้าตรัสว่าจิตเดิมแท้นี้ ปภัสสร คือ สว่างไสว จิตก็จะดำเนินไปหาสัมมาสมาธิเอง
   ข. พึงระลึกเราถึงดวงแก้วที่ผ่องใสสว่างสงบเย็ม เปรียบดั่งใจเรานี้ที่มีความว่าง แต่เพราะอาศัยกิเลสจรมาจึงทำให้เศร้าหมองก็พึงระลึกถึงสภาพที่ดวงแก้วนั้นมือหมองมัวเพราะปกคลุมด้วยกิเลส ก็ตั้งมโนภาพปรุงแต่งไปถึงว่าเราค่อยๆขัดถูขัดเขาเอากิเลสออกดวงแก้วนั้นก็ผ่องใสสงบเน็นดังนี้

ให้เพียรเจริญปฏิบัติแนวทาง กรรมฐาน ชั้นนวกะ บทที่ ๑-๕ เป็นประจำ นี่คือพื้นฐานของการปฏิบัติกรรมฐานเท่านั้น เมื่อทำเป็นประจำผลอานิสงส์ที่ได้รับอย่างต่ำย่อมเข้าถึง การสัมรวมอินทรีย์ หรือ อินทรีย์สังวร อันเป็นทางเบื้องต้นแห่งการเข้าถึง โพงฌงค์ ๗ ได้

11  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / อุบายสมาธิ เมื่อ: มกราคม 24, 2014, 03:45:09 pm
ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม

กราบเรียนพระอาจารย์ธัมมวังโส และ ท่านผู้รู้ทั้งหลาย

ด้วยว่าผมและอาจจะมีหลายๆท่านที่ไม่สามารถจดจ่อในสมาธิได้ง่าย มีความตรึก นึก คิด ฟุ้งซ่านเป็นปกติ ด้วยจิตนี่ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตนอันที่เราจะไปบังคับให้มันเป็นไปดังใจได้ เราต้องหาอุบายล่อให้จิตนี้ชอบกับสมาธิ จนเกิดความจดจ่อแนบแน่นอยู่เป็นสัมมาสมาธิ ผมจึงได้คิดหาอุบายดังนี้ว่า

ให้เพ่งลม ลมหายใจเข้า และ ลมหายใจออก เพ่งให้เป็นกสิน เป็นชักการชักจูงให้จิตนี้จดจ่อกับลม

อุบายนี้เป็นเนื่องมาจาก พระตถาคตตรัสสอนเรื่องธาตุ ๖ แก่ท่านปุกกุสาติว่า

[๖๘๗] ดูกรภิกษุ ก็วาโยธาตุเป็นไฉน คือ วาโยธาตุภายในก็มี ภายนอก
ก็มี ก็วาโยธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน
คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้ ลมแล่นไป
ตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ
ที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่าวาโยธาตุภายใน

ด้วยเหตุที่ กสิน คือ การเพ่ง เมื่อเราขักจูงให้จิตน้อมไปที่ลมด้วยอุบายว่าเพ่งกสินลม(แต่จะต่างจากกสินที่เพ่งกำหนดดูรูปให้เกิดนิมิตเล็กน้อย) จิตก็จะมีการจดจ่อกับลมมากขึ้น หลุดจากลมหายใจน้อยลง ทำให้อยู่กับลมหายใจได้นานขึ้นดังนี้
 
ซึ่งผมเองก็ได้กระทำปฏิบัติอย่างนี้มา ทำให้ทรงอารมณ์ในสมาธิกับลมหายใจได้มากขึ้น ขั้นต่ำที่จะเห็นก็จะเกิดนิมิตเป็นดวงแก้วแสงสว่าง อาโลกกสิน ได้


ขอสอบถามพระอาจารย์ และ ท่านผู้รู้ทั้งหลายว่า อุบายเครื่องสมาธินี้ ผิดจากพระธรรมคำสอนไหมครับ  แล้วอุบายนี้ใช้เผยแพร่ไปได้ไหมครับ จะเป็นการบิดเบือนพระธรรมคำสอนหรือไม่อย่างไรครับ
12  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / พุทธานุสสติ (แบบพิสดาร) เมื่อ: มกราคม 22, 2014, 09:10:47 am

พุทธานุสสติ (แบบพิสดาร)


ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด

บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง "พุทธานุสสติ (แบบพิสดาร)" ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้




บทนำ

พุทธานุสสตินั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา
ด้วยเหตุให้เกิดอานิสงส์ปฏิบัติดังนี้คือ

1. ศรัทธา  คือ  ความเชื่อ  หมายถึงเฉพาะ  ศรัทธาที่เชื่อด้วยปัญญา  เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ  เชื่อด้วยเหตุผล  ถ้าเชื่อโดยปราศจากปัญญา  เรียกว่า  อธิโมกข์ ( ความน้อมใจเชื่อ หรือ เชื่อตามเขา )
    ศรัทธานั้นมีเบื้องต้นดังนี้ คือ เชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรม เชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เชื่อในธรรมอันจำแนกสั่งสอนสัตว์ของพระพุทธเจ้าเป็นต้น

    **ดังนั้นหากผู้ใดไม่ศรัทธาในพระพุทธเจ้า และ ธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน จะไม่สามารถระลึกใน พุทธานุสสติได้เลย

2. สติ คือ ความระลึกรู้ หวนระลึกรู้ ความตามรู้ ความตรึก(นึกถึง) ตรอง(คำนึงถึง พิจารณาลงในธรรม)รู้ในสภาวะธรรมนั้นๆ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม การเจริญในสติปัฏฐานสำคัญต้องเริ่มที่กายคตาสติก่อนจึงจะเกิด สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ อันก่อให้เกิดสัมมาสติอย่างแท้จริง และ จิตตั้งมั่นจดจ่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานอันควรแก่งานพิจารณาในในสภาวะ เวทนา จิต ธรรม เรียกว่า สัมมาสมาธิ

3. สมาธิ คือ ความมีตั้งมั่นจดจ่อควรแก่งาน จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน ซึ่งสมาธิแต่ละระดับจะมีองค์ของสมาธิต่างๆกันไป สมาธินี้เป็นตัวสำคัญในการเจริญสมถะภาวนา คือ อุบายเครื่องแห่งกุศล ขจัดซึ่งนิวรณ์ทั้งหลาย เอื้อต่อสติเป็นเหตุให้เกิดปัญญาซึ่งความรู้เห็นตามจริง

4. ปัญญา คือ ความรู้เห็นตามจริง ปัญญาแบ่งเป็นหลายระดับมีสภาพที่รู้เห็นและความเข้าถึงไตรลักษณ์ต่างๆกันไป

    พุทธานุสสตินั้นหลายคนจะคิดว่าได้แค่ปฐมฌาณบ้าง ไม่ก่อให้เกิดปัญญาบ้าง หรือ มีแต่พระอริยะเจ้าเท่านั้นระลึกกันบ้าง อันนี้เป็นความเห็นผิด พุทธานุสสตินั้น กุลบุตรผู้ฉลาดพึงเจริญตามสิ่งที่พระอริยะเจ้าทั้งหลายได้บรรลุบทอันกระทำแล้วดังนี้ และ พุทธานุสสติก็เป็นปัญญาด้วยเช่นกัน กรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง เข้าสู่วิปัสนาได้หมด
    แต่เพราะเราเชื่อตามๆกันมาว่ากองนี้ให้ผลได้แค่นี้ กองนั้นให้ผลได้มาก กองโน้นให้ผลได้น้อย กองนี้ถึงจะเข้าวิปัสนาได้ จึงทำให้เกิดการเรียนอภิธรรมแล้วก็ท่องจดจำเอาด้วยเชื่อตามๆกันมาว่าเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้หลุดพ้น จึงทำให้การเจริญใน ๔๐ กรรมฐานลดน้อยลง และ ค่อยๆเสื่อมลง จนหายไปในที่สุด


    ดังนั้นเพื่อให้ทุกคนเห็นตามจริงและศรัทธาในของพระพุทธเจ้า และ คุณของพระคุณเจ้า ผมจึงตั้งใจอยากจะบอกกล่าวด้วยปัญญาอันน้อยนิดในการเจริญพุทธานุสสติไปจนถึงวิปัสสนาญาณดังนี้ครับ หากผิดพลาดประการใดรบกวนติเตียนและชี้แนะด้วยครับ ขอบพระคุณอย่างสูง
13  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ปฐมสูตรแห่งพระพุทธศาสนา (ธัมมจักกัปปวัตนสูตร) เมื่อ: มกราคม 03, 2014, 11:29:42 am
สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๕ (ธัมมจักกัปปวัตนสูตร )


เริ่มแรก..ให้เราตั้งจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าก่อน ระลึกว่าเรานั้นกราบลงแทบพระบาทพระพุทธเจ้า
จากนั้นให้ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าดังนี้ว่า
ด้วยเหตุอย่างนี้ๆ พระพุทธเจ้าเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง
เป็นผู้ประกอบด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้แจ้งโลกอย่างแจ่มแจ้ง
เป็นครูผู้ฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนเทวดาและมุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความเจริญจำแกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้
(พุทธานุสสติกรรมฐาน)


เอวัมเม สุตัง
( ข้าพเจ้า ( คือพระอานนท์เถระ ) ได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ )
เอกัง สะมะยัง ภะคะวา
( สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า )
พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย ฯ
( เสด็จประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันใกล้เมืองพาราณสี )
ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ
( ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือนพระปัญญจวัคคีย์อย่างนี้ว่า )

แล้วให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกว่าพระพุทธเจ้ามีพระกรุณาดุจห้วงมหันต์นพ
ได้ทรงเทศนาตรัสสอนพระธรรมนี้ๆ พระสูตรนี้ๆ ให้แก่เรา เพื่อเป็นทางเพื่อความหลุดพ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด
ป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่ผู้รู้ พึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้
(ธัมมนุสสติกรรมฐาน)


เทฺวเม ภิกขะเว อันตา

( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุด ๒ เหล่าอย่างนี้ )

ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา
( อันบรรพชิตไม่ควรเสพ )


โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค
( คือการประกอบตนให้พัวพันด้วยกาม ในกามทั้งหลายนี้ใด )
โน ( เป็นธรรมอันเลว ) คัมโม ( เป็นเหตุให้ตั้งบ้านเรือน ) โปถุชชะนิโก ( เป็นของคนผู้มีกิเลสหนา )
อะนะริโย ( ไม่ใช่ของคนไปจากข้าศึกคือกิเลส ) อะนัตถะสัญหิโต ( ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์ )

โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค
( คือประกอบความเหน็ดเหนื่อยด้วยตนเหล่านี้ใด )
ทุกโข ( ให้เกิดทุกข์แก่ผู้ประกอบ )
อะนะริโย ( ไม่ใช่ไปจากข้าศึกคือกิเลส )
อะนัตถะสัญหิโต ( ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์ อย่างหนึ่ง )

เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนะปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา
( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั่นนั้น )
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา ( อันตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง )
จักขุกะระณี ญาณะกะระณี ( ทำดวงตา ทำญาณเครื่องรู้ )
อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
( ย่อมเป็นไปเพื่อเข้าไปสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อ ความดับ )

กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา
( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติอันเป็นกลางนั้นเป็นไฉน )
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา ( ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง )
จักขุกะระณี ญาณะกะระณี ( กระทำดวงตา ทำญาณเครื่องรู้)
อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
( ย่อมเป็นไปเพื่อเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ )

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ
( ทางมีองค์ ๘ เครื่องไปจากข้าศึก คือกิเลสนี้เอง )
เสยยะถีทัง ( ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ )
สัมมาทิฏฐิ ( ปัญญาอันเห็นชอบ )
สัมมาสังกัปโป ( ความดำริชอบ )
สัมมาวาจา ( วาจาชอบ )
สัมมากัมมันโต ( การงานชอบ [ประพฤติปฏิบัติชอบ] )
สัมมาอาชีโว (เลี้ยงชีวิตชอบ )
สัมมาวายาโม ( ความเพียรชอบ )
สัมมาสะติ ( การระลึกชอบ )
สัมมาสะมาธิ ( ความตั้งจิตชอบ )

อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แลข้อ ปฏิบัติที่เป็นกลางนั้น )
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา (ที่ตถาคต ได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง )
จักขุกะระณี ญาณะกะระณี ( กระทำดวงตา คือ กระทำญาณเครื่องรู้ )
อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
(ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ )

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง
( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แลเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง คือ )

น้อมจิตเข้าพิจารณาในธรรมดังนี้

ชาติปิ ทุกขา ( แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ )
[น้อมจิตพิจารณาถึงความที่เราเกิดขึ้นมานี้ มีความทุกข์กายและใจอย่างไรบ้าง เช่น ไม่กินไม่ได้ ไม่นอนไม่ได้ ไม่ขี้ก็ไม่ได้ ไม่เยี่ยวก็ไม่ได้ แต่ละวันต้องดำเนินชีวิตลำบากายและใจอย่างไร ไม่ว่าคนรวย คนจน หรือสัตว์ใดๆ บุคคลใดๆ ต่อให้สุขสบายอย่างไรย่อมหนีไม่พ้นความทุกข์นี้
(คำว่า ชาติ แปลว่า การเกิด, ชนิด, พวก, เหล่า ชาตินี่รวมไปถึงความเกิด เกิดขึ้น ชนิด จำพวกในสิ่งต่างๆ คน สัตว์ สิ่งของ จนถึงสภาพธรรมปรุงแต่งใดๆ การเกิดขี้นของสังขารใดๆทั้งปวงด้วยไม่ว่าจะเป็น รูปธรรม และ นามธรรม ทั้ง 2 หรือ อย่างใดอย่างหนึ่ง(ปฏิจจสมุปบาท)เช่น เมื่อเกิดความโกรธเราทุกข์กายใจไหม เมื่อเกิดความความปารถนาใคร่ได้เราทุกข์กายใจไหม เมื่อเกิดความกำหนัดยินดีเรามีสภาพกายและใจอย่างไรเป็นทุกข์ไหม เมื่อเราพรัดพรากเรามีสภาพกายและใจเป็นอย่างไรเป็นทุกข์ไหม เป็นต้น)]


ชะราปิ ทุกขา ( แม้ความแก่ ก็เป็นทุกข์ )
น้อมจิตพิจารณาถึงสภาพที่เมื่อแก่ชรา เมื่อเราแก่ตังลงการมองเห็นก็ฝ่าฟางลำบาก การจะขยับกายก็ลำบาก การเคี้ยวการกินก็ลำบาก จะไปไหนมาไหนก็ลำบาก จะขับถ่าย ขี้ เยี่ยวก็ลำบาก เวลาเมื่อเจ็บป่วยก็ทรมานไปทั้งกายและใจ อย่างนี้ๆเป็นต้นที่เรียกว่า แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์

มะระณัมปิ ทุกขัง ( แม้ความตาย ก็เป็นทุกข์ )
น้อมจิตพิจารณาถึงความตายเป็นเบื้องหน้า เมื่อตายแล้วต้องวนเวียนในวัฏฏะสงสารอีกเท่าไหร่ และ ไม่รู้ว่าเมื่อตายไปจะเกิดในภพภูมิใด สัมภเวสี เปรต หรือ สิ่งใด เมื่อตายแล้วต้องไปชดใช้กรรมใดๆอีก เมื่อจะมาเกิดใหม่ก็ไม่รู้จะเกิดเป็นคนหรือสัตว์ แม้เมื่อเกิดเป็นคนจะเป็นขอทาน คนพิการ อยู่ยากลำบาก หรือ กินดีอยู่ดีก็ฌยังไม่รู้

โสกะปริเทวะทุกขะโทมะนัสสุกปายาสาปิ ทุกขา
( แม้ความโศกเศร้า ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ )

อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ( ความประสบพบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ )
[หวนระลึกพิจารณาว่า เมื่อเราประสบกับสิ่งที่เราไม่ชอบ ไม่พอใจ ไม่ต้องการ อยากจะผลักหนีให้ไกลตนแต่ก็ต้องพบเจอโดยหนีไม่พ้น เราเป็นทุกข์ไหม]

ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ( ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ )
[หวนระลึกพิจารณาว่า เมื่อเราต้องพรัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักคือ เลิกกับคนรักหรือคนรักตาย สัตว์ที่รักหายหรือตายไป ของที่รักพังทลายสูญหายไป เราเป็นทุกข์ไหม]

ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
( มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์ )
[หวนระลึกพิจารณาว่า เมื่อเราไม่ได้สิ่งใดๆตามที่ใจปารถนา คือ จีบสาวไม่ติด ทำกิจการงานแล้วผลลัพธ์ไม่ได้ตามที่หวังไว้ ไม่ได้สิ่งของตามที่ใจปารถนา เราเป็นทุกข์ไหม]

สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ฯ
( ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ )
[น้อมจิตหวนระลึกพิจารณาดังนี้
๑. รูปขันธ์ คือ ร่างกาย เมื่อเข้าไปยึดว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวเป็นตน เป็นคนนั้น เป็นคนนี้ จิตย่อมใคร่ปารถนาในกายให้ได้ให้เป็นไปตามที่ใจตนปารถนาไม่หยุด เมื่อไม่ได้ตามที่ใจปารถนาก็เป็นทุกข์ เมื่อเสื่อมโทรมก็เป็นทุกข์
๒. เวทนาขันธ์ คือ ความเสวยอารมณ์ความรู้สึก ความสุขกาย ทุกข์กาย ไม่สุขไม่ทุกข์ทางกาย ความสุขใจ ทุกข์ใจ อุเบกขาทั้งกุศลและอกุศล เมื่อเรารู้อารมณ์(สิ่งที่ใจรู้ เช่น สี เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ ธรรมารมณ์)ทางหู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ใดๆแล้วเกิดเวทนา เมื่อเป็นสุขแล้วเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในตัวตนอุปาทานว่านี่เป้นเรานี่เป็นของเราว่า สิ่งนี้ๆทำให้เราเป็นสุข เราก็แสวงหา ปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์ในสิ่งนั้นๆ เมื่อเราได้ประสบพบเจอในอารมณ์ใดๆที่ไม่เป็นไปตามที่เรานั้นตั้งความพอใจยินดีเอาไว้ว่าเป็นสุข เราก็เกิดความทุกข์ทันที ก็สำคัญมั่นหมายเอาไว้ในใจว่าสิ่งนี้ๆเป็นสุข เป็นทุกข์
๓. สัญญาขันธ์ คือ ความจำได้จำไว้ ความสำคัญมั่นหมายของใจ เมื่อเราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเอาสัญญาใดๆแม้ในเรื่องใดสิ่งใดที่ผ่านมาแล้ว เมื่อเข้าหวนระลึกถึงความทรงจำใดๆย่อมก่อให้เกิด ความปรุงแต่งจิตคิดไปต่างๆนาๆ เม่ื่อเสพย์ความพอใจยินดีก็ปารถนา เสพย์ความไม่พอใจยินดีก็อยากจะผลักหนีให้ไกลตน อยากให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ก่อให้เกิดเป็นทุกข์
๔. สังขาร คือ ความปรุงแต่งจิต สิ่งที่เกิดขึ้นประกอบกับจิต ดับไปกับจิต เช่น ความรัก โลภ โกรธ หลงใดๆ เมื่อใจเรามีความติดใจกำหนัดปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์ ขุ่นมัวขัดเคืองใจ อัดอั้นคับแค้นกายและใจ ผูกเวร ผูกพยายาบาท ลุ่มหลงมัวเมา เมื่อเราเข้ายึดมั่นถือมั่นกับความปรุงแต่งจิตนั้นๆ มันเป็นทุกข์ใช่ไหม
๕. วิญญาณขันธ์ คือ ใจ ความรู้อารมณ์ เช่น รับรู้การกระทบสัมผัสใน สี เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ ธัมมารมณ์ เมื่อเข้าไปมั่นมั่นถือมัุ่นกับสิ่งที่รู้อารมณ์ใดๆโดยวิญญาณขันธ์นี้ ไม่ว่าจะมองเห็นสี เห็นรูปใดๆ แล้วพอใจยินดีเข้าไปยึดว่าสวยงาม ก็ติดใจเพลิดเพลินใคร่ปารถนายินดีที่จะเสพย์อารมณ์นั้นๆ เมื่อเห็นแล้วไม่ชอบพอใจยินดี ก็ว่าไม่สวยไม่งาม ก็ไม่ปารถนาอยากจะผลักไสให้ไกลตนก็เป็นทุกข์]


อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง
( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนี้แลเป็นเหตุให้ทุกข์อย่างแท้จริง คือ )
ยายัง ตัณหา ( ความทะยานอยากนี้ใด )
โปโนพภะวิกา ( ทำให้มีภพอีก )
นันทิราคะสะหะคะตา ( เป็นไปกับความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน )
ตัตระ ตัตราภินันทินี ( เพลินยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ )
เสยยะถีทัง ( ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ )

กามะตัณหา ( ความทะยานอยากในอารมณ์ที่ใคร่ -
[ความเห็นว่าเที่ยง(สัสสตทิฏฐิ)ความเห็นว่าสิ่งนี้ๆมีอยู่ไม่สูญไป เช่น ตายแล้วก็เกิดใหม่อีกไปเรื่อยๆไม่มีสิ้นสุด])


ภะวะตัณหา ( ความทะยานอยากในความมีความเป็น [ความทะยานอยากปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์ในอารมณ์นั้นๆที่พอใจยินดี])

วิภะวะตัณหา ( ความทะยานอยากในความไม่มี ไม่เป็น -
[ความเห็นว่าขาดสูญ(อุจเฉททิฏฐิ)ความเห็นว่าสิ่งนี้ๆสูญไม่มีอีก เช่น ตายแล้วจะไม่มีการกลับมาเกิดอีก])


อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง
( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนี้แลเป็นความดับทุกข์ )
โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ
( ความดับโดยสิ้นกำหนัด โดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นนั่นแหละใด )
จาโค ( ความสละตัณหานั้น ) ปะฏินิสสัคโค ( ความวางตัณหานั้น )
มุตติ ( การปล่อยตัณหานั้น ) อะนาละโย ( ความไม่พัวพันแห่งตัณหานั้น )

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง
( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แลเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อย่างแท้จ้ริง คือ )
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ( ทางมีองค์ ๘ เครื่องไปจากข้าศึก คือกิเลส นี้เอง )
เสยยะถีทัง ( ได้แก่ สิ่งเหล่านี้ คือ )
สัมมาทิฏฐิ ( ปัญญาอันเห็นชอบ ) สัมมาสังกัปโป ( ความดำริชอบ )
สัมมาวาจา ( วาจาชอบ ) สัมมากัมมันโต ( การงานชอบ [ประพฤติปฏิบัติชอบ] )
สัมมาอาชีโว ( ความเลี้ยงชีวิตชอบ ) สัมมาวายาโม ( ความเพียรชอบ )
สัมมาสะติ ( ความระลึกชอบ ) สัมมาสะมาธิ ( ความตั้งจิตชอบ )

อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้ว ในกาลก่อนว่า นี่เป็นทุกข์อริยสัจ )


ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกข์อริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้ )

[มีสติหวนระลึกพิจารณาถึงการดำเนินไปในชีวิตประจำวันของเรา ว่าเราต้องประสบพบเจอกับสิ่งใดๆบ้าง แลเมื่อได้รับการกระทบสัมผัสในอารมณ์ใดๆเหล่านั้นแล้ว เรามีความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่งเสพย์เสวยอารมณ์ทางใจอย่างไรบ้าง หรือ มีความรู้สึกอาการทางกายอย่างไรบ้าง ให้กำหนดรู้ทุกข์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของเรานี้อยู่ให้เป็นประจำ จะทำให้เห็นแจ้งในทุกข์]

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกข์อริยสัจนี้นั้นแล เราได้กำหนดรู้แล้ว )

[เมื่อเรากำหนดรู้ทุกข์ รู้ในอารมณ์ความรู้สึกอาการทางกายและใจเมื่อได้เสพย์ในอารมณ์ใดๆแล้ว แลเห็นทุกข์ตามจริงอันเป็นผลจากการได้เสพย์ ไม่ได้เสพย์ หรือ ผลอันเกิดขึ้นหลังจากที่ได้เสพย์ในอารมณ์ใดๆที่ได้รับรู้กระทบสัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนั้นแล้ว จิตใจเราย่อมเกิดความเบื่อหน่ายในสิ่งนั้นๆอารมณ์นั้นๆ เพราะเห็นว่ามันหาประโยชน์สุขไรๆอันแท้จริงไม่ได้นอกจากทุกข์เท่านั้น แลเห็นตามจริงว่าสุขที่ได้รับจากการเสพย์อารมณ์ไรๆทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เป็นไปเพราะเกิดแต่ความติดใจเพลิดเพลิน กำหนัดยินดีเท่านั้น แล้วก็ต้องมาตะเกียกตะกายไขว่คว้าทะยานอยากหามาให้ได้สมกับความเพลิดเพลินใจปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์ หรือ ทะยานอยากจะมีจะเป็นอย่างที่ตนเองตั้งความสำคัญมั่นหมายพอใจยินดีไว้ หรือ ทะยานอยากจะผลักหนีจากสิ่งอันที่ตนตั้งความสำคัญมั่นหมายของใจไว้ว่าไม่เป็นที่รักที่พอใจยินดี ไม่เกิดเพลิดเพลิน มีแต่ความมัวหมองเศร้าหมองใจ หรือ ทุกข์อันเกิดแต่ความพรัดพรากบ้าง ไม่สมปารถนาบ้าง ความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจไม่พึงปารถนาบ้าง ทุกข์อันเป็นไปในความเพลิดเพลินกำหนัดยินดีบ้าง เป็นต้น (นี่คือผลที่เกิดขึ้นจากการกำหนดรู้ทุกข์)]

อิทัง ทุกขะสุมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกข์สมุทัยอริยสัจ )


ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกข์สมุทัยอริยสัจนี้แล ควรละเสีย )
.
[ก็เมื่อเราได้กำหนดรู้ทุกข์ในชีวิตประจำวันอย่างแจ่มแจ้งแล้ว เราก็จะรู้เห็นเหตุแห่งทุกข์ที่เกิดขึ้น เห็นว่าทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้เกิดขึ้นมาแต่เหตุไรๆ แล้วเพียรละที่เหตุนั้นเสีย]

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะนันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกข์สมุทัยอริยสัจนี้แล เราละได้แล้ว )


อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรจอริยสัจ )


ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรจอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง )

[เมื่อแลเห็นสมุทัยแล้ว รู้สิ่งที่ควรละแล้วความดับไปในทุกข์ในขั้นต้นย่อมเกิดขึ้นแก่กายและใจเราแล้ว เช่น ติดเหล้า เมื่อกำหนดรู้ทุกข์ก่อนกิน โดยหวนระลึกถึงว่าทุกข์จากการกินเหล้าเป็นไฉน มึนเมา เจ็บป่วย เมื่อยล้า เงินไม่มี เสียงาน อารมณ์ร้อน ทำในสิ่งที่ไม่ดีได้ทั้งหมด เมื่อทำเสร็จแล้วก็เป็นทุกข์มหันต์ ระลึกถึงรสชาติที่ได้เสพย์มันว่า รสชาติมันเฟื่อนลิ้นเฟื่อนคอ เหม็นมีกลิ่นฉุน กินแล้วก็ร้อนคอร้อนท้องไม่อิ่มเหมือนข้าว หาประโยชน์ใดๆไม่ได้นอกจากความติดใจเพลิดเพลินแล้วก็มาผจญกับความสูญเสียอันหาประมาณมิได้ นี่เป็นการกำหนดรู้ทุกข์ในเหล้า ทำให้เห็นคุณและโทษจากเหล้า จิตย่อมเกิดความเบื่อหน่ายในเหล้า สืบต่อให้เกิดความคิดวิเคราะห์ลงในธรรมและมีความเพียรตั้งมั่นที่จะออกจากทุกข์นั้น จิตย่อมน้อมหวนระลึกหาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์เหล่านี้คือเหล้า เหตุที่ทำให้เราอยากกินเหล้าคือสิ่งใดหนอ เมื่อหวนระลึกพิจารณาถึงก็จะเห็นว่า ความอยากนี่เอง ทำไมถึงอยากกินเหล้า ก็เพราะเราคอยตรึกนึกถึงมันนี่เอง ทำไมตรึกนึกถึงเสมอๆ ทีเรื่องที่ควรตระหนักถึงกลับไม่คิดถึง เมื่อหวนระลึกถึงก็จะเห็นว่าเหตุนั้นเพราะเราให้ความสำคัญมั่นหมายของใจกับเหล้าไว้มาก ที่เราให้ความสำคัญกับเหล้าเพราะสิ่งใดหนอ เมื่อหวนพิจารณาจะเห็นว่าเพราะเราพอใจยินดีในเหล้านี่เอง ก็เพราะพอใจยินดีในเหล้าเลยยึดมั่นถือมั่นเอาโสมนัสเวทนาจากเหล้ามาเป็นที่ตั้งแห่งจิตแทนสติ+สัมปชัญญะ เมื่อเห็นเช่นนี้แล้ว เรารู้สมุทัยที่ควรละแล้ว เมื่อตั้งความเพียรที่จะละแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นว่าเมื่อไม่พอใจยินดี ไม่ให้ความสำคัญในเหล้า ความอยากเหล้านี้ย่อมหายไป และ สภาพทางกาย สภาพแวดล้อม การเงิน ฯลฯ จะต้องดีขึ้นมากอย่างแน่นอน เมื่อเรามี ความเห็น ความคิดถึง ความตรึกถึง ความนึกถึง ความตรองถึง ความคำนึงถึง น้อมพิจารณาเช่นนี้ๆเป็นเบื้องต้นแล้ว จิตเราย่อมละวางความสำคัญมั่นหมายของใจในเหล้า ย่อมละความพอใจยินดีในอารมณ์ที่จะเสพย์ลง จิตใจเราย่อมแช่มชื่น ปราโมทย์ ผ่องใส อันเป็นผลเกิดจากกุศลจิตที่จะดับทุกข์นั้น ความดับทุกข์แม้เพียงแค่้คิดจะละเหตุนี้ ยังเกิดขึ้นแก่้เราเป็นเบื้องต้นแล้ว(แม้เป็นเพียงอุดมคติคือจากความคิดก็ยังสุขเลยนะครับ) เมื่อทำความดับทุกข์ให้แจ้ง กายและใจเราย่อมน้อมไปเพื่อปฏิบัติให้ถึงทางพ้นทุกข์ เพื่อทำให้แจ้งถึงความดับทุกข์อันแท้จริง ด้วยเห็นว่าเมื่อดับทุกข์เหล่านี้ได้แล้วผลลัพธ์มันเเป็นสุขเช่นนี้ๆ]

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรจอริยสัจนี้นั้นแล อันเราได้ทำให้แจ้งแล้ว )


อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ )


ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้นแล ควรให้เจริญ )

[เมื่อทำนิโรธให้แจ้งแล้ว เห็นความสุขอันเกิดแต่ความดับทุกข์นั้นแล้ว เริ่มแรกอาจจะเห็นว่ามีแนวทางมากมายหลายทางที่จะดำเนินปฏิบัติเพื่อถึงความดับทุกข์นั้น เมื่อเราได้เพียรปฏิบัติในทางพ้นทุกข์ให้มากแล้วเราก็จะเห็นว่า ทางพ้นจากทุกข์เหล่านั้น คือ มรรคมีองค์ ๘ นี้เอง (การเจริญปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ทั้งหลายหากถึงความเป็นสัมมาแล้ว จะสงเคราะห์ลงในมรรค ๘ ได้ทั้งหมด มรรค ๘ จึงเป็นเรือข้ามฝั่งที่ใหญ่มากเพียงลำเดียวที่พระพุทธเจ้าจอดไว้ให้เรา ขึ้นอยู่แต่ว่าเราจะขึ้นเรือลำนี้ไหม)
ดังนั้นที่เราควรเจริญปฏิบัติให้มาก คือ มีกายสุจริต วาจาสุริต มโนสุจริต อันเกิดแต่ ศีล พรหมวิหาร๔(พรหมวิหาร๔นี้ เบื้องต้นปฏิบัติให้เจริญเมตตาจิตให้มากให้สภาพจิตเกิดเมตตาต่อกันจนเกิดเป็นสมาธิจะให้ผลดีมาก) ทาน สมาธิ ปัญญา(ความรู้แจ้งรู้เห็นตามจริงอันเกิดขึ้นด้วย สัมปชัญญะ+สติ และ สมาธิอันควรแก่งาน หรือ เจริญปฏิบัติใน กุศลกรรมบท๑๐ เป็นต้น จนเข้าถึงมรรค๘ อย่างแท้จริง อันเป็นเหตุให้ นิโรธอันแท้จริงเกิดแก่เรา)]



ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

( ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้นแล อันเราเจริญแล้ว )


ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ
เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ

( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้ตามความเป็นจริงอย่างไร ในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ของเรา
ซึ่งมีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดเพียงใดแล้ว )


เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก
สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ
อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ

( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะยืนยันตนว่าเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะปัญญาเครื่องตรัสรู้ชอบ
ไม่มีความตรัสรู้อื่นจะยิ่งกว่าในโลก เป็นไปพร้อมด้วยกับเทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์
ทั้งในสมณพราหมณ์ เทวดา มนุษย์ ไม่ได้เพียงนั้น )


ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ
เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ

( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ปัญญาอันเห็นตามเป็นจริงอย่างไรในอริยสัจ๔ เหล่านี้ของเรา
มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว )


อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก
สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ
อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ

( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงได้ยืนยันตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งปัญญา
เครื่องตรัสรู้ชอบ
ไม่มีความตรัสรู้อื่นจะยิ่งกว่าในโลก เป็นไปกับด้วยกับเทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์
ทั้งในสมณพราหมณ์ เทพยดา มนุษย์ )


ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ
( ก็แล ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว )
อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ
( ว่า การพ้นพิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก )
14  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ขออนุญาต เมื่อ: ธันวาคม 30, 2013, 08:31:22 am
ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม

นมัสการพระอาจารย์ธัมมวังโส

กราบเรียนพระอาจารย์ ท่านผู้ดูแลเวบ และ สมาชิกเวบทั้งหลาย

ผมใคร่ขออนุญาตนำกระทู้ถามตอบกรรมฐานที่พระอาจารย์และท่านผู้รู้หลายๆท่านถามตอบไปไปลงใน Blog ที่ผมเขียนไว้เพื่อเผยแพร่แนวทางกรรมฐานต่อไปครับ

ตามใน Link นี้ครับ http://group.wunjun.com/ungpao/23948

ขอขอบพระคุณอย่างสูง
15  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / วิตก วิจาร เมื่อ: พฤศจิกายน 05, 2013, 10:27:42 am
ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม

กราบเรียนพระอาจารย์ธัมมวังโส

ด้วยครั้งเมื่อผมเข้าสมาธิจิตได้มีสภาพจิตแลเห็นดังนี้ว่า
1. เมื่อจิตเข้าไปหวนระลึกในสัญญาใดๆซึ่งมันมีมากมายเป็นร้อยเป็นพันสัญญาวิ่งมาแล้วตัวระลึกรู้นี้แหละเข้าไปรู้สัญญาได้เพียงตัวใดตัวหนึ่ง
2. เมื่อเข้าไประลึกสกิตในสัญญานั้นๆ มันก็เกิดการตรึกนึกคิดในเรื่องราวจากความจำได้จำไว้นั้นๆ แต่ในขณะนั้นแม้ตรึกนึกอยู่ในเรื่องราวนั้นมันยังไม่รู้ว่าคืออะไรอย่างไร
3. ในชั่วขณะเมื่อความตรึกนึกเรื่องราวนั้นดับไปก็เกิดสภาพจิตที่เข้าไปรู้เรื่องราวที่นึกคิดอยู่นั้นว่ามันคืออะไรกำลังดำเนินเรื่องยังไง
4. แล้วก็เกิดสภาพการเสพย์อารมณ์จากสิ่งที่นึกนั้น แล้วก็เกิดความรู้สึกจากอารมณ์ที่ตรึกนึกคิดนั้น
5. แล้วก็เกิดความรู้สภาวะความรู้สึกนั้นๆ แล้วก็ประครองในความรู้สึกที่เสพย์อารมณ์นั้นๆ ทำให้เรื่องราวที่นึกนั้นดำเนินต่อไปจนจบ

สิ่งนี้เรียกวิตกกับวิตารใช่ไหมครับ

ขอยกตัวอย่างที่เพิ่งรับรู้ในวันนี้น่ะครับซึ่งไม่ใช่ในสมาธิหรือองค์ฌาณ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันดังนี้
1. เมื่อจิตไปหวนระลึกถึงสัญญาใดๆ เช่น ผู้หญิงที่เราชอบ คลั่งไคล้ (สติ+สัญญา)
2. เมื่อความเข้าไปหวนระลึกรู้ดับไป ก็เกิดแสดงความจดจำเรื่องราวจากผู้หญิงคนนั้นขึ้นมา (สัญญา)
3. ก็เกิดความตรึกนึกคิดปรุงแต่งเรื่องราวจากความจำไว้นั้น (วิตก+สัญญา)
4. เมื่อสภาวะตรึกนึกดับไปชั่วขณะแวบหนึ่ง ก็เกิดการเข้าไปรู้เรื่องราวปรุงแต่งในความคิดนั้น ทำให้เรื่องราวจากความตรึกนึกนั้นดำเนินไป (วิจาร)
5. เมื่อการเข้าไปรู้หรือร่วมในเรื่องราวนั้นดับไปชั่วขณะแวบนึง มันก็เสพย์อารมณ์จากเรื่องราวความตรึกนึกคิดนั้น แล้วก็คำนึงถึงเรื่องราวความรู้สึกในสภาพอารมณ์นั้นๆ เกิดการประครองอารมณ์ความรู้สึกนั้นๆทำให้เรื่องราวจากความตรึกนึกนั้นดำเนินไป (โลภะ โทสะ โมหะ ราคะ เวทนา+วิจาร+วิตก สลับไปมาตามลำดับ)
6. เกิดเป็นความกำหนัดใคร่ได้ยินดีที่จะเสพย์ จิตประครองความรู้สึกอารมณ์นั้นๆความตรึกนึกคิดนั้นๆไปจนจบจากความปารถนาใคร่ได้ยินดีที่จะเสพย์
7. ดับไป

ผมเห็นเป็นขณะๆอย่างนี้ไม่ทราบวิผมพิจารณถูกหรือผิดแล้วหรือไม่อย่างไรครับ คนส่วนมากจะแนกสติกับวิตก แต่ในขณะที่ผมเห็นและรู้ทันแลดูนั้นอยู่มันเกิดสภาพอย่างนี้เห็นอย่างนี้ ซึ่งผมกลัวว่าจะเห็นผิดทำให้เกิดความคิดความรู้ตามจริงผิดๆ ขอความกรุณาพระอาจารย์ช่วยชี้แนะด้วยครับ เพื่อไม่ให้ผมหลงจากสิ่งที่รู้เห็นหรือปฏิบัติผิดๆครับ
16  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ถามตอบปัญหาธรรมะ เรื่องศีล หลวงพ่อฤาษีลิงดำ เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2013, 09:35:53 am
                                ถามตอบปัญหาธรรมะ เรื่องศีล หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ตอนที่๑


คำสมาทานศีล

ผู้ถาม             “กราบเรียนหลวงพ่อที่เคารพ การสมาทานศีลมี “วิสุง” กับไม่มี “วิสุง” จะต่างกันอย่างไรขอรับ?
หลวงพ่อ         “คงไม่เหมือนกัน ต่างกันที่สุงกับไม่สุง...(หัวเราะ) แต่ความเป็นจริงคำว่า “วิสุง” เขาแปลว่า “ส่วน” นะ ขอรับแยกเป็นส่วนๆ ปาณา...ก็ปาณา อทินนา...ก็อทินนา ถ้าไม่วิสุงละขอรับรวดทั้ง ๕ หรือ ๘ ข้อ ทั้งนี้ตามคำอธิบายของคณาจารย์ ถ้าแยกเป็นส่วนจะขาดเป็นตัว ถ้าไม่แยกส่วน ตัวอื่นขาด ก็จะขาดหมดด้วย
                   ความจริงคณาจารย์ไม่รู้จริง จริงๆถ้าเราละเมิดตัวไหน ก็ขาดเฉพาะข้อนั้น จะว่าวิสุงหรือไม่วิสุงก็ตาม ไอ้ตัวที่ยังไม่ละเมิดก็ยังไม่ขาด นี่ฉันอ่านหนังสือที่เขาเขียนย่อๆเล่มเล็กๆ น่ะ บังเอิญอ่านเมื่อเป็นเด็ก คือว่าไปตามวัด เดี๋ยวนี้ก็วิสุง...เดี๋ยวก็ไม่วิสุง...ฉันก็แปลกใจ”


รักษาศีลแล้วยังไม่รวย

ผู้ถาม             “หลวงพ่อเจ้าขา ความจริงลูกไม่อยากค้านหลวงพ่อหรอก เพราะรู้ว่าหลวงพ่อมีปัญญามาก ฉลาดในการสอน แต่วันนี้ขอถามแกมประท้วงสักนิดหนึ่ง ในคำสอนที่หลวงพ่อว่า มีศีลแล้วจะร่ำรวย มีเงิน ไม่เป็นหนี้ มีโชคมีลาภ แค่รักษา ๕ แต่ไม่พอใจเดี๋ยวนี้เพิ่มเป็น ๘ มันก็ยังจนเหมือนเดิม”
หลวงพ่อ         รักษามากี่ปี? ผู้ถาม            ๒ ปี... หลวงพ่อ         โธ่เอ๋ย! ก็ซวยมากี่ปี ศีลขาดมากี่ปี มันคุ้มกันหรือ...คือว่ารักษาศีลจริงๆ แค่ศีล ๕ น่ะ ๑.ค่าเหล้าไม่เสีย ๒.ค่าเจ้าชู้ไม่เสีย ๓.ค่าม่านรูดไม่เสีย...(หัวเราะ)
ผู้ถาม             เอ๊ะ ไหนว่าพระอยู่วัดอยู่วา ไม่รู้อีโหน่อีเหน่?
หลวงพ่อ         พระน่ะท่านไม่รู้ แต่ฉันรู้ มีคนไปพูดให้ฟัง เลยไม่ขี้ร้อนไม่ต้องไปอาบน้ำตามห้อง...(หัวเราะ) เรื่องที่ไม่เสียมีเยอะแยะ ทรัพย์ก็ดีขึ้น ไอ้ใจร้ายไปฆ่าเขาไปตีเขา ทะเลาะกับเขาก็ไม่มี แม้แต่ติดคุกติดตะราง ไม่ต้องเสียสตางค์ นี่ถ้ารักษามาตั้งแต่เกิดนะ ป่านนี้รวยนานแล้ว แกรักษามากี่วันนี่ ขาดทุนมากี่ปี...?


กรรมกำพร้าสามี

ผู้ถาม             กราบเท้าหลวงพ่อที่เคารพอย่างสูง สามีของลูกชื่อ นายธเนศ แซ่ด่าน ตายเมื่อวันที่ ๓๑ ธ.ค. ๓๓ ก่อนจะตายนี่ได้มีโอกาสถวายสังฆทานกับหลวงพ่อ ๕๐๐ บาท ทีนี้ที่จะกราบเรียนถามก็คือว่า การที่ลูกเกิดมาสามีต้องตายยังหนุ่ม การที่ลูกเป็นสาวต้องกำพร้าสามี กรรมประเภทนี้ทำมาจากอะไรเพื่อไม่ให้กำพร้าต่อในชาติหน้า ขอหลวงพ่อเมตตาแนะวิธีอย่าให้พลัดพรากจากกัน ตั้งแต่วัยยังหนุ่มยังสาวเลยเจ้าค่ะ
หลวงพ่อ         เอาอย่างนี้ซิ รักษาพรหมวิหาร ๔ ไว้ เมตตาความรัก กรุณาความสงสาร มุทิตาจิตอ่อนโยน ไม่อิจฉาริษยาใคร พลอยยินดีด้วยนะ อุเบกขา วางเฉย เอาอย่างนี้อย่างเดียว ก็พอ เมตตาอย่างเดียวก็พอ
ผู้ถาม             แล้วประเภทที่ว่าเช้าตุ๊บ...เย็นตุ๊บ หลวงพ่อ         อ๋อ...นั่นนักมวยเก่า (หัวเราะ) เขาซ้อมมวยกัน


ต้มไข่อย่างไรไม่บาป

ผู้ถาม            หลวงพ่อเจ้าขา ความจริงไม่อยากถามหลวงพ่อ แต่ความจำเป็นบังคับ จึงต้องถามเจ้าคะ คือว่า เพิ่งเริ่มขายของมา ๓-๔ วัน ลูกขายสลัดต่างๆ ที่สำคัญคือ จะต้องมี ไข่ต้มด้วย ทีนี้ที่ไม่สบายใจก็เพราะว่า ไม่รู้ว่าการต้มไข่นี้จะบาปหรือไม่ และวิธีต้มแล้วไม่บาปจะเป็นประการใด ถ้าหลวงพ่อห้าเมื่อไหร่ ลูกจะเลิกขายทันที เพราะลูกนับถือหลวงพ่อเจ้าคะ?
หลวงพ่อ         เอาอย่างนี้ดีกว่าตรงไปตรงมานะ ไข่ถ้ามันฟักไม่เป็นตัวเราก็ไม่บาป ถ้าฟักเป็นตัวเราจึงจะบาป นี่เราสังเกตไม่ได้ ลองศึกษาดูก็แล้วกัน
ผู้ถาม             ก็ลำบาก ก็มีทางที่หลวงพ่อว่า ไข่เจ้าคะ ไข่เจ้าขากรุณาฉันเถิด
หลวงพ่อ         (หัวเราะ) เอาอย่างนี้ซิ ไอ้ฟาร์มไหนที่เขาเลี้ยงไก่โดยที่เขาไม่ผสมกับตัวผู้มันมีไหม ไก่ที่เขาเลี้ยงน่ะ ที่เลี้ยงไว้คัดเฉพาะตัวเมียเป็นราวๆ เป็นช่องๆ ไม่มีตัวผู้ผสม ถ้าไม่มีตัวผู้ผสมอันนี้คงจะไม่เป็นตัว ถ้าไข่ที่ฟัก ไม่เป็นตัวนี่มันไม่บาป นี่เราพูดตรงไปตรงมานะ


นึกถึงบุญไม่ออก

ผู้ถาม             บางทีมันเพี้ยนไป นึกถึงบุญไม่ออกครับ
หลวงพ่อ         เป็นธรรมดา บางครั้งอารมณ์มันดี อย่างนี้จริงๆ เหมือนกันทุกคนนะ... เหมือนกัน ไม่ใช่เฉพาะบุคคลบางครั้งมันจะนึกถึงบุญไม่ออกก็มี ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงสอนเจริญพระกรรมฐาน ฝึกจิตให้ชินไง ใช่ไหม... ฝึกจิตให้ชิน คือจับอันดับแรก พระพุทธเจ้าต้องเอาก่อน อารมณ์มันชิน คำว่า “ฌาน” ก็คือจะได้ไม่ลืม ถ้าเราปล่อยเละละเดี๋ยวมันก็เผลอ พอบาปเข้าสิงปั๊บมันจะตัดเราลืมเลย
                   ทีนี้วิธีที่ท่านสอนแบบนี้กันบาปเข้าแทรก วิธีฝึกกรรมฐานเขาฝึกให้ชินกันบาปเข้าแทรกเวลาที่เราจะตาย บาปมันจะแทรกไม่ได้ ทำบุญอย่างอื่นหนักขนาดไหนก็ตาม แต่จิตมันยังไม่แน่นอนนัก เราจะตายบาปเข้าแทรกได้ เราจะลงนรกได้ ถึงบอกว่าทำจิตให้เป็นฌานทำให้ทรงตัว คำว่า ฌาน ก็คือ อารมณ์ชิน มันนึกได้เรื่อยๆใช่ไหม การนึกถึงพระพุทธเจ้าได้เรื่อยๆ น่ะ คือ ฌาน



17  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / วิธีสวดมนต์บทสวดอิติปิโสให้ถึงอนุสสติกรรมฐาน เมื่อ: ตุลาคม 31, 2013, 02:10:49 pm
ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด

บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง "วิธีสวดมนต์บทสวดอิติปิโสให้ถึงอนุสสติกรรมฐาน" ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้


                บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ
อิติปิ โส ภะคะวา ( เพราะเหตุอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น )
อะระหัง ( เป็นผู้ไกลจากกิเลส ) สัมมาสัมพุทโธ ( เป็นผู้ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง )
วิชชาจะระณะสัมปันโน ( เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ )
สุคะโต ( เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี ) โลกะวิทู ( เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง )
อะนุตตะโร ปุริสสะธัมมะสาระถิ ( เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า )
สัตถาเทวะมนุสสานัง ( เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย )
พุทโธ ( เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม ) ภะคะวาติ. ( เป็นผู้มีความเจริญจำแกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้ )

นี่คือการระลึกในพุทธานุสติที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ใน อนุสสติกรรมฐาน

[๒๙๖] ภิกษุทั้งหลาย ที่ตั้งแห่งอนุสสติ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึงพระตถาคตว่า
แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ
ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก
ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระตถาคต
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า ความอยาก นี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ
สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำพุทธานุสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้.

เมื่อบุคคลใดสวดอิติปิโสพร้อมคำแปลแล้วน้อมจิตระลึกถึงตถาคตเช่นนี้ๆ
ย่อมได้ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า เป็นการเจริญในพุทธานุสสติกรรมฐานเป็นเบื้องต้นแล้ว


                บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวา ธัมโม ( พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว )
สันทิฏฐิโก ( เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง )
อะกาลิโก ( เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล )
เอหิปัสสิโก ( เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด )
โอปะนะยิโก ( เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว )
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ. ( เป็นสิ่งที่ผู้รู้ พึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้ ฯ )

นี่คือการระลึกในธัมมานุสติที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ใน อนุสสติกรรมฐาน

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรมว่า
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว อันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้ดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรม
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า ความอยาก นี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ
สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำธัมมานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้.

เมื่อบุคคลใดสวดอิติปิโสพร้อมคำแปลแล้วน้อมจิตระลึกถึงพระธรรมที่ตถาคตตรัสไว้ดีแล้วเช่นนี้ๆ
ย่อมได้ระลึกถึงคุณของพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน เป็นการเจริญในธัมมานุสสติกรรมฐานเป็นเบื้องต้นแล้ว


                บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว )
อุชุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว )
ญายะปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว )
สามีจิปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว )
ยะทิทัง ( ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ )
จัตตาริ ปุริสสะ ยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา ( คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ )
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า )
อาหุเนยโย ( เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา )
ปาหุเนยโย ( เป็นผู้ควรแก่สักการะที่จัดไว้ต้อนรับ )
ทักขิเนยโย ( เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน )
อัญชะลีกะระนีโย ( เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี )
อะนุตตะรัง ปุญญะเขตตัง โลกัสสาติ. ( เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ )

นี่คือการระลึกในสังฆานุสติที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ใน อนุสสติกรรมฐาน

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อญายธรรม เป็นผู้ปฏิบัติชอบ
นี้คือคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นั่นคือสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรของคำนับ
ควรของต้อนรับ ควรของทำบุญ ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวก ย่อมระลึกถึงพระสงฆ์
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า ความอยาก นี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ
สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำสังฆานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้.

เมื่อบุคคลใดสวดอิติปิโสพร้อมคำแปลแล้วน้อมจิตระลึกถึงพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าแล้วเช่นนี้ๆ
ย่อมได้ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า เป็นการเจริญในสังฆานุสสติกรรมฐานเป็นเบื้องต้นแล้ว
18  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / วิตก วิจาร เมื่อ: ตุลาคม 27, 2013, 06:29:35 pm
       

                  วิตก-วิจาร




๑. วิตกเจตสิก คือการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์
กล่าวอย่างธรรมดาสามัญ ก็คือการคิด การนึกถึงอารมณ์
มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

มีการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ เป็นลักษณะ
มีการกระทำให้จิตกระทบอารมณ์บ่อยๆ เป็นกิจ
มีจิตที่ทรงอยู่ในอารมณ์ เป็นผล
มีนามขันธ์ทั้ง ๓ ที่เหลือ (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์) เป็นเหตุใกล้


วิตกเจตสิก คือการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์นี้ มีความหมายใกล้เคียงกับเจตนาเจตสิก
ความตั้งใจในอารมณ์ และมนสิการ เจตสิก ความใส่ใจในอารมณ์
เพื่อให้เกิดความแตกต่างกัน จึงมีอุปมาด้วยเรือแข่งว่า

เจตนาเจตสิก อุปมาดังคนพายหัว ต้องคว้าธงให้ได้
อันหมายถึงความสำเร็จ คือชัยชนะ
มนสิการเจตสิก อุปมาดังคนถือท้าย ต้องคัดวาดเรือให้ตรงไปยังธงอันเป็นหลักชัย
วิตกเจตสิก อุปมาดังคนพายกลางลำ มุ่งหน้าจ้ำพายไปแต่อย่างเดียว




วิตกเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ยกจิตขึ้นสู่ความคิดนึก หรือตรึกไปในเรื่องราวต่าง ๆ
เป็นเรื่องราวที่ผ่านมาแล้วบ้าง เรื่องราวที่ยังไม่เกิดขึ้นบ้าง เช่น ไปดูภาพยนตร์
เรื่องที่สนุกสนานแล้ว นำมาเล่าสู่กันฟัง ผู้เล่าก็ยกจิตเล่าไปตาม เรื่องราว ผู้ฟังก็ยกจิต
ฟังตามเรื่องราวที่เล่า ทำให้เกิดความสนุก สนานไปด้วยไม่ง่วงเหงาหาวนอน

อุปมาเหมือนกับบุรุษไปรษณีย์ ที่นำจดหมายเรื่องโน้นเรื่องนี้ มาส่งทำให้จิต
ได้นึกคิดต่อ วิตกเจตสิก นี้เมื่อยกจิต ขึ้นสู่เรื่องราวบ่อย ๆ จะไม่เกิดอาการง่วง
คนที่นอนไม่หลับก็คือคนที่หยุดคิดไม่ได้ จิตจึงไม่ง่วงไม่หลับ ถ้าจะให้หลับ
ก็คือเลิกคิด หยุดคิดให้เป็นแล้ว จะหลับง่ายตามตั้งใจ






๒. วิจารเจตสิก คือ การประคองจิตให้อยู่ในอารมณ์
กล่าวอย่างธรรมดาสามัญก็ว่า คิดบ่อยๆ นั่นเอง
มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

มีการพิจารณาอารมณ์บ่อยๆ เป็นลักษณะ
มีการทำให้สหชาตธรรมประกอบในอารมณ์ เป็นกิจ
มีการตกแต่งจิตให้อยู่ในอารมณ์ เป็นผล
มีนามขันธ์ทั้ง ๓ ที่เหลือ ( เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ ) เป็นเหตุใกล้


วิจารเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ประคับประคองจิต ไว้ในเรื่องราวหรืออารมณ์ต่างๆ
ตามที่ต้องการมิให้ไปที่อื่น การทำงานของวิตกเจตสิก และวิจารเจตสิกนี้
ใกล้ชิดกันมาก เหมือนกับนกที่บินถลาอยู่กลางอากาศ เมื่อกระพือปีกแล้ว
จะร่อนถลาไป วิตกเจตสิกเหมือนกับ การกระพือปีกของนก วิจารเจตสิกเหมือนกับ
การร่อนถลาไปของนก ซึ่งจะเห็นว่าการร่อนถลาไปของนก คือวิจารเจตสิกนั้น
มีความสุขุมกว่าการกระพือปีก คือวิตกเจตสิก ทั้งสองนี้จะทำงานร่วมกันเสมอ
สำหรับบุคคลที่ยังไม่ถึงฌาน ถ้าเป็นจิตของผู้ถึงฌานที่ ๑ และฌานที่ ๒ แล้ว
เจตสิกทั้งสองนี้ จะแยกออกจากกัน นอกจากนี้ วิจารเจตสิก
ยังเป็นปรปักษธรรมกับวิจิกิจฉาเจตสิกที่อยู่ ในนิวรณธรรม





(หมายเหตุ)
ฌานังคะ หรือ องค์ฌาน มี ๗ ประการ คือ
๑. วิตก องค์ธรรมได้แก่ วิตกเจตสิก
ที่ในกามจิต ๔๔ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐) ปฐมฌานจิต ๑๑ รวม ๕๕
๒. วิจาร องค์ธรรมได้แก่ วิจารเจตสิก
ที่ในกามจิต ๔๔ (เว้นทวิปัญจ วิญญาณ ๑๐) ปฐมฌานจิต ๑๑
ทุติยฌาน ๑๑ รวม ๖๖




อ้างอิง

http://www.buddhism-...ction04A_03.htm

http://aphidham.mcu.ac.th/ (ปริเฉท 1, 2 , 7)


ขอขอบคุณที่มาจาก http://larndham.org/index.php?/topic/16622-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%81-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2/
19  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยการอบรมจิต เมื่อ: ตุลาคม 14, 2013, 09:56:28 pm

กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมจิต


ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด

บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง "กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมจิต" ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้



๓. ว่าด้วยเรื่องการอบรมจิต
                               

หลายๆคนคงสงสัยแต่ไม่เข้าใจสำหรับผู้ปฏิบัติใหม่ๆว่า การอบรมจิตมันคือสิ่งใด คืออะไร อย่างไหนจึงเรียกว่าถูกต้อง
การอบรมจิตยที่พระตถาคตตรัสไว้ดีแล้วนั้น คือ

ก. รู้ว่าสิ่งไหนที่ควรเสพย์ และ สิ่งไหนไม่ควรเสพย์
ธรรมารมณ์ที่ควรเสพย์ และ ธรรมารมณ์ที่ไม่ควรเสพย์
ธรรมารมณ์ที่ไม่ควรเสพ  (รู้)
           ดูก่อนสารีบุตร      เมื่อบุคคลเสพธรรมารมณ์ที่ร้ได้ทางมโนแบบไร
อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น   แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง   ธรรมา-
รมณ์ที่รู้ได้ทางมโนแบบนี้   ไม่ควรเสพ.         
ธรรมารมณ์ที่ควรเสพ (รู้)
           ดูก่อนสารีบุตร  แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพธรรมารมณ์ที่รู้ได้ทางมโนแบบไร
อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง    แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น   ธรรมา-
รมณ์ที่รู้ได้ทางมโนแบบนี้   ควรเสพ.                                                 
            ข้อนั้นใด  ที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า    ดูก่อนสารีบุตร  เราตถาคต
กล่าวถึงธรรมารมณ์  ที่รู้ได้ทางมโน ไว้ ๒ อย่างคือ  ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่
ควรเสพอย่าง ๑   เราตถาคตอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้    จึงได้กล่าวไว้แล้ว

ข. รู้ว่าสิ่งนี้ๆ ขณะใดๆ เราควรอดใจไว้ อดโทษไว้ รู้ว่าควรละ รู้ว่าควรปล่อย รู้ว่าควรวาง
ความรู้จักอด รู้จักละ รู้จักปล่อย รู้จักวาง เหล่านี้ คือ ขันติ
(ความอดทน อดกลั้นแล้วขัดใจขุ่นมัวใจนั่นไม่ใช่ขันตินะครับ นั่นเป็นขันอัด อาศัยความคิดไม่ว่าจะเป็นกุศลก็ดี หรือ อกุศลก็ดีกดข่มไว้)
เราจะเข้าถึงขันติจิตได้อย่างไร เราก็ต้องเจริญปฏิบัติดังนี้ คือ
- ศีล + พรหมวิหาร๔ ทั้ง 2 สิ่งนี้เป็นธรรม 2 ที่เจริญคู่กันแล้วเป็นประโยชน์สุขอันมาก
   มีอานิสงส์คือ ไม่ร้อนรุ่มใจ ไม่ร้อนรนใจ ไม่มัวหมองใจ ไม่เศร้าหมองใจ มีกุศลจิตเกิดอยู่เป็นปกติจิต
- พิจารณาเห็นคุณและโทษของสิ่งนั้นๆที่เราพึงเอามาตั้งเป็นอารมณ์แห่งจิตอยู่
- พิจารณาเลือกในสิ่งที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์

ค. รู้วางใจไว้กลางๆ ไม่หยิบจับเอาทั้งความพอใจยินดีและความไม่พอใจยินดีมาเป็นที่ตั้งแห่งจิต
ความรู้จังวางใจไว้กลางๆ ความวางเฉย คือ อุเบกขาจิต
(อุเบกขาจิตมีอยู่ 2 ประเภท คือ กุศล และ อกุศล ส่วนทางเข้าถึงอุเบกขาจิตมีอยู่ 10 แบบ)
เราจะเข้าถึงอุเบกขาจิตได้อย่างไร เราก็ต้องเจริญปฏิบัติดังนี้ คือ
   (วิธีเข้าอุเบกขาจิตนี้ๆเป็นหลักเบื้องต้นในการเข้าถึงได้สำหรับผู้ที่เริ่มปฏิบัติ ผมจะไม่กล่าวถึงในส่วนที่ผมยังไม่ถึง นั่นคือ อุเบกขาสำหรับผู้ที่ บรรลุแล้ว หรือพระอริยะเจ้าทั้งหลาย เพราะผมยังไม่ถึงแม้จะหาตำรามาเปิดกล่าวได้มันก็ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ เพราะได้แค่บ่นแต่ไม่ถึงจริง ไม่เห็นจริง)
- เจริญขันติให้เกิดขึ้นแก่จิต
- เห็นเหตุ(สมุทัย)ที่ทำให้เราติดข้องใจในสิ่งไรๆ จนเกิดเป็นความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีเหล่านั้น
- ละที่เหตุ(สมุทัย)นั้นๆไปเสีย โดยเจริญระลึกอยู่เนืองๆว่า..สิ่งนี้ๆไม่ใช่เรา สิ่งนี้ๆไม่ใช่ของเรา มันแค่มาอาศัยเกิดประกอบปรุงแต่งเท่านั้น เมื่อเข้าไปร่วมกับมัน หรือ เข้าไปเสพย์มัน ไม่ว่าจะพอใจยินดีหรือไม่พอใจยินดีมันก็มีแต่ทุกข์ หาประโยชน์สุขใดๆไม่ได้

ง. รู้เห็นตามจริงด้วยปัญญา
- เจริญตามในข้อ ก-ค เจริญปฏิบัติให้มีจิตตั้งมั่นชอบ สงบรำงัยจาก กาม ราคะ โมหะ พยาบาท
- พิจารณาให้รู้เห็นตามจริงว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นกับเรานี้ มันมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา และ ดับไปเป็นธรรม มันไม่เที่ยง คือ
   มีความเสื่อมเป็นธรรมดา มีความสูญสลายไปเป็นธรรมดา ไม่ด้วยการดูแลรักษา ไม่ก็สภาพแวดล้อม -
   ไม่ก็ด้วยกาลเวลา หรือ สภาวะธรรมปรุงแต่งภายใน ไม่ก็ด้วยความตายอย่างใดอย่างหนึ่ง
- พิจารณาให้รู้เห็นตามจริงว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งเหล่านี้ที่เกิดขึ้นกับเรา มันไม่มีตัวตนอันที่จะบังคับ ยื้อยึด ฉุดรั้งให้มันเป็นไปดั่งใจได้
   ก็สิ่งใดๆเหล่านี้..เราไม่สามารถจะไปบังคับให้มันคงอยู่ตลอดไป หรือ ให้บังคับให้มันดับไปไม่เกิดขึ้นอีก ตามที่ใจเราปารถนาไม่ได้
- เห็นตามจริงด้วยปัญญาถึงความไม่ใช่เรา และ ไม่ใช่ของเรา กับสิ่งใดๆเหล่านี้
- เห็นด้วยปัญญาด้วยตัดจากความปรุงแต่งนึกคิดว่า..สิ่งใดๆเหล่านี้มันสักแต่เป็นเพียงแต่สภาพธรรมหนึ่งๆที่มากระทบสัมผัสให้รับรู้เท่านั้น
  แล้วมันก็ดับไป หากไม่ปรุงแต่งนึกคิดต่อเติมเรื่องราวใดๆในสิ่งนั้นมันก็ไม่เกิดทั้งความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดี
- เห็นด้วยปัญญาด้วยตัดจากความปรุงแต่งนึกคิดว่า..สิ่งใดๆเหล่านี้มันสักแต่เป็นเพียงแต่สภาพธรรมหนึ่งๆที่มากระทบสัมผัสให้รับรู้เท่านั้น
  แล้วมันก็ดับไป หากไม่ปรุงแต่งนึกคิดต่อเติมเรื่องราวใดๆในสิ่งนั้นมันก็ไม่มีตัวตนบุคคลใดสักแต่เป้นเพียงแค่ ธาตุ เป็น รูปและนามที่มากระทบเท่านั้น
- เห็นก็สักแต่ว่าเห็น ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน ได้กลิ่นก็สักแต่ว่าได้กลิ่น รู้รสก็สักแต่ว่ารู้รส รู้การกระทบสัมผัสทางกายก็สักแต่ว่ารู้สัมผัส รู้ธรรมารมณ์ใดๆทางใจก็สักแต่รู้ว่าเป็นธรรมารมณ์ ไม่เข้าไปร่วม ไม่เข้าไปเสพย์ สักเพียงแต่ว่ารู้เท่านั้น





****** ความหมายของอารมณ์และธรรมารมณ์ในทางธรรม****

อารมณ์ กับ ธัมมารมณ์
ลองดูคำว่า  "อารมณ์" กันก่อนละกันนะคับ
จะได้เข้าใจคำว่า "อารมณ์" ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นน่ะคับ

คำว่า "อารมณ์"  หมายถึงสิ่งที่จิตรู้
จิตกำลังรู้สิ่งใด...สิ่งนั้นนั่นแหละเป็นอารมณ์ของจิตในขณะนั้น
อันนี้คิดว่าคงเข้าใจแล้วนะคับ  แต่จะแยกออกให้เห็นดังนี้คือ....

ทางตา........รับรู้ได้อารมณ์เดียวเท่านั้นคือ  รูปารมณ์  (สี)
ทางหู.........รับรู้ได้อารมณ์เดียวเท่านั้นคือ  สัททารมณ์  (เสียง)
ทางจมูก....รับรู้ได้อารมณ์เดียวเท่านั้นคือ  คันธารมณ์  (กลิ่น)
ทางลิ้น.......รับรู้ได้อารมณ์เดียวเท่านั้นคือ  รสารมณ์  (รส)
ทางกาย.....รับรู้ได้อารมณ์เดียวเท่านั้น (แต่มี 3 ลักษณะ) คือ  โผฏฐัพพารมณ์
(ได้แก่สัมผัสทางกาย  คือสภาพที่เย็นร้อนอันได้แก่ธาตุไฟ...อ่อนแข็งอันได้แก่ธาตุดิน...เคร่งตึงหรือไหวเคลื่อนอันได้แก่ธาตุลม)

สำหรับทางใจ
จะรับรู้อารมณ์ต่อจากทางตา  ทางหู  ทางจมูก  ทางลิ้น  ทางกาย
ก็คือรับรู้  รูปารมณ์  สัททารมณ์  คันธารมณ์  รสารมณ์  โผฏฐัพพารมณ์
และนอกเหนือจากอารมณ์ทั้ง 5 ที่กล่าวมาแล้ว
ทางใจยังรับรู้อารมณ์อื่นๆ อีกทั้งหมด
ซึ่งไม่สามารถรับรู้ทางตา  ทางหู  ทางจมูก  ทางลิ้น  ทางกายเลย

สิ่งที่รับรู้ได้เฉพาะทางใจอย่างเดียวเท่านั้น....นี่แหละคับเรียกว่า  "ธัมมารมณ์"
ซึ่งเมื่อประมวลแล้วก็ได้แก่....ปสาทรูป...สุขุมรูป (รูปที่ละเอียด)...จิตและเจตสิกทั้งหมด...นิพพาน
และบัญญัติธรรม (ชื่อ คำ เรื่องราว ความหมายต่างๆ ฯลฯ)

จะเห็นได้ว่าทางใจนี่รับรู้ได้หมดทุกอารมณ์เลย
สมจริงดังว่า...ทุกอย่างรวมลงที่ใจ

จะสังเกตได้นะคับว่า
รูปารมณ์...สัททารมณ์...คันธารมณ์...รสารมณ์...โผฏฐัพพารมณ์
อารมณ์ทั้ง 5 นี้แม้เมื่อทางใจรับรู้ต่อจากทางปัญจทวารแล้ว
ก็ยังคงเป็น  รูปารมณ์...สัททารมณ์...คันธารมณ์...รสารมณ์...โผฏฐัพพารมณ์  อยู่นั่นเอง
ไม่ได้กลายไปเป็น  ธัมมารมณ์  แต่อย่างใดนะคับ

สิ่งไหนที่เป็นอารมณ์อย่างใด  ก็ต้องเป็นอย่างนั้นเสมอ
ไม่ใช่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาน่ะคับ
เช่น  สี  เมื่อรับรู้ทางตา  เป็นรูปารมณ์
พอมารับรู้ทางใจ  ก็ยังคงเป็นรูปารมณ์  ไม่ใช่ไปเป็น  ธัมมารมณ์  น่ะคับ
เสียง  กลิ่น  รส  ธาตุดิน/ธาตุไฟ/ธาตุลม  ก็เช่นกันคับ
แม้ทางใจจะรับรู้ต่อจาก  ทางหู  ทางจมูก  ทางลิ้น  ทางกายแล้ว
ก็ยังคงเป็น  สัททารมณ์...คันธารมณ์...รสารมณ์...โผฏฐัพพารมณ์
ไม่ใช่กลายไปเป็น  ธัมมารมณ์  น่ะคับ

แต่ว่า...สิ่งที่นึกคิดต่อเนื่องออกไปอีกนั้นเอง  คือ ธัมมารมณ์
เช่น  ทันทีที่ทางตารับรู้รูปารมณ์ (สี)...แล้วทางใจก็รับรู้รูปารมณ์นั้นต่อ
หลังจากนั้น...ก็นึกคิดเป็นชื่อ  คำ  เรื่องราวความหมายต่างๆ ขึ้นมา
เป็นคน  เป็นสัตว์  เป็นสิ่งของต่างๆ ขึ้นมา...ตรงนี้แหละที่เป็น  ธัมมารมณ์
แล้วก็เกิดความชอบ-ชัง  รัก-เกลียด  ฯลฯ ตามมา...นี่ก็เป็นธัมมารมณ์อีกเช่นกันน่ะคับ

ขอขอบคุณ คุณเดฟแห่งวัดเกาะ ที่อธิบายความหมายของ ธรรมารมณ์  ให้เข้าใจอย่างละเอียดตามข้างต้นนี้ครับ
20  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมสมาธิ เมื่อ: ตุลาคม 14, 2013, 09:49:29 pm

กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมสมาธิ


ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด

บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง "กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมสมาธิ" ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้



๒. ว่าด้วยเรื่องการอบรมสมาธิ
                               


หลายๆคนคงสงสัยแต่ไม่เข้าใจสำหรับผู้ปฏิบัติใหม่ๆว่า การอบรมสมาธิมันคือสิ่งใด คืออะไร อย่างไหนจึงเรียกว่าถูกต้อง
การอบรมกายที่พระตถาคตตรัสไว้ดีแล้วนั้น คือ

ก. การทำให้จิตผ่องใส ไม่ร้อนรุ่มร้อนรนใจ มีความชื่นบานใจ อิ่มเอมใจ เป็นปกติ
ข. การทำให้จิตสงบเย็นกายเย็นใจ เป็นสุขรื่นเริงใจ ไม่มีความติดข้องใจไรๆ เป็นปกติ
ค. มีจิตตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียว มีความว่างรำงับจาก กาม ราคะ โมหะ พยาบาท เป็นปกติ
ง. เมื่อหวนระลึกถึงสิ่งใดๆ หรือ ตามระลึกรู้ในสิ่งใดๆ จิตก็มีแต่สภาพที่แลดูอยู่ มีความรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่เสมอ เป็นปกติ
จ. เมื่อหวนระลึกถึงสิ่งใดๆ หรือ ตามระลึกรู้ในสิ่งใดๆ จิตก็ไม่ปรุงแต่งส่งต่อเรื่องราวอันอกุศลลามก เป็นปกติ
ฉ. เมื่อหวนระลึกถึงสิ่งใดๆ หรือ ตามระลึกรู้ในสิ่งใดๆ จิตก็สักแต่เห็นความเกิดขึ้น แลเห็นความเป็นไปตามจริง ไม่ตกอยู่ในสภาวะที่ตรึกนึกคิดโดยความ อนุมานเอา

- สภาวะนี้ๆ คือ สัมมาสมาธิ ที่ควรแก่งาน
- ทีนี้ เราต้องเข้าใจก่อนว่า ทำให้พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า ทำไมเราค้องมีสัมมาสมาธิ สัมมาสมาธินั้น มีไว้เพื่อให้ถึงยถาภูตญาณทัสนะ คือ ปัญญารู้เห้นตามจริง

๒.๑ การเตรียมตัวเพื่อปฏิบัติกรรมฐานให้ถึงสัมมาสมาธิ

เราจะเริ่มทำสมาธิ หรือ จะเจริญปฏิบัติในทางใดๆตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนก็แล้วแต่ เราพึงควรเจริญดังนี้ คือ

    ๒.๑.๑ ข้อแรกที่สำคัญที่สุดเมื่อเราจะ ยืนก็ดี นั่งก็ดี เดินก็ดี นอนก็ดี ให้ระลึกนึกคิด คำนึงถึงอยู่เสอๆว่า
            - พระพุทธเจ้ามาอยู่ตรงหน้าเราแล้วในขณะนี้
            - พระตถาคตทรงกำลังดูเราเจริญปฏิบัติอยู่ เราต้องสำรวมระวังปฏิบัติให้พระตถาคตเห็นในความเพียร สำรวมระวังของเราอยู่ทุกขณะ
            - หมั่นระลึกถึงบารมีของพระตถาคตเป็นที่ตั้ง
            - พึงระลึกในใจว่าเราจักปฏิบัติตามรอยพระพุทธเจ้า เดินตามทางที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน

    ๒.๑.๒ แล้วระลึกตั้งเจตนากล่าวกะพระพุทธเจ้า ว่า

            ก. ข้าพระพุทธเจ้าจักพึงตั้งจิตเจริญใน อิทธิบาท๔  คือ

            ๑. ฉันทะ คือ มีความความพอใจยินดี ในการเจริญปฏิบัติทาง กาย วาจา และ ใจ ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน เพื่อให้ถึงการพ้นจากกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
            ๒. วิริยะ คือ ความเพียรพยายามกระทำในการเจริญปฏิบัติทาง กาย วาจา และ ใจ ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน เพื่อให้ถึงการพ้นจากกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ไม่ละทิ้งไป
            ๓. จิตตะ คือ ความเอาใจฝักใฝ่ในการเจริญปฏิบัติทาง กาย วาจา และ ใจ ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ไม่ปล่อยใจฟุ้งซ่านเลื่อนลอย
            ๔. วิมังสา คือ ความพิจารณาใคร่ครวญพิจารณาในสิ่งนั้นด้วยปัญญา ถึงเหตุและผลในการปฏิบัติแต่ละอย่างว่าเป็นเช่นไรควรหรือไม่ควรอย่างไร

            ข. ข้าพระพุทธเจ้าจักพึงตั้งจิตเจริญใน จรณะ ๑๕ เพื่อให้เข้าถึงใน อิทธิบาท๔ ข้างต้น คือ

                                    (จาก พระราชพรหมญาณ หนังสือ พรหมวิหาร ๔)

คำว่า จรณะ แปลว่า ความประพฤติที่พวกเราจะต้องประพฤติปฏิบัติกันเป็นประจำ จะถือว่าจรณะ ๑๕ เป็นจริยาที่พระอริยะเจ้าจะต้องประพฤติปฏิบัติแต่ฝ่าย เดียวก็หามิได้

สำหรับจรณะ ๑๕ นี่ ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายมีความบกพร่องในข้อใดข้อหนึ่ง ก็มีหวังว่าในปัจจุบันก็ดี สัมปรายภพก็ดี ท่านจะหาความสุขที่แท้จริงไม่ได้ หากว่าจะมีความสุขบ้างก็เป็นความสุขที่ไม่สมบูรณ์

สำหรับจรณะ ๑๕ นี้ท่านแบ่งออกเป็น ๓ หมวดด้วยกัน

สำหรับหมวดต้น มีอยู่ ๔ ข้อ คือ

๑. สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล สำหรับพระก็ได้แก่พระวินัย ที่มาในพระปาฏิโมกข์ ( มี ๒๒๗ ข้อ ) และก็มาทั้งนอกพระปาฏิโมกข์ ( ที่เราเรียกว่า อภิสมาจาร ) สำหรับเณรก็ต้องปฏิบัติในศีล ๑๐ ให้ครบถ้วน และก็มีเสขิยวัตรอีก ๗๕ ข้อ รวมเป็น ๘๕ สิกขาบท สำหรับอุบาสก อุบาสิกา อันดับต่ำสุดก็ต้องมีศีล ๕ บริสุทธิ์

๒. อินทรีย์สังวร สำรวมอินทรีย์ คือ ตา ห จมูก ลิ้น กาย ใจ อินทรีย์ แปลว่า ความความเป็นใหญ่ คือ ตา เป็นใหญ่ในการเห็นรูป หู เป็นใหญ่ในการฟังเสียง จมูก เป็นใหญ่ในการสูดกลิ่น ลิ้น เป็นใหญ่ในการรู้รส กาย เป็นใหญ่ในการสัมผัส ใจ เป็นใหญ่ในความรู้สึก สังวร แปลว่า ระวัง ท่านบอกว่าไม่ให้มันยินดียินร้าย ในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องสัมผัสทางกาย รู้ทำอารมณ์ด้วยใจ

๓. โภชเนมัตตัญญุตา รู้ความพอดีในการกินอาหาร คือไม่ละโมบโลภมากเกินไป รู้จักประมาณในการกิน

๔. ชาคริยานุโยค ประกอบความเพียรของบุคคลผู้ตื่นอยู่

หมวดที่ ๒ ท่านเรียกว่า สัจจธรรม มี ๗ ข้อ คือ

๑. ศรัทธา ความเชื่อ เรามีความเชื่อในคำสั่งและคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนใดที่เป็นคำสั่งพระองค์ห้าม เราไม่ปฏิบัติตาม ส่วนใดที่เป็นธรรมะที่เป็นความดีที่พระองค์สนับสนุน เราปฏิบัติตาม

    ** ผมได้พบได้รู้ได้เห็นกับตนเองมาหลายครั้งในเรื่องของศรัทธาในคำสอนปฏิบัตินี้ เวลาเราเจริญปฏิบัติกรรมฐาน เช่น อานาปานุสสติ เราจักเป็นผู้รู้กองลมทั้งสิ้นนี้ มันเกิดประโยชน์จริงหรือไหนบอกหลุดพ้นเพราะวิปัสนาหลายคนบอกให้ศึกษาอภิธรรม ทำให้เกิดความแครงใจ คลอนแคลนใจ เมื่อปฏิบัติไปมันก็เข้าไม่ถึงแม้ขณิกสมาธิ มันคิด มันฟุ้งซ่าน มันว้าวุ่นไม่รู้จบ ผมจึงท้อแล้วละทิ้งการปฏิบัติทั้งสิ้นไปแต่เมื่อพออ่านพระสูตรต่างๆในพระไตรปิฎกบ้าง คำสอนหลวงพ่อทั้งหลายบ้าง เช่น หลวงปู่มั่น หลวงปู่ดุลย์ พระราชพรหมญาณ ทั้ง 3 ท่าน บอกว่าพระพุทธเจ้ารู้ลมหายใจมากที่สุด รู้ตลอดเวลา สิ่งแรกที่รู้ตถาคตก็รู้ที่ลมหายใจไม่ใช่ที่ไหน บรรลุก็ด้วยอาศัยลมหายใจ ไม่รู้ลมหายใจก่อนก็รู้สิ่งอื่นได้ยากเว้นแต่สะสมมาดีแล้ว เมื่อผมได้อ่านศึกษาวิธีปฏิบัติในกายคตาสติที่ครูบาอาจารย์ท่านกล่าวไว้ แล้วเจริญตามนั้นด้วยมีจิตศรัทธาแน่วแน่ไม่ไหวหวั่น ไม่เคลือบแคลงใจ เพียงชั่วขณะลมหายใจเข้า-ออกผมก็ตั้งอยู่ในอารมณ์อุปปะจาระสมาธิ ต่อถึงอัปปะนาสมาธิได้โดยง่ายและทรงอารมณ์ได้นานเป็นอย่างนี้เสมอๆทุกครั้ง แต่พอไปอ่านไปเจอสิ่งใดๆอย่างอื่นหรือเราเกิดความครางแครงในใจกับสิ่งที่เราเจริญปฏิบัติอยู่นั้น เมื่อศรัทธาเสื่อมความตั้งใจ ตั้งมั่นในธรรมที่ปฏิบัติอยู่ก็เสื่อม ต่อมาให้ทำอย่างไรก็ไปไม่ถึง ก็ไปไม่ถึง จนเกิดความโทมนัส แล้วละทิ้งการปฏิบัติไปหลายครั้ง ความศรัทธาข้อนี้จึงสำคัญต่อผู้ปฏิบัติมาก **

๒. หิริ ความละอายแก่ใจ ถ้าอารมณ์มันคิดจะทำชั่ว จงมีความละอายว่า เราเห็นจะเลวมากไปเสียแล้ว ถ้าจิตมันชั่ว เราก็อายความเป็นคนว่า ในฐานะที่เราเกิดมาเป็นคนแล้วไม่น่าจะทำความชั่ว

๓. โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อความผิด

๔. พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก จำได้มากแต่เอาตาเป็นตากระทู้ เอาหูเป็นหูกะทะ เห็นคนสอนก็เห็น ได้ยินคำสอนก็ได้ยิน แต่ไม่จำ มันจะเป็นพาหุสัจจะไม่ได้

๕. วิริยะ มีความเพียร คือ ความเพียรสละความชั่ว ประพฤติแต่ความดี

๖. สติ ระลึกได้ นึกได้ว่าเราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ระลึกได้ว่าเราเป็นผู้สำรวมในอินทรีย์ นึกได้ว่าเราจะบริโภคอาหารอยู่แต่พอสมควร นึกได้ว่าเราจะเป็นผู้ประกอบความเพียรของบุคคลผู้ตื่นอยู่ เป็นต้น

๗. ปัญญา ความรอบรู้ จงใช้ปัญญาพิจารณาอารมณ์จิตว่า เวลานี้อารมณ์จิตของเรายังมีความผูกพันอยู่ในร่างกายหรือเปล่า เวลานี้เราสงสัยในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระจอมไตรหรือเปล่า และปัญญาพิจารณาศีลที่เรารักษาตามสภาวะของตัว อย่าให้มันด่าง มันพร้อย มันขาดทะลุ อย่าให้มันบกพร่อง

สำหรับหมวด ๓ นี้มี ๔ ข้อด้วยกัน ได้แก่ พวกรูปฌาน คือ

๑. ปฐมฌาน ฌานที่ ๑

๒. ทุติยฌาน ฌานที่ ๒

๓. ตติยฌาน ฌานที่ ๓

๔. จตุตถฌาน ฌานที่ ๔

ถ้าหากท่านทั้งหลายได้ทรงฌานที่ ๑ ก็ดี ฌานที่ ๒ ก็ดี ฌานที่ ๓ ก็ดี ถึงฌานที่ ๔ ยิ่งดีมาก ในเวลาเช้ามืด เช้ามืดนี่เป็นเรื่องสำคัญ ถ้าตอนเช้าจิตของท่านทรงฌานได้ ปล่อยให้อารมณ์แนบสนิทตามที่กำลังจะทรงได้ นั่นก็หมายความว่า จรณะ ๑๕ ข้อ คือ

๑. สีลสัมปทา ท่านก็เป็นผู้มีศีลสมบูรณ์บริสุทธิ์ ศีลไม่บกพร่อง

๒. อินทรีย์สังวร การสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ดีทั้งหมด เพราะใจมันทรงตัวในด้านกุศล ตาไม่เสีย หูไม่เสีย จมูกไม่เสีย เป็นต้น

๓. โภชเนมัตตัญญุตา การรู้จักประมาณในการบริโภค ผู้ทรงฌานนี่ฉันอาหารไม่มากนัก แต่ยังไม่ถึงกับไปลดอาหารมันนะ ปล่อยมันตามสบาย เพราะอาการทางใจมันอิ่ม เรื่องลดอาหารไม่มีการยุ่ง พิจารณาอยู่เสมอว่าเรากินเพื่อทรงอยู่ เพื่อความหลงไม่มี

๔. ชาคริยานุโยค ก็เป็นผู้มีสติสมบูรณ์เหมือนคนตื่นอยู่

๕. ศรัทธา ความเชื่อในพระพุทธเจ้ามีสมบูรณ์แบบ ไม่บกพร่อง

๖. ความละอายต่อบาป คือ หิริ
   
๗. โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อผลของความชั่วมีอยู่

๘. พาหุสัจจะ ความทรงจำของผู้มีสมาธิดี จะอยู่เป็นปกติ

๙. วิริยะ ความเพียรก็จะทรงตัว

๑๐. สติ ก็จะทรงอยู่เสมอ

๑๑. ปัญญา จะรอบรู้ เพราะปัญญานี้จะเกิดได้ก็อาศัยกำลังของสมาธิเป็นสำคัญ

เป็นอันว่า เมื่อบรรดาท่านพระโยคาวจรทุกท่านสามารถทรงฌานได้ จะเป็นฌานไหนก็ตามและจิตของท่านไม่ละเมิด ไม่ละทิ้งในฌาน ในยามเช้ามืด เป็นอันว่าจรณะทั้ง ๑๕ ประการจะสมบูรณ์แบบ เสมือนหนึ่งว่า ท่านเป็นผู้ทรงอิทธิบาท ๔ ครบถ้วนบริบูรณ์ และก็สามารถจะทรงความดีในบารมี ๑๐ ประการ ได้ครบถ้วน


จรณะ ๑๕ ที่มาจาก http://www.luangporruesi.com/321.html

 
21  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมกาย เมื่อ: ตุลาคม 14, 2013, 02:35:04 pm

กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมกาย


ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด

บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง "กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมกาย" ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้



๑. ว่าด้วยการอบรมกาย
                               

หลายๆคนคงสงสัยแต่ไม่เข้าใจสำหรับผู้ปฏิบัติใหม่ๆว่า การอบรมกายมันคือสิ่งใด คืออะไร อย่างไหนจึงเรียกว่าถูกต้อง
การอบรมกายที่พระตถาคตตรัสไว้ดีแล้วนั้น คือ

ก. การอบรมไม่ให้กายนั้นต้องทรมานเกินไป เช่น
     - อดข้าว
     - กลั้นลมหายใจจนหายใจออกทางหู หรือ ผิวหนัง
     - ทรงอิริยาบถที่ทรมานกาย
ข. การอบรมไม่ให้กายนั้นต้องสบายมากเกินไป เช่น
     - กินเพราะอยาก
     - เสพย์เมถุน
     - ปล่อยตัวไปตามที่ทะยานอยาก จนทำร้ายเบียดเบียนคนอื่น
ค. การอบรมในทางสายกลางเป็นสิ่งที่ควรเจริญ คือ
     - มีอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน ที่ไม่กระทำทางกายเพื่อเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
     - ไม่เค่งทำให้กายทรมาน เสื่อมโทรม
     - ไม่หละหลวมกระทำทางกายที่เป็นอกุศลกรรมใดๆ
     - มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อม+สติระลึกรู้แลดูอยู่รู้เท่าทันในอายตนะทั้ง 5 มีความสำรวมระวังในอายตนะทั้ง 5 คือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย อยู่ในอิริยาบถที่เหมาะสมดีงาม
     - มีสีลสังวรสำรวมกาย วาจา โดยอาศัยการพึงระลึกตรึกนึกในกุศลวิตก พิจารณาเห็นคุณและโทษจากเจตนาทางกายและวาจา คือ คุณและโทษกรรมที่กระทำทางกายและวาจาอยู่เนืองๆ เมื่อรู้อารมณ์ใดๆทางสฬายตนะให้พึงมี "ขันติ" คือ มีความอดทนอดกลั้น ทนได้ทนไว้ ด้วยรู้จักปล่อย รู้จักละ รู้จักวางในอารมณ์ที่รับรู้ เข้าสู่ "โสรัจจะ" คือ มีสีลสังวรณ์สำรวมกายและวาจาไว้ สงเคราะห์ลงใน กุศลกรรมบท ๑๐ และ สัลเลขสูตร

ง. การอบรมกายนี้ ดั่งข้อที่ ๑.๑-๑.๓ ข้างต้นนี้ เป็นไปเพื่อไม่ให้กายนี้เสื่อมสภาพเกินกาลอันควร เป็นไปเพื่อไม่ให้กระทำในกายการอันประมาท ไม่ทำในกายให้เป็นอกุศลกรรม เป็นไปเพื่อความมีสภาพกายที่ดีเหมาะแก่การเจริญสมาธิให้จิตตั้งมั่น
     - การดำรงกายเพื่อให้สภาพจิตเรานั้นตั้งมั่นเป็นไฉน คือ การมีอิริยาบถ ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ที่ทำให้เกิดจิตตั้งมั่นได้ง่าย และ คงสภาวะจิตนั้นได้นาน
     - การดำรงกายเพื่อให้สภาพจิตเรานั้นไม่เกิดสภาวะที่ติดข้องขัดเคืองใจ ส่งผลให้สภาพจิตเรานั้นมัวหมองใจ เศร้าหมองใจ หรือ ติดใจเพลิดเพลินยินดี




การอบรมกายในอิริยาบถทั้ง ๔ โดย ย่อ มีดังนี้                         

๑.๑ การอบรมกายในอิริยาบถการ "ยืน"

- คือ การยืนโดยมีสัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม มีสติระลึกในสภาวะที่ทรงอยู่ แลดูกำกับรู้ในอิริยาบถนั้น
- คือ การยืนโดยรู้ลมหายใจเข้าออกอยู่ทุกขณะไม่ทิ้งไป
- คือ การยืนในท่าทีที่สำรวม ไม่แสดงการยืนที่ส่ออกุศล ลามกใดๆ
- เมื่อยืนอยู่ก็รู้ตัวทั่วพร้อมว่ายืนอยู่ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม+สติระลึกรู้เท่าทันสภาวะที่ทรงกายอยู่
- เมื่อยืนอยู่ก็รู้ลมหายใจเข้า-ออกอยู่ตลอดเวลา
- เมื่อยืนอยู่ก็ยืนด้วยความสำรวม มีความสงบรำงับไว้อยู่
- เมื่อยืนอยู่ก็รู้ตัวทั่วพร้อมว่ายืนอยู่ พิจารณาเห็นความไม่งามไม่น่าพิศมัยแห่งกายนี้ แลเห็นสักแต่เป็นเพียงธาตุที่มาประชุมกัน แลเห็นความเสื่อมไปแห่งกายนี้อยู่
- เมื่อยืนอยู่ก็รู้พิจารณาเห็นกายภายในอยู่ หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้งในกายของตนเองบ้าง ที่มีเฉพาะตนบุคคลนั้นๆบ้าง
- เมื่อยืนอยู่ก็รู้พิจารณาเห็นกายภายนอกอยู่ หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้ง ในกายของบุคคลอื่นๆบ้าง ว่าเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร
- เมื่อยืนอยู่ก็รู้ตัวทั่วพร้อมว่ายืนอยู่ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม+สติระลึกรู้เท่าทันสภาวะที่ทรงอิริยาบถนั้นๆอยู่ ยืนตรงก็รู้ว่าตรง ยืนเอียงก็รู้ว่าเอียง ยืนแล้วปวดขาก็รู้ว่าปวด

๑.๒ การอบรมกายในอิริยาบถการ "เดิน"

- คือ การเดินโดยมีสัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม มีสติระลึกในสภาวะที่ทรงอยู่ แลดูกำกับรู้ในอิริยาบถนั้น
- คือ การเดินโดยรู้ลมหายใจเข้าออกอยู่ทุกขณะไม่ทิ้งไป
- คือ การเดินในท่าทีที่สำรวม ไม่แสดงการยืนที่ส่ออกุศล ลามกใดๆ
- เมื่อเดินอยู่ก็รู้ตัวทั่วพร้อมว่าเดินอยู่ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม+สติระลึกรู้เท่าทันสภาวะที่ทรงกายอยู่
- เมื่อเดินอยู่ก็รู้ลมหายใจเข้า-ออกอยู่ตลอดเวลา
- เมื่อเดินอยู่ก็ยืนด้วยความสำรวม มีความสงบรำงับไว้อยู่
- เมื่อเดินอยู่ก็รู้ตัวทั่วพร้อมว่าเดินอยู่ พิจารณาเห็นความไม่งามไม่น่าพิศมัยแห่งกายนี้ แลเห็นสักแต่เป็นเพียงธาตุที่มาประชุมกัน แลเห็นความเสื่อมไปแห่งกายนี้อยู่
- เมื่อเดินอยู่ก็รู้พิจารณาเห็นกายภายในอยู่ หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้งในกายของตนเองบ้าง ที่มีเฉพาะตนบุคคลนั้นๆบ้าง
- เมื่อเดินอยู่ก็รู้พิจารณาเห็นกายภายนอกอยู่ หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้ง ในกายของบุคคลอื่นๆบ้าง ว่าเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร
- เมื่อเดินอยู่ก็รู้ตัวทั่วพร้อมว่าเดินอยู่ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม+สติระลึกรู้เท่าทันสภาวะที่ทรงอิริยาบถนั้นๆอยู่ ก้าวย่างอยู่ก็รู้ว่าก้าวย่างอยู่ ขาข้างใดก้าวย่างอยู่ก็รู้ว่าขาข้างใดกำลังก้าวย่างอยู่ ขาข้างใดแตะพื้นสัมผัสสิ่งใดๆก็รู้ว่าแตะพื้นอยู่สัมผัสสิ่งไรๆอยู่ สัมผัสแล้วมีสภาพอย่างไรก็รู้ในสภาพนั้นๆอยู่

๑.๓ การอบรมกายในอิริยาบถการ "นั่ง"

- คือ การนั่งโดยมีสัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม มีสติระลึกในสภาวะที่ทรงอยู่ แลดูกำกับรู้ในอิริยาบถนั้น
- คือ การนั่งโดยรู้ลมหายใจเข้าออกอยู่ทุกขณะไม่ทิ้งไป
- คือ การนั่งในท่าทีที่สำรวม ไม่แสดงการยืนที่ส่ออกุศล ลามกใดๆ
- เมื่อนั่งอยู่ก็รู้ตัวทั่วพร้อมว่านั่งอยู่ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม+สติระลึกรู้เท่าทันสภาวะที่ทรงกายอยู่
- เมื่อนั่งอยู่ก็รู้ลมหายใจเข้า-ออกอยู่ตลอดเวลา
- เมื่อนั่งอยู่ก็ยืนด้วยความสำรวม มีความสงบรำงับไว้อยู่
- เมื่อนั่งอยู่ก็รู้ตัวทั่วพร้อมว่านั่งอยู่ พิจารณาเห็นความไม่งามไม่น่าพิศมัยแห่งกายนี้ แลเห็นสักแต่เป็นเพียงธาตุที่มาประชุมกัน แลเห็นความเสื่อมไปแห่งกายนี้อยู่
- เมื่อนั่งอยู่ก็รู้พิจารณาเห็นกายภายในอยู่ หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้งในกายของตนเองบ้าง ที่มีเฉพาะตนบุคคลนั้นๆบ้าง
- เมื่อนั่งอยู่ก็รู้พิจารณาเห็นกายภายนอกอยู่ หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้ง ในกายของบุคคลอื่นๆบ้าง ว่าเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร
- เมื่อนั่งอยู่ก็รู้ตัวทั่วพร้อมว่านั่งนอยู่ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม+สติระลึกรู้เท่าทันสภาวะที่ทรงอิริยาบถนั้นๆอยู่ นั่งขัดสมาธิอยู่ก็รู้ว่านั่งขัดสมาธิอยู่ นั่งบนเก้าอี้เอาขาลงเอาเท้าแตะพื้นก็รู้ว่านั่งบนเก้าอี้เอาขาลงเอาเท้าแตะพื้น

๑.๔ การอบรมกายในอิริยาบถการ "นอน"

- คือ การนอนโดยมีสัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม มีสติระลึกในสภาวะที่ทรงอยู่ แลดูกำกับรู้ในอิริยาบถนั้น
- คือ การนอนโดยรู้ลมหายใจเข้าออกอยู่ทุกขณะไม่ทิ้งไป
- คือ การนั่งในท่าทีที่สำรวม ไม่แสดงการยืนที่ส่ออกุศล ลามกใดๆ
- เมื่อนอนอยู่ก็รู้ตัวทั่วพร้อมว่านั่งอยู่ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม+สติระลึกรู้เท่าทันสภาวะที่ทรงกายอยู่
- เมื่อนอนอยู่ก็รู้ลมหายใจเข้า-ออกอยู่ตลอดเวลา
- เมื่อนอนอยู่ก็ยืนด้วยความสำรวม มีความสงบรำงับไว้อยู่
- เมื่อนอนอยู่ก็รู้ตัวทั่วพร้อมว่านอนอยู่ พิจารณาเห็นความไม่งามไม่น่าพิศมัยแห่งกายนี้ แลเห็นสักแต่เป็นเพียงธาตุที่มาประชุมกัน แลเห็นความเสื่อมไปแห่งกายนี้อยู่
- เมื่อนอนอยู่ก็รู้พิจารณาเห็นกายภายในอยู่ หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้งในกายของตนเองบ้าง ที่มีเฉพาะตนบุคคลนั้นๆบ้าง
- เมื่อนอนอยู่ก็รู้พิจารณาเห็นกายภายนอกอยู่ หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้ง ในกายของบุคคลอื่นๆบ้าง ว่าเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร
- เมื่อนอนอยู่ก็รู้ตัวทั่วพร้อมว่านอนอยู่ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม+สติระลึกรู้เท่าทันสภาวะที่ทรงอิริยาบถนั้นๆอยู่ นอนตะแครงขวาอยู่ก็รู้ว่านอนตะแครงขวาอยู่ นอนหลายอยู่ก็รู้ว่านอนหงายอยู่

๑.๕ การอบรมกายเมื่อรู้อารมณ์ทางตาและหู "มองเห็นและได้ยิน"

- เมื่อมองก็รู้ว่าขณะนี้ตนกำลังมองอยู่
- เมื่อฟังเสียงอยู่ก็รู้ว่าขณะนี้ตนกำลังฟังเสียงอยู่
- เมื่อเห็นหรือได้ยินสิ่งไรๆสภาพไรๆก็รู้ว่าตนมองเห็นสิ่งนั้นๆได้ยินเสียงนั้นๆในสภาวะสภาพนั้นๆอยู่
- เมื่อเกิดอารมณ์ความรู้สึกไรๆขึ้น ให้พึงตั้งขันติไว้ พิจารณาเห็นคุณและโทษโดยยกสติขึ้นแยกจากอารมณ์ความรู้สึกนั้นๆว่า หากเราได้กระทำสิ่งไรๆทางกายและวาจาตามที่ใจใคร่ปารถนาต้องการนั้นมันเป็นคุณหรือเป็นโทษ
- พึงตั้งกายและวาจาอยู่ในความสงบนิ่งไว้ให้อยู่ในความสำรวมเป็นสัมมาโดยชอบทางกายและวาจาไว้ ไม่กระทำการใดๆทางกายและวาจาให้เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

๑.๖ การอบรมกายเมื่อรู้อารมณ์ทางกาย "รู้การกระทบสัมผัสใดๆทางกาย"

- เมื่อรู้ว่ากายถูกกระทบสัมผัสอยู่ก็ให้รู้ว่ากายถูกกระทบสัมผัสอยู่
- เมื่อรู้ว่าสิ่งใดมากระทบสัมผัสทางกายก็รู้ว่ามีสิ่งนั้นๆมากระทบสัมผัสทางกายอยู่
- พึงรู้ว่าผลการการกระทบสัมผัสจากสิ่งนั้นๆเราได้รับความรู้สึกทางกายเป็นอย่างไร ร้อน เย็น แข็ง อ่อน เอิบอาบซ่านกาย เคลื่อนไหวตรึงกาย ชากาย ทิ่มเสียด แสบ กรีดปวดกายเป็นต้น ก็ให้รู้เพียงว่าสภาวะธรรมนี้ๆเกิดขึ้นทางกายเราเท่านั้นไม่มีเกินกว่านี้
- พึงมีความข่มใจจากกิเลส คือ ทมะ ด้วยอาศัยความตรึกนึกอันเป็นกุศลมองในแง่มุมที่ดี ไม่เป็นไปเพื่อความร้อนรุ่ม เร่าร้อนเดือดดานกายและใจ เช่น ยุงกัดก็ยังดีกว่าผึ้งต่อย ถูกด่ายังดีกว่าถูกมือตบตี ถูกมือตบตียังดีกว่าถูกไม้ฟาด ถูกไม้ฟาดก็ยังดีกว่าถูกมีด หอกหลาว ฟัน แทง เป็นต้น เข้าสู่ความสงบใจจากกิเลส คือ อุปสมะ ความสงบใจจากกิเลส อันส่งผลให้ ขันติ และ โสรัจจะสมบูรณ์ เกิดความสำรวมสงบทางกายและวาจา อันเป็นสัมมาทางกายและวาจาขึ้นบริบูรณ์ดีงาม เพราะการกระทำการใดๆอิริยาบถใดๆทางกายและวาจาอาศัยวิตกและวิจารเป็นใหญ่จึงต้องมี ทมะและอุปสมะควบคู่ไปกับขันติและโสรัจจะเสมอๆดังนี้
22  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / สองพี่น้องประลองวิชา ปริยัติ หรือ กัมมัฏฐาน (แนะนำว่าควรอ่านมาก) เมื่อ: ตุลาคม 11, 2013, 07:58:14 am



สองพี่น้องประลองวิชา


“หลวงปู่ขาว อนาลโย” ได้ยกนิทานเปรียบเทียบแสดงเหตุผลว่า ทำไมท่านจึงเลือกการปฏิบัติภาวนา แทนที่จะเลือกเอาการเรียนทางตำราหรือภาคปริยัติ ดังนี้

ในครั้งพุทธกาล มีกุลบุตร 2 พี่น้อง ได้ศรัทธาออกบวชในพระพุทธศาสนา

พระภิกษุ 2 พี่น้องได้ปรึกษากันว่า เมื่อเราบวชแล้วจะมานั่งนอนกินของฆราวาสของเขาเฉยๆ ดูจะไม่สมควร อันกิจในพระพุทธศาสนา มี 2 อย่าง คือ คันถธุระ การศึกษาท่องบ่นในคัมภีร์ต่างๆ อันเป็นเนื้อหาธรรมอย่างหนึ่ง กับวิปัสสนาธุระ การปฏิบัติภาวนาเพื่อค้นหาความจริงอีกอย่างหนึ่ง

ขอให้เราทั้งสองเลือกเอาคนละอย่าง ต้องตั้งใจศึกษาอย่างจริงจัง ต่างคนต่างเรียนให้จบในแนวทางที่ตนเลือก แล้วจึงค่อยมาพบกัน

ฝ่ายภิกษุผู้น้องเป็นผู้เลือกก่อน บอกว่า “ผมจะถือเอาคันถธุระ คือการศึกษาเล่าเรียนจากคัมภีร์ และตำรับตำราต่างๆ”

ภิกษุผู้พี่จึงต้องเลือกอีกอย่างหนึ่ง ได้พูดว่า “เออดี ! เธอยังหนุ่มแน่นอยู่ เรียนไปจะได้มีความรู้ ขอให้เรียนให้จบในตำราทุกเล่มที่มี จะได้มีลาภยศและชื่อเสียง เป็นที่นิยมยกย่องของคนทั่วไป ส่วนพี่นั้นแก่แล้ว ถ้ามัวเรียนตามตำรับตำรากลัวจะตายเสียก่อนที่จะพ้นทุกข์”

พระพี่ชายจึงตกลงใจเรียนฝ่ายวิปัสสนาธุระ คือการมุ่งปฏิบัติ เมื่อตกลงเช่นนั้นแล้วต่างก็แยกย้ายกันไปเสาะแสวงหาอาจารย์ตามแนวที่ตนเลือก

ฝ่ายพี่ชายมุ่งหน้าเข้าป่าเขาลำเนาไพร แสวงหาที่สงบสงัดปราศจากผู้คนพลุกพร่าน ตั้งใจบำเพ็ญภาวนาจนบรรลุถึงจุดสุดยอดของวิปัสสนากรรมฐาน ใช้เวลายาวนานพอสมควร จนจิตใจมั่นคงแข็งแกร่ง ตัดสิ้นขาดจากอาสวะกิเลส สู่วิมุตติหลุดพ้น ภายในดวงจิตดวงใจสงบราบเรียบและผ่องใสทั้งกายและใจ ถือว่าจบกิจทางพระศาสนา

ฝ่ายพระน้องชายก็มุ่งเข้าเมืองใหญ่ เข้าศึกษาในสำนักที่มีชื่อเสียง ได้อาจารย์ที่เป็นปราชญ์ชั้นยอด ศึกษาธรรมะจนแตกฉานทุกเรื่องทุกตอน ศึกษาจนจบตำราและคัมภีร์ทุกประเภท ถือว่าเรียนจบขั้นสูงสุด มีความเป็นปราชญ์อย่างสมภูมิ กล่าวได้ว่าไม่มีอะไรจะไม่รู้อีกแล้ว

เมื่อสองพี่น้องต่างมั่นใจว่าตนบรรลุในสิ่งที่มุ่งหวังแล้ว จึงได้กลับมาพบกัน เมื่อเรียนรู้คนละอย่างจึงเกิดการประลองกันว่าใครจะดีจะเก่งกว่ากัน

ฝ่ายพระผู้น้องได้กล่าวขึ้นว่า “ที่พวกเราไปร่ำเรียนศิลปะวิทยากันมาจนสำเร็จแล้วนั้น ผมอยากทราบว่าของใครจะดีกว่ากัน”

พระผู้พี่พูดว่า “วิชาของพี่นี่จบไตรโลกธาตุสูงสุด จนหมดที่จะศึกษาเล่าเรียนแล้ว จิตของเราถึงวิมุตติหลุดพ้นจากอาสวกิเลสทั้งปวง”

พระผู้น้องก็พูดขึ้นว่า “ผมก็เรียนเก่งเหมือนกัน เรียนจนจบตำราทุกเล่ม และเรียนจนหมดความรู้ของอาจารย์ ถือว่ารู้แจ้งจบในพระธรรมในพระพุทธศาสนาแล้ว”

พระสองพี่น้องจึงเกิดการข้องใจว่าวิชาของใครดีกว่ากัน จึงได้ตกลงกันว่า “เราทั้งสองก็ลูกศิษย์พระพุทธเจ้าเช่นเดียวกัน เราควรจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ให้พระองค์เป็นผู้ตัดสินเถิด พระองค์จะวินิจฉัยอย่างไรก็ตาม เราทั้งสองต้องยอมรับ”

พระสองพี่น้องจึงออกเดินทางเพื่อไปเฝ้าพระพุทธองค์ซึ่งประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร เพื่อกราบทูลให้ทรงวินิจฉัยต่อไป

พระพุทธวินิจฉัย

ในระหว่างเดินทางของพระภิกษุสองพี่น้องนั้น ฝนตกอย่างหนัก การเดินทางจึงยากลำบากเพราะอุปสรรคจากน้ำท่วม พระภิกษุผู้พี่เดินนำหน้า พระภิกษุผู้น้องเดินตามหลัง เมื่อถึงเวลาน้ำลึกจนท่วมหัว ก็ปรากฏว่าท่วมเพียงครึ่งแข้งของพระผู้พี่ ถ้าน้ำตื้นก็เดินอย่างแสนสบาย ซึ่งไม่เหมือนกับพระน้องชาย

กล่าวคือ ถ้าน้ำท่วมเพียงแข้งของพระพี่ชาย แต่กลับท่วมถึงอกของพระน้องชาย ถ้าน้ำตื้นพระพี่ชายก็เดินสบายมาก แต่พระน้องชายกลับเดินตกหลุมตกบ่อไปตลอดทาง พระน้องชายเดินทางด้วยความลำบากทุลักทุเล ผ้าสบงจีวรเปียกปอนต้องยกกลดยกบาตรไว้เหนือศีรษะ

เมื่อไปถึงพระเชตวันมหาวิหาร พระภิกษุทั้งสองพี่น้องได้พักผ่อนพอสมควรแล้ว ก็ได้เข้าเฝ้าเพื่อฟังพระพุทธวินิจฉัย พระพุทธองค์ตรัสว่า “ก่อนจะตอบข้อสงสัย ตถาคตจะขอถามอาการที่พวกเธอเดินทางมาเป็นอย่างไร ลำบากไหม ?”

พระผู้พี่ตอบว่า “ไม่ลำบากเลย ร่มเย็นตลอดทาง พระพุทธเจ้าข้า”

พระองค์ตรัสถามพระน้องชาย “แล้วเธอละลำบากไหม ?”

พระน้องชายตอบว่า “เกล้ากระหม่อมลำบากเหลือเกิน ต้องลุยน้ำต้องตกหลุมตกบ่อ ผ้าเปียกปอนหมด พระพุทธเจ้าข้า”

พระพุทธองค์ตรัสถามต่อไปว่า “ทำไมเมื่อมาด้วยกันจึงไม่เหมือนกัน คนหนึ่งสบาย อีกคนหนึ่งกลับทุกข์”

พระภิกษุสองพี่น้องกราบทูลว่า “เกล้ากระหม่อมไม่ทราบดอกพระพุทธเจ้าข้า ขอพระองค์โปรดแสดงธรรมให้เกล้ากระผมเข้าใจด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า”

พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดพระภิกษุทั้งหลาย ณ ที่นั้นว่า

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนไม่มีกิเลสตัณหา ไม่ได้อุ้มกิเลสมา ย่อมเป็นคนเบา เหยียบน้ำก็ไม่เปียก เดินก็สบายไม่ทุกข์กาย ส่วนคนที่มีกิเลสหยาบ ตัณหามากมาย จนไม่มีโกดังที่จะเก็บใส่ เอาไว้ที่ไหนก็เต็ม คนนั้นเป็นคนหนัก เหยียบน้ำก็เปียก เดินไปก็จมแสนลำบาก น้ำเกือบจะท่วมตาย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพี่หรือภิกษุน้อง ใครฟูใครจม”

พระภิกษุสาวกกราบทูลว่า “พวกข้าพระองค์ทราบแล้ว”

พระพุทธองค์ตรัสต่อไปว่า “ปัญหาที่พวกเธอตกลงไม่ได้นั้น ทราบแล้วหรือยัง คนเรียนแต่ไม่ปฏิบัติในพระธรรมวินัย กับคนเรียนสมถวิปัสสนาปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด จนกำจัดอวิชชาออกจากดวงใจแล้ว ดวงใจก็ใสสะอาด พี่เก่งหรือน้องเก่ง.....พี่ฟูหรือพี่จม น้องฟูหรือน้องจม”

ด้วยนิทานอุทาหรณ์ข้างต้น หลวงปู่ขาวท่านจึงเรียนด้านปริยัติพอเป็นพื้นฐาน แล้วก็มุ่งปฏิบัติสมถวิปัสสนา เพื่อลดละกิเลส พาจิตไปสู่ความหลุดพ้น ดังนั้น ท่านจึงยอมขัดคำสั่งสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ดังกล่าวแล้ว ซึ่งสมเด็จฯ ท่านเข้าใจจึงยอมตาม


ขอขอบคุณที่มาจาก http://forum.khonkaenlink.info/index.php?topic=17163351.0


23  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ท่านสุปพุทธกุฏฐิ เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2013, 03:27:01 am
ท่านสุปพุทธกุฏฐิ
โดย  หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลายเคยปรารภกันว่า  ในสมัยองค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดา   เขาฟังเทศน์กันอย่างง่าย ๆ  แล้วก็ปฏิบัติกันแบบง่าย ๆ  พระพุทธเจ้าเทศน์จบเมื่อไร  ก็ปรากฎว่าบางท่านได้เป็นพระอรหันต์บ้าง  บางท่านได้เป็นพระอนาคามีบ้าง  เป็นพระสกิทาคามีบ้าง  เป็นพระโสดาบันกันบ้าง  อย่างนี้รู้สึกว่าง่ายมากเกินไป  แต่ว่าในสมัยนั้น  องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเทศน์ เหตุที่เขาจะได้เป็นอริยเจ้าอย่างนั้น  เขาตั้งใจยังไง  บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายจะทราบได้จากเรื่องนี้
ความมีอยู่ว่า  เมื่อองค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังทรงพระชนม์อยู่  ในวันหนึ่งองค์สมเด็จพระบรมครูทรงเสด็จไปในภาคพื้นปกติ  เวลาที่พระพุทธเจ้าเทศน์น่ะ  บรรดาท่านพุทธบริษัท  หาธรรมาสน์เทศน์นี่ยากเต็มที  เพราะว่าองค์สมเด็จพระชินสีห์มักจะเทศน์กลางป่าบ้าง  กลางทุ่งนาบ้าง  เอาสังฆาฏิปูบ้าง  นั่งบนตอไม้บ้าง  นาน ๆ องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาจึงจะเทศน์ในพระมหาวิหาร  ในวันนั้น องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาทรงเสด็จประทับอยู่ที่ตอไม้  มีคนทั้งหลายแวดล้อมนั่งฟังกันอยู่เป็นอันมาก
ขณะที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจะแสดงพระสัทธรรมเทศนา  เวลานั้นก็ปรากฎว่ามีกระทาชายนายหนึ่ง  มีนามว่าสุปพุทธกุฏฐิ  คำว่า  “สุปพุทธะ”  เป็นชื่อ  กุฏฐิ นี่เป็นฉายา  ที่มีฉายาอย่างนี้เพราะว่าแกเป็นโรคเรื้อนทั้งตัว  ชาวบ้านจึงให้นามว่า สุปพุทธะ แล้วก็ลงท้ายว่า กุฏฐิ  ซึ่งแปลเป็นใจควาว่า  นายสุปพุทธะผู้เป็นโรคเรื้อน  แล้วท่านผู้นี้ก็มีอาชีพเป็นขอทานด้วย
บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย  เวลาที่เธอเข้ามาเห็นองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาประทับนั่งอยู่บนตอไม้  มีบรรดาประชาชนทั้งหลายแวดล้อมอยู่เป็นส่วนมาก  สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังจะแสดงพระสัทธรรมเทศนา  ท่านสุปพุทธกุฏฐิก็บังเกิดมีความเลื่อมใสในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  จึงได้นั่งลงตั้งใจจะฟังองค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์แสดงธรรม  แต่ทว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย  ควรจะนึกถึงความเป็นจริง  เขาทั้งหลายเหล่านั้นทั้งชายและหญิง  เป็นคนที่มีรูปร่างหน้าตาปกติ มีฐานะดี  แต่ทว่าชายผู้เป็นโรคเรื้อนคนนี้เป็นโรคเรื้อนด้วยแล้วก็เป็นขอทาน  ไม่กล้าที่จะเข้าไปนั่งปะปนกับชาวบ้านเพราะเกรงว่าเขาจะรังเกียจ  จึงได้นั่งอยู่ท้ายปลายสุดของบรรดาบริษัทที่รับฟังพระธรรมเทศนา  นั่งห่าง ๆ  เขา
เวลานั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า   ได้ทรงแสดงธรรมกล่าวถึงโทษของการละเมิดศีล 5  กล่าวถึงคุณการปฏิบัติในศีล 5 เป็นต้น  โดยองค์สมเด็จพระทศพลเทศน์มีใจความว่า  บุคคลที่จะมีความสุขได้  ก็ต้องเป็นบุคคลที่ไม่มีใจร้าย  นั่นก็คือ
1.  ไม่ทำลายชีวิตสัตว์และไม่ทำลายชีวิตคน  เพราะสัตว์ก็ดี  คนก็ดี  ย่อมมีการรักชีวิตรักร่างกายของตน  มีสภาวะเสมอกัน  เหตุฉะนั้น องค์สมเด็จพระทรงธรรม์จึงทรงแนะนำให้ทุกคนมีเมตตาความรักซึ่งกันและกัน  มีกรุณาความสงสารซึ่งกันและกัน  ไม่ทำร้ายซึ่งกันและกัน
และประการที่ 2  ไม่ยื้อแย่งทรัพย์ของบุคคลอื่นมาเป็นของตนโดยไม่ชอบธรรม
และก็ประการที่ 3  ไม่ยื้อแย่งคนรักของบุคคลอื่นมาครอบครอง  โดยที่เจ้าของไม่ได้อนุญาต
ประการที่ 4  องค์สมเด็จพระโลกนาถตรัสว่า  ควรจะพูดแต่ความจริง  เพราะคนทุกคนรักความจริง
ประการที่ 5  สมเด็จพระบรมศาสดาทรงตรัสว่า  ไม่ควรดื่มสุราและเมรัย  เพราะเป็นฐานะที่ตั้งแห่งความประมาท
แล้วองค์สมเด็จพระโลกนาถก็ทรงกล่าวแสดงถึงโทษของการละเมิดศีล 5 ว่า  บุคคลใดทำปาณาติบาต  ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต  ประทุษร้างร่างกายเขา  ตายจากความเป็นคนก็ไปเกิดเป็นสัตว์นรก  แล้วก็มาเป็นเปรต  เป็นอสุรกาย  เป็นสัตว์เดรัจฉาน  เกิดมาภายหลังก็มาเป็นคน  กรรมที่เป็นอกุศลให้ผลยังไม่ถึงที่สุด ก็ตามมาให้ผลในสมัยที่เป็นมนุษย์  นั่นก็คือมีร่างกายมีการป่วยไข้ไม่สบายบ้าง  มีร่างกายทุพลภาพบ้าง   มีชีวิตสั้นพลันตายบ้าง  เป็นต้น
หลังจากนั้น  องค์สมเด็จพระทศพลก็ทรงตรัสโทษของอทินนาทานว่า  คนที่ทำอทินนาทาน  คนประเภทนี้เกิดมาเป็นคนก็จะพบกับการถูกล้างผลาญทรัพย์สมบัติ  คือไฟไหม้ทรัพย์สมบัติบ้าง  น้ำท่วมบ้าง  ลมพัดให้สมบัติสลายตัวบ้าง  ถูกโจรลักบ้าง
โทษของกาเมสุมิจฉาจาร ก็เป็นปัจจัยให้คนทั้งหลายเหล่านั้นมีชีวิตไม่เป็นสุข  คือคนในครอบครัวหรือในบังคับบัญชาว่ายากสอนยาก  เป็นการขื่นขมระทมใจ
โทษมุสาวาท  เป็นปัจจัยให้ไม่มีใครเชื่อฟัง  ถึงแม้จะพูดวาจาจริง
ข้อที่ 5  องค์สมเด็จพระจอมไตรทรงตรัสว่า  ถ้าเกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว  คือผ่านนรก  เปรต  อสุรกาย มาแล้วอย่างนี้  องค์สมเด็จพระประทีปแก้วกล่าวว่า  โทษการดื่มสุราและเมรัย  จะต้องกลายเป็นคนเป็นโรคเส้นประสาทบ้าง  เป็นคนบ้าบ้าง
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวถึงโทษการละเมิดศีล 5  คือปัญจเวร  แล้วต่อไปสมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาก็กล่าวถึง  คุณการปฏิบัติในศีล 5 ประการครบถ้วนว่า
ศีลข้อที่ 1  คนรักษาได้ด้วยเมตตา  ถ้าเกิดมาภายหลังจะมีโรคภัยไข้เจ็บเล็กน้อย  มีชีวิตมีอายุขัย  ร่างกายสะสวยงดงาม  ร่างกายดีเป็นปกติ
ศีลข้อที่ 2  ถ้ารักษาได้   ทรัพย์สมบัติทั้งหลายที่มีอยู่จะไม่สลายตัว  เพราะไฟไหม้ 1  น้ำท่วม 1  ลมพัด 1  โจรผู้ร้ายไม่รบกวน 1
ศีลข้อที่ 3  พระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวว่า  ถ้าทรงไว้ได้  คนใต้บังคับบัญชาจะว่านอนสอนง่าย  อยู่ในโอวาท
ศีลข้อที่ 4  องค์สมเด็จพระโลกนาถกล่าวว่า  สัจวาจาที่กล่าวไว้ในชาติก่อน ๆ นั้นไซร้  จะเป็นปัจจัยให้เกิดมาในชาติหลัง  มีวาจาเป็นที่รักของบุคคลผู้รับฟัง
ศีลข้อที่ 5  องค์สมเด็จพระศาสดากล่าวว่า  ถ้ารักษาได้  เกิดมาภายหลังจะเป็นคนมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์  มีปัญญาดี
เมื่อองค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้  ก็ลงท้ายศีลว่า  สีเลน  สุคติง  ยันติ  บุคคลใดมีศีลบริสุทธิ์ เกิดในสมัยที่เป็นมนุษย์ก็มีความสุข  ตายไปแล้วก็มีความสุข  มีสวรรค์เป็นที่ไป
ข้อที่ 2 องค์สมเด็จพระจอมไตรกล่าวว่า  สีเลน  โภคสัมปทา  บุคคลใดปฏิบัติในศีลได้นี้  ในขณะที่มีชีวิตอยู่นี้  สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสว่า  มีทรัพย์สมบูรณ์แบบ  คือการจับจ่ายใช้สอยทรัพย์จะมีตามปกติ  ทรัพย์ไม่สิ้นเปลือง  จะมีความสุขเพราะการปกครองทรัพย์  ตายไปเป็นเทวดาก็มีทิพยสมบัติ  มาเป็นคนก็จะเป็นเศรษฐีมหาเศรษฐี เพราะความดีในข้อนี้
ข้อสุดท้ายองค์สมเด็จพระชินสีห์กล่วว่า   สีเลน  นิพพุติง  ยันติ  บุคคลใดมีศีลครบถ้วนบริบูรณ์  จะเป็นปัจจัยให้เข้าถึงพระนิพพานได้โดยง่าย
ครั้นเมื่อองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาตรัสจบ   ก็ปรากฎว่าบุคคลผู้รับฟังได้เป็นพระอริยเจ้า  เป็นพระโสดาบันบ้าง  สกิทาคามีบ้าง  อนาคามีบ้าง  เป็นพระอรหันต์บ้าง  สำหรับท่านที่เป็นอรหันต์ก็ขออุปสมบทบรรพชาในพระพุทธศาสนาทันที  แต่ทว่า สุปพุทธะ ผู้เป็นโรคเรื้อนและเป็นยาจกคนนี้  ปรากฎว่าเธอได้เป็นพระโสดาบัน  มีความปลื้มใจเป็นอันมาก
เมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสจบคนทั้งหลายก็พากันลาพระพุทธเจ้า  พระพุทธเจ้าก็เสด็จกลับพระวิหาร  สำหรับท่านสุปพุทธกุฏฐิ  ซึ่งเป็นพระโสดาบัน  ก็กลับกระท่อมของตน  ในตอนกลางคืนได้มาปรารภพระธรรมเทศนาขององค์สมเด็จพระทศพลว่า
“โอหนอ  พระธรรมเทศนาขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงไพเราะอย่างยิ่ง  ทำให้ท่านบรรดาพุทธบริษัทชายหญิงเข้าถึงความเป็นคนดี  แต่ว่าพระธรรมเทศนาที่เราฟังแล้วนี้จับใจมาก  เป็นจิตใจให้คิดเห็นว่า  ชีวิตของบุคคลเราเกิดมามันต้องตาย  เมื่อตายแล้ว ความตายไม่ได้ทำให้จิตใจสลายไปด้วย  ช่วยให้คนมีความสุข  อาศัยตัวเราที่เป็นโรคเรื้อนและเป็นขอทานในชาตินี้  เห็นจะเป็นเพราะที่องค์สมเด็จพระชินสีห์ทรงกล่าวว่า  เคยทำปาณาติบาตฆ่าสัตว์ตัดชีวิต  ทำร้ายร่างกายเขา  ร่างกายเราจึงไม่เป็นปกติ  มีเชื้อโรคเรื้อนประจำกาย  ที่มีทรัพย์สินไม่พอกินไม่พอใช้ต้องขอทานเขากิน เห็นจะเป็นโทษอทินนาทาน  แต่ทว่าเวลานี้  สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสอนเราให้เข้าใจถึงความเป็นจริง  ฉะนั้น  พระพุทธศาสนา  มีพระพุทธรัตนะ  ธรรมรัตนะ  และสังฆรัตนะ  ทั้ง  3  ประการ  เป็นที่เคารพสักการะของจิตใจของเราเป็นอย่างยิ่ง”
เป็นอันว่าสุปพุทธกุฏฐิฟังเทศน์แล้ว  ก็เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าด้วย  เลื่อมใสในพระธรรมด้วย  เลื่อมใสในบรรดาพระอริยสงฆ์ทั้งหลายด้วย และจิตใจของเธอคิดไว้ว่า  นับตั้งแต่บัดนี้ไปจนกว่าจะตาย  จะมีเหตุการณ์ใด ๆ เกิดขึ้นก็ตามที  เรานี้จะไม่ยอมละเมิดศีล 5 เป็นอันขาด  องค์สมเด็จพระบรมโลกนาถกล่าวในข้อท้ายว่า  สีเลน  นิพพุติง  ยันติ  คือกล่าวว่า  การทรงศีลบริสุทธิ์เป็นปัจจัยให้เข้าถึงนิพพานโดยง่าย  ฉะนั้น ธรรมใดที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสแล้ว  เราจะรักษาด้วยดี  เราต้องการพระนิพพาน
รวมความว่า  ท่านมีความรู้ตัวว่าท่านนี้ต้องการพระนิพพาน  ท่านเองท่านเป็นพระโสดาบัน ท่านก็ทราบ
นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท  จงจำให้ดีว่า  การฟังเทศน์จากองค์สมเด็จพระชินสีห์นั้น  เขาก็คิดไปด้วย  หาเหตุหาผล  เมื่อได้เหตุได้ผลก็ตั้งใจของตนให้ตรงตามความเป็นจริง ตามธรรม ปฏิบัติตามนั้น  ทรงอารมณ์ตามนั้น
สำหรับท่านสุปพุทธกุฏฐินี่ท่านเป็นขอทาน  ก็คิดว่าเป็นคนที่ชาวบ้านเขาเหยียดหยามว่าเป็นคนชั้นต่ำ  เป็นคนมีทรัพย์สินน้อย  แล้วประการที่สอง  ท่านเป็นโรคเรื้อน  เป็นโรคที่น่ารังเกียจ  แต่ทว่าความเป็นพระอริยเจ้าไม่ได้เลือกบุคคล  ไม่ใช่ว่าต้องเป็นบุคคลที่มีฐานะดี  มีร่างกายดี  มีความรู้ดี  มีความสามารถดีเป็นพิเศษ  มีศักดิ์ศรีดี  จึงจะเป็นพระอริยเจ้าได้  ความเป็นพระอริยเจ้าไม่ได้เลือกบุคคล เลือกใจคน
รวมความว่า  ท่านสุปพุทธกุฏฐิท่านถึงความเป็นคนทรงคุณธรรม 3 ประการได้ครบถ้วน  ก็คือ
ในข้อแรก  มีความเคารพในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระอริยสงฆ์ นี่เป็นปัจจัยตัวที่หนึ่งให้เป็นพระโสดาบัน  หรือพระสกิทาคามี
จำไว้ให้ดีนะว่า  คนที่จะเป็นพระโสดาบันหรือพระสกิทาคามีน่ะ  เขาทรงคุณธรรมตามนี้  ที่เรียกกันว่าองค์ของพระโสดาบัน  ท่านที่เป็นพระโสดาบันนั้น มีความเคารพในพระพุทธเจ้า  ในพระธรรม พระสงฆ์ ด้วยจริงใจ
ประการที่สอง  ทรงศีล 5  บริสุทธิ์
แล้วก็ประการที่สาม  จิตต้องการพระนิพพานเป็นอารมณ์  นึกอย่างเดียวว่า  เราตายชาตินี้ขอไปนิพพาน  การทำความดีทุกอย่างเราทำเพื่อพระนิพพานอย่างเดียว  อย่างนี้พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่าพระโสดาบัน  หรือพระสกิทาคามี
ถ้าใครทำใจได้อย่างนี้  ปฏิบัติได้ตามนี้ละก็  ทุกคนเป็นพระโสดาบันก็ได้  เป็นพระสกิทาคามีก็ได้  ใจความสำคัญในตอนนี้มีเท่านี้
ต่อไปตอนกลางคืน  ท่านสุปพุทธะได้มาพิจารณาความดีที่ท่านได้ในคราวนี้ว่า  ท่านเป็นพระโสดาบันเพราะพระธรรมเทศนาของสมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมา-สัมพุทธเจ้าแท้ ๆ   ขึ้นชื่อว่าพระพุทธเจ้า ทรงมีคุณแก่ท่านอย่างยิ่ง  แต่ก็คิดในใจว่า  เวลานี้ สมเด็จพระชินสีห์ทรงทราบหรือเปล่าว่าท่านเป็นพระโสดาบัน
แต่ความจริงใครจะเป็นอะไร  พระพุทธเจ้าทรงทราบเสมอ  ทราบด้วยอำนาจพระพุทธญาณ  แต่ทว่า ท่านสุปพุทธกุฏฐิ ท่านเพิ่งจะเป็นพระโสดาบัน  ท่านเพิ่งจะพบพระพุทธเจ้าใหม่ ๆ   จึงไม่มีความเข้าใจตามความเป็นจริงว่า  พระพุทธเจ้าจะทราบหรือไม่ทราบ  จึงได้นอนคำนึง  คืนนั้นทั้งคืนท่านนอนไม่หลับ  เพราะความปลื้มใจ มีความอิ่มใจในความเป็นพระโสดาบัน  ท่านจึงได้คิดในใจว่า  1. เราเป็นขอทานด้วย แล้วก็ประการที่ 2. เราก็เป็นคนเป็นโรคเรื้อน  ถ้าสมเด็จพระมหามุนีทรงทราบว่าเราเป็นพระโสดาบันจะทรงดีพระทัยมาก  จึงอยากจะไปเฝ้าองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า  จะทูลให้ทรงทราบว่า ท่านเองได้เป็นพระโสดาบัน  คืนนั้นจึงนอนไม่หลับ
ตอนเช้ารีบกินข้าวแต่เช้า  หุงข้าวกิน  กับข้าวก็ไม่มีอะไรมาก จัดแจงแต่งกายอย่างดีที่สุดของขอทาน  ออกจากบ้านตั้งใจจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า  จะกราบทูลให้ทรงทราบว่าตัวเองเป็นพระโสดาบัน  ทั้งนี้เพราะอาศัยธรรมปีติล้นกำลังใจ
เวลานั้น ท้าวโกสีย์สักกเทวราช คือพระอินทร์อยู่บนวิมาน  นั่งอยู่ที่บนบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์  ทรงทราบว่า  เวลานี้สุปพุทธกุฏฐิจะไปเฝ้าองค์สมเด็จพระบรมโลกนาถ  ตั้งใจจะกราบทูลให้ทรงทราบว่าเป็นพระโสดาบัน  ถ้ากระไรก็ดี  วันนี้เราจะลองใจสุปพุทธกุฏฐิดู  ว่ามีความเคารพในองค์พระบรมครู จะเป็นพระโสดาบันจริงหรือเปล่า คิดแล้วท่านจึงได้เหาะมาลอยอยู่ในอากาศ  ใกล้ข้างหน้า คือไม่สูงกว่าศรีษะของสุปพุทธกุฏฐิเท่าไร  จึงได้ตรัสถามว่า  “สุปพุทธกุฏฐิ  เธอจะไปไหน”
ท่านสุปพุทธกุฏฐิ เห็นท้าวโกสีย์สักกเทวราชลอยอยู่ใกล้ ๆ จึงได้กล่าวว่า “ท้าวโกสีย์  เวลานี้เราจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า”
พระอินทร์ท่านจึงได้ถามว่า  “ไปเฝ้าทำไม”
ท่านสุปพุทธะก็ตอบว่า “ฉันจะไปกราบทูลองค์สมเด็จพระจอมไตรว่า เวลานี้ ฉันเป็นพระโสดาบันแล้ว”
พระอินทร์ก็เลยแกล้งพูดว่า  “เธอน่ะรึ  คนอย่างเธอเป็นโรคเรื้อนอย่างนี้  เป็นขอทานอย่างนี้น่ะรึ จะเป็นพระโสดาบัน  ฉันไม่เชื่อ”  และพระอินทร์ก็กล่าวต่อไปว่า  “เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน  มาพิสูจน์กัน  ไม่ใช่ว่าพิสูจน์ผิดพิสูจน์ถูก  เธอทราบไหมว่า  เวลานี้เธอเป็นขอทาน”
ท่านสุปพุทธกุฏฐิก็บอกว่า “ฉันเป็นขอทานอาชีพจ้ะ  ทำไมฉันจะไม่รู้ ตั้งแต่ออกจากท้องพ่อท้องแม่ฉันก็ขอทานตลอดมา”
พระอินทร์ก็ถามต่อไปว่า  “ท่านทราบหรือเปล่าว่า  ตัวเองเป็นโรคเรื้อน เป็นโรคที่ชาวบ้านเขารังเกียจ”
สุปพุทธะก็บอกว่า  “ไม่น่าจะถาม  ไม่น่าจะโง่  ฉันรู้”
แล้วพระอินทร์ก็เลยบอกว่า  “สุปพุทธะ   ความเป็นคนจนเป็นของไม่ดี ไม่มีความสุขในชีวิต   และร่างกายที่ประกอบไปด้วยโรคภัยไข้เจ็บอย่างนี้  ก็จะมีความทุกข์หนัก เอาอย่างนี้นะ  ถ้าหากว่าท่านพูดตามคำเราพูด 3 คำ  จะตั้งใจพูดหรือว่าสักแต่ว่าพูดก็ได้  พูดเฉย ๆ เล่น ๆ ก็ได้  ถ้าหากท่านพูดตามคำเราแนะ 3 คำ  ละก็  ประการที่ 1  เราจะบันดาลทรัพย์ให้มากมายให้กลายเป็นมหาเศรษฐี  ประการที่ 2  โรคเรื้อนนี้ในร่างกายของท่านจะหมดไป  จะกลายเป็นคนมีร่างกายสมบูรณ์  และจะมีความสวยสดงดงามมาก”
ท่านสุปพุทธกุฏฐิก็ดีใจ  ถามว่า  “จะให้ว่ายังไงล่ะ  พระอินทร์ ว่ามาเถอะ  ถ้าไม่เกินวิสัยที่ฉันจะพูดได้  ฉันจะพูด”
พระอินทร์ก็บอกว่า “เธอพูดเล่น ๆ ก็ได้นะ  ไม่ต้องตั้งใจว่าหรอก  ไม่ต้องตั้งใจเอาจริงเอาจัง  แค่ว่าตามเรา  พูดเล่น ๆ ก็พอ”
ท่านสุปพุทธะก็พร้อมรับ  ท่านจึงกล่าวว่า  “เธอจงพูดอย่างนี้นะ  ว่าพระพุทธเจ้าไม่ใช่พระพุทธเจ้า  พระธรรมไม่ใช่พระธรรม  พระสงฆ์ไม่ใช่พระสงฆ์  เอาแค่นี้ก็แล้วกัน  พูดเล่น ๆ ก็ได้ไม่ต้องตั้งใจ”
สุปพุทธะพอฟังเท่านั้นเกิดความไม่พอใจ    ชี้หน้าด่าพระอินทร์ทันทีว่า  “พระอินทร์ถ่อยจงถอยไป  เจ้ามาพูดอะไรตามนั้น  สำหรับพระพุทธเจ้า  พระธรรม พระอริยสงฆ์  เป็นจิตใจที่เราเคารพอย่างยิ่ง  เวลานี้กล่าวว่าเราเป็นคนจนนั่นเราจนจริงสำหรับโลกียทรัพย์  แต่อริยทรัพย์ของเราสมบูรณ์บริบูรณ์  เราเป็นพระโสดาบัน  ท่านจงถอยไป  ไอ้โรคเรื้อนจังไรอย่างนี้ไซร้  มันเป็นกับเรามาตลอดกาลตลอดสมัย  เราไม่มีทุกข์ใจ  เจ้าสรรหาอะไรมาพูดตามถ้อยคำเลว ๆ ของท่าน  จงหลีกไปเดี๋ยวนี้”
รวมความว่า  ท่านสุปพุทธะจึงได้ไล่พระอินทร์ไป  แต่พระอินทร์ท่านหลีกไปแล้วท่านก็ไม่ไปไหน  ท่านย่องไปบ้านสุปพุทธกุฏฐิ
ท่านสุปพุทธกุฏฐิก็หลีกจากพระอินทร์ไป  แล้วก็ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า  แต่ตอนนี้ตามพระบาลีท่านไม่ได้บอก เข้าใจว่าจะไปพบพระพุทธเจ้าจริง ๆ แล้วกราบทูลจริง ๆ
สำหรับพระอินทร์  ท่านก็ย้อนหลังมาที่บ้านของสุปพุทธกุฏฐิ  มาถึงก็บันดาลแก้วเจ็ดประการให้ตกจากอากาศเต็มบริเวณบ้านสุปพุทธกุฏฐิ  เต็มเลยหลังคากระท่อมไป   แล้วบันดาลให้ร่างกายของสุปพุทธกุฏฐิหมดจากความเป็นโรคเรื้อน  เป็นคนที่มีความสวยสดงดงามตามที่ท่านให้สัญญา  แต่ความจริงไม่พูดท่านก็ไม่ว่า  ท่านทราบว่าสุปพุทธกุฏฐิเป็นพระโสดาบันจริง  ที่ท่านสอบอย่างนี้เพราะว่าพระอินทร์ท่านเป็นพระโสดาบัน  ท่านรู้กำลังใจของสุปพุทธกุฏฐิและรู้กำลังใจของบุคคลผู้เป็นพระโสดาบัน
เมื่อท่านสุปพุทธกุฏฐิกลับมาบ้าน  เห็นบ้านหาย  บริเวณลานบ้านทั้งหมดสูงกว่าหลังคาเป็นไหน ๆ  เต็มไปด้วยแก้วเจ็ดประการ  ร่างกายของตนนั้นก็กลายเป็นร่างกายของบุคคลที่มีความสวยสดงดงามอย่างยิ่ง   และโรคเรื้อนก็หายไป  จึงตกใจคิดว่าไอ้ทรัพย์นี่มันมาจากไหน  จึงเข้าเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศลบรมกษัตริย์  พระบาทท้าวเธอเป็นพระราชาเวลานั้น กราบทูลว่า  “เวลานี้ทรัพย์ของพระองค์  ทรัพย์ของแผ่นดินเกิดขึ้นในบ้านของข้าพระพุทธเจ้า  พระเจ้าข้า”
พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ถามว่า  “มีอะไรบ้าง”
ท่านสุปพุทธกุฏฐิก็บอกว่า  “มีแก้วเจ็ดประการ  มันเต็มไปหมดเต็มบริเวณพื้นที่บ้านทั้งหมด  สูงเกือบจะเท่ายอดตาล”
พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ถามว่า  “ต้องการภาชนะเท่าไรจึงจะขนพอ”
ท่านสุปพุทธกุฏฐิก็บอกว่า “ประมาณ 500 เล่มเกวียน จึงจะขนพอพระเจ้าข้า”
พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงได้ให้คนนำเกวียนประมาณ 500 เล่มเกวียนเศษ ขนแก้วเจ็ดประการมากองที่พระลานหลวง  แล้วประกาศให้คนมาดูกัน  ถามว่า  “เวลานี้ทรัพย์ใหญ่เกิดขึ้นแล้วแก่หลวง  ใครมีสมบัติเท่านี้บ้าง”
เศรษฐีทั้งหลายก็บอกว่า  “แก้วเจ็ดประการ อย่าว่าแต่มีเท่านี้เลย   1  ทะนานมันยังหาได้ยาก”
ฉะนั้น  พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงแต่งตั้งให้สุปพุทธเป็นมหาเศรษฐี  ให้เศวตฉัตร 3 ชั้น  ให้ข้าทาสหญิงชาย 100 ให้ช้าง 100 ม้า 100 โค 100 กระบือ 100 ข้าทาสหญิง 100 ชาย 100 มีบ้านส่วยสำหรับเก็บภาษี 100 หลัง
นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน  ที่เล่ามานี้ต้องการให้บรรดาท่านพุทธบริษัททราบว่า  การฟังเทศน์นะอย่าฟังกันเฉย ๆ  ในสมัยโบราณน่ะท่านไม่ได้ฟังเฉย ๆ  ท่านฟังแล้วต้องคิด  ต้องตั้งใจปฏิบัติตามไปด้วย  จึงช่วยให้คนเป็นพระอริยเจ้ากันง่าย ๆ
สำหรับการเป็นพระโสดาบันก็ดี  พระสกิทาคามีก็ดี  ทั้งสองประการนี้ไม่ใช่ของสูงของเลิศประเสริฐ คิดว่าเราจะทำไม่ได้  ถ้าจะเรียกกันไป  พระโสดาบันกับพระสกิทาคามีก็เป็นเรื่องของชาวบ้านชั้นดีนั่นเอง  ไม่มีอะไรมาก  แต่ว่าพระพุทธเจ้าท่านทรงเรียกพระแล้วนะ  ผู้หญิงก็ตาม ผู้ชายก็ตามที่ไม่ได้บวชพระ  ไม่ได้บวชเณร  ถ้าเป็นพระโสดาบัน  พระพุทธเจ้าท่านทรงเรียกว่าพระ  เพราะว่าเป็นพระแท้
สำหรับคนที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา  ที่ยังไม่ได้เป็นพระโสดาบัน  ท่านเรียกว่าสมมุติสงฆ์  เพราะว่าเป็นสงฆ์สมมุติ  ไม่ใช่สงฆ์แท้ ความเป็นพระแท้ของความเป็นพระ  ก็เริ่มต้นตั้งแต่พระโสดาบัน  อย่างที่ท่านเรียกนางวิสาขา  หรืออนาถบิณฑิกเศรษฐี  ท่านเรียกนางวิสาขาว่าพระโสดาบัน  เรียกอนาถบิณฑิกเศรษฐีว่าพระโสดาบัน  อันนี้เป็นพระแท้ ๆ
นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท  จงจำไว้ว่า  ความเป็นพระโสดาบันเขาเรียกว่า  องค์ของพระโสดาบัน  เราไม่ต้องพูดถึงสังโยชน์  สังโยชน์ฟังกันแล้วลำบากใจ  จำไว้แต่เพียงว่า  ความเป็นพระโสดาบันมีทรงคุณธรรม 3 ประการ  จำไว้ให้ดี  เป็นของไม่ยาก  คือ
1.  มีความเคารพในพระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์จริง  พระสงฆ์นี่เลือกเอาพระอริยสงฆ์นะ  เพราะถ้าไม่ใช่พระอริยะ  แกก็ไม่ค่อยแน่นักหรอก  ดีไม่ดีแกก็เลวกว่าชาวบ้านเขาก็มี
2.  งดการละเมิดศีล 5  โดยเด็ดขาด  เรียกว่า  รักษาศีลยิ่งกว่าชีวิต  ศีล 5  ประการนี้  รักษาโดยเด็ดขาด
3.  จิตใจของพระโสดาบันมุ่งอย่างเดียวคือนิพพาน  ขึ้นชื่อว่าทำความดีตั้งแต่ฟังเทศน์ปฎิบัติธรรม  ลงไปถึงเทกระโถน  ล้างส้วม  ตั้งใจอย่างเดียว  เราทำเพราะเมตตาปราณีแก่บุคคลทั้งหลาย  ความดีนี่ไม่ต้องการตอบแทนจากบุคคลผู้ใด  เราต้องการอย่างเดียว  ทำเพื่อผลของพระนิพพาน  เพียงเท่านี้เขาเรียกกันว่า  พระโสดาบัน
เอาละ  บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย  ตามที่เล่ามาในเรื่องสุปพุทธกุฏฐิ ก็ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้
 
                                            **************


ขอบคุณที่มาจาก www.kaskaew.com
24  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / วิธีดับความวิตก ตรึกนึก คิดฟุ้งซ่าน ไม่เป็นสมาธิ เมื่อ: มิถุนายน 26, 2013, 05:31:29 pm
วิธีดับความวิตก ตรึกนึก คิดฟุ้งซ่าน ไม่เป็นสมาธิ


ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม


ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด

บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง วิธีดับความวิตก ตรึกนึก คิดฟุ้งซ่าน ไม่เป็นสมาธิ ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้



หลายครั้งที่ผมนั่งสมาธิแล้วชอบ วิตก ตรึกนึกฟุ้งซ่านไม่เป้นสมาธิ เข้าไม่ได้แม้ขณิกสมาธิ ทั้งๆที่เมื่อก่อนเคยทำสมาธิได้ถึงความสงบว่างมีสติแลดูอยู่ มีจิตจดจ่อได้นาน สามารถเข้าสมาธิจิตเมื่อไหร่ ตอนไหนก็ได้
มาเมื่อมาถึง 2 ช่วงเวลาที่เกิดขึ้นแก่ผมทำให้ผมไม่อาจเข้าสมาธิได้เลยคือ

1. ประสบพบเจอกับความทุกข์กายใจ ที่ขณะนั้นสำหรับผมมันหนักมาก ทำให้ผมไม่ได้ทำสมาธิต่อ เดี๋ยวนี้พอจะเข้าสมาธิก็เข้าไม่ได้เพราะจิตมัวหลงไปกับความ รัก โลภ โกรธ หลง ที่เกิดขึ้นแก่จิตอยู่ขณะนั้นๆทำให้จิตใจฟุ้งซ่านกระสับกระส่าย ระส่ำระส่ายไปหมด
2. พอมีคนมาสอนให้พิจารณาในวิปัสนา(บอกผมเจริญแต่วิปัสนาส่วนเดียว) ยิ่งทำให้ผมตรึกนึกคิดมากขึ้น ยิ่งรู้เห็นมากก็ยิ่งตรึกนึกคิดมากไม่เป็นสมาธิ แม้พิจารณาธรรมในวิปัสนามันก็เป็นได้แค่วิปัสนึก ไม่เห้นจริง ไม่รู้จริง จิตไม่มีกำลังมากพอจะพิจารณาใดๆ มีแค่ความคิดตนเองที่อนุมานเอาเท่านั้น

ทางแก้ไขวิตกจริต ตรึกนึกคิดขณะทำสมาธิ ทั้งด้วยกิเลสหรือติดในอนุมานจากการเรียนวิปัสนานี้ ผมได้พบเจอตามที่หลวงปู่มั่นสอนไว้ และ พบที่เป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดังนี้
1. อาปานานสติ
2. กำหนดนิมิตขึ้นมาพิจารณา
3. พิจารณาธรรม

-------------------------------------------------------------------------------------------


1. อาปานานสติ

- สิ่งแรกที่พระพุทธเจ้ารู้ ก็คือลมหายใจนี้แหละ และ พระพุทธก็มีอาปานานุสสติกรรมฐานเป็นอันมาก ดั่งที่พระราชพรหมญาณ (หลวงปู่ฤๅษีลิงดำ)ท่านสอนว่า
- แม้พระอรหันต์ก็ไม่ทิ้งลมหายใจ
- แม้พระพุทธเจ้าก็ตรัสแก่พระสารีบุตรว่า "สารีบุตรดูก่อน สารีบุตรเราเองก็เป็นผู้มากไปด้วยอานาปานุสสติกรรมฐาน" คำว่า "มาก" ก็หมายความว่า พระพุทธเจ้าทรงกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นปกติ ทั้งนี้เพราะอานาปานุสสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานระงับกายสังขาร คือเป็นกรรมฐานคลายอารมณ์เครียดของจิตใจ และเป็นกรรมฐานคลายอารมณ์เครียดทางร่างกาย มีทุกขเวทนา เป็นต้น
- เราทรงอานาปานุสสติกรรมฐานได้ ก็เหมือนกับคนฉีดมอร์ฟีน เป็นยาระงับ ระงับเวทนา อานาปานุสติกรรมฐานจงทำให้มาก จงอย่าละ ถ้าใครแสดงอาการเลว แสดงว่าคนนั้นทิ้งกำหนดลมหายใจเข้าออก
- ถ้าการกำหนดลมหายใจเข้าออกว่างเกินไป ก็ใช้คำภาวนาควบ เวลาหายใจเข้านึกว่า "พุท" เวลาหายใจออกนึกว่า "โธ" พยายามกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกไว้เป็นปกติ

1.1 ให้ทิ้งความรู้ทั้งหมดใส่หีบไว้ก่อน ดั่งที่หลวงปู่มั่นพระอาจารย์ใหญ่ท่านกล่าวสอนไว้

1.2 กำหนดรู้ลมหายใจเข้า-ออก หายใจเข้ายาว-หายใจออกยาวก้รู้ หายใจเข้าสั้น-หายในออกสั้นก็รู้ หายใจเข้ายาว-หายใจออกสั้นก็รู้ หายใจเข้าสั้น-หายใจออกยาวก็รู้ มีสติรู้ลมจดจ่ออยู่จิตจะสงบ

1.3 ไม่ส่งจิตออกนอก คือ ไม่เอาจิตปล่อยไปตามอดีต ไม่ปล่อยไปตามอนาคต มีสติรู้ปัจจุบัน

      1.3.1 สิ่งใดๆที่มันผ่านไปแล้ว มันจบไปแล้ว เราจักไม่เอาจิตไม่ย้ำคิดคำนึงถึงใน รูปใด เสียงใด กลิ่นใด รสใด โผฐฐัพพะใด ธัมมารมณ์ใด หรือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ใดๆที่ล่วงเลยมาแล้ว
      1.3.2 สิ่งใดๆที่มันยังมาไม่ถึง เราจักไม่เอาจิตไม่ย้ำคิดคำนึงถึงใน รูปใด เสียงใด กลิ่นใด รสใด โผฐฐัพพะใด ธัมมารมณ์ใด หรือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ใดๆที่ยังมาไม่ถึง สิ่งที่มายังไม่ถึงมันเป็นได้แค่ความคิดปรุงแต่งคาดคะเนอนุมานเอาเท่านั้น
      1.3.3 พึงรู้ในปัจจุบันขณะ รู้ลมหายใจเข้า-ออก
1.4 ไม่เอนไหวไปตามสัญญา คือ ความจำได้จำไว้ หรือ ความสำคัญมั่นหมายใดๆของใจ
      1.4.1 ไม่เผลอไผลตามสัญญาจนเกิดเป็นความปรุงแต่งเป็นเรื่องราวต่างๆนาๆทั้งที่พอใจยินดี-ไม่พอใจยินดี  และ ทั้งที่ใจปารถนา-ทั้งที่ใจไม่ปารถนาใดๆ
      1.4.2 ความตรึกนึกคิดปรุงแต่งเรื่องราวใดๆทั้งที่เป็น อดีต และ อนาคต ทั้งหลายนี้เพราะมีสัญญาเป็นที่สุด มีสัญญาเป็นใหญ่
      1.4.3 เมื่อเราเอาจิตใจเข้าไปเสพย์ในสัญญาใดๆที่ทำให้อกุศลเกิดขึ้นแล้ว ความปรุงแต่งเรื่องราวต่างๆก็เกิดขึ้นตามที่พอใจยินดี-ไม่พอใจยินดี เมื่อความโสมนัสเกิด-ก็ปารถนาใคร่ได้ เมื่อความโทมนัสเกิด-ก็ไม่ชอบอยากจะผลักหนีให้ไกลตน ต้องละความติดข้องใจในสัญญานั้นๆด้วยหาประโยชน์ไม่ได้นอกจากทุกข์ ไม่เข้าไปยึดเอาสัญญานั้นๆมาอีก รู้กายรู้ใจในปัจจุบันว่ากำลังทำอะไรอยู่
      1.4.4 พึงระลึกในสิ่งที่ดีเป็นกุศลใดๆที่ทำให้จิตใจของเรานั้นแจ่มใส เบิกบาน เป็นสุขโดยปราศจากความเพลิดเพลินติดใจยินดี แล้วน้อมมารู้กายใจในปัจจุบันขณะนั้นว่ากำลังทำสมาธิอยู่ และ นี่ก็คือมหากุศลกรรมอันมีอานิสงส์เป็นอันมากแก่ตนเอง คนในครอบครัว และ คนอื่น พึงตั้งเจตนาในกุศลกรรมที่กำลังกระทำอยู่นั้น
      1.4.5 พึงรู้ในปัจจุบันขณะ รู้ลมหายใจเข้า-ออก

จากข้อที่ 1.1-1.3 จะเห็นว่าการส่งจิตออกนอกทั้งหลายนั้น มีสัญญาเป็นใหญ่ เอาความปรุงแต่งจิตที่เป็นสัญญา คือ ความจำได้ จำไว้ ความสำคัญมั่นหมายใดๆของใจมาตั้งเสพย์อารมณ์นั้นๆ ทั้งๆที่มันผ่านมาแล้ว ทั้งที่ยังมาไม่ถึง ทั้งที่ปรุงต่อเรื่องราวไปเอง อนุมานเอาไปเอง การรู้เห็นในปัจจุบันนี้เป็นธรรมอันประเสริฐที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนเพื่อไม่หลงไป ฟุ้งไป
25  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / วิธีการเจริญเข้าสู่มรรคมีองค์ ๘ เมื่อ: มิถุนายน 23, 2013, 11:50:33 pm
วิธีการเจริญเข้าสู่มรรคมีองค์ ๘


ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด

บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง วิธีการเจริญเข้าสู่มรรคมีองค์ ๘ ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้


โดยรวมแล้วแนวทางที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนนั้น พระองค์จะเน้นที่ "มีสติระลึกรู้อยู่ด้วยความสำรวม ระวัง" และ "การน้อมเข้ามาพิจารณาแลดูอยู่ที่ กาย กับ ใจ" เรานี้ทั้งนั้นเป็นหลัก ไมว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสสอนใน พระสูตร - พระปริตร ใดๆทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์ ก็ล้วนให้เจริญพิจารณาปฏิบัติอยู่ใน "กาย กับ ใจ" เรานี้เสมอ
- มรรค คือ อะไร มรรคที่พระตถาคต(คือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมณะโคดมมหามุนีย์ พระศาสดาของผม) ที่ท่านตรัสสอนไว้ดีแล้ว เป็นดังนี้คือ


องค์แปดคือ ความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ) ความดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) วาจาชอบ (สัมมาวาจา) การงานชอบ (สัมมากัมมันตะ) อาชีวะชอบ (สัมมาอาชีวะ) ความเพียรชอบ (สัมมาวายามะ) ความระลึกชอบ (สัมมาสติ) ความตั้งใจมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ).

ภิกษุทั้งหลาย ! ความเห็นชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ ความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ความรู้ในหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อันใด,
นี้เราเรียกว่า ความเห็นชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความดำริชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ความดำาริในการออกจากกาม ความดำาริในการไม่พยาบาท ความดำาริในการไม่เบียดเบียน,
นี้เราเรียกว่า ความดำริชอบ

ภิกษุทั้งหลาย ! วาจาชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! การเว้นจากการพูดเท็จ การเว้นจากการพูดยุให้แตกกัน การเว้นจากการพูดหยาบ การเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ,
นี้เราเรียกว่า วาจาชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! การงานชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! การเว้นจากการฆ่าสัตว์ การเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ การเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย,
นี้เราเรียกว่าการงานชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! อาชีวะชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการหาเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สาเร็จความเป็นอยู่ด้วยการหาเลี้ยงชีพที่ชอบ,
นี้เราเรียกว่า อาชีวะชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความเพียรชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
- ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรม อันเป็นบาปทั้งหลายที่ยังไม่ได้บังเกิด;
- ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการละเสียซึ่งอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่บังเกิดขึ้นแล้ว;
- ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ที่ยังไม่ได้บังเกิด;
- ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความยั่งยืน ความไม่เลอะเลือนความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว,
นี้เราเรียกว่า ความเพียรชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความระลึกชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย !อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
- เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ,มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม (สัมปชัญญะ) มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้;
- เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ, มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้;
- เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ, มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้;
- เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ, มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้,
นี้เราเรียกว่า ความระลึกชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย !อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
- สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึง ฌานที่หนึ่ง อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่ เพราะวิตกวิจารรำงับลง,
- เธอเข้าถึงฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่ เพราะปีติจางหายไป,
- เธอเป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ได้ มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และ ได้เสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมเข้าถึงฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า “เป็นผู้เฉยอยู่ได้มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม” แล้วแลอยู่ เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ และ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน,
- เธอย่อมเข้าถึงฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์และไม่สุข มีแต่สติอันบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่,
นี้เราเรียกว่าสัมมาสมาธิ.

จบ อะริยัฏฐังคิกะมัคคะปาฐัง



- ซึ่งหากว่าเราทั้งหลายพอจะมีสัมมาทิฐิ และ สัมมาสังกับปะ บ้างแล้ว ย่อมเห็นชัดว่า...
ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ ทาน สติ สัมปชัญญะ  ปัญญา นั่นคือโดยย่อสั้นๆของมรรค ก็คือการเจริญเพื่อให้ กาย วาจา ใจ สุจริต นั่นเอง
- มรรค ๘ นั้น สิ่งแรกที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน คือ มีสติอยู่ระลึกรู้เห็นโทษและทุกข์จาก ทุจริต 3 คือ กาย วาจา ใจ ทุจริต และ มีสติอยู่ระลึกรู้เห็นคุณประโยชน์ของ สุจริต 3 คือ กาย วาจา ใจ สุจริต เมื่อเห็นทั้งคุณและโทษดังนี้แล้ว จิตย่อมน้อมไปถึงทางที่จะเจริญเป็นคุณประโยชน์พ้นจากโทษแห่งอกุศลทุจริตทั้งหลายเหล่านี้ นั้นก็คือ ความมีศีลเป็นเบื้องต้น เจริญจิตตั้งมั่นใจพรหมวิหาร๔ เพื่อเข้าถึงเจโตวิมุตติ ดำรงการในสละให้คือ ทาน มีสติระลึกรู้ทันขณะกาย วาจา ใจ มีสัมปะชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะนั้น เกิดปัญญหาเห็นตามจริง รู้ตามความเป็นจริงทั้ง สัจจธรรม และ ปรมัตถธรรม ละความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีเสียได้




ดังนั้น มรรค๘ จึงมีหลายวิธีในการเข้าถึงในหลายรูปแบบตามแต่กาลอันควร
ผมขอยกตัวอย่างทางส่วนหนึ่งจากในอีกหลายๆแนวทางในการเข้าถึงมรรค๘ ดังกระทู้ด้านล่างต่อไปนี้



26  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ภาวนาเสมอด้วยธาตุ ๕ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2013, 12:15:55 am
ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม


บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง "ภาวนาเสมอด้วยธาตุ ๕" ตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนในพระสูตร เพื่อเป็นประโยชน์ในการละความ รัก โลภ โกรธ หลง ในชีวิตประจำวัน จนดำเนินไปในธรรมยังถึงวิปัสนาญาณ ดังนี้


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

๒. มหาราหุโลวาทสูตร
เรื่องพระราหุล

ภาวนาเสมอด้วยธาตุ ๕


             [๑๔๐] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนา (อบรมจิต) เสมอด้วยแผ่นดินเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้. ดูกรราหุล เปรียบเหมือนคนทั้งหลายทิ้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลงที่แผ่นดิน แผ่นดินจะอึดอัดหรือระอา หรือเกลียดของนั้นก็หาไม่ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.


             [๑๔๑] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้. ดูกรราหุล เปรียบเหมือนคนทั้งหลายล้างของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลงในน้ำ น้ำจะอึดอัดหรือระอา หรือเกลียดของนั้นก็หาไม่ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำ ฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.


             [๑๔๒] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้. ดูกรราหุล เปรียบเหมือนไฟที่เผาของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ไฟจะอึดอัดหรือระอา หรือเกลียดของนั้นก็หาไม่ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.


             [๑๔๓] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยลมเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยลมอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตของเธอได้ ดูกรราหุล เปรียบเหมือนลมย่อมพัดต้องของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลมจะอึดอัดหรือระอา หรือเกลียดของนั้นก็หาไม่ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยลม ฉันนั้น เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยลมอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.


             [๑๔๔] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยอากาศเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยอากาศอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้. ดูกรราหุล เปรียบเหมือนอากาศไม่ตั้งอยู่ในที่ไหนๆ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยอากาศ ฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยอากาศอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.






ขอขอบคุณที่มาจาก คุณ zen : http://dhamma.living.in.th/webboard/index.php?topic=138.0
[/size]
27  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / วิธีการนั่งสมาธิเพื่อตัดในรูปขันธ์และความรู้อารมณ์ใดๆ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2013, 06:17:35 pm
วิธีการนั่งสมาธิเพื่อตัดในรูปขันธ์และความรู้อารมณ์ใดๆ


ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด

บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง วิธีการนั่งสมาธิเพื่อตัดในรูปขันธ์และความรู้อารมณ์ใดๆ ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้



- เมื่อไม่นานมานี้ผมได้อาราธนาขอคุณกรรมฐานต่อพระพุทธเจ้า
โดยระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้เป็นเอกใน 3 โลก ทรงตรัสรู้เองโดยชอบ
ได้ตรัสแสดงธรรมนั้นเพื่อให้ผู้อื่นได้รู้ทางพ้นทุกข์นี้ตามแล้ว
ระลึกถึงคุณของพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนนั้น
 ด้วยเป็นธรรมจริง ประเสริญและไเราะ
เป็นธรรมอันประกอบไปด้วยประโยชน์ และ ให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
ระลึกถึงพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเป็นคู่แห่งบุรุษ ๔ คู่นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ (มรรค-ผล) และ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย
ซึ่งได้เผยแพร่ธรรมะอันประเสริฐนี้ให้เราได้เรียนรู้ปฏิบัติตาม
ระลึกถึงคุณบิดา-มารดา และ บุพการี ทั้งหลายทุกท่าน
ที่ได้ให้กำเนิด ให้ความรัก และ ได้เลี้ยงดูเรามาอย่างดี ทำให้เราได้พานพบกับพระพุทธศาสนานี้
ระลึกถึงคุณของครูบาอาจารย์ทั้งหลาย
ที่ได้สั่งสอนชี้แนะแนวทางวิชาความรู้ทั้งหลายนี้มา
แล้วก็ตั้งจิตอธิษฐานว่า ขอให้ได้พบทางแห่งการเข้าสมาธิได้โดยง่าย ที่ให้ผลได้ไม่จำกัดกาล ไม่จำกัดบุคคล ไม่จำกัดระดัลชนชั้น
เมื่อผมได้นั่งสมาธิไปก็ได้พบเห็นหนทางนี้ขึ้นมาทันที และ ได้เพียรปฏิบัติมาซักระยะหนึ่งจนเห็นผลได้ ให้ผลได้ดังนี้
วันนี้ผมจึงได้นำมาเผยแพร่เพื่อเป็นแนวทางแห่งการปฏิบัติกัมมัฏฐานแก่ท่านทั้งหลายดังต่อไปนี้

- พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย
 ท่านจะตั้งเจตนามั่นว่า ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม ก็จะไม่ลุกขึ้นออกจากบัลลังก์ที่นั่งสมาธินี้เด็ดขาด
ท่านจะละทิ้งเสียรูปขันธ์ ไม่ยินดีในรูปขันธ์คือกายนี้แล้ว
 แม้จะต้องหิว จะเจ็บปวด จะทรมาน แม้จะต้องตาย ก็ช่างมัน
เมื่อท่านได้ตั้งเจตนาไว้เช่นนี้แล้ว ท่านก็ละเสียซึ่งบ่วงทั้งหลาย
 มีกายนี้เป็นเบื้องต้น ละทิ้งความรู้อารมณ์ใดๆที่เกิดจากกายนี้ ละความห่วงใดๆทั้งหลาย
แล้วก็เข้าสู่ความรู้แจ้งเห็นจริงในธรรมทั้งปวงคือบรรลุเป็นพระอรหันต์


- อย่างเราๆมันยังมีห่วงอยู่ใช่ไหมครับ ยังหวงกายนี้ ยังกลัวความตาย
ก็ไม่อาจที่จะละทิ้งเช่นนั้นได้ใช่ไหมครับ
ทำยังไงก็ตัดรูป ตัดนามไม่ได้เสียที
นั่งๆสมาธิไปก็คิดเรื่อง รักบ้าง โลภบ้าง โกรธบ้าง หลงบ้าง
นั่งๆไปก็รู้สึกเป็นตะคริวบ้าง ปวดขาบ้าง ปวดหลังบ้าง
ก็ทนไม่ไหวเปลี่ยนท่าบ้าง เลิกนั่งบ้าง
"ทีนี้เมื่อเกิดอะไรอย่างนี้ขึ้นแทนที่เราจะเข้าสมาธิได้ แต่กลับไม่ได้แม้ "ขณิกสมาธิ" เลยด้วยซ้ำๆ"
นี่เรียกว่าเพราะยังหวงแหน ยังห่วงอยู่ ยังเอาจิตไปจับอารมณ์ความรู้สึกปรุงแต่งต่างๆอยู่ ทำให้ไปไม่ถึงไหนเสียที
ซึ่งผมเองคนหนึ่งเช่นกันที่เป็นอย่างนี้ ด้วยเพราะเห็นมาจริงและไม่จริงด้วยอนุมานเอาบ้างจนตีกันมั่วไปหมด
เป็นเหตุให้ไม่สามารถหาความสงบให้ใจได้ ทั้งๆที่เมื่อก่อนเคย สงบ เข้าสมาธิได้ง่าย เจริญกุศลจิตได้ง่าย
ด้วยเหตุนี้เผมจึงใคร่ขออนุญาต พระคุณเจ้าทั้งหลาย ครูบาอาจารย์ผู้รู้ทั้งหลายเผยแพร่แนวทางแก้ไขดังนี้ครับ


ยกตัวอย่างเช่น
28  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / วิธีเจริญพิจารณาเพื่อ..การปล่อยวาง กับ หน้าที่ เมื่อ: มกราคม 24, 2013, 11:46:54 am
ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด

บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง "วิธีเจริญพิจารณาเพื่อ..การปล่อยวาง กับ หน้าที่" ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้


โดยปกติแล้ว บุคคลที่เพิ่งเริ่มปฏิบัติธรรม หรือ บุคคลผู้เริ่มศึกษาพระธรรมใดๆ จะพบเจอคำว่า "ปล่อยวาง" ซึ่งก็จะเกิดขัดแย้งในใจขึ้นเสมอๆว่า ทำไมต้องปล่อยวาง แล้วจะต้องปล่อยวางยังไง ทำอย่างไรถึงเรียกว่าปล่อยวาง บางคนพูดถึงแม้ว่า หากมีคนมาฆ่าเรา เราก็ต้องปล่อยให้เขาฆ่าหรือ อย่างนี้ใช่ไหมเรียกว่าปล่อยวาง หรือ เขามาทำร้ายลูกเมียตนก็ปล่อยวางให้เขาทำไป ซึ่งในส่วนนี้ๆจะมีแยกแยะระหว่าง คำว่า "หน้าที่" และ "ความปล่อยวาง" ซึ่งแยกเป้นส่วนๆ โดยจะเริ่มกล่าวดังต่อไปนี้ครับ


๑. วิธีปล่อยวาง

1. การระลึกรู้ตามพุทธวจนะที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนเป็นเบื้องต้น

ภิกษุ ทั้งหลาย. !
สิ่งใด ไม่ใช่ของเธอ, สิ่งนั้น จงละมันเสีย;
สิ่งนั้น อันเธอละเสียแล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่เธอ.

สฬา. สํ. ๑๘/๑๖๑/๒๑๙.


- การปล่อยวางใดๆนั้น ให้พึงเจริญสติ ระลึกพิจารณาในพุทธวจนะนี้เป็นเบื้องต้น เป็นประจำอยู่เนืองๆ
- เมื่อเรามีความพอใจยินดีสิ่งใดๆอยู่ คือ พอใจยินดีใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ ธรรมมารมณ์ใดๆ จนเสพย์เสวยอารมณ์ในเวทนานั้นๆ เมื่อเกิดความโสมนัสเวทนา(สุขใจ)ใดๆ
- เมื่อสุขใจปุ๊บ ก็จะเสพย์เสวยอารมณ์ประกอบกับความสำคัญมั่นหมายเอาไว้ในใจ(สัญญา)ว่า สิ่งนี้คือสุข สิ่งนี้แหละที่พอใจยินดี สิ่งนี้แหละที่น่าใคร่ได้ปารถนา สิ่งนี้แหละที่ยินดีต้องการ ซึ่งเกิดประกอบกับความติดใจใคร่ได้ยินดี เช่น อยากได้แฟนสวย อยากได้เงินเยอะๆ อยากให้คนรักตนเอง เชื่อฟังตนเอง เกรงกลัวตนเอง ให้เกียรติตนเอง อยากมีบ้าน อยากมีรถ อยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี้แบบเขา-เหมือนเขา อยากได้บ้าน รถ เงิน แฟนของเขา อยาก..ฯลฯ
- พออยากได้ ก็จะเกิดความต้องการทะยานอยากใคร่ได้ที่จะมี อยากที่จะเป็น ทะยานอยากต้องการใคร่ได้ที่จะเสพย์ เป็นต้น วิ่งไขว่คว้าหามาให้ได้เป็นตัณหา
- พอตัณหาเกิด เราก็จะเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเอาว่าสิ่งนี้มีอยู่ สิ่งนี้มีจริง สิ่งนี้เป็นของเรา สิ่งนี้มีตัวตน บุคคล สิ่งของจริง สิ่งน่าน่าใครได้ปารถนายินดีเป็นต้น เป็นอุปาทานสืบมา
- ก็เมื่อยิ่งเราไขว่คว้าต้องการจะหามาให้ได้ซึ่งสิ่งใดๆที่ไม่ใช่ของเรา สิ่งใดๆที่ไม่ใช่ของจริง สิ่งใดๆที่ไม่มีตัวตน สิ่งใดๆที่เราเข้าไปยึดถือตั้งเอามาเป็นตัวตนอุปาทานมากเท่าไร ก็ยิ่งตะเกียกตะกายดิ้นรนวิ่งเข้าไปสู่กองทุกข์มากเท่านั้น
เมื่อเกิดความต้องการปารถนาใคร่ได้ใดๆ แต่ไม่เป็นไปตามที่ใจเราปารถนาใคร่ได้ยินดี เราก็จะเกิดความอัดอั้นใจ กรีดใจ ขัดเคืองใจ ขุ่นมัวใจ หมองมัวใจ โศรกเศร้าเสียใจ ร่ำไรรำพัน คับแค้นกายใจ ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ นี่เรียกว่าทุกข์ที่เกิดแก่ใจทั้งหลาย เป็นต้น
- ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจึงควรที่จะพึงเจริญสติระลึกรู้อยู่เนืองๆว่า สิ่งใดๆทั้งหลายที่เราปารถนาใคร่ได้อยู่นี้ๆ มันไม่ใช่ของเรา เราไม่อาจจะบังคับให้มันเป็นไปดั่งที่ใจเราต้องการได้ เพราะมันไม่มีตัวตนบุคลคลใดอันที่เราจะไปยื้อบังคับจับต้องมันให้เป็นไปดังใจได้ สิ่งนี้ๆไม่ใช่ของเรา
- ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งนี้ๆ..แม้ว่าเราจะสามารถไขว่คว้าหามาได้ แม้ว่าได้เสพย์สมดั่งใจปารถนานั่นแล้ว แต่ทว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งนี้ๆมันก็คงยังความเสื่อมสลาย สูญสลายไปเป็นธรรมดา มันไม่คงอยู่กับเราตลอดไป ต้องสูญสลายไปไม่ด้วยเหตุเพราะสภาพแวดล้อม ไม่ก็กาลเวลา หรือไม่ก็เพราะการดูแลรักษา ด้วยเพราะสิ่งนี้มันไม่เที่ยง ไม่คงอยู่ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ มันไม่ใช่เรา และ ไม่ใช่ของเรา

เช่น

- เมื่อเรามีความปารถนา อยากได้แฟน หล่อๆ สวยๆ อยากได้เงินเยอะๆ อยากได้บ้านใหญ่ๆ หรูๆ อยากได้รถคันสวยแพง มัวเมาหมกอยู่กับสิ่งที่ไม่มีตัวตน สิ่งที่มีความแปรเปลี่ยนเสื่อมสลายเป็นปกติธรรมดา สิ่งที่ไม่ใช่ของเรา พยายามเสาะแสวงหามาให้ได้ แต่ไม่อาจที่จะเอื้อมคว้าเอาได้ ทีนี้ก็เป็นทุกข์ ทุกข์เพราะไปปารถนาในสิ่งที่ไม่ใช่ของเรา ทุกข์เพราะไปปารถนาในสิ่งที่ไม่คงอยู่ ไม่เที่ยงแท้แน่นอน ทุกข์เพราะไปหวังในสิ่งที่ไม่อาจจะบังคับให้เป็นไปดั่งใจได้ ทุกข์จากการตั้งอุปาทานในสิ่งที่ไม่มีตัวตน
ทุกข์จากการตั้งอุปาทานในสิ่งที่มันไม่ใช่เรา ทุกข์จากการตั้งอุปาทานในสิ่งที่มันไม่ใช่ของเราดังนี้
- เมื่อเรารู้ความจริงว่า สิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันไม่ใช่เรา-มันไม่ใช่ของเราดังนี้แล้ว
- เมื่อเรารู้จักปล่อยวางโยนทิ้งไปเสีย ซึ่งความปารถนาใคร่ได้ยินดีที่เสพย์ในสิ่งที่ไม่ใช่เรา โยนทิ้งความปารถนาใคร่ได้ยินดีที่จะเสพย์ในสิ่งที่ไม่ใช่ของเรานี้แล้ว
- ความทุกข์ย่อมไม่มีแก่กายและใจเรา ความสุขจากความไม่ทะยานอยากใคร่ได้ต้องการ ความสุขจากการที่เราไม่มัวเมาหมกอยู่กับสิ่งที่ไม่ใช่ของเราก็จะเกิดขึ้น มีความวางเฉย นิ่งว่างอยู่ ไม่ระส่ำระส่ายดิ้นรนไขว่คว้า ไม่ยึดมั่นถือมั่นตั้งอุปาทานในสิ่งใดๆ

ดังนั้นพึงเจริญพิจารณาอยู่เนืองๆดังพุทธวจนะนี้ว่า

สิ่งใด ไม่ใช่ของเธอ, สิ่งนั้น จงละมันเสีย;
สิ่งนั้น อันเธอละเสียแล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่เธอ.


แม้พิจารณาให้เห็นตามจริงใน "สฬายตนะ" คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็พึงเจริญระลึกรู้ว่า มันไม่ใช่ของเรา
หากเป็นของเราย่อมบังคับให้เป็นดั่งที่ใจเราต้องการได้ บังคับให้ ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ได้รส ไม่ตรึกนึกคิดทะยานในสิ่งใดๆได้
ก็เพราะสิ่งนี้ๆมันไม่เที่ยงเพราะมีความสุญสลายเป็นธรรมดาๆ
เราจึงไม่สามารถไปบังคับมันได้ว่า ขอตาฉันอย่าฝ้าฟางเลย ขอหูฉันอย่าหนวกไม่ได้ยินเลย เป็นต้น
ก็เพราะมันไม่มีตัวตน อันที่เราจะบังคับให้มันเป็นไปดั่งที่ใจเราต้องการปารถนาได้
ด้วยนั่นเพราะมันไม่ใช่เรา
ด้วยนั่นเพราะ มันไม่ใช่ของเรา

ดั่งพุทธวจนะนี้ในเบื้องท้ายที่ว่า

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อะไรเล่า ที่ไม่ใช่ของเธอ ?
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! จักษุ ไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย;
จักษุนั้น อันเธอละเสียแล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์และ
ความสุขแก่เธอ
(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มโน ก็ได้
ตรัสต่อไปด้วยข้อความอย่างเดียวกัน).
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เปรียบเหมือน อะไร ๆ ในแคว้นนี้
ที่เป็นหญ้า เป็นไม้ เป็นกิ่งไม้ เป็นใบไม้ ที่คนเขา
ขนไปทิ้ง หรือ เผาเสีย หรือทำตามปัจจัย; พวกเธอรู้สึก
อย่างนี้บ้างหรือไม่ว่า คนเขาขนเราไป หรือเผาเรา หรือ
ทำแก่เราตามปัจจัยของเขา ?
“ไม่รู้สึกอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า !”
เพราะเหตุไรเล่า ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะเหตุว่า ความรู้สึกว่า
ตัวตน (อตฺตา) ของตน (อตฺตนิยา) ของข้าพระองค์ไม่มีในสิ่งเหล่านั้น
พระเจ้าข้า !”
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ฉันใดก็ฉันนั้น :
จักษุ...โสตะ...ฆานะ...ชิวหา...กายะ...มโน ไม่ใช่ของเธอ
เธอจงละมันเสีย
สิ่งเหล่านั้น อันเธอละเสียแล้ว
จักเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่เธอ แล.
สฬา. สํ. ๑๘/๑๖๑/๒๑๙.



2. การระลึกรู้พิจารณาละความปารถนาใคร่ได้ยินดีที่จะเสพย์ที่เป็นสัจธรรมเป็นเบื้องต้น

ความปารถนาใคร่ได้ยินดีที่จะเสพย์ในสิ่งที่ไม่เที่ยง-สิ่งที่ไม่มีตัวตน-สิ่งที่ไม่ใช่ของเรานี้ๆ ย่อมเป็นทุกข์
ความปล่อยวางไม่ยึดมั่นถือมั่นตั้งอุปาทานสิ่งใด ไม่ปารถนาใคร่ได้ยินดีที่จะเสพย์ในสิ่งที่ไม่เที่ยง-สิ่งที่ไม่มีตัวตน-สิ่งที่ไม่ใช่ของเรานี้ ย่อมเป็นสุข

ดังนั้นพึงระลึกรู้พิจารณาอยู่เนืองๆดังนี้ว่า


- ปารถนาในสิ่งที่ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ของเราร้อย ก็ทุกข์ร้อย
- ปารถนาในสิ่งที่ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ของเราห้าสิบ ก็ทุกข์ห้าสิบ
- ปารถนาในสิ่งที่ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ของเราสิบ ก็ทุกข์สิบ
- ไม่ปารถนาในสิ่งที่ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ของเราเลย เราก็จะไม่ทุกข์เลย


ดังนั้นเราไม่ควรปารถนาใคร่ได้ยินดีที่จะเสพย์ในสิ่งใดๆ ไม่ควรไปติดข้องใจสิ่งใดๆ ที่ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ของเรา เพราะมันมีแต่ทุกข์ เพราะมันหาประโยชน์ใดๆไม่ได้นอกจากทุกข์

ดังนั้นพึงเจริญพิจารณาอยู่เนืองๆดังนี้ว่า


- สิ่งใดๆที่ไม่ใช่เรา-ไม่ใช่ของเรา แล้วเราเอากายเอาใจเข้าไปตั้งความปารถนาใคร่ได้ยินดีที่จะเสพย์ในสิ่งนั้นๆ มันก็มีแต่ทุกข์ หาสุขใดๆไม่ได้เลย
- อย่าไปติดข้องใจใคร่ได้ในสิ่งที่ไม่ใช่ของเรา เพราะมันเป็นทุกข์
- เมื่อไหร่ที่เราไป ติดใจ-ข้องใจ ในสิ่งใดๆที่ ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราปุ๊บ ก็ทุกข์เพราะความติดใจนั้นปั๊บทันที (ติดใจปุ๊บ ก็ทุกข์ปั๊บ)
- ละความติดข้องใจนั้นไปเสีย ปล่อยวางทิ้งไปเสียซึ่งสิ่งที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของรา เพราะมันหาประโยชน์ใดๆไม่ได้นอกจากทุกข์


พิจารณาแนวทางทั้งข้อที่ 1 และ 2 สลับกันไปมาจิตจะรู้ความเอือมระอาในสิ่งที่ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
ซึ่งจะได้ผลดี 100% หากเจริญควบคู่กับ
1. มหาสติปัฏฐาน๔
2. สัมมาสมาธิ อันเป็นเครื่องช่วยสลัดซึ่งความฟุ้งซ่าน ความคิดพล่าน ติดใจ ความข้องใจ ความอยากใดๆได้
3. ศีล
4. พรหมวิหาร๔
5. กุศลกรรมบถ๑๐



(เจริญให้มากในข้อ 1-4 จะช่วยให้ปฏิบัติในข้อที่ 5 นี้ง่ายขึ้น เมื่อเจริญเป็นประจำย่อมยังประโยชน์ให้เข้าถึงใน โพชฌงค์๗)
29  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / สะกดจิตตนเองโดยไม่รู้ตัว เมื่อ: มกราคม 17, 2013, 01:34:02 pm
- ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลสตรัสรู้เองโดยชอบมีคุณเป็นเอนกอนันต์ได้ตรัสธรรมคำสอนอันเป็นเครื่องออกจากทุกข์ที่ประเสริฐนั้นให้เราได้รับรู้
- ขอนอบน้อมแด่พระพธรรมซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วมีความหมดจดงดงามไม่มีธรรมใดยิ่งกว่าทั้งขั้นต้นขั้นกลางและที่สุดเป็นธรรมคำสอนซึ่งเป็นหนทางแห่งการพ้นจากทุกข์ทั้งสิ้นนี้
- ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ปฏิบัติดีแล้วเป็นผู้ที่ควรแก่เขากราบไหว้ต้อนรับเป็นผู้เผยแพร่พระธรรมอันประเสริฐยิ่งแล้วของพระพุทธเจ้าให้ผู้อื่นได้ปฏิบัติตามทางพ้นทุกข์ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้เองโดยชอบได้ตรัสธรรมนั้นไว้ดีแล้ว


บัดนี้กระผมใคร่ขอสาธยายธรรมเรื่อง "การสะกดจิตตนเองโดยไม่รู้ตัว" อันที่ผมได้ประสบพบเจอและได้เห็นในผู้ปฏิบัติธรรมบางท่านก็ได้ประสบพบเจอเช่นกันหากผมได้กล่าวผิดพลาดในข้อธรรมเป็นการบิดเบือนพระธรรมใดๆที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วนี้ขอให้พระรัตนตรัยและท่านทั้งหลายโปรดอดโทษไว้แก่ผมและช่วยตักเตือนชี้แนะเพื่อให้ธรรมอันที่ผมจะกล่าวนี้ที่คิดว่าประกอบไปด้วยประโยชน์ได้สำเร็จประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายที่ยังความทุกข์อยู่ดังนี้


คนเราทุกคนจะต้องมีสิ่งที่พอใจยินดีและไม่พอใจยินดีในที่นี้จะกล่าวถึงสภาพจิตที่ปรุงแต่งในทางอกุศลที่เราไม่ต้องการให้มันเกิดขึ้นกับใจ
เช่นไม่คิดถึงกามไม่คิดอกุศลต่อพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ไม่นึกโกรธแค้นเป็นต้น

- เราทุกคนที่ปฏิบัติธรรมเจริญสติย่อมรู้ดีว่าอกุศลจิตในตนเองมีมากน้อยเพียงใดเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหนบางครั้งฟังธรรมอยู่ปฏิบัติธรรมอยู่เจริญวิปัสนากรรมฐานอยู่จิตก็ส่งออกนอกคิดโกรธแค้นก็มีเสียใจก็มีนึกเรื่องกามตัณหาก็มี(ทุกเรื่องที่เป็นความใคร่ได้ยินดีปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์ดั่งใจต้องการในที่นี้ผมไม่เจาะจงเฉพาะกามราคะ)

- เมื่อตัวรู้เกิดขึ้นเราก็เกิดความไม่พอใจยินดีในสิ่งที่ปรุงแต่งใดๆที่เรามองว่าไม่ดีเป็นอกุศลนั้นๆใช่ไหมครับบ้างก็บอกว่าไม่เอาๆไม่คิดคิดไม่ได้ห้ามคิดนี่ไม่ดีเป็นต้น

- แต่รู้ไหมครับว่ายิ่งเราคิดสวนกระแสดังข้างต้นนี้มากเท่าไหร่เราก็ยิ่งจะให้ความสำคัญในสิ่งนั้นมากเท่านั้นยิ่งสำคัญมั่นหมายไว้ในใจมากเท่าไหร่ก็ยิ่งตรึกถึงนึกถึงตรองถึงคำนึงถึงมันมากเท่านั้น
เช่นผมตั้งใจว่าจะปฏิบัติธรรมจะไม่นึกถึงกามารมณ์ใดๆผมก็สำคัญมั่นหมายมันไว้อย่างนี้ในใจก็ตรึกนึกระลึกมันไปอยู่อย่างนั้นแต่พอปฏิบัติธรรมใจที่สำคัญมั่นหมายไว้นั้นมันก็มาระลึกตรึกถึงถึงเรื่องนั้นทันทีอย่างแก้ไม่หายเป็นอกุศลจิตที่ทรมานมากนี่จะเห็นว่าเพราะจิตยังเข้าไม่ถึงในสภาวะธรรมอันควรแก่การละนี้โดยจริตของผมจึงทำให้ยิ่งอยากตัดมันยิ่งจำยิ่งคิดยิ่งนึกยิ่งคำนึงถึงมากขึ้นยิ่งกว่าเดิมจนกลายเป็นการสะกดจิตตนเองให้ตรึกถึงนึกถึงตรองถึงคำนึงถึงอยู่เนืองๆตลอดเวลาไปเลยยิ่งไม่อยากตรึกนึกคิดยิ่งอยากลืมอยากหนีก็ยิ่งคิดยิ่งเจอ

- อาการเช่นนี้ผู้ปฏิบัติหลายท่านก็คงพบเจอเช่นกันโดยเฉพาะผู้ปฏิบัติใหม่หรือผู้ที่มีจริตคล้ายคลึงกับผม(ขอไม่กล่าวถึงว่าจริตแบบใดนะครับอิอิ) วันนี้ผมได้พบเจอทางออกเมื่อวันหนึ่งผมทำสมาธิแล้วถอยออกมามองรูปพระพุทธเจ้าอยู่พิจารณาว่าทำไมจึงไปติดใจติดคิดอย่างนั้นจะแก้อย่างไรก็ได้แนวทางดังนี้ครับว่า



วิธีเจริญจิตเพื่อแก้ไข

เริ่มต้นที่เรียนรู้ในทุกข์และสมุทัยในอริยะสัจ๔เป็นเบื้องต้นก่อนนะครับ

ยกตัวอย่างหากคิดถึงเรื่องกามราคะในขณะปฏิบัติกัมมัฏฐานอยู่หรือขณะจิตที่กำลังดำเนินไปในชีวิตปกติ

1. รู้ในทุกข์เราทุกคนย่อมรู้ดีว่าทุกข์ที่เกิดขึ้นในขณะจิตนั้นเกิดมาแต่ความไม่พอใจยินดีที่ไปตรึกนึกคิดถึงสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความขุ่นมัวใจอย่างมักอึดอัดใจฝืดเคืองใจคับแค้นใจก่อเกิดความร่ำไรรำพันโศรกเศร้าเสียใจเป็นต้น

2. รู้ในสมุทัยคือเหตุแห่งทุกข์สิ่งนี้ควรทำให้แจ้งเพราะนำพาไปสู่ทางดับทุกข์จากสิ่งนี้ได้เช่นเมื่อตรึกนึกในอกุศลจิตคำนึงถึงเรื่องกามราคะนั่นเป็นเพราะว่าใจเราให้ความสำคัญกับมันมากยิ่งสำคัญสิ่งใดมากก็ยิ่งตรึกนึกคิดมากที่เกิดความสคัญมั่นหมายแก่ใจก็เพราะเรามีความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีในสิ่งนี้นี้อยู่มากยิ่งเมื่อใจเราตั้งใจปารถนาไว้ว่าเวลาปฏิบัติธรรมอยู่นี้เราจะไปคิดถึงมันไม่ได้เวลาทำบุญให้ทานอยู่เราจะคิดถึงมันไม่ได้เวลาเราฟังธรรมอยู่เราจะคิดถึงมันไม่ได้มันก็ยิ่งตอกย้ำจิตใหเกิดสัญญาจดจำให้ความสำคัญมั่นหมายไว้ในใจทับถมเข้าไปเรื่อยๆจนอัดปะทุขึ้นมาแทนเช่น

- เมื่อถึงเวลาที่เรากระทำการใดๆเช่นปฏิบัติธรรมฟังธรรมระลึกถึงพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์อยู่นั้นที่เราบอกใจตนเองให้จดจำแล้วทำงานไปโดยไม่ไปตรึกนึก-คำนึงถึงกามคิดไม่เห็นแก่ได้ไม่คิดขุ่นมัวใจเป็นต้น
- แต่ด้วยการที่เราให้ความสำคัญมั่นหมายของใจไว้อย่างนั้นมันก็เลยกลับเป็นเกิดจุดบกพร่องของการทำงานทำให้ใจเรากลับย้อนไปตรึกนึกถึงเรื่องนั้นย้ำคิดย้ำทำเรื่องกามราคะหรืออกุศลจิตใดๆอยู่เนืองๆแทบจะทุกขณะจิตแทนเลยทันที(อาการนี่ผมตั้งศัพท์ใหม่ว่า BUG ของจิตจะผิดไหมนี่ครับอิอิ)
- นี่แสดงให้เห็นว่าจิตและเจตสิก(ความปรุงแต่งจิต) เป็นอนัตตาคือไม่มีตัวตนอันที่เราจะไปบังคับยึดถือยื้อฉุดจับต้องให้มันเป็นไปดั่งที่ใจเราต้องการได้
- ทีนี้โดยปกติเมื่อเรานึกถึงมันใจเราจะห้ามมันว่าคิดอย่างนี้ไม่ได้บ้างต้องไม่คิดบ้างไม่ต้องการอย่างนี้บ้างทำให้เกิดความขัดเคืองใจฝืนใจเกิดความไม่พอใจยินดีขุ่นมัวใจขึ้นมาทันที (บางท่านเมื่อจิตสงบหรือรู้ทันมันเกิดก่อนที่จะสมมติปรุงแต่งเรื่องราวใดๆมันก็ดับไปได้แต่มันก็จะปะทุขึ้นอยู่เนืองๆไม่หายไป)


3. ทางแก้ไขคือ

3.1 พึงยกจิตที่เป็นตัวรู้(สติ) เข้าสู่ทางสายกลางมีกาย-วาจา-ใจสุจริตแล้ววางใจไว้กลางๆในกุศลจิตไม่หยิบจับเอาความพอใจยินดีและความไม่พอใจยินดีใดๆจากความตรึกนึกคิดนั้นๆ

3.2 แล้วเจริญสติขึ้นรู้พิจารณาตามมันว่าเราพอใจยินดีในสื่งใดอยู่เราติดข้องใจยินดีสิ่งใดเราหวังปารถนาสิ่งใดอยู่จึงเกิดเช่นนี้
เช่นตรึกนึกถึงกามราคะขณะทำสมาธิหรือกำลังระลึกกราบไหว้พระรัตนตรัยหรือขณะทำบุญทำทานเมื่อเกิดตัวรู้(สติ)ขึ้นมาก็ให้รู้ตามมันไปทันที ("การรู้ตามไป" ของผมคือเมื่อรู้ว่าอกุศลจิตนี้ปรุงแต่งจิตก็ให้พิจารณาตามรู้ในสมุทัยของสิ่งที่ทำให้เกิดอกุศลจิตนั้นๆ) ให้ย้อนพิจารณาว่ากามราคะอกุศลจิตที่เกิดขึ้นมานี้เพราะเราไปติดพอใจยินดีในรูปติดพอใจยินดีในการได้กระทบสัมผัสติดพอใจยินดีในความรู้สึกจากการที่ได้กระทบสัมผัสรับรู้นั้นๆเป็นต้น

3.3 เมื่อรู้ว่าเราพอใจยินดีสิ่งใดๆไว้ในใจสำคัญมั่นหมายมันไว้ยังไงให้สูดลมหายใจเข้า-ออกยาวๆแรงๆสัก 1-5 ครั้งเป็นการเรียกสติคืนมาก่อน(การหายใจเช่นนี้ช่วยได้แม้กระทั่งการตกจากฌาณจิตซึ่งหลวงพ่อปานวัดบางนมโคได้สอนไว้ในวิธีแก้ขั้นต้น)
- จากนั้นหายใจเข้า-ออกปกติ
- พึงเจริญขึ้นรู้ทันจิตหรือความปรุงแต่งใดๆในจิตตานุสติปัฏฐานเวทนานุสติปัฏฐาน
- โดยพึงระลึกปฏิบัติในอานาปานบรรพ ดูเพิ่มเติมเรื่องอาปานานสติที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนได้ตาม Link นี้ครับ http://www.watkoh.com/forum/showthread.php?4251-อาปานานสติสูตร ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนในมหาสติปัฏฐานสูตร
- คำระลึกบริกรรมในจิตและเวทนานี้ผมมีการเปลี่ยนคำบริกรรมให้รู้ตามทันในสภาพที่เกิดขณะนั้นโดยผมใช้คำว่า "ช่างมัน" เพื่อเป็นการที่เราเตือนสติเราว่ามันไม่มีความสำคัญมั่นหมายใดๆแก่เราเราอย่าไปติดข้องใจหรือใส่ใจอะไรกับมันแม้เมื่อมันเกิดขึ้นในขณะจิตนั้นมันก็ไม่ได้สำคัญสิ่งใดเป็นการลดความสำคัญมั่นหมายลงไปแต่การหายใจเข้า-ออกพร้อมระลึกรู้จิต-เวทนานี้ต้องปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าสอนทุกอย่าง
- เราต้องเข้าใจในอาปานานสติอย่างถ่องแท้เพราะอาปานานสตินี้กว้างมากไม่ว่าจะเป็นพระอริยะเจ้าองค์ใดในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นสายพระป่าหรือพระบ้านก็จะเน้นลมหายใจเป็นหลัก
- ดั่งหนังสือเล่มหนึ่งกล่าวถึงแนวทางหลวงปู่มั่นก็กล่าวว่าสิ่งที่พระพุทธเจ้ารู้สิ่งแรกไม่ใช่อะไรที่ไหนสิ่งนั้นคือลมหายใจเข้าออกในกายคตาสตินี่เอง
- แม้พระราชพรหมญาณหรือหลวงปู่ฤๅษีลิงดำท่านก็ให้เน้นลมหายใจเป็นหลักแล้วค่อยทรงอารมณ์
- การที่เราจะรู้ลมหายใจเข้าออกในอาปานานสติได้ถูกต้องและตรงตามลมหายในในขณะนั้นผมอาศัยภาวนาพุทธ-โธโดยระลึกจิตลากเสียงยาว-สั้นตามลมหายในในขณะนั้นบางครั้งเราหายใจเข้ายาวแต่หายใจออกสั้นก็มีบางครั้งเราหายใจเข้าสั่นแต่หายใจออกยาวก็มีบางครั้งหายใจเข้าสั่นหยุดแล้วให้ใจเข้าอีกก็มีและลมหายใจนี้ต่อไปได้กว้างหมดในทุกสายปฏิบัติใน๔๐กัมมัฏฐาน

หายใจเข้า-ออกระลึกว่าความพอใจยินดีในสิ่งนี้ๆยังมีอยู่(สิ่งที่เป็นสมุทัย) ช่างมันเถอะความพอใจยินดีนี้
หายใจเข้า-ออกระลึกว่าความพอใจยินดีในรูปยังมีอยู่ช่างมันเถอะความพอใจยินดีในรูปนี้
หายใจเข้า-ออกระลึกว่าความพอใจยินดีที่ได้รับรู้การกระทบสัมผัสในสิ่งนี้ยังมีอยู่(ผัสสะ) ช่างมันเถอะความพอใจยินดีจากการได้รับรู้การกระทบสัมผัสนี้
หายใจเข้า-ออกระลึกว่าความปารถนาในสิ่งนี้ๆยังมีอยู่(สิ่งที่เป็นสมุทัย) ช่างมันเถอะความปารถนาพอใจใคร่ได้นี้
หายใจเข้า-ออกระลึกว่าความสำคัญมั่นหมายของใจในสิ่งนี้ช่างมันเถอะ(สิ่งที่เป็นสมุทัย) ช่างมันเถอะความสำคัญมั่นหมาย
หายใจเข้า-ออกระลึกว่าความติดข้องใจในสิ่งนี้ช่างมันเถอะ(สิ่งที่เป็นสมุทัย) ช่างมันเถอะความติดข้องใจ
หายใจเข้า-ออกระลึกว่าความขุ่นมัวใจในสิ่งนี้ช่างมันเถอะ(สิ่งที่เป็นสมุทัย) ช่างมันเถอะความขุ่นมัวองใจ
หายใจเข้า-ออกระลึกว่าเวทนา(โสมนัสโทมนัสสุขทุกข์เกิดสิ่งใดระลึกสิ่งนั้น)นี้ช่างมันเถอะช่างมันเถอะเวทนานี้(โสมนัสโทมนัสสุขทุกข์เกิดสิ่งใดระลึกสิ่งนั้น)
หายใจเข้า-ออกระลึกว่าความปรุงแต่งจิตนี้ช่างมันเถอะ(สังขารขันธ์จิตสังขาร) ช่างมันเถอะความปรุงแต่งจิตนี้
หายใจเข้า-ออกระลึกว่าสิ่งเหล่านี้ไม่มีสำคัญใดๆแก่ใจเราอีกแล้ว

- การปฏิบัติเช่นนี้ไม่ต้องไประลึกหรือกระทำจิตให้ขัดใจความปรุงแต่งนั้นๆมันซึ่งจะทำให้เกิดอาการฝืนอัดอั้นคับแค้นกายใจขึ้นจะกลายเป็นการตอกย้ำสะกดจิตตนเองให้นึกถึงมันอยู่เนืองๆแทนที่จะดับมันได้
- การปฏิบัตินี้เป็นการรู้ทันแล้วพิจารณาละความสำคัญมั่นหมายในสิ่งนั้นๆของใจลง

หากดูเป็นคำบริกรรมที่ยาวให้พอจารณาตามอีกนัยยะปฏิบัติแกรูปแบบหนึ่งดังนี้ว่า
สูดลมหายใจเข้า-ออกยาวๆแรงๆสัก 1-5 ครั้งเป็นการเรียกสติคืนมาก่อน(การหายใจเช่นนี้ช่วยได้แม้กระทั่งการตกจากฌาณจิตซึ่งหลวงพ่อปานวัดบางนมโคได้สอนไว้ในวิธีแก้ขั้นต้น) จากนั้นหายใจเข้า-ออกปกติพึงเจริญขึ้นรู้ทันจิตหรือความปรุงแต่งใดๆดังนี้ว่าหายใจเข้า-ออกระลึกว่ากามหนอๆ
หายใจเข้า-ออกระลึกว่าคิดหนอๆ
หายใจเข้า-ออกระลึกว่าจิตสังขารปรุงแต่งหนอหรือปรุงหนอๆ
หายใจเข้า-ออกระลึกว่าพอใจหนอๆหรือยินดีหนอๆ
หายใจเข้า-ออกระลึกว่าติดข้องใจหนอๆ
หายใจเข้า-ออกระลึกว่าขุ่นมัวหนอๆ
หายใจเข้า-ออกระลึกว่ารู้หนอๆ
หายใจเข้า-ออกระลึกว่าเวทนาหนอๆ(โสมนัสเวทนาโทมนัสเวทนาสุขเวทนาทุกข์เวทนาเฉยๆเกิดสิ่งใดระลึกสิ่งนั้น)

3.4 ถ้ายังไม่สามารถดับมันได้ให้ระลึกพิจารณาให้เห็นถึงสมุทัยจากสิ่งที่เราตรึกนึกสำคัญมั่นหมายไว้ในใจอยู่นั้นแล้วพึงเจริญพิจารณาในจิตว่า
- ธรรมชาติใดคิดธรรมชาตินั้นชื่อว่าจิต : ดังนั้นธรรมชาติของมันก็คือความคิดความตรึกถึงนึกถึงตรองถึงคำนึงถึงเป็นธรรมดา
- เราให้ความสำคัญมั่นหมายมันมากเกินไปยิ่งสำคัญมันมากก็ยิ่งตรึกนึกถึงมันมาก
- เราจะไม่ใส่ใจไม่สนใจใดๆกับมันอีกมันจะเกิดขึ้นจะตั้งอยู่จะดับไปก็ช่างมัน
- เราไม่มีความติดข้องใจใดๆในมันแล้วมันจะตรึกถึงนึกถึงตรองถึงคำนึงถึงใดๆก็ช่างมันเพราะมันไม่มีความหมายใดๆแก่เรา
- ความตรึกนึกถึงนี้มันไม่มีความสำคัญใดๆแก่เราไม่มีค่าพอจะให้เราสำคัญใส่ใจกับมันเราไม่รู้สึกใดๆต่อมันอีกแล้ว
- พิจารณาให้เห็นสภาวะจริงของสิ่งที่เราตรึกนึกอยู่เช่นสิ่งนี้เป็นมโนภาพที่ใจเราสร้างขึ้นตามความติดข้องพอใจยินดีใดๆของเราเป็นเพียงสิ่งที่เราให้ความสำคัญมั่นหมายจดจำไว้แล้วเราให้ความสำคัญมันมากไปจนตรึกนึกถึงอยู่เนืองๆปรุงแต่งเรื่องราวสมมติไปต่างๆตามมโนภาพที่จิตเราสร้างขึ้นปรุงแต่งขึ้นซึ่งในปัจจุบันขณะจิตนั้นมันไม่มีจริงเราติดในสมมตินั้นแล้วก็เข้าไปเสพย์เวทนากับสมมตินั้น
- พึงพิจารณาในสภาพธรรมพิจารณาให้เห็นสภาพจริงใดๆของสิ่งนั้นๆเช่นหากเป็นกามราคะให้พิจารณาว่าเพราะเราพอใจไว้อย่างนี้อยู่สะกดจิตตนไว้กับสิ่งนี้อยู่เพราะเห็นเป็นรูปเป็นร่างอยู่เพราะเห็นในตัวตนมันอยู่เพราะติดใจในการได้กระทบสัมผัสนั้นๆอยู่ให้คิดเห็นจริงในอาการทั้ง 32 เข้าถึงความเป็นเพียงธาตุ๔ต่อไปจนถึงสภาพที่เป็นรูป-นาม
- เมื่อรู้เห็นตามจริงและสภาพจริงแล้วให้เราพึงรู้ว่า "มันก็แค่นั้นเอง" ที่เราไปติดข้องใจให้ความสำคัญมั่นหมายต่อมันจริงๆมันก็แค่นั้นเองไม่มีประโยชน์ไม่มีคุณค่าใดๆแก่เราเลย
- เราแค่พะวงไปเองเราแค่กลัวไปเองเราแค่ระแวงไปเองจนทำให้เราสะกดจิตตนเองให้ความสำคัญมั่นหมายแก่มันเอาไว้ในใจจึงเกิดเป็นผลลัพธ์อย่างนี้ซึ่งมันก็มีแค่นั้นเอง
- นี่สัมมาสติและสัมมาสมาธิเกิดขึ้นแก่เราทันทีมีปัญญาเห็นชอบตามจริงนั้นด้วยในระดับหนึ่งกายวาจาใจจะเกิดโดยชอบมากขึ้น

3.5 ถ้ายังไม่สามารถดับมันได้ให้ระลึกถึงสภาพปรมัตถธรรมที่เกิดขึ้นแก่เราในขณะนั้นโดยไม่ต้องไปให้ความหมายหรือชื่อใดๆของสภาพนั้นๆที่เกิดขึ้นเป็นการเข้ารู้ในสภาพปรมัตถธรรมที่แท้จริงที่ตัดจากสมมติบัญญัติใดๆละสัญญาในสภาพนั้นๆไปเหลือรู้เพียงแค่สภาพจริง
- โดยกำหนดลมหายใจเข้าลึกๆหายใจออกยาวๆอาจจะกำหนดพุทธ-โธก็ได้สัก 5-10 ครั้ง
- ระลึกเข้าถึงสภาพปรมัตถธรรมแห่งจิตที่เป็นกุศล(อันนี้เราต้องรู้เองนะครับว่าสภาพปรมัตถธรรมแต่ละอย่างเป็นยังไงด้วยจิตตานุสติปีฏฐาน)
- ระลึกเข้าถึงสภาพจิตที่สงบไม่ปรุงแต่งฟุ้งซ่าน
- ระลึกเข้าถึงสภาพจิตที่มีความว่างเป็นอารมณ์(บางครั้งใหม่ๆการทรงอารมณ์เข้าสภาพนี้จะเกิดปิติเช่นขนลุกชูชันเหมือนตัวลอยน้ำตาไหลตัวขยายใหญ่หรือรู้สึกหน่วงๆตัวขึ้นแล้วจึงเข้าสภาพที่สงบว่างได้)
- ระลึกเข้าถึงสภาพที่ขาดจากการปรุงแต่งใดๆ
- ระลึกเข้าถึงสภาพที่สักแต่เพียงรู้ให้มีแต่ตัวรู้(สติ)เกิดขึ้นดูสภาวะปรุงแต่งจิตดูสภาพจริงใดๆเท่านั้นไม่มีคำพูดไม่มีสมมติไม่มีบัญญัติไม่มีเรื่องราวสักแต่ว่ารู้สึกเท่านั้น


อ่านเรื่องการทรงอารมณ์เข้าสู่สมาธิจิตเพิ่มเติมได้ที่ Link นี้ครับ
http://www.watkoh.com/forum/showthread.php?4206-วิธีเจริญเข้าสู่สมาธิจิตเพื่อให้ใจเราสงบโดยง่าย

พระราชพรหมญาณ(หลวงปู่ฤๅษีลิงดำ) เทสน์สอน ดูตาม Link นี้ครับ
http://www.watkoh.com/forum/showthread.php?4314-วิธีการทรงอารมณ์จิตให้เป็นฌาน&p=35106#post35106

- มันไม่มีตัวตนไม่คงอยู่มันจะเกิดจะดับเราจึงไปบังคับมันให้เป็นดั่งใจต้องการไม่ได้มันเกิดของมันและดับของมันเองเราแค่รู้ตามจริงรู้เห็นสภาพจริงของมันก็พอรู้วางใจไว้กลางๆไม่ต้องไปกะเกณฑ์สำคัญใดๆกับมันว่าห้ามคิดนะห้ามสร้างเรื่องราวนะอย่าปรุงแต่งนะยิ่งเป็นแบบนี้ก็ยิ่งเป็นการสะกดจิตให้ความสำคัญมั่นหมายของใจไว้กับมันมากก่อเกิดให้ตรึกนึกถึงมันมากยิ่งฝังนานก็ยิ่งเกิดเป็นการสร้างตัวตนจริงๆของมันขึ้นแก่ใจเราให้รู้ว่านี่คือจิตสังขารนี่คือความปรุงแต่งจิตสัพเพสังขาราอนิจจาสัพเพสังขาราอนัตตาสังเพสังขารทุกขา


ผมขออนุญาตพระอาจารย์ธัมมวังโส ท่านเสบมาสเตอร์ และ ผู้ดูแลระบบทุกท่าน ขอกลับมาเผยแพร่กระทู้ธรรมที่ผมปฏิบัติเจริญอยู่ตามทางที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนโดยผมได้พลิกแพลงประยุกต์ให้ใช้เข้าได้ตามจริตผม ซึ่งเป็นประโยชน์และให้ผลได้ไม่จำกัดกาลมาเผยแพร่ต่อท่านสมาชิกเวบมัชฌิมาทั้งหลายได้ลองปฏิบัติกัน หากเมื่อท่านทั้งหลายปฏิบัติแล้วเห็นผลได้ มีประโยชน์แท้จริง ผมใคร่ขอรบกวนท่านทั้งหลายได้อุทิศส่วนบุญกุศลแห่งธรรมทานนี้ให้แด่

คุณพ่อกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา ซึ่งถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ.2556 เวลา 15.49 น.

ประวัติโดยย่อของท่าน

- ท่านได้เลี้ยงลูกและเอาใจใส่ปลูกฝังให้ลูกมี ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี ซึ่งตัวท่านเองก็ปฏิบัติเช่นนี้อยู่เป็นประจำเพื่อเป็นตัวอย่างให้ลูกๆเห็นแล้วทำตาม
- เท่าที่ผมจำความได้ท่านสอนให้ผม เว้นจากความเบียดเบียนทำร้ายผู้อื่น เว้นจากการฆ่าสัตว์แม้ มด ยุง ริ้น ไร ก็ห้ามไม่ให้ฆ่า ให้ผมไม่ขโมยลักทรัพย์ ไม่เอาของๆผู้อื่นที่เขาไม่ได้ให้ ให้ผมซื่อสัตย์-ซื่อตรงทำดีต่อครอบครัวตนเองและผู้อื่น ชี้ให้ผมเห็นโทษของสุราเมรัยไม่ให้ปารถนาที่จะดื่มกิน รู้สวดมนต์ไหว้พระนั่งสมาธิเป็นประจำทุกวัน มีจิตปารถนาดีต่อผู้อื่น รู้เอื้ออนุเคราะห์แบ่งปันผู้อื่น มีการให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน มีสติรู้ตน รู้สิ่งที่ควรละ-ควรปล่อย-ควรผ่าน-ควรวาง มีความยินดีเมื่อผู้อื่นมีความปกติสุข-ปราศจากความเบียดเบียนทั้งกาย-ใจ รู้วางใจกลางๆในการอันควร ไม่หยิบจับเอาความพอใจยินดีหรือไม่พอใจยินดีมาตั้งเป็นอารมณ์แห่งจิต คิดดี พูดี ทำดี
- ท่านเป็นสหายธรรมของหลวงปู่นิล มหันตปัญโญ ครูอุปัชฌาย์ของผมเอง สมัยเด็กๆจะเห็นท่านปั่นจักรยานไปสนทนาธรรมกับหลวงปู่นิลเป็นประจำ และ น้อมเอาแนวปฏิบัติสายพระป่ามาเจริญปฏิบัติจนท่านสิ้นอายุขัยด้วยอายุ 90 ปี

ผมขอบุญแห่งการเผยแพร่ธรรมปฏิบัติเพื่อความมีประโยชน์สุขของท่านทั้งหลายนี้มอบให้แด่ เตี่ยกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา ให้ได้อยู่ในภพภูมิที่ดีงาม มีความสุขกายสบายใจ ไม่มีทุกข์กายใจใดๆ ตราบสิ้นกาลนานเทอญ สาธุ สาธุ สาธุ
30  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / วิธีดับความติดข้องใจในการกระทำของผู้อื่น(ละจิตไม่ให้ไปผูกไว้กับผู้อื่น) เมื่อ: มกราคม 17, 2013, 01:05:56 pm
- ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลสตรัสรู้เองโดยชอบมีคุณเป็นเอนกอนันต์ได้ตรัสธรรมคำสอนอันเป็นเครื่องออกจากทุกข์ที่ประเสริฐนั้นให้เราได้รับรู้
- ขอนอบน้อมแด่พระพธรรมซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วมีความหมดจดงดงามไม่มีธรรมใดยิ่งกว่าทั้งขั้นต้นขั้นกลางและที่สุดเป็นธรรมคำสอนซึ่งเป็นหนทางแห่งการพ้นจากทุกข์ทั้งสิ้นนี้
- ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ปฏิบัติดีแล้วเป็นผู้ที่ควรแก่เขากราบไหว้ต้อนรับเป็นผู้เผยแพร่พระธรรมอันประเสริฐยิ่งแล้วของพระพุทธเจ้าให้ผู้อื่นได้ปฏิบัติตามทางพ้นทุกข์ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้เองโดยชอบได้ตรัสธรรมนั้นไว้ดีแล้ว


- บัดนี้กระผมใคร่ขอสาธยายธรรมเรื่อง "วิธีดับความติดข้องใจในการกระทำของผู้อื่น(ละจิตไม่ให้ไปผูกไว้กับผู้อื่น)" ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมได้ประสบพบเจอ และ ได้เพียรเจริญปฏิบัติพิจารณาจนเห็นทางแก้ไขนี้
- หากผมได้กล่าวผิดพลาดในข้อธรรมเป็นการบิดเบือนพระธรรมใดๆที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วนี้ขอให้พระรัตนตรัยและท่านทั้งหลายโปรดอดโทษไว้แก่ผม และ ช่วยตักเตือนชี้แนะ เพื่อให้ธรรมอันที่ผมจะกล่าวนี้ที่คิดว่าประกอบไปด้วยประโยชน์ได้สำเร็จประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายที่ยังความทุกข์อยู่ดังนี้



- เราทุกคนส่วนมากมักจะเอาความสุขความสำเร็จของตนไปผูกไว้กับผู้อื่น เช่น เอาไปผูกไว้กับคนรัก หรือ เพื่อนร่วมงาน หรือ เพื่อนฝูงเพื่อนสนิท
- พอการพูดจา และ การแสดงท่าทางของเขาเหล่านั้น ไม่เป็นไปตามที่เราพอใจใคร่ได้ยินดี เราก็ทุกข์ใจ ขุ่นมัวใจ คับแค้นกาย-ใจ ทรมานทั้งกาย-ใจ
- นี่ทุกข์เพราะเอาความสุขและความสำเร็จไปผูกไว้กับคนอื่นโดยแท้
- พระพุทธเจ้าจึงตรัสสอนว่า "อย่าเอาความสุขและความสำเร็จของตนไปผูกไว้กับผู้อื่น"
- สุขก็อยู่ที่กายใจเรา ทุกข์ก็อยู่ที่กายใจ ทุกอย่างสำเร็จที่ใจ
- ให้เราคงมั่นตรงเจตนาต่อ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ ทาน เป็นเบื้องต้น
- ความคิดดี พูดดี ทำดี กุศลจิต กุศลกรรมทั้งหลาย ความมีปกติสุขยินดีทั้งหลายก็จะอยู่ที่เรา โดยไม่ต้องไปผูกความสุขเอาไว้ที่ใคร
- สุขทุกข์ทั้งหลายเกิดดับที่กาย-ใจเราเท่านั้น ไม่ใช่ที่คนอื่นหรือใครที่ไหน


เมื่อเกิดความอัดอั้นคับแค้นใจ ไม่สบายกาย-ใจ ขุ่นมัวใจ ขัดเคืองใจ ไม่พอใจยินดีใดๆ ให้พึงเจริญปฏิบัติในสมถะ(ความเป็นกุศลจิต มีสัมมาสมาธิ)ตรองพิจารณาเข้าถึงสมุทัยใดๆดังนี้

พิจารณาลมหายใจเข้า-ออก ระลึก พุทธ-โธ
หายใจเข้าระลึก "พุทธ" หายใจออกระลึก "โธ"
โดยเริ่มต้น ให้หลับตา
ให้หายใจเข้า-ออกแรงๆ และ ยาวหน่อยสัก 3-5 ครั้ง เพื่อเรียกสติและสมาธิ
ระลึก "พุทธ-โธ" ระลึกถึง "พระพุทธเจ้า"


จากนั้นจึงค่อยๆหายใจแบบธรรมดา โดย หายใจเข้าระลึก "พุทธ" หายใจออกระลึก "โธ"
สังเกตุเมื่อจิตเราสงบลงแล้ว ลมหายใจจะไม่แผ่วร้อน ไม่ระส่ำระส่าย ไม่หายใจติดขัด มีความผ่อนคลาย ลมหายใจละเอียดนุ่มขึ้น
เมื่อมีความสงบใจขึ้นแล้ว มีสมาธิจะเกิดแก่จิตแล้ว
ให้พึงละความสำคัญมั่นหมายของใจที่เรามีต่อเขา
ละความปารถนาใดๆ ที่เราต้องการ หวัง ที่จะได้รับจากเขา
ละความติดข้องใจใดๆที่เราเอาจิตของเราไปผูกความสุขและความสำเร็จไว้กับเขา
หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวหน่อยระลึก พุทธ-โธ


หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ.. พึงระลึกว่า จะไม่เอาจิตของเราไปผูกความสุขและความสำเร็จใดๆไว้กับเขาอีก
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ.. พึงระลึกว่า ติดข้องใจจากการกระทำใดๆทาง กาย วาจา ของเขาไปก็มีแต่ทุกข์
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ.. พึงระลึกว่า เราจะละความติดข้องใจนี้ จะละความสำคัญมั่นหมายของใจที่มีต่อเขานี้
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ.. พึงเจริญทำสติให้เกิดรู้ ระลึกเข้าสู่ความว่าง ไม่หยิบจับเอาความพอใจยินดีและความไม่พอใจยินดีใดๆที่มีต่อเขา
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ.. พึงระลึกเข้าสู่ความว่างอันไม่ปรุงแต่งความพอใจยินดี และ ไม่พอใจยินดีที่มีต่อเขา
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ.. พึงระลึกว่า ความติดข้องใจนี้ย่อมดับไปด้วยเดชแห่ง สมาธิจิต และ สติ นั้น
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ.. พึงระลึกถึงพระพุทธรูปที่เรามองดูสงบใจ หรือ รูปพระพุทธเจ้าที่เขาถ่ายติดใต้ต้นโพธิ์
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ.. พึงระลึกว่า พระองค์มีความว่าง สงบ สุข ปกติยินดี ไม่มีปรุงแต่งจิตอกุศลใดๆ
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ.. พึงระลึกเอาความว่างสงบนั้น

หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ พึงระลึกรู้พิจารณาว่า.. เราควรละความผูกใจที่เป็นเหตุแห่งความเบียดเบียนทำร้ายกาย-ใจของเราและเขาเหล่านี้ไปเสีย ผูกใจไปก็รังแต่จะทำให้เป็นทุกข์ทั้งกาย-ใจ (เจริญเข้าสู่ "เมตตาจิต")
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ พึงระลึกรู้พิจารณาว่า.. เขาเป็นอย่างนั้นของเขามาตั้งแต่ไหนแต่ไร แต่เราเองต่างหากที่เอาจิตไปผูกติดไว้กับเขาเอง ก็เลยทุกข์ (พิจารณาตามจริง เพื่อละความสำคัญมั่นหมาย)
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ พึงระลึกรู้พิจารณาว่า.. ก็เมื่อผูกใจ-ผูกโทษเบียดเบียนต่อเขาแล้ว ทำให้เราทุกข์ทั้งกาย-ใจ เราจึงควรปล่อยวางความคิดเบียดเบียนนั้น ควรละความผูกโทษ-ผูกใจ และ เราควรอดโทษใดๆที่มีต่อเขา นั้นคือ อภัยทาน (เจริญจิตเข้าสู่ความปารถนาดีไม่ผูกติดใจเบียดเบียนใดๆต่อเขา มีความเอื้ออนุเคราะห์ให้เขาโดยการอดไว้ซึ่งโทษใดๆแก่เขา จนถึงการให้อันประเสริฐที่เรียกว่า "เมตตาทาน" จนถึงแก่ "อภัยทาน")
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ พึงระลึกรู้พิจารณาว่า.. ปล่อยเขาไป ให้เขาเป็นไปของเขา ธรรมชาติของจิตและจริตเขาเป็นอย่างนั้น (เจริญเข้าสู่ "ขันติจิต")
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ พึงระลึกรู้พิจารณาว่า.. เขาเป็นอย่างนั้นของเขามาตั้งแต่ไหนแต่ไร แต่เราเองต่างหากที่เอาจิตไปผูกติดไว้กับเขาเองก็เลยทุกข์ (พิจารณาตามจริง ด้วยเหตุแห่งทุกข์นั้น)
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ พึงระลึกรู้พิจารณาว่า.. เขาเป็นของเขาอย่างนั้น เราจะไปหวังปารถนาอะไรกับเขา เราควรหยุด-ควรอด-ควรละความปารถนานั้นๆไปเสีย ควรปล่อยเขาเป็นของเขาไป ละความติดข้องใจนั้นไปเสีย อย่าใส่ใจให้ความสำคัญกับมัน วางเฉยด้วยความมีใจกลางๆไม่หยิบจับเอาความพอใจยินดีและความไม่พอใจยินดีใดๆที่มีต่อเขา (เจริญเข้าสู่ "ขันติจิต" และ "อุเบกขาจิต")
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ พึงระลึกรู้พิจารณาว่า.. เขามีความสุขที่จะอยู่อย่างนั้นของเขา ก็ปล่อยให้เขาเป็นสุขไป
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ พึงระลึกรู้พิจารณาว่า.. สิ่งที่เราเอื้ออนุเคราะห์ให้เขาได้ คือ อดโทษใดๆไว้แก่เขา รู้วางใจไว้กลางๆ ไม่ติดข้องใจ-ไม่ขุ่นมัวใจ-ไม่ขัดเคืองใจใดๆต่อเขา (เจริญเข้าสู่ "กรุณาจิต" และ "ทานจิต" พร้อมยกจิตเข้าสู่ "อุเบกขาจิต")
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ พึงระลึกรู้พิจารณาถึง.. ความมีใจกลางๆ รู้ว่า ควรหยุด ควรปล่อยผ่าน ควรอด ควรละในความติดข้องใจใดๆที่มีต่อเขานี้เสีย (เจริญจิตเข้าสู่ "ขันติจิต")
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ พึงระลึกรู้พิจารณาว่า.. เราไปติดข้องใจ-ขัดเคืองใจใดๆในเขาไปมันก็แค่นั้น มีแต่ทุกข์ทั้งนั้น เราควรปล่อบผ่าน-ควรละความติดข้องใจ ละความผูกใจนั้นไปเสีย (เจริญเข้าสู่ "อุเบกขาจิต" และ "ขันติจิต)
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ พึงระลึกรู้พิจารณาว่า.. คำนึงว่าเราจักไม่ให้ความสำคัญในการกระทำของเขาอีก ไม่ใส่ใจการกระทำเขาอีก ไม่ติดผูกใจใดๆไว้กับเขาอีก (เจริญเข้าสู่ "อุเบกขาจิต")
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ พึงระลึกรู้พิจารณาว่า.. ติดข้องใจ ขัดเคืองใจ ติดผูกใจใดๆไว้กับเขาไปก็ไม่มีประโยชน์นอกจากทุกข์ (เจริญเข้าสู่ "อุเบกขาจิต")
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ พึงระลึกรู้พิจารณาว่า.. สุข-ทุกข์เกิดและดับที่กาย-ใจเรา ไม่ใช่กาย-ใจเขา (พิจารณาตามจริง)
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ พึงระลึกรู้พิจารณาถึง.. ความมีใจกลางๆ รู้ว่า ควรหยุด ควรปล่อยผ่าน ควรอด ควรละ ในความติดข้องใจใดๆที่มีต่อเขานี้เสีย (เจริญจิตเข้าสู่ "ขันติจิต")
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ พึงระลึกรู้พิจารณาว่า.. ความสงบจักเกิดขึ้นแก่ใจเรา
หายใจเข้าออกระลึก พุท-โธ พึงระลึกรู้พิจารณาว่า.. ความไม่ทุกข์จักเกิดขึ้นแก่เรา


- ทีนี้เมื่อจิตเราสามารถละจากการผูกติดในตัวผู้อื่นได้แล้ว สงบใจแล้ว
- ให้พึงรับรู้ในสภาพจริงๆนั้นๆ หรือ สภาพจริงของกุศลจิตใดๆที่เกิดขึ้นแก่เรา
- ระลึกถึงสภาพกุศลจิตที่ดับความผูกใจ ที่ทำให้เราละความติดข้องใจนั้นๆไปได้ หรือ เห็นโทษของการผูกติดใจไว้กับผู้อื่นนี้
- เมื่อคราหลังที่เกิดขึ้นอีก เราก็พึงระลึกตามสภาพความรู้สึกข้างต้น หรือ ระลึกว่ามันหาประโยชน์ใดๆไม่ได้
- แล้วพึงระลึกสภาพจิตเข้าสู่สภาพแห่งกุศลจิตนั้น มีความไม่เบียดเบียน มีความปารถนาดี มีความอื้ออนุเคราะห์แบ่งปันสุข มีการให้อันประเสริฐ มีความพอใจยินดีเมื่อเขามีปกติสุข ปราศจากความเบียดเบียนทั้งกายและใจ มีจิตรู้ว่าควรปล่อย-ควรผ่าน-ควรละ-ควรวาง จนถึงมีความวางใจไว้กลางๆ ไม่หยิบจับเอาความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีมาตั้งเป็นอารมณ์ของจิต
- จากนั้น ความติดใจ ความผูกใจ ความขุ่นมัวขัดเคืองใจ ความทุกข์ใจใดๆเหล่านี้ก็จะหายไป ไม่มีอีก ด้วยการทรงอารมณ์โดยไม่ต้องระลึกพร้อมอาปานานสติอีก



ผมขออนุญาตพระอาจารย์ธัมมวังโส ท่านเสบมาสเตอร์ และ ผู้ดูแลระบบทุกท่าน ขอกลับมาเผยแพร่กระทู้ธรรมที่ผมปฏิบัติเจริญอยู่ตามทางที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนโดยผมได้พลิกแพลงประยุกต์ให้ใช้เข้าได้ตามจริตผม ซึ่งเป็นประโยชน์และให้ผลได้ไม่จำกัดกาลมาเผยแพร่ต่อท่านสมาชิกเวบมัชฌิมาทั้งหลายได้ลองปฏิบัติกัน หากเมื่อท่านทั้งหลายปฏิบัติแล้วเห็นผลได้ มีประโยชน์แท้จริง ผมใคร่ขอรบกวนท่านทั้งหลายได้อุทิศส่วนบุญกุศลแห่งธรรมทานนี้ให้แด่

คุณพ่อกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา ซึ่งถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ.2556 เวลา 15.49 น.

ประวัติโดยย่อของท่าน

- ท่านได้เลี้ยงลูกและเอาใจใส่ปลูกฝังให้ลูกมี ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี ซึ่งตัวท่านเองก็ปฏิบัติเช่นนี้อยู่เป็นประจำเพื่อเป็นตัวอย่างให้ลูกๆเห็นแล้วทำตาม
- เท่าที่ผมจำความได้ท่านสอนให้ผม เว้นจากความเบียดเบียนทำร้ายผู้อื่น เว้นจากการฆ่าสัตว์แม้ มด ยุง ริ้น ไร ก็ห้ามไม่ให้ฆ่า ให้ผมไม่ขโมยลักทรัพย์ ไม่เอาของๆผู้อื่นที่เขาไม่ได้ให้ ให้ผมซื่อสัตย์-ซื่อตรงทำดีต่อครอบครัวตนเองและผู้อื่น ชี้ให้ผมเห็นโทษของสุราเมรัยไม่ให้ปารถนาที่จะดื่มกิน รู้สวดมนต์ไหว้พระนั่งสมาธิเป็นประจำทุกวัน มีจิตปารถนาดีต่อผู้อื่น รู้เอื้ออนุเคราะห์แบ่งปันผู้อื่น มีการให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน มีสติรู้ตน รู้สิ่งที่ควรละ-ควรปล่อย-ควรผ่าน-ควรวาง มีความยินดีเมื่อผู้อื่นมีความปกติสุข-ปราศจากความเบียดเบียนทั้งกาย-ใจ รู้วางใจกลางๆในการอันควร ไม่หยิบจับเอาความพอใจยินดีหรือไม่พอใจยินดีมาตั้งเป็นอารมณ์แห่งจิต คิดดี พูดี ทำดี
- ท่านเป็นสหายธรรมของหลวงปู่นิล มหันตปัญโญ ครูอุปัชฌาย์ของผมเอง สมัยเด็กๆจะเห็นท่านปั่นจักรยานไปสนทนาธรรมกับหลวงปู่นิลเป็นประจำ และ น้อมเอาแนวปฏิบัติสายพระป่ามาเจริญปฏิบัติจนท่านสิ้นอายุขัยด้วยอายุ 90 ปี

ผมขอบุญแห่งการเผยแพร่ธรรมปฏิบัติเพื่อความมีประโยชน์สุขของท่านทั้งหลายนี้มอบให้แด่ เตี่ยกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา ให้ได้อยู่ในภพภูมิที่ดีงาม มีความสุขกายสบายใจ ไม่มีทุกข์กายใจใดๆ ตราบสิ้นกาลนานเทอญ สาธุ สาธุ สาธุ
31  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / อาปานานสติสูตร เป็นไปเพื่อความสงบจากความปรุงแต่งและเข้าสติปัฏฐาน ๔ เมื่อ: ตุลาคม 18, 2012, 08:01:37 pm
อานาปานสติสูตร


พระไตรปิฎก : พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

[๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ ปีติ หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจัก เป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร (การปรุงแต่งของจิต - ธัมมโชติ) หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ว่าเรา จักระงับจิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต (จากความโลภ ความโกรธ ความหลง จากความเย่อหยิ่งถือตัว ความเห็นผิด ความลังเลสงสัย จากความหดหู่ท้อถอย ความฟุ้งซ่าน จากความไม่ละอายบาป ไม่สะดุ้งกลัวบาป จากความยึดมั่นในสิ่งทั้งปวง - ธัมมโชติ) หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็น ผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด (ความยินดี รักใคร่ในสิ่งทั้งปวง - ธัมมโชติ) หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว อย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ


[๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างไร ทำ ให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อภิกษุหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้า ยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้นภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่ง ในพวกกาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย (คือเห็นกายชนิดหนึ่งในบรรดากายทั้งหลาย - ธัมมโชติ) มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเรา จักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียก อยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้อยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการใส่ใจลมหายใจออก ลมหายใจเข้าเป็นอย่างดีนี้ ว่าเป็นเวทนาชนิดหนึ่ง ในพวกเวทนา เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนด รู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจัก ทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าว อานาปานสติแก่ภิกษุผู้เผลอสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่ เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา ความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจัก เป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจ ออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสด้วย ปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้วางเฉยได้ดี เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ


[๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่เผลอเรอ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ
ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความ บริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความ พิจารณาธรรมนั้นได้ด้วยปัญญา ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอ เมื่อค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอันปรารภ ความเพียรไม่ย่อหย่อน ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณา ธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน
ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ปีติปราศจากอามิส (ปิติที่เกิดขึ้นโดยไม่ต้องมีวัตถุมาล่อ - ธัมมโชติ) ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภ ความเพียรแล้ว
ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้
ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิตตั้งมั่นฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น
ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น
ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความ เจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้น ได้เป็นอย่างดี ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้ เป็นอย่างดี
ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น
ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึง ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
ในสมัยนั้น สติย่อม เป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
ในสมัยนั้น สติย่อม เป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่เผลอเรอ
ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความ บริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความ พิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เมื่อ เธอค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอัน ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรม นั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน
ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อม เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ปีติปราศจากอามิส ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภ ความเพียรแล้ว
ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้
ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น
ภิกษุ ชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมถึง ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิต ตั้งมั่นฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น
ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้
น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความ เจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้น ได้เป็นอย่างดี ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้ เป็นอย่างดี
ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึง ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ


[๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างไร ทำให้ มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย นิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ...
ย่อม เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ...
ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ...
ย่อมเจริญปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์ ...
ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ...
ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
32  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / วิธีเจริญเข้าสู่สมาธิจิตเพื่อให้ใจเราสงบโดยง่าย เมื่อ: กันยายน 06, 2012, 01:26:23 pm
วิธีเจริญเข้าสู่สมาธิจิตเพื่อให้ใจเราสงบโดยง่าย

ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด

บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง
วิธีเจริญเข้าสู่สมาธิจิตเพื่อให้ใจเราสงบโดยง่าย ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้


วิธีการเจริญเข้าสู่สมาธิจิตนี้ เกิดขึ้นจากเมื่อผมได้กัมมัฏฐานแล้วได้รู้ได้เห็นในกัมมัฏฐานหลายอย่างทั้งสมถะและปรมัตถธรรม แต่เพราะเห็นมากก็กลายเป็นผู้ถืออุปาทานในนิมิตหรือสิ่งที่รู้เหฟ็นนั้นๆทำให้หลงทางอยู่ และ เมื่อเข้าสมาธิก็ติดคิดในสภาพที่รับรู้นั้นๆไว้อยู่เป็นประจำจนฟุ้งซ่านไปไม่เป็นสมาธิ ผมจึงได้เสาะหาวิธีทางการปฏิบัติต่างๆที่ครูบาอาจารย์และพระอริยะเจ้าหลายท่านชี้่แนะไว้เพื่อตัดคตวามฟุ้งซ่านใดๆออกจากใจขณะทำสมาธิ จนไปพบกับวิธีที่เรียบง่าย ไม่บังคับจิต ไม่ทำให้ฝืนจิต แต่ทำให้สามารถเข้าสู่สมาธิจิตได้โดยง่าย และ สามารถทรงสภาพของสมาธิจิตนั้นได้นานตามลำดับในแต่ละขั้นสมาธิจิต ซึ่งวิธีนี้ผมได้ไปอ่านพบจากแนวทางการสอนปฏิบัติกัมมัฏฐานของหลวงปู่ฤๅษี หรือ พระราชพรหมญาณ แต่ที่รู้มานั้นเป็นเพียงแค่พื้นฐานของคำง่ายๆที่ว่า "ทรงอารมณ์"

ตาม Link นี้ครับ http://www.praruttanatri.com/v1/spec...hudong/33.html

ซึ่งอาจเป็นเหตุให้แนวทางที่จะกล่าวต่อไปนี้ไม่ตรงกับที่หลวงปู่ท่านสอนนัก แต่เป็นการอ้างอิงอาศัยวิถีของท่านร่วมกับสิ่งที่ผมปฏิบัติอยู่เป็นประจำตามจริตนิสัยของผมครับ


วิธีเจริญเข้าสู่สมาธิจิตเพื่อให้ใจเราสงบโดยง่าย

1. เวลาทำสมาธิภาวนา ให้กระทำใน นั่ง ยืน เดิน นอน ตามแต่ที่เราพอใจหรือเหมาะสม
2. เมื่อเริ่มทำสมาธิให้กำหนดลมหายใจเข้าออกตามปกติ จะบริกรรมเช่นใดก็ตามแต่จะ พุทธ-โธ หรือ ยุบ-พอง หรือ ใดๆก็ตามแต่ที่จริตเราชอบ
3. ระลึกถึงสภาพจิตที่เป็นกุศลจิต คือ มีความสงบ อบอุ่น ผ่องใส ไม่ติดข้องใจในสิ่งใด มีความเบาบาง ใสสว่าง
4. ระลึกจิตให้ทรงอารมณ์ในสภาพที่เป็นกุศลนี้ให้ตั้งอยู่ ให้คงอยู่ซักระยะ ระลึกเข้าความเบาสบาย ผ่องใส ไม่ติดข้องใจไว้ เพื่อไม่เ็ป็นการจดจ้องในอารมณ์ จะทำให้ปวดหัวได้
5. เมื่อทรงอารมณ์เข้าในสภาวะที่เป็นกุศลจิตนี้ สภาพจิตที่เป็นตัวรู้ของเรามันจะรู้สภาพปรมัตถธรรมที่เกิดนี้ของเรา แล้วตั้งจิตทรงอารมณ์ไว้ซักระยะ
6. เมื่อตัวรู้เกิดแก่จิต เราจะรู้ด้วยตัวเองทันทีว่าขณะนี้กำลังจิตเราพอที่จะเคลื่อนระดับเข้าสู่สมาธิจิตที่สูงขึ้นหรือไม่ กำลังจิตเต็มที่ในขึ้นนั้นแล้วหรือยัง
7. หากทรงอารมณ์จิตอยู่แล้วจิตไปรับรู้ส่วนใดให้สภาพจิตของเราหลุดจากอารมณ์ที่เราทรงไว้อยู่เมื่อตัวรู้ว่าหลุดเกิดก็ให้เราระลึกถึงสภาพจิตที่เป็นอยู่ก่อนจะหลุดนั้นแล้วตั้งจิตเข้าทรงอารมณ์ใหม่ ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าตัวรู้เกิดรู้ว่ากำลังจิตในสมาธิจิตขณะนั้นเป็นอย่างไร มีกำลังมากพอจะเคลื่อนไปในระดับต่อไปหรือไม่
8. เมื่อตัวรู้ รู้ว่าจิตเรามีกำลังพอที่จะเคลื่อนเข้าสู่สมาธิที่มีความละเอียดสงบมากขึ้น ก็ให้ระลึกถึงสภาพสมาธิจิตที่สูงขึ้นที่มีความสงบ ผ่องใส ปรุงแต่งเบาบางลง มีตัวรู้เกิดขึ้นสืบต่อเนื่องรู้สภาพจิตนั้นๆที่กำลังดำเนินไปอยู่

- ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จะสามารถเข้าสู่ อุปจาระสมาธิจิตได้ง่ายเป็นขั้นต่ำ มีสติหรือตัวรู้เกิดขึ้นเสมอๆเนืองๆ สืบไปจนถึงระดับปฐมฌาณที่เป็นเอกัคตาต่อไปในระดับสมาธิจิตที่สูงขึ้นๆไปจนสภาพจิตตัดการรับรู้ทางกาย
33  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ขอความอนุเคราะห์พระอาจารย์ช่วยสอนมัชฌิมากรรมฐานตั้งแต่เริ่มต้น เมื่อ: กรกฎาคม 31, 2012, 09:30:15 pm
เรียรพระอาจารย์ฦธรรมวังโส และ พระอาจารย์ อาโลโก

                   ผมใคร่ขอความอนุเคราะห์พระอาจารย์ทั้งสอง ช่วยสอนากรรมฐานแบบมัชฌิมาแบบลำดับตั้งแต่จุดเริ่มต้นที่นับจาก 0 เลยครับ ผมอาจจะไม่รู้ธรรมไม่ดีพร้อม แต่อาจจะเผยแพร่แนวกรรมฐานี้บ้างโดยคละเคล้ากับแบบที่ผมกรรมฐานดังนี้คือ
1. สายพระป่าหลวงปู่มั่นซึ่งมี หลวงปู่นิล มหันตปัญโญ แห่งวัดป่าสุมมนามัย อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น เป็นครูอุปัชฌาย์องค์ที่ 1 ของผม ซึ่งได้มรณภาพและนิพพานไปแล้ว
2. สาย ยุบ-พอง ของพระพุุฒาจารย์อาส ซึ่งลูกศิษย์ท่านคือพระครูสุจินต์ แห่งวัดป่าอาสภาวาส ต.บ้านลาน อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น เป็นอุปัชฌาย์องค์ีที่ 2 ของผม ซึ่งเบอร์พระครูท่านผมทำหาย

ในแบบที่ผมกรรมฐานมาครูอุปัชฌาย์ทั้ง 2 ท่านไม่เคยปิดกั้นแนวทางกรรมฐานใดๆ ท่านบอกแนวทางกัมมัฏฐานในพระพุทธศาสนาดีหมดทุกทาง ถึงหมดทุกาง จะช้าเร็วอยู่ที่ตนเองและความถูกต้องตรงจริงตามพระพุทธเจ้าตรัสสอนเท่านั้น โดยดั่งที่ผมกล่าวไว้เมื่อนานมาแล้วว่า เมื่อผมได้มีสติรู้ตนเองว่าผมเริ่มหลงตน มีทิฐิมานะ ยกตนเหนือคนอื่น ดูถูกธรรมที่คนอื่นมีทั้งๆที่เขานั้นอยู่สูงกว่าตน รู้เห็นยิ่งกว่าตน หลงกับสิ่งจอมปลอมที่ตนเองรู้เห็นจากกัมมัฏฐานจนหาประมาณมิได้ เมื่อรู้ตนเช่นนั้นแล้วผมจึงทิ้งกัมมัฏฐานทั้ง สมถะ และ วิปัสนา ทุกอย่างไป เพื่อละความหลงตนและเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้น ล้างความหลงทั้งหลายทิ้งไป

บัดนี้ผมจะกลับคืนมากัมมัฏฐานใหม่อีกครั้ง ผมใคร่ขอครูบาอาจารย์ทั้ง 2 ท่านช่วยชี้แนะแนวทางวีถีแบบมัชฌิมาแบบลำดับตั้งแต่เริ่มต้นใหม่ๆให้แก่ผม เพราะผมคงไม่มีโอกาสไปปฏิบัติที่วัด หากไม่ติดขัดประการใด ผมใคร่ขอความอนุเคราะห์ เอื้อเฟื้อ บ่งปัน แนวทางกัมมัฏฐานจากพระอาจารย์ทั้งสองด้วยครับ

                                                                    ขอบพระคุณเป็นอย่างสูง

                                                                           Admax
34  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ธรรมชาติที่ชื่อว่า จิต เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2012, 06:57:19 pm
ควรเข้าใจว่า  จิตคือ ธรรมชาติ  ชนิดหนึ่ง

ธรรมชาตินี้  บางครั้งก็เรียกว่า  "สภาวะ"

เป็นสภาวะเพราะ  ไม่ใช่สัตว์  ไม่ใช่บุคคล  ไม่มีตัวตน  ไม่มีกลิ่น   ไม่มีสี   ไม่มีรส  ฯลฯ

จิตมีชื่อต่างๆที่ใช้เรียกขานกันถึง ๑๐ ชื่อ ดังแสดงว่า
                   
ยํ  จิตฺตํ  มโน  หทยํ  มานสํ  ปณฺฑรํ  มนายตนํ  มนินฺทฺริยํ  วิญฺญาณํ  วิญฺญาณกฺขนฺโธ ตชฺชา  มโนวิญฺญาณธาตุ อิทํ จิตฺตํ
                   
อัฏฐสาลินีอรรถกถา อธิบายไว้ว่า
           
ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า  "จิต"
                   
ธรรมชาติใดย่อมน้อมไปหาอารมณ์ ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า   "มโน"
                   
จิตที่รวบรวมอารมณ์ไว้ภายในนั่นแหละชื่อว่า    "หทัย"
                   
ธรรมชาติฉันทะ  คือความพอใจที่มีอยู่ในใจนั้นชื่อว่า      "มนัส"
                   
จิตเป็นธรรมชาตฺที่ผ่องใส จึงชื่อว่า     "ปัณฑระ"
                   
มนะที่เป็นอายตนะ คือเครื่องต่อ จึงชื่อว่า     "มนายตนะ"
                   
มนะที่เป็นอินทรีย์  คือครองความเป็นใหญ่ จึงชื่อว่า   "มนินทรีย์"
               
ธรรมชาติใดที่รู้อารมณ์  ธรรมชาตินั้นชื่อว่า   "วิญญาณ"
                   
วิญญาณที่เป็นขันธ์ จึงชื่อว่า      "วิญญาณขันธ์"

มนะที่เป็นธาตุชนิดหนึ่งที่รู้อารมณ์ จึงชื่อว่า    "มโนวิญญาณธาตุ"

ทั้งหมดนี้คือจิตทั้งหมดที่ทำหน้าที่ที่มีสภาวะต่างๆกันไป
.........................


เนื้อความที่รับรอง  จากพระไตรปิฏก  (โปรดสังเกตที่หัวข้อ)

พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
ธรรมสังคณีปกรณ์

[๙๒] วิญญาณขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
            จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์  มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิญญาณขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น.
             
[๙๓] มนายตนะ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
             จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ  วิญญาณขันธ์   มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มนายตนะ ๑ มีในสมัยนั้น.
             
[๙๔] มนินทรีย์ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
             จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ  วิญญาณขันธ์   มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มนินทรีย์ ๑ มีในสมัยนั้น.

            [๙๕] มโนวิญญาณธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
             จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า  มโนวิญญาณธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น.

             [๙๖] ธัมมายตนะ ๑ มีในสมัยนั้นเป็นไฉน?
             เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้ชื่อว่า ธัมมายตนะ ๑ มีในสมัยนั้น.
 
            [๙๗] ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
             เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้ชื่อว่า ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น.
35  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / วิธีการเจริญเมตตาจิตในการสวดมนต์แผ่เมตตาให้แก่บุคคลทั้งหลาย เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2012, 05:40:37 pm

วิธีการเจริญเมตตาจิตในขณะที่สวดมนต์แผ่เมตตา

ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด

บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง วิธีการเจริญเมตตาจิตในขณะที่สวดมนต์แผ่เมตตา ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้


- เมื่อหลายวันก่อนหลังผมทิ้งกัมมัฏฐานเพื่อแก้ความฟุ้งซ่าน แก้ความหลงในตน แก้ความหลงกับสิ่งที่รู้เห็น เพื่อให้ใจสงบลงแล้วกลับมาเจริญปฏิบัติใหม่ ผมมีความปรุงแต่งฟุ้งซ่านมากมาย ผมย้อนนึกถึงสมัยก่อนตอนปฏิบัติธรรมใหม่ๆที่ดำเนินเข้าถึงอารมณ์สมถะ นึกย้อนตอนครั้งแรกที่เห็นตถาคตเสด็จมาหา (ผมระลึกพิจารณาถึงการเห็นพระตถาคตในสมาธินี้เสมอว่า เป็นความปรุงแต่งจิตจนเกิดมโนภาพขึ้นในใจไม่ใช่ความจริงแต่อย่างใด แต่ผมนำมโนภาพที่เห็นจากสมาธิมาพิจารณาปฏิบัติเพื่อรู้จิตตน) ในขณะนั้นมีมารตนหนึ่งเป็นเพศหญิงกำลังพยายามทำร้ายผม และ พยายามจะฆ่าผมอยู่ (ผมพิจารณาเห็นว่าสิ่งเหล่านั้นก็คือ กิเลสตัณหาของผมเอง) พระองค์ทรงพาเจริญเมตตาจิตเพื่อสยบมาร ในขณะนั้นผมไม่รู้ว่าเมตตาจิตเป็นอย่างไร จึงได้แต่สวดแค่บทสวดมนต์แผ่เมตตาเพราะความกลัว เวลาสวดมารก็แค่คลายมือที่บีบคอผม พอหยุดสวดมารก็บีบคอทำร้ายผมใหม่ พระตถาคตก็บอกให้เข้าถึงสภาพเมตตาจิตอันหาประมาณไม่ได้ ผมก็พึงนิ่งตัดจิตพลั่นกลัวนั้นออกแล้วเข้าสู่สภาวะเมตตาจิตแล้วแผ่ให้มารด้วยจิตที่ปารถนาดีอยากให้มารได้รับสุขพ้นจากทุกข์โดยไม่หวังสิ่งใดๆตอบแทนกลับคืน ด้วยใจที่พึงตรึกนึกคิดว่า ตอนนี้มารคงกำลังอัดอั้นคับแค้นกายใจอยู่ และ เป็นผู้ที่ถูกความทุกข์ครอบงำอยู่ จึงได้กระทำเช่นนี้กับผม แล้วมารตนนั้นก็ปล่อยมือออกจากคอผม ยิ้มให้ผม แล้วก็เลือนหายไป (ที่กล่าวเรื่องเห็นมาร เรื่องเห็นพระคถาคตเจ้า และ การเข้าสู่เมตตาจิตนี้ เพื่อให้มองเห็นว่ามารที่เป็น กิเลส-ตัณหา ความปรุงแต่ง ความตรึกนึกคิดฟุ้งซ่านไปต่างๆนาๆ ก็ดับไปด้วยเมตตาจิตที่แท้จริง ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรมีในใจเราทุกคน ซึ่งพระตถาคตก็ได้ตรัสสอนไว้ดีแล้ว) เมื่อผมระลึกนึกย้อนเห็นได้เช่นนั้นแล้ว ผมก็ทำสมาธิเจริญเข้าสู่เมตตาจิต ยังความเป็นกุศลให้เกิด เพียงเวลาชั่วแว๊บครู่หนึ่งผมก็เข้าสมาธิพร้อมกับมีจิตนิ่งได้เร็วมาก ยังความกุศลแห่งเมตตาจิตได้ซักพัก ก็ได้เห็นแนวทางการแผ่กุศลเมตตาได้เป็นแนวทางดังนี้ว่า

- โดยปกติทั่วไป คนที่ไม่ศึกษาในพระธรรม หรือ เพิ่งเริ่มต้นศึกษาธรรมในพระพุทธศาสนานี้ หากยังวางจิตเข้าถึง เมตตาจิต กรุณาจิต ทานจิต มุทิตาจิตไม่ได้ มักจะเข้าใจแค่ว่าเวลาแผ่เมตตาให้คนอื่นเราก็สวดๆบทแผ่เมตตานั้นๆแล้วระลึกถึงบุคคลที่จะให้ ด้วยสภาพจิตที่อยากให้เขารักใคร่ตนกลับคืนบ้าง อยากให้เขาเลิกทำร้ายเบียดเบียนเราบ้าง โดยไม่ได้มุ่งเน้นในสภาพจิตที่เป็นเมตตาจริงๆที่จะส่งผลให้การสวดมนต์แผ่เมตตานั้นสำเร็จผลได้จริงๆ
- ผมเจอคนโดยมากมักกล่าวว่า เจอคนที่ชอบเบียดเบียนตนเองบ้าง ตนเองไม่พอใจเขาบ้าง เกลียดเขาบ้าง สวดบทแผ่เมตตาอยู่ทุกวันไม่เห็นเป็นผลเลย ซึ่งนั่นก็เพราะที่กระทำไปนั้นเพราะมุ่งเน้นผลตอบกลับซึ่งสภาพจิตเช่นนี้มันเต็มไปด้วยความโลภจนก่อเป็นตัณหาความทะยานอยากที่จะให้เป็นไปตามที่ตนเองต้องการ จนจิตที่เป็นเมตตาจริงๆของตนนั้นถูกบดบังด้วยความอยากที่เป็นความโลภและตัณหาเข้ามาทดแทนจิตที่เป็นเมตตา ดังนั้นเมื่อสวดบทแผ่เมตตาแม้จะพันครั้งก็เหมือนท่องอ่านบทกลอนเล่นๆเพื่อสนองตัณหาตนไม่อาจเข้าถึงประโยชน์และคุณค่าที่แท้จริงของบทสวดนั้นได้


การปฏิบัติเพื่อเข้าถึงเมตตาจิตเพื่อการสวดมนต์แผ่เมตตาจิต

** เริ่มต้นให้แผ่เมตตาให้ตนเองก่อนนะครับ โดยเจริญจิตตั้งมั่นระลึกให้ตนเองนั้นมีสภาพกาย-วาจา-ใจ ดังนี้คือ
         - เราจักเป็นผู้มีปกติจิตเป็นกุศล คิด พูด ทำแต่สิ่งที่ดีงามไม่เบียดเบียนทำร้ายผู้อื่น มีปกติจิตผ่องใส เบิกบาน เป็นสุข
         - เราจักเป็นผู้มีความสงบรำงับปราศจาก กาม ราคะ โมหะ พยาบาท อยู่เป็นปกติจิต
         - เราจักเป็นผู้ไม่ผูกจองเวรใคร
         - เราจักเป็นผู้ไม่เบียดเบียนพยาบาททำร้ายใคร
         - เราจักเป็นผู้ไม่มีความขุ่นเคือง-ขัดข้อง-มัวหมองใจ-เศร้าหมองใจ
         - เราจักเป็นผู้ไม่มีความคับแค้น-อึดอัด-อัดอั้น-เดือดร้อน-ร้อนรนใจ
(ให้พึงหวนรำลึกถึงช่วงเวลาที่เรานั้นผูกเวรจองเวรพยายาทใคร เรานั้นจะคอยแต่คิดจะหาเรื่องทำร้ายเขา ทะยานอยากต้องการจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ให้เขา ต้องให้ให้เขาประสบพบเจอสิ่งร้ายๆเรื่องร้ายๆอย่างนี้ๆ พอใจยินดีที่จะทำให้เข้าเจ็บปวดทุกข์ทรมานกาย-ใจอย่างนี้ ขณะที่เรา คิด พูด ทำ อย่างนั้นเรามีแต่ความร้อนรุ่มใจ ร้อนรนกระวนกระวายใจ คับแค้นกาย-ใจอยู่อย่างนั้นไม่เป็นปกติสุขเลย มันทุกข์ทรมานกายใจมากใช่ไหม เราจะดับทุกข์นี้ได้ก็ด้วยการที่เรานั้นไม่เป็นผู้ผูกเวรใคร ไม่พยาบามเบียดเบียนทำร้ายใคร)
         - เราจักเป็นผู้มีความปกติสุขยินดีมีสติอยู่เสมอ มีความสงบ-ผ่องใสทั้งกายและใจ มีจิตตั้งมั่นควรแก่งาน ปราศจากทุกภัยใดๆที่ทำให้หมองมัวใจ-เศร้าหมองใจ-คับแค้นกสยและใจ ปราศจากติดใจใคร่ตามเพลิดเพลินยินดีในอกุศลธรรมใดๆ
         - เราจักเป็นผู้มีความปกติสุขยินดีมีสติอยู่เสมอ มีจิตสงบ-ผ่องใสทั้งหายและใจ เป็นผู้มีความคิดดี-พูดดี-ทำดีเป็นกุศล ไม่คิด-พูด-ทำในสิ่งใดๆที่เป็นการเบียดเบียนทำร้ายใคร
         - เราจักเป็นผู้มีสติอยู่เสมอจิตปารถนาดี-มีความเอื้อเฟื้อ-อนุเคราะห์-รู้จักสละให้-แบ่งปันสิ่งดีๆที่เป็นสุขให้แก่ผู้อื่นด้วยความยินดี มีจิตปกติสุขยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นเป็นสุขได้พ้นจากทุกข์ เป็นผู้มีจิตรู้จักอดโทษ-ละโทษ-ปล่อยวางโทษ จนถึงความสงบผ่องใสมีใจวางไว้กลางๆ

** จากนั้นสวดมนต์แผ่เมตตาพร้อมเจริญจิตตั้งมั่นเจริญในอุบายแนวทางของใจที่มอบเมตตาจิตแก่บุคคลแต่ละประเภทดังต่อไปนี้ **


1. การแผ่เมตตาให้แก่บุคคลที่เรา รักใคร่ หรือ เคารพบูชา เช่น บุพการี พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ครูบาอาจารย์ ลุง ป้า น้า อา พี่ น้องภรรยา สามี ลูก หลาน เพื่อนสนิท มิตรสหาย
1.1 การแผ่เมตตาจิตให้กับ พ่อ แม่  ครูบาอาจารย์ ลูก หลาน ญาติ พี่ น้อง เพื่อนทั้งหลายนั้น เราต้องตั้งจิตระลึกถึงพระคุณที่มีเป็นอันมากของผู้ที่มีความอุปการะคุณ เอื้อเฟื้อ อนุเคราะห์ แบ่งปัน ปนะโยชน์สุขให้แก่เรา(พ่อ- แม่ บุพการี ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย) หรือ ปารถนาให้บุคคลที่อันเป็นที่รักเรานั้นมีความปกติสุข สงบ สบายกาย-ใจ มีความสำเร็จ เจริญก้าวหน้า(ญาติ พี่น้อง ภรรยา สามี บุตร หลาน เพื่อน)
1.2 ตั้งจิตที่ปารถนาให้ท่านทั้งหลายได้พบเจอสิ่งที่ดีงาม ได้ประสบกับความสุข ได้พ้นจากความทุกข์  เป็นผู้ไม่มีทุกข์ เป็นผู้ไม่มีภัยอันตรายใดๆทั้งปวง มีจิตระลึกให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้นมีความปิติ สงบสุข ยินดี เปรมปรีย์จิต
1.3 ตั้งจิตในความเอื้อเฟื้อ อนุเคราะห์ แบ่งปัน และ ตั้งจิตแผ่มอบให้ ด้วยใจที่หวังและปารถนาให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้นได้รับผลประโยชน์สุขหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งหลายที่มีที่เป็นอยู่นี้ จากบุญใดๆที่เราได้เจริญ ได้กระทำ ได้ปฏิบัติดี ได้ปฏิบัติชอบมา ทั้ง กาย วาจา และ ใจ ได้แผ่ไพศาลไปถึงแก่ท่านทั้งหลายเหล่านั้น ได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีงาม เป็นผู้ไม่ผูกจองเวรใคร เป็นผู้ไม่พยาบาทเบียดเบียนใครและปราศจากผู้ที่จะมาผูกเวรพยาบาทในท่านทั้งหลายเหล่านั้น เป็นผู้มีปกติสุขมีจิตใจผ่องใสไม่เศร้ามัวใจ ไม่หมองมัวใจ ไม่ขุ่นมัวขัดเคืองใจ ปราศจากทุกข์ภัย-ขอให้โรคภัยทั้งหลายอย่าได้มากล้ำกลาย และได้หลุดพ้นจากทุกข์ทางกายและใจทั้งหลาย


2. การแผ่เมตตาให้แก่บุคคลทั่วๆไป เช่น คนที่เราพอจะรู้จักแต่ไม่ได้เกี่ยวพันธ์สัมพันธ์ใดๆเป็นการส่วนตัว หรือ บุคคลที่เราไม่รู้จักมักจี่ ไม่คุ้นเคยด้วยก็ดี
2.1 เวลาที่เราจะแผ่เมตตาจิตให้แก่เขาเหล่านั้น ให้พึงระลึกรู้ในจิตของเราดังนี้ก่อนว่า ให้มองเขาเหล่านั้นเหมือนเป็น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา ญาติ พี่ น้อง ลูก หลาน เพื่อนของเรา
2.2 ตั้งความปารถนาให้เขามีความสุขกาย สบายใจ มีความปิติสุข ยินดี ปราศจากทุกข์ ทั้งกายและใจ
2.3 ตั้งจิตในความเอื้ออนุเคราะห์ แบ่งปัน แก่เขาทั้งหลายเหล่านั้นด้วยการให้ที่เป็น "ทาน" ที่ให้ด้วยใจปารถนาให้เขาได้รับประโยชน์สุขจากการให้นั้นๆของเรา แล้วพึงตั้งมั่นในใจดังนี้ว่า..ขอมอบผลบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ ที่มีคุณเป็นมหาศาลจากการเจริญกัมมัฏฐาน การปฏิบัติที่ดีงามด้วย กาย วาจา ใจ นี้ๆของเรา ให้แก่เขาทั้งหลายเหล่านั้นได้รับผลบุญกุศลนี้ เพื่อได้ล่วงพ้นจากความทุกข์ ได้ประสบกับความสุขกายสบายใจ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีงาม จงเป็นผู้ไม่ผูกจองเวรใคร จงเป็นผู้ไม่พยาบาทเบียดเบียนใครและปราศจากผู้ที่จะมาผูกเวรพยาบาทในท่านทั้งหลายเหล่านั้น ขอให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้นจงเป็นผู้มีปกติสุขยินดี มีจิตใจผ่องใสไม่เศร้ามัวใจ ไม่หมองมัวใจ ไม่ขุ่นมัวขัดเคืองใจ ปราศจากทุกข์ภัย-ขอให้โรคภัยทั้งหลายอย่าได้มากล้ำกลาย และได้หลุดพ้นจากทุกข์ทางกายและใจทั้งหลาย


3. การแผ่เมตตาให้แก่บุคคลผู้ทำให้เราต้องความผิดหวัง เจ็บช้ำ ทุกข์ทน อัดอั้น คับแค้น ทรมานไปทั้งกายและใจ ทำให้เราต้องโศรกเศร้า เสียใจ หรือ เมื่อเราอยู่ด้วยแล้วไม่มีความสุข ไม่มีความยินดีเลย เกลียด กลัว เช่น ถูกแฟนทิ้ง ถูกเขาหลอก ถูกเขาด่า ถูกเขานินทา ถูกทำร้าย

3.1 กรณีที่ประสบกับความพรัดพราก เช่น ผิดหวัง-ไม่สมหวังในรัก เลิกรา-ร้างลากับคนที่รัก ถูกแฟนทิ้ง ซึ่งทำให้เราได้รับความผิดหวัง ช้ำใจ โศรกเศร้าเสียใจ เป็นต้น
3.1.1 เวลาที่เราจะแผ่เมตตาจิตให้แก่บุคคลที่ทำให้เราต้องประสบพบเจอกับสภาพความรู้สึกเช่นนี้ เราต้องพึงพิจารณาทบทวนให้เห็นถึง ข้อดี-ข้อเสีย และ ผลได้-ผลเสีย ความรู้สึก-นึกคิด ต่างๆ จากการที่เรานั้นได้ประสบพบเจอในความไม่สมหวังปารถนา และ ความพรัดพรากที่เป็นอยู่ในตอนนี้ แล้วเราก็จะมองเห็นว่า
- หากเรามีจิตที่คิด อาลัย อาวรณ์ เสียดาย ร้องไห้ เสียใจ ต้องการอยากจะได้กลับคืน หรือ หวนเวลากลับคืน หรือ ขอให้มันย้อนกลับจะขอแก้ไขส่วนใดๆที่ขาดตกไปด้วยความใคร่ครวญ สภาพความรู้สึกของจิตใจเรานั้นจะ เศร้าหมอง ขุ่นมัว อัดอั้น คับแค้น กรีด หวีด หวิวทั้งกายและใจ โศรกเศร้า ร่ำไร รำพัน จิตใจสั่นเครือ จิตใจอ่อนล้า จิตใจไร้แรงกำลัง ลมหายใจระรัว แผ่วเบาบ้าง ถี่ติดขัดบ้าง ไม่เป็นปกติสุข
- หากเรามีจิตที่คิด ผูกเวร จองเวร พยาบาท อาฆาตแค้น สภาพความรู้สึกของจิตใจเรานั้นจะ ขุ่นข้อง ขัดเคือง มัวหมอง อัดอั้น คับแค้นกายและใจ  ถี่ติดขัดบ้าง ไม่เป็นปกติสุข มีแต่ทุกข์ เพราะจิตใจและความตรึกนึกคิดของเรานั้นจะคอยคิดเคียดแค้น อยากแก้แค้นจะเอาคืน จนร้อนรุ่มไปทั้งกายและใจ จิตใจเดือดดานอยู่ไม่เป็นปกติสุข ฟุ้งซ่าน ทุรนทุราย เพราะคอยคิดที่จะหาทาง อาฆาต ทำร้าย เบียดเบียนบุคคลนั้นให้มันเป็นไปตามความทะยานอยากตน
- สิ่งทั้งหลายที่ผมกล่าวมานี้เกิดขึ้นและเป็นจริงใช่ไหมครับ เมื่อเกิดความ อาลัย-อาวรณ์  และ ผูกจองเวร-พยาบาท
- ดังนั้นเราต้องวางใจออกจากทั้ง 2 สิ่งนี้ให้ได้ เพื่อให้สภาพร้ายๆนี้ลดลงและหดหายไป โดยเรียนรู้และยอมรับในสัจธรรมที่ว่า ไม่มีสิ่งใดที่จะสมหวังปารถนาใคร่ได้ดั่งใจเราหมดทุกอย่าง คนเรามีความพรัดพรากเป็นที่สุดไม่ด้วยเหตุใดก็เหตุหนึ่ง ซึ่งต่อให้ทำยังไงทุกสิ่งทุกอย่างก็ไม่อาจหวนย้อนวันเวลากลับคืนไปได้ ทำได้ในตอนนี้คือการอยู่กับตนเอง รู้ตนเอง ทำสภาพจิตให้สงบ ผ่องใส จนเป็นปกติสุข
- พึงเจริญจิตหวนรำลึกถึงสิ่งที่ดีงามที่ได้ทำให้เรานั้นเป็นสุขกายและใจ พึงหวนรำลึกถึงสิ่งที่ดีงามใดๆที่เขาทำให้เรานั้นเป็นสุขทั้งกาย-ใจ พึงหวนรำลึกถึงสิ่งที่ดีที่เป็นสุขเป็นกุศลใดๆที่เรานั้นเคยทำร่วมกันมา ให้พึงระลึกถึงความดีงามหรือกุศลกรรมใดๆที่เขาเคยมีให้แก่เรา พึงระลึกถึงกุศลกรรมนั้นมาตั้งเป็นอารมณ์แห่งจิต แล้วพึงระลึกถึงแต่ความดีของเขาหรือสิ่งดีๆที่เขาได้ทำให้เราเป็นสุขใจ มันจะทำให้จิตใจของเราแจ่มใส เบิกบาน มีความอิ่มเอม สงบและเป็นสุข แล้วความร้อนรุ่มใจใดๆจะลดน้อยลง แล้วจิตเราก็จะแลดูรู้เห็นว่าสิ่งนี้ๆเราควรละมันไปเสีย สิ่งนี้เราๆควรปล่อยมันไปเสีย สิ่งนี้ๆเราควรอดใจไว้เสีย สิ่งนี้ๆเราควรอดโทษไว้เสีย สิ่งนี้ๆเราควรวางมันไปเสีย มีจิตรู้ว่าเราควรอดใจละมันไว้ไม่ควรติดข้องใจใดๆในสิ่งนั้นเพราะมันหาประโยชน์ใดๆไม่ได้นอกจากทุกข์ แล้วจะเข้าถึงความดับไปแห่งความโกรธอันร้อนรุ่มใจนั้นๆ
- เมื่อจิตใจเราผ่อนคลายลง ผ่องใสขึ้น สงบขึ้น และ มีใจที่อดไว้ซึ่งโทษนั้นๆแก่เขา ให้พึงตรึกนึกว่า เขานั้นคงได้รับความทุกข์ทน ทรมาน คับแค้นใจ อัดอั้นใจ ฝืดเคือง ขัดข้องใจ ไม่มีความสงบสุขใดๆแก่ใจเขาเลย ซึ่งความสุขใดๆที่ขาดหายตกหล่นไปจากใจเขานั้นเราไม่สามารถให้ได้
- เหมือนดั่งเวลามีคนที่เราไม่ได้รัก ไม่ชอบใจ ไม่พอใจยินดี รำคาญ หรือ บุคคลใดที่คอยแต่ทำร้ายเราทั้งกายและใจเข้ามาอยู่เคียงข้างชิดใกล้กับเรา เราย่อมรู้สึกอึดอัดใจ ทุกข์ทน ทรมาน คับแค้นใจ ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ อยากจะหนีหรือผลักไสให้พ้นไปไกลๆจากเราใช่มั้ยครับ ลองเอาใจเขามายกใส่ใจเราในความรู้สึกเช่นนี้ๆก็คงไม่ต่างกัน
- ให้คิดเสียว่าหากเขาอยู่กับเรามันอาจจะไม่ดี หรือ ไม่เพียงพอที่จะทำให้เขามีความสุขทั้งกายและใจ หากแม้เขาอยู่กับเราต่อไปก็รังแต่ทำให้เขาเกิดความคับแค้น อัดอั้น ลำบาก ทุกข์กายและใจ สิ่งที่พอจะทำให้ได้ในตอนนี้คือการมีจิต เมตตา กรุณา ทาน และ มุทิตา ให้แก่เขาได้ ภายภาคหน้าเมื่อพานพบเจอกันจะได้ไม่ต้องอยู่กันแบบคับแค้นใจอีก
- เหมือนพ่อ-แม่ที่อยากให้ลูกตั้งใจเรียน ไม่เกเร ขยันทำงาน กตัญญู รู้คุณ เป็นเด็กดีอยู่ในโอวาท ต้องการอยากให้ลูกนั้นเรียนตามที่ตนเองพอใจต้องการเป็นต้น แต่ทว่าก็ไม่สามารถบังคับให้ลูกนั้นกระทำ หรือ เป็นไปดั่งใจที่ต้องการได้ ลูกก็ย่อมทะยานออกไปหาสิ่งที่ลูกนั้นปารถนาใคร่ได้ พอใจยินดี โดยที่พ่อ-แม่ห้ามไม่ได้ ถึงแม้เสียใจไปลูกก็คงไม่เข้าใจ เห็นใจ หรือ มองย้อนกลับมาดู และ ทำตามที่พ่อแม่ขอร้องต้องการได้ ที่พ่อ-แม่ทำได้นั้นก็เพียงแค่คอยดู และ ตักเตือนให้แง่คิดแนะนำ ประครองให้ลูกไม่พลาดพลั้งอยู่ห่างๆ ด้วยหวังให้ลูกนั้นได้รับสุขจากการกระทำต่างๆ
3.1.2 ให้ตั้งเจริญอยู่ในจิตที่ปารถนาให้เขานั้นได้พ้นจากทุกข์ประสบสุข  และ ได้รับความสุขยินดีกับเส้นทาง หรือ สิ่งที่เขาเลือกแล้วนั้น เหมือนที่พ่อ-แม่ หรือ ผู้มีความอุปการะคุณนั้นมีให้แก่เรา
3.1.3 ให้ตั้งเจริญอยู่ในจิตที่มีความสงสารด้วยความปารถนาให้เขาเป็นสุขมีจิตเอื้อเฟื้อ อนุเคราะห์ แบ่งปัน จากบุญใดๆที่เราได้เจริญ ได้กระทำ ได้ปฏิบัติดี ได้ปฏิบัติชอบมา ทั้ง กาย วาจา และ ใจ ได้แผ่ไพศาลถึงแก่เขาให้เขาได้รับสุขจากสิ่งที่เราได้ให้มอบเขานี้ ให้เขาได้พานพบได้อยู่กับสิ่งที่เขาต้องการ
3.1.4 ปล่อยให้เขาไปเป็น "อภัยทาน" อันประเสริฐแก่เขา เว้นเสียซึ่งโทษ อดโทษ และ ความเบียดเบียน พยาบาทแก่เขา เพื่อให้เขาได้มีอิสระสุขตามที่ต้องการ การที่เราปล่อยให้เขาจากไปนั้นมันอาจจะเป็นหนทางที่เป็นประโยชน์สุขให้กับเขา เขาอาจจะมีความสุข สบายยินดีมากกว่าที่อยู่กับเรา ความคับแค้น อัดอั้น เสียใจนั้นๆจะได้ไม่เกิดกับเขาอีกต่อไป เมื่อเขาได้เลือกที่จะไปแล้วก็ขอให้เขาอย่าพบเจอกับความโศรกเศร้า เสียใจ หรือ คับแค้นกายและใจอีกเลย ขอให้เขาได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีงาม เป็นผู้ไม่ผูกจองเวรใคร เป็นผู้ไม่พยาบาทเบียดเบียนใครและปราศจากผู้ที่จะมาผูกเวรพยาบาทในเขา ขอให้เขาเป็นผู้มีปกติสุขยินดี มีจิตใจผ่องใสไม่เศร้ามัวใจ ไม่หมองมัวใจ ไม่ขุ่นมัวขัดเคืองใจ ปราศจากทุกข์ภัย-ขอให้โรคภัยทั้งหลายอย่าได้มากล้ำกลาย และได้หลุดพ้นจากทุกข์ทางกายและใจทั้งหลาย

3.2 กรณีที่ประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจยินดี เช่น มีคนไม่ชอบใจเรา ไม่พอใจยินดีเรา หรือ เกลียดเรา แล้วคอยที่จะกลั่นแกล้ง บีบคั้น ด่าทอ ล่วงเกิน ใส่ร้าย-ทำร้าย ทำให้เราเกิดความคับแค้นใจ เสียใจ ทุกข์ ทรมานไปทั้งกายและใจ ทำให้เราต้องโศรกเศร้า เสียใจ ร่ำไร รำพัน หรือ เมื่อเราอยู่ด้วยแล้วไม่มีความสุข ไม่มีความยินดีเลย
3.2.1 เวลาที่เราจะแผ่เมตตาจิตให้แก่บุคคลที่ทำให้เราประสบพบเจอกับสภาพความรู้สึกเช่นนี้ ให้เราเจริญพิจารณามองว่า เขาเหล่านั้นเป็นบุคคลผู้น่าสงสาร เป็นบุคคลไม่มีปกติสุข มีความขุ่นมัวใจ ขัดข้องติดเคืองในใจอยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถคงอยู่แบบปกติสุขได้ จึงต้องคอย คิด-พูด-ทำ ที่เป็นความฟุ้งซ่าน พร่ำเพ้อ เพ้อเจ้อ  ใส่ร้าย ทำร้าย เบียดเบียนผู้อื่นอยู่เสมอๆ เพื่อให้ตนเองได้พ้นจากความทุกข์ที่ อัดอั้น ฝืดเคือง ขัดข้อง ขุ่นมัว คับแค้น ที่มีมากจนฝังลึกอยู่ในใจเขานั้น
3.2.2 ลองนึกย้อนกลับดูว่าเวลาที่เรานั้นเกลียดใคร ไม่พอใจใคร แล้วใจเรามีความผูกจองเวรจองกรรม อาฆาต พยาบาท เบียดเบียนเขา ต้องการจะกลั่นแกล้ง บีบคั้น อยากทำร้ายเขา เพราะเราไม่ชอบใจ ไม่พอใจยินดีในตัวเขา สภาพจิตใจเราในขณะนั้นจะขุ่นเคืองใจ ขัดข้องใจ หมองมัวใจ มุ่งทะยานคอยคิดหาหนทางกลั่นแกล้ง บีบคั้น ทำร้ายเขาเสมอ มีความเดือดร้อนใจกลัวเขาได้ดีมีสุข ไม่มีความเย็นใจ มีความขุ่นเคืองหมองมัวใจอยู่ตลอดเวลา  ไม่มีความปกติสุขของจิตแบบคนทั่วไปที่อยู่โดยไม่คิดผูกจองเวร หรือ กระทำเพื่อเบียดเบียน อาฆาต พยาบาท ทำร้ายใคร
3.2.3 ให้ตั้งจิตด้วยใจปารถนาให้เขาทั้งหลายเหล่านั้นได้มีชีวิตเป็นปกติสุข มีจิตใจสงบ-ผ่องใส
3.2.4 ตั้งจิตเจริญอยู๋ในความเอื้อเฟื้อ อนุเคราะห์ อุปการระ แบ่งปัน มอบให้เขาทั้งหลายเหล่านั้นมีจิตที่สุขสว่าง สดใส ได้หลุดพ้นจากความอัดอั้น-คับแค้น-ขัดเคือง-ขุ่นข้อง-มัวหมอง ร้อนรุ่ม-ร้อนรนทั้งกายและใจ ให้ความมีใจผูกจองเวร อาฆาต พยาบาท เบียดเบียดทำร้ายใครๆทั้งหลายเหล่านี้ของเขาได้สูญสลายหายไปจากจิตใจของเขา เพื่อเขาทั้งหลายเหล่านั้นได้หลุดพ้นจากทุกข์ที่เป็นอยู่ มีจิตใจที่แจ่มใสเป็นที่รักใคร่แก่ผู้อื่น ปราศจากทุกข์ภัย-ขอให้โรคภัยทั้งหลายอย่าได้มากล้ำกลาย และได้หลุดพ้นจากทุกข์ทางกายและใจทั้งหลาย


- จะเห็นได้ว่าแนวทางที่ผมกล่าวมาทั้งหมด จะเว้นซึ่งการสนองความปารถนาแก่ตน เว้นซึ่งจิตที่คิดหวังผลให้สิ่งนั้นๆย้อนหรือส่งผลคืนแก่ตนด้วยความติดใจใคร่ได้เพลิดเพลินยินดีของเรา แต่เป็นความปารถนาดีที่จะให้ผู้อื่นด้วยใจ ด้วยเห็นว่าเขาทุกข์ร้อนอยู่ หรือ ปารถนาให้เขาเป็นสุขด้วยสภาพจิตที่ปารถนาดี ไร้ความขุ่นมัวใจ มีแต่ความสงบผ่องใสซึ่งเป็นปกติสุขในการปารถนาที่จะให้
- ลองเจริญและปฏิบัติดูครับอาจจะเป็นแนวทางเบื้องต้นที่จะช่วยให้เราแยกออกระหว่างความเป็น กุศลจิต และ อกุศลจิต พร้อมกับแยก โลภะ กับ เมตตา ออกจากกันได้ และ "ที่สำคัญที่สุดคือ ทำให้เราสามารถเข้าสมาธิจิตได้ง่าย มีความสงบ ผ่องใส เบาบางไม่ขุ่นมัว"
- เรื่องนิมิต-มโนภาพที่กล่าวมาในตอนต้นนั้น ไม่ใช่เรื่องที่ผมจะเอายกขึ้นมาเพื่ออวดตน หรือ อวดธรรมที่มีในตน ผมเป็นเพียงผู้ไม่รู้ เป็นแค่เศษส่วนเล็กๆของเศษผงเท่านั้น "ที่บอกว่าผมเห็นนี้ผมเห็นจริง แต่ว่าสิ่งที่ผมเห็นอาจจะไม่จริง" แต่ที่ยกขึ้นมาเพราะอยากในเป็นแนวทางให้ผู้เห็นมโนภาพ หรือ นิมิตทั้งหลายว่าไม่ตวรยึดติดจนเอามาตั้งเป็นอุปาทานให้แก่ตน ครูบาอาจารย์ทั้งหลายท่านจะสอนเราว่าควรใช้ปัญญาพิจารณาในนิมิต-มโนภาพที่จิตเราสร้างขึ้นมาให้เห็น เพราะมันมีทั้งจริงและอุปาทาน ดังนั้นเราจึงควรพิจารณาด้วยปัญญาลงสู่ความจริงที่รู้ว่านั่นเป็นเพียงมโนภาพที่สร้างขึ้นมาตามสภาพของความเป็นธรรมชาติของจิตที่รู้คิด รู้ปรุง รู้สร้างเรื่องราว จนเกิดเป็นความพอใจยินดี และ ต้องการ จนกลายเป็นภาพต่างๆที่เห็น จนถึงแก่รู้ในสภาพปรมัตถ์ในขณะจิตนั้น หากติดอยู่ในนิมิต-มโนภาพใดๆเราก็จะเกิดความหลงตนและจิตฟุ้งซ่านได้ง่ายครับ


ดูวิธีและสภาพจิตในการเจริญปฏิบัติเบื้องต้นใน พรหมวิหาร ๔ เพิ่มเติมตาม Link นี้ครับ
ในห้วข้อที่ ๔. ระลึกรู้ปฏิบัติทำใน พรหมวิหาร ๔ คือ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7456.0
36  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / อาศัยตัณหาเพื่อละตัณหา (ฉันทะ) เมื่อ: มิถุนายน 28, 2012, 04:52:05 pm
                            พราหมณสูตร
                    ว่าด้วยปฏิปทาเพื่อละฉันทะ

[๑๑๖๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี
ครั้งนั้น อุณณาภพราหมณ์เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอานนท์ว่า

[๑๑๖๓] ดูกรท่านอานนท์ ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดม เพื่อประโยชน์
อะไร?
ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดูกรพราหมณ์ เราประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อละ
ฉันทะ.
[๑๑๖๔] อุณ. ดูกรท่านอานนท์ ก็มรรคา ปฏิปทา เพื่อละฉันทะนั้น มีอยู่หรือ?
อา. มีอยู่ พราหมณ์.
[๑๑๖๕] อุณ. ดูกรท่านอานนท์ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน?
อา. ดูกรพราหมณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยฉันท-
*สมาธิและปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิริยสมาธิ ... จิตตสมาธิ ... วิมังสาสมาธิ
และปธานสังขาร นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อละฉันทะนั้น.
[๑๑๖๖] อุณ. ดูกรท่านอานนท์ เมื่อเป็นเช่นนั้น ฉันทะนั้นยังมีอยู่ ไม่ใช่ไม่มี
บุคคลจักละฉันทะด้วยฉันทะนั่นเอง ข้อนี้มิใช่ฐานะที่มีได้.
อา. ดูกรพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น เราจะย้อนถามท่านในเรื่องนี้ ท่านเห็นควรอย่างไร
พึงแก้อย่างนั้นเถิด.
[๑๑๖๗] ดูกรพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? ในเบื้องต้นท่านได้มี
ความพอใจว่า จักไปอาราม เมื่อท่านไปถึงอารามแล้ว ความพอใจที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไปมิใช่
หรือ?
อุณ. อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ.
อา. ในเบื้องต้น ท่านได้มีความเพียรว่า จักไปอาราม เมื่อท่านไปถึงอารามแล้ว
ความเพียรที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไปมิใช่หรือ?
อุณ. อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ.
อา. ในเบื้องต้น ท่านได้มีความคิดว่า จักไปอาราม เมื่อท่านไปถึงอารามแล้ว ความ
คิดที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไปมิใช่หรือ?
อุณ. อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ.
อา. ในเบื้องต้น ท่านได้ตริตรองพิจารณาว่า จักไปอาราม เมื่อท่านไปถึงอารามแล้ว
ความตริตรองพิจารณาที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไปมิใช่หรือ?
อุณ. อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ.
[๑๑๖๘] อา. ดูกรพราหมณ์ อย่างนั้นเหมือนกัน ภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนถึงแล้วโดย
ลำดับ สิ้นสังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้น ในเบื้องต้นก็มี
ความพอใจเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุแล้ว ความพอใจที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไป ในเบื้องต้นก็มี
ความเพียรเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุแล้ว ความเพียรที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไป ในเบื้องต้นก็มี
ความคิดเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุแล้ว ความคิดที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไป ในเบื้องต้นก็มีความ
ตริตรองพิจารณาเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุแล้ว ความตริตรองพิจารณาที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไป.
[๑๑๖๙] ดูกรพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? เมื่อเป็นเช่นนั้น ความ
พอใจนั้นยังมีอยู่หรือว่าไม่มี?
อุณ. ข้าแต่ท่านอานนท์ เมื่อเป็นเช่นนั้น ความพอใจก็มีอยู่โดยแท้ ไม่มีหามิได้
ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้ง
นัก ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ท่านประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น
ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านพระโคดมกับทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระอานนท์จงจำ
ข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะจนตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.


                            จบ สูตรที่ ๕


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๖๗๙๖ - ๖๘๔๓. หน้าที่ ๒๘๓ - ๒๘๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=6796&Z=6843&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1162
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๙
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_19
37  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / วิธีการเบื้องต้นที่ใช้พิจารณาระลึกรู้ใน ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อ: เมษายน 30, 2012, 01:39:38 pm
ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด

บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง วิธีการเบื้องต้นที่ใช้พิจารณาระลึกรู้ใน ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้


การที่เราเริ่มศึกษาสมาธิ แบ่งเป็น ๓ ประเภทดังนี้คือ

๑. บุคคลผู้สนใจอยากศึกษาเรียนรู้ธรรมนำมาใช้กับชีวิต
๒. บุคคลผุ้สนใจอยากศึกษาธรรมเนื่องจากมีความทุกข์มากแล้วอยากให้ทุกข์เบาบางลง
๓. บุคคลผู้สนใจศึกษาธรรมเพื่อจะทำให้ถึงที่สุดแห่งกองทุกข์

บุคคลทั้ง ๓ ประเภทนี้ ล้วนต้องเริ่มจากการที่ใจต้องยอมรับในธรรมจริง และ ศรัทธาจริงๆก่อน จากนั้นต้องพยายามที่จะทิ้งสิ่งต่างๆไว้เบื้องหลังก่อน เพื่อที่จะเปืดใจยอมรับสิ่งใหม่ๆเข้ามา เพราะว่าหากยังตั้งมั่นใจจุดที่ตนเป็นอยู่ ไม่ว่า รัก โลภ โกรธ หลง เวทนา จิต ธรรม มันก็จะเต็มไม่สามารถรับรู้ใดๆได้อีก ยกตัวอย่าง หากเรารินน้ำไว้เต็มแก้ว เมื่อรินมาอีกน้ำย่อมล้นหกกระจายไปทั่ว แต่หากว่าน้ำที่เต็มแก้วอยู่นั้นเรากินไปแล้วครึ่งแก้วเหลือครึ่งแก้ว เราก็ยังสามารถรินเพิ่มให้เต็มแก้วได้ใหม่อีกโดยที่น้ำไม่หกกระเซ็นเลอะเทอะ
เมื่อทำได้อย่างข้างต้นแล้วให้น้อมรับเอาพระธรรมคำสอนต่างๆเอามาพิจารณาในตน ว่าธรรมนั้นมีส่วนใดบ้างที่ใช้ได้กับเราแล้วก็จะเริญควบคู่กันไปกับความรู้เดิมที่ใช้ได้กับเรามันจะทำให้เรามีทางเลือกในการศึกษาเพิ่มขึ้น จนถึงเมื่อจุดๆหนึ่งที่เราจับจุดที่เข้ากับจริตเราได้แท้จริงแล้วก็ให้เพียรภาวนา กัมมัฏฐานไป แต่ก็ยังต้องเรียนรู้เพิ่มเติมไปเรื่อยๆ
         โดยอย่าคิดหวังว่าจะบรรลุในวินาทีนี้ เพราะเราไม่ทราบว่าเราสะสมมาพอแล้วหรือยัง ดังนี้นจึงต้องค่อยๆเป็นไป อย่าคิดหวังว่าอยากมีญาณ มีฌาณ อย่ามุ่งหวังเพื่ออิทธิฤทธิ์ เพราะสิ่งเหล่านี้จะกระทำให้คุณเกิดความสำคัญมั่นหมาย เกิดเป็นความทะยานอยาก หลงตนไป
         เมื่อกระทำได้อย่างเบื้องต้นแล้วนั้นให้พิจารณาถึงความจริง 4 ประการ คือ อริยะสัจ 4 โดยพิจารณาดังนี้

1. พิจารณาทุกข์เป็นเบื้องต้น พิจารณาว่า "ผล คือ ทุกข์ มันเป็นเช่นไร" ความโศรกเศร้าร่ำไรรำพัน ความคับแค้นกายใจ ไม่สบายกายใจ ความเจ็บป่วยไข้ทั้งหลายเหล่านี้มันคืออะไร ความไม่สมปารถนามันเป็นยังไง ความผิดหวังเป็นยังไง ความพรัดพรากจากสิ่งที่รักที่พอใจ หรือความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจมันเป็นเช่นไร
         เมื่อรู้ว่าทุกข์เป็นยังไงแล้ว ก็ให้เราเริ่มพิจารณาว่า เมื่อเราประสบเหตุการณ์ หรือ เกิดเสพย์อารมณ์ความรู้สึกใน รัก โลภ โกรธ หลง มันส่งต่อไปเป็นตัณหาอย่างไร เช่น อยากได้ อยากมี อยากเป็น หรือ อยากที่จะไม่พบ-ไม่เจอ อยากที่จะไม่ให้มันเกิดกับ หรือ อยากกำหนัดใคร่ได้ พอใจยินดี อยากปารถนาที่จะเสพย์ สืบต่อมาให้เรามีความสภาพจิตรู้สึกทุกข์อย่างไร จากนั้นจำแนกความทุกข์ในแต่ละอย่างตามเวทนาอารมณ์นั้นๆที่ประสบพบเจอว่ามันอัดอั้น มันทะยาน มันคับแค้น มีบีบใจ มันกรีดใจ หรือ มันใจหล่นหวิว ฯลฯ

2. พิจารณาหาเหตุปัจจัยแห่งทุกข์นั้นๆ คือเมื่อเราจำแนกความทุกข์ในแต่ละอย่างตามเวทนาอารมณ์นั้นๆที่ประสบพบเจอได้แล้วนั้น ให้เรามองลงอย่างละเอียดอ่อนถึงความเป็นไปของทุกข์นั้นๆ เพื่อหาเหตุปัจจัยของทุกข์ที่เกิดกับเราดังนี้

         ๒.๑ เริ่มจากผลลัทธ์ของมัน นั่นก็คือ ความทุกข์ที่เราเป็นอยู่นั้นเอง เช่น ขณะนี้กำลังเสียใจ โศรกเศร้าร่ำไรรำพัน คับแค้นกาย-ใจ กรีดใจ หวีดทะยานยาก เกลียดแค้น พยาบาท หรือ เกิดสิ่งใดๆอยู่

         ๒.๒ จากนั้นมองถอยออกไปที่ละก้าว เริ่มจากพิจารณาหา "ตัวประกอบที่ช่วยให้มันดำเนินการออกมาเป็นผล"
                 ยกตัวอย่างเช่น
                 เมื่อมีคนมาด่าเรา พูดไม่ดีกับเรา มาใส่ร้ายด่าว่าเราเป็นต้น เราเกิดสติรู้อยู่ในใจว่าขณะนี้กำลังทุกข์ใจ รู้สึกว่าสภาพกายและจิตมีความรู้สึกกรีดสั่นปะทุใจ อึดอัดใจ ขุ่นข้องขัดเคืองใจ อัดอั้นคับแค้นกาย-ใจ กายสั่น ลมหายใจแสบร้อนเป็นต้น ตัวดำเนินไปในทุกข์นั้นคือสิ่งใด ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ไม่ใคร่ได้ยินดี สิ่งนี้ใช่ไหมที่ทำให้เกิดความคับแค้นกาย-ใจ ถ้าพิจารณาลงแล้วจะเห็นว่าตัวประกอบที่ช่วยให้เกิดเป็นทุกข์ คือตัวนี้ นั่นคือ "วิภวะตัณหา" นั่นเอง

         ๒.๓ เมื่อรู้ตัวประกอบช่วยดำเนินการให้เป็นผลแล้ว ให้เราถอยออกไปอีก 1 ก้าว มองดูว่ามีสิ่งใดที่เป็น "ตัวปรุงแต้มแต่งเติม" มันขึ้นมา ให้เกิดสืบต่อเป็น "ตัวประกอบที่ช่วยให้มันดำเนินการออกมาเป็นผล"
                 ยกตัวอย่างเช่น
                 เมื่อเรารู้ว่าวิภวะตัณหานั้นเองที่เป็น ตัวประกอบที่ช่วยให้เกิดเป็นทุกข์ในครั้งนี้ ก็ให้เราถอยออกพิจารณาว่าเพราะมีสิ่งใดที่ปรุงแต่งจิตเกิดขึ้นกับเรา จึงทำให้เราเกิดเป็น วิภวะตัณหา เช่น เรานั้นกำลังประสบสิ่งใดอยู่
                 พิจารณาดังนี้ คือ ที่เราทุกข์ใจ จากการเกิดวิภวะตัณหานี้เพราะว่าเราได้ประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจทั้งหลาย ซึ่งสิ่งนี้จะมีเกิดแก่เราได้ เพราะเรามีความตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง เกิดประกอบกับความรัก โลภ โกรธ หลงนั้นเอง ทีนี้ทวนพิจารณาดูว่า เมื่อมีคนมาด่าว่าเรา พูดไม่ดีกับเรา จิตเราเกิดวิภวะตัณหาจากความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจ ซึ่งความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็เพราะมาจากความตรึกนึกคิดที่เกิดประกอบกับความ รัก โลภ โกรธ หลง ถ้าพิจารณาลงแล้วจะเห็นว่าเพราะ "ความนึกคิดที่เป็นอกุศลจิตทั้งหลาย" นี่เองที่ทำให้เกิด ตัณหา และ ความทุกข์

         ๒.๓ เมื่อรู้ตัวการปรุงแต้มแต่งเติมแล้ว ก็ให้เราถอยออกไปอีก 1 ก้าว เพื่อมองดูว่ามีสิ่งใดที่เป็น "ตัวสาเหตุเบื้องต้นที่ทำให้มันเกิดตัวการปรุงแต้มแต่งเติม"
                 ยกตัวอย่างเช่น
                 พิจารณาดังนี้  คือ  ที่เรามีทุกข์เพราะมีตัณหา // มีตัณหาเพราะความนึกคิดที่เป็นอกุศลจิต // นึกคิดในอกุศลได้...เราก้อต้องมีสิ่งที่เราตั้งความสำคัญมั่นหมายเอาไว้ในใจเป็นแน่แท้ ว่าสิ่งใดที่เราถูกใจที่เราต้องการอยากได้ หรือ สิ่งใดที่เราไม่ถูกใจ สิ่งใดที่ขัดเคืองใจเราที่เราไม่ต้องการอยากได้(ความสำคัญมั่นหมายไว้ในใจ คือ ความจำได้จำไว้มั่นหมายตั้งความสำคัญกับสิ่งต่างๆเอาไว้ในใจ ที่เราเรียกว่า "สัญญา" นั่นเอง) ทีนี้ลองมาทวนพิจารณาดูดังนี้ว่า เมื่อมีคนมาด่าว่าเรา พูดไม่ดีกับเรา จิตเราเกิดวิภวะตัณหา เพราะมีความตรึกนึกคิดที่เป็นอกุศลจิต ที่ตรึกนึกคิดเพราะใจมีความสำคัญสำคัญมั่นหมายกับสิ่งนั้นๆ  ถ้าพิจารณาลงแล้วจะเห็นว่าเพราะ "ความสำคัญมั่นหมายของใจ" นี่เองที่ทำให้เกิดความนึกคิดเป็นถูกใจ ไม่ถูกใจ ก่อเกิดเป็น ตัณหา และ ความทุกข์

         ๒.๔ เมื่อรู้ "สาเหตุเบื้องต้นทำให้มันเกิดตัวการปรุงแต้มแต่งเติม" แล้ว ให้ถอยออกมาอีกก้าวเพื่อพิจารณาหา "ตัวแก่นแท้ของเหตุแห่งทุกข์นั้น" ตัวนี้ล่ะที่เขาเรียกกันว่า "สมุทัย คือ แหตุแห่งทุกข์"
                 ยกตัวอย่างเช่น
                 พิจารณาดังนี้ คือ ที่เรามีทุกข์เพราะมีตัณหา // มีตัณหาเพราะความนึกคิดที่เป็นอกุศลจิต // นึกคิดในอกุศลได้เพราะเรามีความสำคัญมั่นหมายเอาไว้ในใจ // ความสำคัญมั่นหมายของใจจะเกิดขึ้นได้นั้น สภาพจิตเราก็ต้องเคยได้รับรู้สิ่งต่างๆเหล่านั้นมาก่อน แล้วเสพย์เสวยความรู้สึกพอใจยินดี(โสมนัส) หรือ มีความไม่พอใจยินดี(โทมนัส) แก่สิ่งนั้นๆ // เพราะมีเหตุอยู่ที่ความโสมนัสและโทมนัสเช่นนี้นี่เอง จึงเกิดสัญญาสำคัญมั่นหมายไว้แก่ใจ // จึงสืบต่อมาเป็นความตรึกนึกคิดในอกุศลจิตสืบต่อมาเป็นตัณหา // เมื่อตัณหาเกิดทุกข์ก็เกิดตาม ถ้าพิจารณาลงแล้วจะเห็นว่าเพราะ "เรามีความพอใจยินดี และ ไม่พอใจยินดี" นี่เองที่เป็นสมุทัย หรือ เหตุแห่งทุกข์

3. หนทางแห่งการดับทุกข์ เมื่อหากเราพิจารณาเห็นถึงเหตุแห่งกองทุกข์นั้นแล้ว ณ เวลานั้นเราจักประจักษ์เห็นทางออก หรือ เห็นทางแห่งการดับทุกข์ คือ มรรค ทางแห่งมรรคที่เห็นเป็นเบื้องต้นนั้นเริ่มแรกจะมีมากมายหลายทาง แต่จะมีแค่ทางเดียวที่ตรงกับการดับทุกข์ตามจริตของเรา ให้เราพิจารณาทีละทางแล้วเมื่อเห็นก็ให้เริ่มปฏิบัติ แม้มันต้องใช้ความพยายามตั้งมั่นมากก็ให้ค่อยเพียรทำไป แล้วจะเห็นทางที่ดับทุกข์ของเราที่ใช้ได้จริงเอง เมื่อทางไหนปฏิบัติแล้วดับได้จริงให้เพียรพิจารณามีสติระลึกรู้เสมอว่าทางนี้ดับได้จริงเมื่อมันเกิดขึ้นอีกก็ให้ใช้ทางนั้นดับ แต่ถ้าหากดับไม่ได้ก็แสดงว่าชั่วขณะจิตนั้นจริตเราได้เปลี่ยนแปรไปก็ให้พิจารณาตามลำดับขั้นใหม่อีกจนเห็นทางดับทุกข์ที่ใช้ได้
         "วรรคสุดท้ายของมรรคแล้วนั้นหัวใจหลักอยู่ที่ กาย วาจา ใจ ชอบ คงอยู่แห่งความเป็นกุศล และจุดที่เป็นศูนย์รวมของ กาย วาจา ใจ นั้นก็คือ สติ ในมรรคนั้นคือ สัมมาสติ ความระลึกชอบ (สติปัฏฐานสูตร) นั่นเอง"

4. ความดับทุกข์ นั่นก็คือ ความสุขที่ได้รับจากการดับทุกข์เหล่านั้นแล้ว ความสุขนี้นั้นแค่เรามองเห็นทางดับทุกข์ในเริ่มแรกทั้งที่ยังไม่ได้กระทำปฏิบัติ เราก็สามารถเห็นได้ในอุดมคติ โดยเป็นมโนจิตที่เรานึกเห็นปรุงเห็นก่อนแต่ยังไม่ได้เป็นจริง จะเป็นจริงก็ต่อเมื่อเราสามารถปฏิบัติและดับทุกข์นั้นได้แล้วจึงจะได้พบความสุขที่แท้จริงนี้ ตัวนี้เป็นผลมาจากการปฏิบัติมรรคเพื่อพ้นทุกข์
38  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / รู้เหตุ รู้ทุกข์ รู้ธรรม รู้ทำ ทุกข์ก็เบาบาง.rtf เมื่อ: เมษายน 30, 2012, 10:23:54 am
ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม


การบัดนี้กระผมจักขออนุญาต แสดงบทความธรรมะอันที่ผมได้เห็นจริงแล้วตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสมณะโคดมมหามุนีพุทธเจ้า ได้ทรงตรัสแสดงไว้ดีแล้วถูกต้องแล้ว งดงามแล้ว ที่ผมได้เรียนรู้ปฏิบัติพร้อมได้เห็นได้เข้าใจในสภาพความคิดของตนเอง ซึ้งเป็นอันที่ผมกระทำ-ปฏิบัติแล้ว ทำให้ทุกข์ของผมเบาบางลงได้ จึงใคร่ขออนุญาตพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทั้งหลาย และ พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย แสดงบทความธรรมะบอกกล่าวข้อธรรมอันที่ผมรู้-เห็นในทั้งสภาพความคิดบัญญัติในสมถะและปรมัตถธรรม ในข้อธรรมแห่ง "การปฏิบัติให้ความทุกข์เบาบางลงในรูปแบบของ อริยสัจ ๔ เบื้องต้นในสภาพความคิด" ดังต่อไปนี้

๑. ทุกข์
ทุกข์นั้น ฟังๆดูแล้วก็คงไม่มีใครอยากประสบพบเจอ เพราะคนธรรมดาอย่างเราๆทุกคนนั้นย่อมอยากจะได้รับผลคือความสุขกาย สบายใจ สมหวัง ทั้งหลายทั้งปวง
ทุกนั้นว่าโดยความเข้าใจที่สามารถเห็นและรู้สึกได้ของเราทั้งหลายนั้นมีดังนี้
๑.๑ ความโศรกเศร้า ร่ำไร รำพัน ความอึดอัด อัดอั้น คับแค้น กาย-ใจ ความไม่สบายกาย-ใจทั้งหลายนี้เป็นทุกข์
๑.๒ ทุกข์เพราะไม่สมดังความปารถนาตั้งใจ ใคร่ได้ ต้องการ
๑.๓ ทุกข์เพราะความพรัดพรากจากสิ่งอันเป็นรักที่พอใจยินดี สิ่งอันเป็นที่จำเริญใจทั้งหลาย
๑.๓ ทุกข์เพราะความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจทั้งหลาย
๑.๔ แม้สมหวังดังปารถนายินดี ใคร่ได้นั้นแล้ว มีความพอใจในสุข-สมหวังที่ได้รับ เมื่อความสุข-สมหวังนั้นๆตั้งอยู่ แต่ใจเราก็จะเป็นทุกข์กังวลใจเพราะ “กลัว” ที่จะเกิดความพรัดพราก ความประสบกับสิ่งที่ไม่รัก ไม่พอใจ ไม่ต้องการ ไม่อยากให้เป็น ให้ถึงวันนั้น ด้วยความกลัวจนเกิดทุกข์ใจอย่างหนัก

๒. สาเหตุ และ ตัวแปรหรือความแปรผันให้ความดำเนินไปของทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง (สมุทัย และ ปัจจัย)
สาเหตุและปัจจัยของทุกข์นั้นลำดับปัจจัยด้วยความเป็นเหตุเป็นผลที่พอจะอธิบายให้เข้าใจได้ดังนี้
๒.๑ เหตุทั้งหลายทั้งปวงเกิดมาจากความพอใจยินดีในสิ่งนั้นๆ เช่น พอใจยินดีในรูป รส กลิ่น เสียง การกระทบสัมผัส พอใจยินดีในการกระทำนั้นๆ รูปนั้นๆ เสียงนั้นๆ รสนั้นๆ กลิ่นนั้นๆ การได้รับความรู้สึกจากการกระทบสัมผัสนั้นๆ จากบุคคล หรือ สิ่งของต่างๆ เป็นต้น ความพอใจยินดีทั้งหลายเหล่านี้เรียกกันว่าตัณหา มีอยู่ 3 อย่างหลักๆที่เป็นข้อสำคัญคือ
   ๒.๑.๑ ภวตัณหา ความอยากมี อยากเป็น อยากพบ อยากเจอ อยากเห็น อยากได้ ดิ้นรนต้องการ พอใจ ยินดี ใคร่ได้ รวมไปถึงอยากได้ อยากเป็น อยากมี อย่างคนโน้น-คนนี้(ความอิจฉา) เช่น อยากให้คนรัก อยากให้คนชื่นชม อยากรวย ความคิดให้อยากให้คงอยู่เที่ยงแท้จีรัง หรือ ความเห็นว่าเที่ยง(สัสสตทิฏฐิ) คือความเห็นว่า อัตตาและโลก เป็นสิ่งเที่ยงแท้ยั่งยืน คงอยู่ตลอดไป เช่น เห็นว่าคนและสัตว์ตายไปแล้ว ร่างกายเท่านั้นทรุดโทรมไป ส่วนดวงชีพหรือเจตภูตหรือมนัสเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่นสืบไปไม่รู้จบ ไม่อาจหลุดพ้นได้ เป็นต้น
   ๒.๑.๒ วิภวะตัณหา ความอยากที่จะไม่ให้ตนเองได้พานพบเจอกับสิ่งที่ตนไม่ชอบ ไม่ต้องการ ไม่ใคร่ได้ ไม่ยินดี ดิ้นรนอยากจะผลักหนีให้ไกลตน อยากพรากพ้นดับสูญไปเสีย เช่น ไม่อยากพรัดพรากจากบุคคล-สัตว์-สิ่งของที่รัก ไม่อยากผิดหวัง ไม่อยากให้คนด่า ความไม่อยากมี ไม่อยากได้  ความคิดอยากให้ดับสูญไป หรือ ความทะยานที่ประกอบด้วยความเห็นว่าขาดสูญ(อุจเฉททิฏฐิ) เช่น เห็นว่าคนและสัตว์จุติจากอัตภาพนี้ แล้วขาดสูญ เป็นต้น
   ๒.๑.๓ กามตัณหา ความพอใจยินดี ดิ้นรนอยากได้อารมณ์ที่น่าใคร่ปารถนา ความกำหนัดใคร่ได้ ทะยานอยากในกาม อยากได้อารมณ์อันน่ารักใคร่ หรือ ความคิดทะยานอยากปารถนาใคร่ได้ที่เสพย์ในสิ่งนั้นๆที่พอใจยินดีต้องการ
๒.๒ เมื่อเรามีความพอใจยินดีทั้งหลายเกิดขึ้นแก่ใจเรานั้น เราก็ย่อมเกิดความสำคัญมั่นหมายเอาไว้ในใจ ว่าสิ่งนี้แหละที่เราชอบ ที่อยากได้ ที่ต้องการปารถนา
๒.๓ เมื่อมีความสำคัญมั่นหมายไว้ในใจก็ก่อเกิดเป็นความตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง ก่อเกิดประกอบกับความปารถนาพอใจ ยินดีใคร่ได้ กำหนัด ทะยานอยาก ต้องการ ความหลง ฟุ้ง ไม่รู้จักหยุด ไม่รู้จักพอ ไม่รู้ประมาณตน ความไม่ชอบ ไม่พอใจยินดี  ความไม่อยากได้ ต้องการอยากจะผลักหนีให้ไกลตน ตามความสำคัญมั่นหมายนั้นๆของใจเรา ยิ่งพอใจมาก ก็ยิ่งสำคัญมั่นหมายในใจมาก ก็ยิ่งตรึกนึกถึงมาก ต้องการมาก ก็คือ รัก โลภ โกรธ หลง นั่นเอง
๒.๔ เมื่อเราไม่ได้ตามที่หวังปารถนา ใคร่ได้ ตามที่พอใจยินดี ไม่ประสบพบเจอดั่งที่หวังตั้งใจ พอใจ ยินดี ก้อเกิดตัวแปรที่เป็นปัจจัยให้ก่อเกิดไปเป็นผลแห่งทุกข์ดังนี้คือ
   ๒.๔.๑ ความไม่สมดังปารถนาตั้งใจ ใคร่ได้ ต้องการ
   ๒.๔.๒ ความพรัดพรากจากสิ่งอันเป็นรักที่พอใจยินดี สิ่งอันเป็นที่จำเริญใจทั้งหลาย
   ๒.๔.๓ ความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจทั้งหลาย
สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความทุกข์ คือ ความโศรกเศร้า ร่ำไร รำพัน ความอึดอัด อัดอั้น คับแค้น กาย-ใจ ความไม่สบายกาย-ใจทั้งหลายนี้เป็นทุกข์ เช่น
-  เราพอใจยินดีที่จะให้คนอื่นพูดเพราะๆกับเรา แต่เมื่อเจอเขาพูดคำหยาบ พูดไม่เพราะดั่งใจ ก็ก่อเกิดเป็นความโกรธ ไม่พอใจยินดี เป็นการประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจแก่เรา ผล คือ ทุกข์
- เราพอใจยินดีกับคนที่เป็นคู่รักของเรา ไม่ว่าจะเป็นหน้าตารูปร่าง ท่าทาง นิสัยใจคอ กลิ่น เสียง การสัมผัส เมื่อเขาทิ้งเราไป ไม่ว่าด้วยความตาย หรือจากลาไปหาคนอื่น ก็ก่อเกิดเป็นความพรัดพรากแก่เรา ผล คือ ทุกข์
- เราพอใจยินดีหวังปารถนาอยากจะได้บ้าน รถ เงิน ทอง เพื่อน อยากให้คนยอมรับเรา อยากอยู่จุดสูงสุด อยากอยู่สุขสบาย แต่เมื่อไม่เป็นไปตามที่หวังปารถนาไว้ ก็ก่อเกิดเป็นการประสบกับความไม่เป็นไป-ไม่สมดั่งหวังปารถนาพอใจ ยินดีใคร่ได้แก่เรา ผล คือ ทุกข์
 ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า คนเราจะเกิดความทุกข์ ความเสียใจ ทรมานกาย-ใจ อึดอัด คับแค้นกาย-ใจ ฯ ได้นั้นสาเหตุก็เพราะใจเรามีความพอใจยินดีตั้งมั่นไว้ในใจ จนสำคัญมั่นหมายสิ่งต่างๆนั้นไว้ในใจ ไม่ว่าจะโกรธตะโกนโวยวาย ด่า ที่ทำก็เพราะพอใจอยากจะโกรธ จะด่าโวยวาย / รักก็เพราะพอใจอยากจะรัก / กำหนัดในกามก็เพราะติดพอใจในกาม

วิธีพิจารณาหาเหตุและปัจจัยของทุกข์เบื้องต้น ดูได้ตาม Link นี้ครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7457.0
39  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / วิธีการเข้าถึงอุเบกขาจิต เมื่อ: เมษายน 30, 2012, 10:06:57 am
ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด

บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง วิธีการเข้าสู่อุเบกขาจิต ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้


อุเบกขาจิต มี ๒ แบบดังนี้
อุเบกขาจิตที่เป็นกุศล    คือ จะมีสภาพจิตมีใจกลางๆ ไม่ยินดี ยินร้าย เฉยๆ แต่มีความสงบ อบอุ่น ไม่ติดข้องใจใดๆ
อุเบกขาจิตที่เป็นอกุศล  คือ จะมีสภาพจิตที่เลื่อนลอย ไม่สุข ไม่ทุกข์ ไม่ยินดี ยินร้าย ไม่เกิดเพื่อความเป็นกุศลจิตหรือสติ อยู่ด้วยโมหะเป็นใหญ่
ส่วนอุเบกขาใน พรหมวิหาร๔ สภาพจิตจะนิ่ง สงบ อบอุ่น ไม่ติดข้องใจใดๆ มีความวางใจเป็นกลาง ไม่มีโลภะ ไม่มีโทสะ มีสภาพจิตที่ไม่ขุ่นเคืองใจ ไม่ขุ่นมัวใจ มีความผ่องใสของจิต ไม่หยิบจับเอาความพอใจยินดี ไม่พอใจยินดี


วงจรการเกิดขึ้นของตัณหาอุปาทาน

(อายตนะภายใน ๖ + อายตนะภายนอก ๖ + วิญญาณ) --> ผัสสะ --> ความรับรู้อารมณ์ --> ความพอใจยินดี & ความไม่พอใจยินดี --> ความสำคัญมั่นหมายของใจ(สัญญา) --> ตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง --> รัก โลภ โกรธ หลง --> ตัณหา --> อุปาทาน



เราจะละอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด เราก็ต้องละที่ตัณหาในสิ่งนั้น
เราจะละตัณหาความทะยานอยากในสิ่งใด เราก็ต้องละที่ความรัก โลภ โกรธ หลง ในสิ่งนั้น
เราจะละความรัก โลภ โกรธ หลง ในสิ่งใด เราก็ต้องละที่ความตรึกนึกคำนึงถึงในสิ่งนั้น
เราจะละความตรึกนึกคำถึงในสิ่งใด เราก็ต้องละที่ความสำคัญมั่นหมายของใจในสิ่งนั้น
เราจะละความสำคัญมั่นหมายของในใจสิ่งใด เราก็ต้องละที่ความพอใจยินดีหรือความไม่พอใจยินดีในสิ่งนั้น
เราจะละความพอใจยินดีและความไม่พอใจยินดีในสิ่งใด เราก็ต้องมีอุเบกขาจิต คือ ความมีใจกลางๆ มีความวางเฉย ไม่หยิบจับเอาความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีมาเสพย์เสวยอารมณ์ต่อสิ่งนั้น


วิธีเข้าถึงอุเบกขาจิตมี ๔ แบบ ที่ผมได้พบเจอตามจริงดังนี้คือ

๑. การลดหรือไม่ให้ความสำคัญมั่นหมายของใจต่อสิ่งนั้นๆ (ใช้ลดความสำคัญมั่นหมายของใจในสิ่งนั้นๆเพื่อเข้าสู่ใจกลางๆไม่ยินดียินร้ายกับสิ่งใดๆ เช่น ความกำหนัดใคร่ได้ ความใคร่ที่จะเสพย์อารมณ์ในกาม ความตั้งหวังปารถนายินดีใคร่ได้ เป็นต้น)
๒. การยอมรับความจริงที่เป็นสัจจะธรรม (ใช้วางใจกลางๆเมื่อจิตเราต้องการทะยานอยาก ปารถนาใคร่ได้ ที่เราอยากให้ บุคคล สิ่งของ เป็นไปดั่งที่ใจต้องการ ที่เราตั้งความพอใจยินดีไว้ เป็นต้น)
๓. การเลือกสิ่งที่ควรเสพย์ (ใช้วางใจกลางๆเมื่อจิตเราต้องการทะยานอยาก ปารถนาใคร่ได้อย่างแรงที่จะเสพย์สุขขากสิ่งนั้นๆ เช่น สุรา บุหรี่ กาม เป็นต้น)
๔. การเข้าถึงในสภาพปรมัตถ์ธรรม (รู้เห็นตามสภาพจริง ไม่มีตัวตน บุคคล สิ่งของ แยกขาด รูป-นาม หมดไปซึ่ง ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี)


ผมจะขออธิบายทั้ง ๔ ข้อดังต่อไปนี้

40  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / วิธีการปฏิบัติ และ พิจารณา ใน สมถะ-วิปัสนากัมมัฏฐาน (วิถี Admax) เมื่อ: เมษายน 26, 2012, 01:41:21 pm
ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด

บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง วิธีการปฏิบัติ และ พิจารณา ใน สมถะ-วิปัสนากัมมัฏฐาน ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้


ก. การเจริญสมาธิ (ตามวิถี Admax)

          การทำสมาธิตามแนววิถีทางของผมนั้น เริ่มต้นไม่ว่าท่านทั้งหลายจะเรียนรู้อะไรมา ถึงจะเรียนจบอภิธรรมครบจนหมด หรือ เรียนปริยัติจบเปรียญ ปธ. ๙ ก็ตามแต่ ให้ท่านทั้งหลายทิ้งความเป็นมหานั้นไปให้หมด (เพราะคนเรานั้น ยิ่งเรียนมามาก ยิ่งรู้มาก ยิ่งเอาความรู้ทั้งหลายมาคิดสับไปสับมาวุ่นวายไปหมดจน เกิดข้อสงสัยไม่เกิดความว่าง เกิดความติดข้องใจ ถกเถียงขึ้นในจิต ทำให้เป็นปัญหาแก่การทำสมาธิเป็นอย่างมาก) แล้วเริ่มปฏิบัติพิจารณาดังนี้

- เริ่มแรกในการเข้าสู่การกัมมัฏฐานนั้นให้เริ่มต้นดังต่อไปนี้
๑. ให้ตั้งจิตระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าที่มีคุณเป็นเอนกอนันต์ ที่ทรงสละทุกอย่างแสวงหาโมกขธรรมเพื่อเป็นทางแห่งการพ้นทุกข์แล้วเผยแพร่ให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์อันประเสริฐนั้น
๒. ให้ตั้งจิตระลึกถึงพระธรรมที่องค์ตถาคตนั้นได้ตรัสรู้มาโดยชอบแล้ว ดีแล้ว งดงามแล้ว ไพเราะแล้ว ทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด เป็นธรรมที่ประกอบไปด้วยประโยชน์เป็นอันมากให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมแห่งการพ้นทุกข์
๓. ให้ตั้งจิตระลึกถึงพระสงฆ์ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย ผู้ควรแก่การนอบน้อมอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลกได้สละแล้วซึ่งกิเลสทั้งหลาย และ ได้นำพระธรรมของพระตถาคตเจ้านั้นมาเผยแพร่และคงอยู่ให้เราได้ร่ำเรียนศึกษาจนเห็นทางพ้นทุกข์อันชอบนั้น
๔. ให้ตั้งจิตระลึกถึงคุณบิดา-มารดา และ บุพการีทั้งหลาย ที่ได้คลอด และ เลี้ยงดูเรามาจนเติบใหญ่สามารถเลี้ยงดูตนเองได้ เป็นผู้มีความเมตตา กรุณา มุทิตา แก่เรา เป็นผู้ให้ทานอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นแก่เรา เพื่อให้เราได้รับประโยชน์สุขด้วยใจที่ประเสริฐยิ่ง จนทำให้เราได้มารู้จักพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วในพระพุทธศาสนานี้เพื่อปฏิบัติตนให้พ้นจากกองทุกจ์ทั้งสิ้นนี้
๕. ให้ตั้งจิตระลึกถึงคุณของครูอุปัชฌา-อาจารย์ทั้งหลาย ที่ได้สั่งสอน อบรม ได้ชี้แนะแนวทาง และ พระธรรมในพระพุทธศาสนาอันประเสริฐ ประกอบไปด้วยประโยขน์นี้ให้เราให้เห็นทางอันดี ประเสริฐ และทางพ้นทุกข์ทั้งหลาย
๖. นั่งคุกเข่าตั้ง นโม 3 จบ แล้วสวดบทสวดมนต์ อรหังสัมมาฯ ว่าบัดนี้จักขอเข้าสู่กรรมฐานเพื่อปฏิบัติเจริญในพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า

๗. จากนั้นเริ่มปฏิบัติพระกัมมัฏฐานในอริยาบถต่างๆตามแต่จริตตนดังนี้

๗.๑ การเจริญสมาธิด้วยการยืน ให้เริ่มต้นจากการที่เราหลับตาสงบนิ่งเหมือนธรรมดาทั่วไปก่อน ไม่ต้องไปตรึกนึกเอาอภิธรรมใดๆเข้ามาพิจารณา ให้ระลึกรู้แค่เพียงลมหายใจเข้า-ออก โดย หายใจเข้ายาวๆระลึกบริกรรมในใจว่า "พุทธ" หายใจออกยาวๆระลึกบริกรรมในใจว่า "โธ" (จะระลึกรู้บริกรรมคำใดๆก็ได้ หรือจะไม่บริกรรมเลยแค่รู้ลมหายใจเข้า-ออกเฉยๆก็ได้) สักประมาณ 3-5 ครั้งแล้วลดหลั่วการหายใจเข้า-ออกเรื่อยๆจนเป็นการหายใจตามปกติ พิจารณารู้สัมผัสจากลมหายใจเข้าและออก จิตจดจ่อรู้ลมหายใจเป็นอารมณ์แห่งจิต กระทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนกว่าเราจะมีสภาพจิตที่นิ่งสงบ อบอุ่น ไม่ฟุ้งซ่าน แล้วระลึกพิจารณาอิริยาบถของกายที่ยืนอยู่นี้ พร้อมหายใจเข้าพึงระลึกรู้บริกรรมในใจว่า "ยืน" (โดยอาจระลึกรู้ลากเสียงคำบริกรรมยาวตามการหายใจเข้า) แล้วหายใจออกพึงระลึกรู้บริกรรมในใจว่า "หนอ" (โดยอาจระลึกรู้ลากเสียงคำบริกรรมยาวตามการหายใจออก) มีจิตจดจ่อรู้ลมหายใจหรือสภาพอิริยาบถของกายที่ยืนอยู่อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์แห่งจิต กระทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนกว่าเราจะมีสภาพจิตที่ นิ่ง สงบ อบอุ่น ปิติอิ่มเอมใจ ว่าง  ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เกิดความคิดปรุงแต่งใดๆแก่จิต ให้ปฏิบัติเจริญเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนทำให้สภาพจิตดังกล่าวนั้นเกิดบ่อยขึ้น นานขึ้น และ สามารถเข้าสมาธิถึงระดับจิตดังที่กล่าวมานี้ในตอนไหนเวลาใดก็ได้ แม้ยามที่เราลืมตาอยู่ก็ตาม หากกระทำได้เช่นนี้แล้ว แม้จะยืนลืมตาอยู่สภาพจิตก็จะไม่ไหวติงใดๆเกิดเป็นสมาธิที่ควรแก่งานคือการปฏิบัติในกิจการงานต่างๆนั่นเอง

๗.๒ การเจริญสมาธิด้วยการเดิน คนเราส่วนมากจะเดินจงกรมในแบบธรรมดาทั่วไป คือ เมื่อขาซ้ายก้าวย่างเดินไปเหมือนเราเดินตามปกติ ก็ระลึกบริกรรมในใจว่า "ซ้ายย่างหนอ" เมื่อขาขวาก้าวย่างเดินไปเหมือนเราเดินตามปกติ ก็ระลึกบริกรรมในใจว่า "ขวาย่างหนอ" มีจิตระลึกรู้ในอิริยาบถการขยับตัวก้าวเดินของกายเป็นอารมณ์ การเดินในชั้นเดียวนี้ผู้ที่อบรมจิตมีสมาธิมาดีแล้ว เมื่อปฏิบัติโดยการเดินในแบบนี้ก็จะเข้าสมาธิได้ง่ายไม่ยุ่งยาก ไม่วอกแวก ไม่ฟุ่งซ่าน มีแต่ความสงบ อบอุ่น ปิติอิ่มเอมใจ แต่หากบุคคลใดที่ยังไม่มีสมาธิเลย ยังไม่ได้อบรมณ์จิตใดๆมา เมื่อก้าวเดินในแบบดังกล่าวแล้วมีจิตวอกแวก ฟุ้งซ่าน เอาสิ่งภายนอกมาตั้งเป็นอารมณ์อยู่ให้เปลี่ยนการเดินโดนเลือกตาม 4 แบบวิธีตามลำดับดังนี้คือ
- เดินจงกรม 2 ชั้น มีวิธีการเดินดังนี้ คือ ยืนสงบนิ่งหายใจเข้า-ออกในวิธีดังข้อ ๗.๑ ซัก 1 นาที จากนั้นยกเท้าซ้ายขึ้น โดยที่ยังไม่ก้าวขาออกไป ระลึกบริกรรมในใจว่า "ซ้ายยกหนอ" ต่อมาให้เหยียดเท้าก้าวย่างเดินออกมาตามปกติแล้วแตะกดลงบนพื้นพร้อมเคลื่อนตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย อยู่ในท่าเตรียมพร้อมที่จะย่างก้าวเดินจงกรมของขาอีกข้างต่อไป แล้วระลึกบริกรรมในใจว่า "ย่างหนอ" กระทำเช่นนี้ในการเดินก้าวย่างทั้งข้างซ้ายและขวาแล้วตั้งจิตระลึกรู้ในอิริยาบถการขยับตัวก้าวเดินของกายเป็นอารมณ์ เริ่มปฏิบัติจากครั้งละ 10 - 20 นาที แล้วนานขึ้นเรื่อยๆตามสะดวกไปจนกว่าจะเกิดสมาธิจิตมีใจจดจ่อ ไม่วอกแวก ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เกิดความคิดปรุงแต่งใดๆแก่จิต มีแต่เพียงความ นิ่ง ว่าง สงบ อบอุ่น ปิติอิ่มเอมใจ ให้ปฏิบัติเจริญเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนทำให้สภาพจิตดังกล่าวนั้นเกิดบ่อยขึ้น นานขึ้น และ สามารถเข้าสมาธิถึงระดับจิตดังที่กล่าวมานี้ในตอนไหน เวลาใดก็ได้
- เดินจงกรม 3 ชั้น มีวิธีการเดินดังนี้ คือ ยืนสงบนิ่งหายใจเข้า-ออกในวิธีดังข้อ ๗.๑ ซัก 1 นาที จากนั้นยกเท้าซ้ายขึ้น โดยที่ยังไม่ก้าวขาออกไป ระลึกบริกรรมในใจว่า "ซ้ายยกหนอ" ต่อมาให้เหยียดก้าวเท้าออกมาแล้วยกลอยค้างไว้อยู่โดยยังไม่นำเท้าลงแตะพื้นระลึกบริกรรมในใจว่า "ย่างหนอ" จากนั้นให้กดเท้าย่างลงบนพื้นพร้อมโยกตัวเคลื่อนไปด้านหน้าเล็กน้อยอยู่ในท่าเตรียมพร้อมที่จะย่างก้าวเดินจงกรมของขาอีกข้างต่อไป แล้วระลึกบริกรรมในใจว่า "ลงหนอ" กระทำเช่นนี้ในการเดินก้าวย่างทั้งข้างซ้ายและขวาแล้วตั้งจิตระลึกรู้ในอิริยาบถการขยับตัวก้าวเดินของกายเป็นอารมณ์ เริ่มปฏิบัติจากครั้งละ 10 - 20 นาที แล้วนานขึ้นเรื่อยๆตามสะดวกไปจนกว่าจะเกิดสมาธิจิตมีใจจดจ่อ ไม่วอกแวก ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เกิดความคิดปรุงแต่งใดๆแก่จิต มีแต่เพียงความ นิ่ง ว่าง สงบ อบอุ่น ปิติอิ่มเอมใจ ให้ปฏิบัติเจริญเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนทำให้สภาพจิตดังกล่าวนั้นเกิดบ่อยขึ้น นานขึ้น และ สามารถเข้าสมาธิถึงระดับจิตดังที่กล่าวมานี้ในตอนไหน เวลาใดก็ได้
- เดินจงกรม 4 ชั้น มีวิธีการเดินดังนี้ คือ ยืนสงบนิ่งหายใจเข้า-ออกในวิธีดังข้อ ๗.๑ ซัก 1 นาที จากนั้นยกเท้าซ้ายขึ้น โดยที่ยังไม่ก้าวขาออกไป ระลึกบริกรรมในใจว่า "ซ้ายยกหนอ" ต่อมาให้เหยียดก้าวเท้าออกมาแล้วยกลอยค้างไว้อยู่โดยยังไม่นำเท้าลงแตะพื้นระลึกบริกรรมในใจว่า "ย่างหนอ" จากนั้นให้เคลื่อนเท้าย่างลงลอยขนานห่างจากพื้นเล็กน้อยแล้วระลึกบริกรรมในใจว่า "ลงหนอ" จากนั้นให้กดเท้าย่างลงบนพื้นพร้อมโยกตัวเคลื่อนไปด้านหน้าเล็กน้อยอยู่ในท่าเตรียมพร้อมที่จะย่างก้าวเดินจงกรมของขาอีกข้างต่อไป แล้วระลึกบริกรรมในใจว่า "ถูกหนอ" จากนั้นกระทำเช่นนี้ในการเดินก้าวย่างทั้งข้างซ้ายและขวาแล้วตั้งจิตระลึกรู้ในอิริยาบถการขยับตัวก้าวเดินของกายเป็นอารมณ์ เริ่มปฏิบัติจากครั้งละ 10 - 20 นาที แล้วนานขึ้นเรื่อยๆตามสะดวกไปจนกว่าจะเกิดสมาธิจิตมีใจจดจ่อ ไม่วอกแวก ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เกิดความคิดปรุงแต่งใดๆแก่จิต มีแต่เพียงความ นิ่ง ว่าง สงบ อบอุ่น ปิติอิ่มเอมใจ ให้ปฏิบัติเจริญเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนทำให้สภาพจิตดังกล่าวนั้นเกิดบ่อยขึ้น นานขึ้น และ สามารถเข้าสมาธิถึงระดับจิตดังที่กล่าวมานี้ในตอนไหน เวลาใดก็ได้
- เดินจงกรม 5 ชั้น มีวิธีการเดินดังนี้ คือ ยืนสงบนิ่งหายใจเข้า-ออกในวิธีดังข้อ ๗.๑ ซัก 1 นาที จากนั้นยกเท้าซ้ายขึ้น โดยที่ยังไม่ก้าวขาออกไป ระลึกบริกรรมในใจว่า "ซ้ายยกหนอ" ต่อมาให้เหยียดก้าวเท้าออกมาแล้วยกลอยค้างไว้อยู่โดยยังไม่นำเท้าลงแตะพื้นระลึกบริกรรมในใจว่า "ย่างหนอ" จากนั้นให้เคลื่อนเท้าย่างลงลอยขนานห่างจากพื้นเล็กน้อยแล้วระลึกบริกรรมในใจว่า "ลงหนอ" จากนั้นให้วางเท้าแตะลงถูกบนพื้นระลึกบริกรรมในใจว่า "ถูกหนอ" จากนั้นให้กดเท้าลงบนพื้นพร้อมโยกตัวเคลื่อนไปด้านหน้าเล็กน้อยแล้วระลึกอยู่ในท่าเตรียมพร้อมที่จะย่างก้าวเดินจงกรมของขาอีกข้างต่อไป บริกรรมในใจว่า "กดหนอ" จากนั้นกระทำเช่นนี้ในการเดินก้าวย่างทั้งข้างซ้ายและขวาแล้วตั้งจิตระลึกรู้ในอิริยาบถการขยับตัวก้าวเดินของกายเป็นอารมณ์  เริ่มปฏิบัติจากครั้งละ 10 - 20 นาที แล้วนานขึ้นเรื่อยๆตามสะดวกไปจนกว่าจะเกิดสมาธิจิตมีใจจดจ่อ ไม่วอกแวก ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เกิดความคิดปรุงแต่งใดๆแก่จิต มีแต่เพียงความ นิ่ง ว่าง สงบ อบอุ่น ปิติอิ่มเอมใจ ให้ปฏิบัติเจริญเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนทำให้สภาพจิตดังกล่าวนั้นเกิดบ่อยขึ้น นานขึ้น และ สามารถเข้าสมาธิถึงระดับจิตดังที่กล่าวมานี้ในตอนไหน เวลาใดก็ได้

๗.๓ การเจริญสมาธิด้วยการนั่ง การนั่งสมาธินั้นเราสามารถจะนั่งพิงฝา นั่งบนเก้าอี้ นั่งในอิริยาบถใดก็ได้ที่สบายและง่ายในการทำสมาธิแก่เรา แต่โดยส่วนมากหากนั่งสบายไปเรามักจะหลับหรือเคลิ้มติดความพอใจยินดีกับการเสวยเวทนาที่เป็นสุขทางกาย ดังนั้นเวลานั่งควรนั่งสมาธิในแบบที่เป็นประเภณีการปฏิบัติมาด้วย โดยนั่งขัดสมาธิให้ขาขวาวางลงข้างล่าง ขาขวาวางทับอยู่ข้างบน เอามือวางบนตักทับประสานกันตามปกติ จากนั้นให้ทำการผ่อนคลายสภาพกายและจิต แล้วหายใจเข้าลึกๆยาวจนสุดใจ ระลึกบริกรรมในใจว่า "พุทธ" (โดยอาจระลึกรู้ลากเสียงคำบริกรรมยาวตามการหายใจเข้า) หายใจออกยาวจนสุดใจ ระลึกบริกรรมในใจว่า "โธ" (โดยอาจระลึกรู้ลากเสียงคำบริกรรมยาวตามการหายใจออก) ทำเช่นนี้ประมาณ 3-5 ครั้ง จากนั้นค่อยๆหายใจเข้ายาว-ออกยาวตามปกติ หรือ ลดหลั่นลงมาเรื่อยๆจนอยู่ในระดับปกติ มีสติจดจ่ออยู่ในลมหายใจเข้าและออก มีจิตระลึกรู้ลมหายใจเป็นอารมณ์ ไม่ต้องใช้ปัญญาอันฉลาดรอบรู้ใดๆของตนมาคิดพิจารณา ให้ตั้งจิตจดจ่อรู้ลมหายใจเข้าและออกเท่านั้น เริ่มปฏิบัติจากครั้งละ 10 - 20 นาที แล้วค่อยๆทำให้นานขึ้นเรื่อยๆตามสะดวกไปจนกว่าจะเกิดสมาธิจิตมีใจจดจ่อ ไม่วอกแวก ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เกิดความคิดปรุงแต่งใดๆแก่จิต มีแต่เพียงความ นิ่ง ว่าง สงบ อบอุ่น ปิติอิ่มเอมใจ ให้ปฏิบัติเจริญเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนทำให้สภาพจิตดังกล่าวนั้นเกิดบ่อยขึ้น นานขึ้น และ สามารถเข้าสมาธิถึงระดับจิตดังที่กล่าวมานี้ในตอนไหน เวลาใดก็ได้
- หากว่ากระทำในวิธีข้างต้นแล้ว จิตยังเกิดความปรุงแต่ง นึกคิด ฟุ้งซ่าน สัดส่าย ไม่มีความสงบ ให้พึงตั้งจิตระลึกรู้ว่า ขณะนี้ เราอยู่ในอิริยาบถใดอยู่ เช่น ระลึกรู้ว่าเรากำลังนั่งอยู่ กำลังกระทำดำเนินไปในสิ่งใดอยู่ เช่น ระลึกรู้ว่าเรากำลังนั่งเพื่อเจริญสมาธิอยู่ แล้วพึงพิจารณาว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ความคิดปรุงแต่ง นิมิตใดๆทั้งหลายทั้งปวงนั้นเกิดขึ้นมาแต่จิต จิตมันจดจำสิ่งใดๆไว้แล้วนำมาสร้างเรื่องราวปรุงแต่งตามแต่ที่มันพอใจยินดี ทั้งๆที่สิ่งทั้งหลายเหล่านั้นมันก็อยู่ของมัน เขาก็อยู่ของเขา เราเท่านั้นที่เก็บเอามาคิดปรุงแต่งเรื่องราวจากความจำได้จำไว้ที่เคยผ่านพ้นมา // จากนั้นให้ตั้งสติหลับตาเพ่งพิจารณาจดจ่อมองดูความมืดที่เห็นจากการหลับตานั้น พึงระลึกในใจว่าสิ่งที่เห็นอยู่นั้นแลคือ ความเป็นจริงปัจจุบันที่เกิดขึ้นกับเรา แล้วให้พิจารณาเพ่งจดจ่อกวาดยาวออกไปมองที่ความมืดนั้น จะเห็นเป็นเม็ดแสงแวบๆวับๆหลากหลาย ใหญ่บ้างเล็กบ้าง กระจัดกระจายไปมา เสร็จแล้วให้เราพึงเพ่งมองพิจารณาสมมติเปรียบเทียบเอาว่าแสงนั้นคือสภาพจิตของเราที่ฟุ้งซ่านอยู่กระจัดกระจายไปหมด ปรุงแต่งคละเคล้ากับความคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้มั่วไปหมด เมื่อพิจารณาเปรียบเห็นดั่งสมมตินั้นได้แล้ว ก็ให้ตั้งจิตเพ่งมองจดจ่อทอดยาวออกไปด้านหน้าในความมืดนั้น ณ ช่วงกึ่งกลางระหว่าง 2 ตา สูงในระดับสายตา(ช่วงสันจมูก) แล้วกวาดยาวออกไปอยู่ที่จุดๆเดียวด้วยอารมณ์ที่ผ่อนคลายสบายๆ(ห้ามเพ่งมองย่นย่อจนเกร็งตาหรือบิดเกร็งตัวเข้ามาอยู่ที่จุดตรงกลางหว่างคิ้วตนเองเด็ดขาดเพราะจะทำให้เราเกิดอาการเวียนหัว ปวดหัว และ ตา ตามมาในภายหลัง)พิจารณาจดจ่ออยู่ที่จุดนั้นจุดเดียวจนกว่าสภาพแสงที่กระจัดกระจายวิ่งไปมาหลายหลายนั้นจะค่อยๆหายแล้วแล้วเหลืออยู่ที่จุดเดียวอยู่ตรงที่เราเพ่งมองนั้น  เมื่อแสงทั้งหลายหายไปเหลือเพียงแต่แสงที่จุดที่เราเพ่งมองนั้น ให้เพ่งดูอยู่เช่นนั้นซักระยะหนึ่งโดยการระลึกรู้ลมหายใจเข้า-ออกพร้อมเพ่งมองไป ณ จุดนั้นจนสภาพจิตเกิดความนิ่ง สงบ อบอุ่น เบาบาง ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วอกแวก เมื่อมีสติสัมปชัญญะระลึกรู้ตน ก็ให้น้อมลงพิจารณาที่ลมหายใจเข้า-ออกตามแบบการนั่งสมาธิปกติ

๗.๔ การเจริญสมาธิด้วยการนอน การนอนทำสมาธิที่ผมกระทำอยู่นั้นมี 2 แบบ คือ แบบ สีหไสยาสน์ และ การนอนหงายผ่อนคลายตามปกติตน
                 การนอนแบบสีหไสยาสน์... เป็นการนอนเพื่อเข้าอยู่ในสมาธิอบอรมจิต ทำให้เกิดความรู้ตัวอยู่เสมอ วิธีนอนให้นอนตะแคลงขวา เหยียดตัวตรง วางขาทับซ้อนตรงกัน วางมือลงแนบตรงกับลำตัว พิจารณาลมหายใจเข้า-ออก โดยหายใจเข้ายาวๆระลึกบริกรรมในใจว่า "พุทธ" หายใจออกยาวๆระลึกบริกรรมในใจว่า "โธ" (จะระลึกรู้บริกรรมคำใดๆก็ได้ หรือจะไม่บริกรรมเลยแค่รู้ลมหายใจเข้า-ออกเฉยๆก็ได้) สักประมาณ 3-5 ครั้งแล้วลดหลั่วการหายใจเข้า-ออกเรื่อยๆจนเป็นการหายใจตามปกติ พิจารณารู้สัมผัสจากลมหายใจเข้าและออก จิตจดจ่อรู้ลมหายใจเป็นอารมณ์แห่งจิต กระทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนกว่าเราจะมีสภาพจิตที่นิ่งสงบ อบอุ่น ว่าง ปิติอิ่มเอมใจ ไม่วอกแวกฟุ้งซ่าน แล้วระลึกพิจารณาอิริยาบถของกายที่นอนอยู่นี้  ให้ปฏิบัติเจริญเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนทำให้สภาพจิตดังกล่าวนั้นเกิดบ่อยขึ้น นานขึ้น และ สามารถเข้าสมาธิถึงระดับจิตดังที่กล่าวมานี้ในตอนไหน เวลาใดก็ได้
                 การนอนหงายผ่อนคลายแบบปกติ... เป็นการนอนเพื่อทำสมาธิปรับสภาพร่างกายจนหลับ เหมาะแก่คนที่นอนไม่หลับ โดยนอนหงายเหยียดตัวตรงตามปกติ แล้วพึงระลึกพิจารณาลมหายใจเข้า-ออก เหมือนการนั่งสมาธิทั่วไป กระทำพิจารณาไปเรื่อยๆสภาพจิตจะเข้าสู่สมาธิและปรับธาตุในร่างกายใหสมดุลย์กันแล้วก็หลับไปเลยตามปกติ แต่จะต่างจากการทำสมาธิทั่วไปตรงที่หากเมื่อต้องการจะนอนไม่ว่าเกิดความคิดปรุงแต่งใดๆ นิมิตใดๆขึ้นมาก็ปล่อยให้มันเป็นไปจนกว่าเราจะหลับ // แต่หากทำสมาธิโดยไม่พึงปารถนาจะนอนหลับให้มีสติระลึกรู้ลมหายใจเข้า-ออก โดยหายใจเข้ายาวๆระลึกบริกรรมในใจว่า "พุทธ" หายใจออกยาวๆระลึกบริกรรมในใจว่า "โธ" (จะระลึกรู้บริกรรมคำใดๆก็ได้ หรือจะไม่บริกรรมเลยแค่รู้ลมหายใจเข้า-ออกเฉยๆก็ได้) สักประมาณ 3-5 ครั้งแล้วลดหลั่วการหายใจเข้า-ออกเรื่อยๆจนเป็นการหายใจตามปกติ พิจารณารู้สัมผัสจากลมหายใจเข้าและออก จิตจดจ่อรู้ลมหายใจเป็นอารมณ์แห่งจิต กระทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนกว่าเราจะมีสภาพจิตที่นิ่งสงบ อบอุ่น  ว่าง ปิติอิ่มเอมใจ ไม่วอกแวกฟุ้งซ่าน แล้วระลึกพิจารณาอิริยาบถของกายที่นอนอยู่นี้  ให้ปฏิบัติเจริญเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนทำให้สภาพจิตดังกล่าวนั้นเกิดบ่อยขึ้น นานขึ้น และ สามารถเข้าสมาธิถึงระดับจิตดังที่กล่าวมานี้ในตอนไหน เวลาใดก็ได้

๘. เมื่อสามารถปฏิบัติจนเข้าถึงสภาพจิตที่ นิ่ง สงบ อบอุ่บ ผ่องใส เบาบาง ปิติอิ่มเอมใจ มีจิตว่าง ปราศจากความปรุงแต่งนึกคิดใดๆ (สภาพจิตความรู้สึกที่อยู่ในสภาวะดังกล่าวนี้เรียกว่า "อารมณ์สมถะ")...ก็ให้เราจดจำแนวทาง-วิถีปฏิบัติ และ สภาพของกายและจิตที่ทำให้เราสามารถเข้าถึงอารมณ์สมถะนี้ไว้ เมื่อถึงเวลาที่เราปฏิบัติกัมมัฏฐานเพื่อเข้าสู่สมาธิอีกคราวต่อไป ก็ให้กระทำปฏิบัติตามแนวทางและวิถีนั้นๆที่ทำให้เราเข้าสู้อารมณ์สมถะได้ กระทำเช่นนี้อยู่เนืองๆจะทำให้เรารู้ในวิธีการปฏิบัติที่ทำให้เราเข้าสู่สภาพอารมณ์สมถะได้ง่ายขึ้น จนสามารถทำได้ในทุกครั้งที่ต้องการ ดังนั้นข้อที่ ๗-๘ นี้สำคัญมาก เพราะจะทำให้เราสามารถเข้าสืบต่อไปยังการรู้เห็นในสภาพปรมัตถธรรม นั่นคือ สภาพธรรมจริงๆนั่นเอง

- เมื่อเพียงพอจากการเข้าสมาธิแล้ว ให้เราตั้งจิตสวดมนต์บทสวด อรหังสัมมาฯ จากนั้นแผ่เมตตาให้ตนเอง แล้วแผ่เมตตาให้คนอื่น (ในขณะนี้หากนั่งคุกเข่าอยู่อาจจะเปลี่ยนอิริยาบถเป็นนั่งพับเพียบก็ได้)
หน้า: [1] 2